น้องเอ้ย : แมว จิรศักดิ์
จิตใจที่เป็นอันธพาลเกิดขึ้นได้อย่างไร..?
เคนต์ คีห์ล (Kent Kiehl) นักประสาทวิทยาศาสตร์ ใช้เวลา 20 ปี ทำการทดลองด้านสมองเพื่อหาข้อสรุปว่า สิ่งใดเป็นแรงผลักดันพฤติกรรมของมนุษย์ ในการกระทำความดีและความชั่ว แม้ผลการวิจัยจะไม่สามารถใช้ชี้วัดให้กับคนทั่วไปในสังคมได้ เพราะการทดลองนี้ ทำกับนักโทษที่อยู่ในเรือนจำเท่านั้น ไม่ได้เป็นเป็นการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลาย แต่ก็สามารถวัดผลได้ในบางเรื่อง ถึงเรื่องพฤติกรรมความรุนแรงทั้งจากการกระทำและวาจา มีนิสัยระรานทำตัวเป็นอันธพาล และต่อต้านสังคมที่คิดแตกต่างไปจากตนเอง ซึ่งดูเหมือนว่ามีต้นตอมาจากวงจรประสาทที่บกพร่อง
คีห์ลได้สร้างภาพจากนักโทษกว่า 4,000 คนที่ถูกคุมขังตั้งแต่ปี 2007 เพื่อทำการวัดผลกิจกรรมในสมองและขนาดของสมองในบริเวณต่างๆ ในการทดสอบ เมื่อนักวิจัยขอให้เหล่านักโทษที่เข้าทำการทดสอบ นึกถึงคำที่สื่อถึงอารมณ์ที่พวกเขาจดจำได้จากกิจกรรมก่อนหน้า เช่น “ทุกข์ใจ” และ “หน้านิ่วคิ้วขมวด” อาชญากรจิตใจอันธพาลแสดงให้เห็นว่า สมองส่วนอะมิกดาลาซึ่งเป็นส่วนแรกที่ประมวลผลด้านอารมณ์มีกิจกรรมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไปที่ไม่มีภาวะจิตใจอันธพาล
ส่วนในกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อทดสอบการตัดสินใจด้านศีลธรรม นักวิจัยขอให้นักโทษประเมินค่าความน่ารังเกียจของภาพที่ปรากฏขึ้นชั่วครู่บนจอ เช่น การเผาไม้กางเขนโดยพวกคลูคลักซ์แคลน หรือใบหน้าที่ถูกตีจนเลือดอาบ แม้ว่าทั้งสองกลุ่มจะตระหนักถึงความรุนแรงด้านศีลธรรมในภาพเหล่านั้นได้แทบไม่ต่างกัน แต่พวกจิตใจอันธพาลมีแนวโน้มที่จะแสดงการกระตุ้นที่อ่อนกว่ามากในสมองบริเวณที่มีบทบาทในการใช้เหตุผลทางศีลธรรม
จากการค้นพบเหล่านี้และอื่นๆที่ได้ผลคล้ายคลึงกัน คีห์ลเชื่อว่า ผู้มีจิตใจอันธพาลมีความบกพร่องในระบบโครงสร้างต่างๆของสมองที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งรวมถึงสมองส่วนอะมิกดาลาและเปลือกสมองส่วนออร์บิโตฟรอนทัล ซึ่งช่วยในการประมวลผลด้านอารมณ์ ตัดสินใจ ควบคุมแรงกระตุ้น และตั้งเป้าหมาย “โดยพื้นฐานแล้วนักโทษที่มีลักษณะจิตใจอันธพาลอย่างรุนแรง มีส่วนเนื้อเทา (gray matter) ในโครงสร้างเหล่านั้นของสมองน้อยกว่านักโทษอื่นๆประมาณร้อยละห้าถึงเจ็ด” คีห์ลบอก
ปรากฏว่าภาวะจิตใจอันธพาลจะชดเชยความบกพร่องนี้โดยการใช้สมองส่วนอื่นในการคิดเลียนแบบสิ่งที่ควรเป็นการแสดงอารมณ์ “กล่าวคือผู้มีจิตใจอันธพาลต้อง คิด ว่าอะไรถูกหรือผิด ในขณะที่คนปกติทั่วไปที่ไม่มีภาวะจิตใจอันธพาล ใช้ความรู้สึก ตัดสิน” คีห์ลเขียนไว้ในรายงานที่เขาใช้เวลาทดสอบอยู่ 20 ปี
อ่านแล้วคิดอย่างไรบ้างครับ กับภาวะที่บ้านเมืองมีคนจำนวนไม่น้อยที่มักทำพฤติกรรมอัทธพาลใส่ผู้อื่นอยู่เป็นประจำ
เขาใจพวกเขามากขึ้นไหม..? หรือรู้สึกสังเวชใจที่ต้องอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันกับคนพวกนี้
คำถามสุดท้าย คือ แล้วเราจะต้องทำอย่างไรในการอยู่ร่วมกับคนจำพวกนี้..?
คำตอบก็คิดกันเองแล้วกันนะครับ ผมไม่กล้าแนะนำ เพราะตัวผมเองก็ไม่รู้ว่าวิธีที่ผมใช้มันถูกต้องหรือดีที่สุดแล้วจริงๆหรือเปล่า
ป.ล.ส่วนใครจะตีโพยตีพาย ว่าผมตั้งกะทู้ขึ้นมาเพื่อโจมตีใครคนหนึ่งคนนั้น ก็ตามสบายนะครับ หากว่าสารประโยชน์ที่อยู่ในข้อเขียน จะไม่ได้เข้าไปในโพลงกะโหลกของใคร ผมก็จนใจจริงๆ ที่ไม่สามารถช่วยอะไรได้ครับ
ด้วยความเคารพ
นายพระรอง
"อึ่งอ่าง อันธพาล" ดนตรี กวี สาระ (ประสาชาวบ้านคนธรรมดา By นายพระรอง)
จิตใจที่เป็นอันธพาลเกิดขึ้นได้อย่างไร..?
เคนต์ คีห์ล (Kent Kiehl) นักประสาทวิทยาศาสตร์ ใช้เวลา 20 ปี ทำการทดลองด้านสมองเพื่อหาข้อสรุปว่า สิ่งใดเป็นแรงผลักดันพฤติกรรมของมนุษย์ ในการกระทำความดีและความชั่ว แม้ผลการวิจัยจะไม่สามารถใช้ชี้วัดให้กับคนทั่วไปในสังคมได้ เพราะการทดลองนี้ ทำกับนักโทษที่อยู่ในเรือนจำเท่านั้น ไม่ได้เป็นเป็นการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลาย แต่ก็สามารถวัดผลได้ในบางเรื่อง ถึงเรื่องพฤติกรรมความรุนแรงทั้งจากการกระทำและวาจา มีนิสัยระรานทำตัวเป็นอันธพาล และต่อต้านสังคมที่คิดแตกต่างไปจากตนเอง ซึ่งดูเหมือนว่ามีต้นตอมาจากวงจรประสาทที่บกพร่อง
คีห์ลได้สร้างภาพจากนักโทษกว่า 4,000 คนที่ถูกคุมขังตั้งแต่ปี 2007 เพื่อทำการวัดผลกิจกรรมในสมองและขนาดของสมองในบริเวณต่างๆ ในการทดสอบ เมื่อนักวิจัยขอให้เหล่านักโทษที่เข้าทำการทดสอบ นึกถึงคำที่สื่อถึงอารมณ์ที่พวกเขาจดจำได้จากกิจกรรมก่อนหน้า เช่น “ทุกข์ใจ” และ “หน้านิ่วคิ้วขมวด” อาชญากรจิตใจอันธพาลแสดงให้เห็นว่า สมองส่วนอะมิกดาลาซึ่งเป็นส่วนแรกที่ประมวลผลด้านอารมณ์มีกิจกรรมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไปที่ไม่มีภาวะจิตใจอันธพาล
ส่วนในกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อทดสอบการตัดสินใจด้านศีลธรรม นักวิจัยขอให้นักโทษประเมินค่าความน่ารังเกียจของภาพที่ปรากฏขึ้นชั่วครู่บนจอ เช่น การเผาไม้กางเขนโดยพวกคลูคลักซ์แคลน หรือใบหน้าที่ถูกตีจนเลือดอาบ แม้ว่าทั้งสองกลุ่มจะตระหนักถึงความรุนแรงด้านศีลธรรมในภาพเหล่านั้นได้แทบไม่ต่างกัน แต่พวกจิตใจอันธพาลมีแนวโน้มที่จะแสดงการกระตุ้นที่อ่อนกว่ามากในสมองบริเวณที่มีบทบาทในการใช้เหตุผลทางศีลธรรม
จากการค้นพบเหล่านี้และอื่นๆที่ได้ผลคล้ายคลึงกัน คีห์ลเชื่อว่า ผู้มีจิตใจอันธพาลมีความบกพร่องในระบบโครงสร้างต่างๆของสมองที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งรวมถึงสมองส่วนอะมิกดาลาและเปลือกสมองส่วนออร์บิโตฟรอนทัล ซึ่งช่วยในการประมวลผลด้านอารมณ์ ตัดสินใจ ควบคุมแรงกระตุ้น และตั้งเป้าหมาย “โดยพื้นฐานแล้วนักโทษที่มีลักษณะจิตใจอันธพาลอย่างรุนแรง มีส่วนเนื้อเทา (gray matter) ในโครงสร้างเหล่านั้นของสมองน้อยกว่านักโทษอื่นๆประมาณร้อยละห้าถึงเจ็ด” คีห์ลบอก ปรากฏว่าภาวะจิตใจอันธพาลจะชดเชยความบกพร่องนี้โดยการใช้สมองส่วนอื่นในการคิดเลียนแบบสิ่งที่ควรเป็นการแสดงอารมณ์ “กล่าวคือผู้มีจิตใจอันธพาลต้อง คิด ว่าอะไรถูกหรือผิด ในขณะที่คนปกติทั่วไปที่ไม่มีภาวะจิตใจอันธพาล ใช้ความรู้สึก ตัดสิน” คีห์ลเขียนไว้ในรายงานที่เขาใช้เวลาทดสอบอยู่ 20 ปี
อ่านแล้วคิดอย่างไรบ้างครับ กับภาวะที่บ้านเมืองมีคนจำนวนไม่น้อยที่มักทำพฤติกรรมอัทธพาลใส่ผู้อื่นอยู่เป็นประจำ
เขาใจพวกเขามากขึ้นไหม..? หรือรู้สึกสังเวชใจที่ต้องอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันกับคนพวกนี้
คำถามสุดท้าย คือ แล้วเราจะต้องทำอย่างไรในการอยู่ร่วมกับคนจำพวกนี้..?
คำตอบก็คิดกันเองแล้วกันนะครับ ผมไม่กล้าแนะนำ เพราะตัวผมเองก็ไม่รู้ว่าวิธีที่ผมใช้มันถูกต้องหรือดีที่สุดแล้วจริงๆหรือเปล่า
ป.ล.ส่วนใครจะตีโพยตีพาย ว่าผมตั้งกะทู้ขึ้นมาเพื่อโจมตีใครคนหนึ่งคนนั้น ก็ตามสบายนะครับ หากว่าสารประโยชน์ที่อยู่ในข้อเขียน จะไม่ได้เข้าไปในโพลงกะโหลกของใคร ผมก็จนใจจริงๆ ที่ไม่สามารถช่วยอะไรได้ครับ
ด้วยความเคารพ
นายพระรอง