7 เมืองนำร่อง "Smart City"



คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ ได้เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบด้วยกัน 7 จังหวัด คือ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน คมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยเน้น 5 เสาหลักสำคัญ ได้แก่

เสาหลักที่ 1 :การพัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ มีเป้าหมายในการเลือกเมืองที่มีศักยภาพ ที่จะใช้สำหรับการดำเนินงานนำร่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

เสาหลักที่ 2 : การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายที่จะบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ

เสาหลักที่ 3 : สร้างกลไกบริหารจัดการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปสู่ภาคปฏิบัติ มีเป้าหมายให้มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพื้นที่ จัดเตรียมองค์กร ระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการให้บริการสาธารณะในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เสาหลักที่ 4 : ผลักดันเมืองอัจฉริยะด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มีเป้าหมายในการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สามารถนำไปปรับใช้สำหรับเมืองอัจฉริยะในอนาคต

เสาหลักที่ 5 : ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนเข้าถึงการเชื่อมโยงและการใช้งานข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูล สร้างการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผน ตลอดจนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม

ความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของกระทรวงพลังงาน จำนวน 6 โครงการของ 6 หน่วยงาน คือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาบัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เทศบาลนครขอนแก่น และบริษัทวิสดอม 101 (ปุณณวิถี) จำกัด

สำหรับ 6 โครงการตัวอย่างนี้จะทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงกว่า 270 ล้านหน่วย/ปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 264 แสนต้น/ปี

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่