JJNY : ว่อนแชตไลน์หลุด บทสนทนาระงับผลโพล นาฬิกาหรู

กระทู้คำถาม
เมื่อวันที่ 29 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่นายอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ นิด้า ในฐานะผู้อำนวยการ “นิด้าโพล” ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich ประกาศเตรียมลาออกจากตำแหน่ง ผอ.นิด้าโพล ด้วยเหตุผลว่าโดนจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ ก่อนที่อธิการบดีนิด้าจะออกมาออกมาชี้แจงเหตุผลการระงับผลสำรวจกรณีนาฬิกาหรู

ล่าสุดในสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่บทสนทนาทางแอพพลิเคชั่นไลน์ มีข้อความโต้ตอบกันเกี่ยวกับเรื่องของการระงับผลโพล อาทิ
A : ท่านอธิการฝากบอกว่าขอระงับไว้ก่อนทันมั๊ยครับ เพราะเรื่องนี้ปปช.ยังไม่ได้ข้อสรุป และอาจะมีผลต่อภารกิจนิด้า   
B: อ้าว แล้วอธิการ มาทราบได้ไงครับ,
A: ท่านอธิการให้ส่งผลให้ดูก่อนส่งน่ะค่ะ ในประเด็นการเมืองน่ะค่ะ
B: ทุกครั้งเหรอครับ  งั้นผมออกจากนิด้าโพลล์ครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เปิดผลโพลต้นเหตุ ผอ.นิด้า ไขก๊อก
https://www.matichon.co.th/news/820337

เมื่อวันที่ 29 มกราคม สืบเนื่องจากนายอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สอนวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุทต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะผู้อำนวยการ “นิด้าโพล” ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich ประกาศเตรียมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากถูกจำกักเสรีภาพทางวิชาการนั้น โดยต่อมา นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยเป็นคนสั่งให้ชะลอผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ในประเด็นนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เห็นว่าเป็นประเด็นที่ ป.ป.ช. กำลังสอบสวนซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ หากทำโพลหัวข้อนี้ อาจไปสร้างกระแสชี้นำสังคม และการจะทำโพลชี้ไปที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่เหมาะสมนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับผลโพลปมนาฬิกาหรูดังกล่าว มีการสำรวจ ระหว่างวันที่ 25–26 มกราคม 2561 เรื่องนาฬิกาหรูยืมเพื่อนหรือบิดเบือนความจริง จากประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ จำนวน 1250 หน่วยตัวอย่าง
ผลสำรวจตอนหนึ่งระบุว่า
เพื่อนเคยให้ยืมนาฬิกาหรูราคาแพงมาใส่?
มีคนให้ความเห็นสูงถึงประมาณ 97 % ว่า “ไม่เคย”
และยังมีข้อความเห็น กรณีนักการเมืองอ้างว่าทรัพย์สินมูลค่าสูงมากที่มาจากการหยิบยืมนั้น
ประมาณ 86% เชื่อว่า “ไม่เป็นความจริง”

ยังมีข้อคำถามด้วยว่า ในการทำโพล มี”คำถาม” การอ้างเรื่องการหยิบยืมทรัพย์สินราคาแพงมาครอบครองจะทำให้การตรวจสอบทุจริตต่อไปในอนาคตทำได้หรือไม่” ผลสำรวจ
50.08 % ทำได้โดยการพิสูจน์ที่มาที่ไปและการหยิบยืม
24.08 % ทำได้ลำบากมากยิ่งขึ้น และ
21.44 % ทำไม่ได้ เพราะทุกคนจะอ้างว่ายืมมา



เสียดาย ที่ไม่ได้เห็นผลโพลตัวจริงครับ อิอิ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่