🎤🎙~มาลาริน~คำถามโพลนั้นสำคัญไฉน ตั้งใจจะพูดนานแล้วแต่ไม่มีโอกาส..อธิการบดีนิด้า ชี้ระงับโพลยืมนาฬิกา เหตุมีคำถามชี้นำ

กระทู้คำถาม
ดิฉันจะพูดเรื่องนี้นานแล้ว เพราะเห็นผิดปกติ  แต่ยังไม่มีโอกาสเพราะยังไม่เห็นคำถามโพล
มาอ่านข่าวกันก่อนค่ะ.....📝📝📝📝📝📝📝

อธิการบดีนิด้า ชี้ระงับโพลยืมนาฬิกาหรู เหตุมีคำถามชี้นำ


(6 ก.พ.) นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการดีสถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวถึงการระงับการเผยแพร่นิด้าโพล ยืมนาฬิกาหรู ว่า การตัดสินใจในครั้งนี้เป็นเพราะผลโพลดังกล่าวขาดคุณสมบัติของการทำโพลที่ดีและถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งเรื่องความไม่เหมาะสม เพราะเรื่องนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำลังอยู่ในการไต่สวนของป.ป.ช. และยังไม่ได้ข้อสรุป ผลโพลนี้อาจเป็นการสร้างกระแสชี้นำสังคม และชี้นำอย่างชัดเจน และไม่เหมาะสมกับผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นมีรายได้ ไม่เกิน 20,000 บาท มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

นอกจากนี้ วันก่อนจัดทำโพลนายอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ผู้อำนวยการนิด้าโพลในขณะนั้นยังได้โพสต์ข้อความที่แสดงให้เห็นถึงอคติและแสดงความไม่เป็นกลางต่อประเด็นที่สอบถามและมีการตั้งคำถามใจความเหมือนที่เคยโพสต์ จึงต้องตั้งเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการตั้งคำถามในครั้งนี้

ดังนั้น ในฐานะอธิบดีของสถาบันจึงมีคำสั่งระงับการเผยแพร่ผลโพลเพื่อตรวจสอบก่อน พร้อมยืนยันว่าตนเองไม่เคยแก้ผลโพลเลยแม้แต่ครั้งเดียว

นอกจากนี้ นายประดิษฐ์ ยังแถลงกรณีสั่งการระงับผลโพล นาฬิกาหรู โดยยืนยันว่า ไม่เคยได้รับการติดต่อจากทหาร เพื่อแลกกับตำแหน่งทางการเมือง และพร้อมจะลาออกหากสื่อหาหลักฐานได้ ซึ่งส่วนตัวรู้สึกโกรธ ที่ลูกศิษย์ปฏิบัติเช่นนี้ต่อองค์กร และนายอานนท์เป็นลูกศิษย์ตนเอง และเสียใจที่พลาดปล่อยให้คนที่ทำงาน 10 วัน สร้างความเสียหายต่อนิด้า พร้อมระบุว่า ตำแหน่ง ผอ.นิด้าโพล ไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพทางวิชาการ แต่เป็นเรื่องของการบริหารงานที่ต้องตรวจสอบได้

ทั้งนี้ ตอบไม่ได้ว่า เมื่อ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดแล้ว จะทำโพลเรื่องนี้หรือไม่ เพราะจะต้องพิจารณาหลักการข้างตน และพิจารณาคำถามในการทำโพล รวมถึงเสียงสะท้อนสังคมที่ต้องการจัดทำโพลหรือไม่ และยืนยันว่า นายอานนท์ จะไม่มีปัญหาในการทำงาน ตนรับรองได้ และตนยังเรียกนายอานนท์ว่า ลูกศิษย์ตลอด

https://news.sanook.com/5243678/

มาอ่านบทความนี้กันต่อค่ะ....📇📇📇📇📇📇📇📇

วันก่อน ได้เขียนบทความ “มาตรฐานนิด้าโพล”

ได้ตั้งโจทย์ไปยังนิด้าว่า “...เมื่อ ดร.อานนท์ลาออกไปแล้ว ผลสำรวจอย่างไม่เป็นทางการก็หลุดออกไปสู่สื่อสาธารณะแล้ว (ถูก-ผิด-ครบถ้วนหรือไม่ ก็ไม่รู้) บัดนี้ ถึงเวลาที่นิด้าโพลเอง จะต้องปกป้องสถาบันวิชาการของตนเอง ด้วยการตรวจสอบมาตรฐานการทำโพลล์ชุดที่เป็นปัญหา และเปิดเผยชุดคำถามที่ใช้จริงๆ กับผลสำรวจ พร้อมด้วยคำอธิบาย ประเมินมาตรฐานทางวิชาการ ว่าการทำโพลล์ชุดนั้น ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้มาตรฐานของนิด้าโพลอย่างไร? ด้วยเหตุผลใด?”

ในข้อเขียนข้างต้นได้ระบุชื่อ “อาจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์” อธิการบดีของนิด้าด้วย

ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา อาจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดแถลงข่าว ชี้แจงรายละเอียดต่อสื่อมวลชน กรณีสั่งระงับผลสำรวจความเห็นนิด้าโพล เกี่ยวข้องประเด็นนาฬิกาหรู

วันนี้ ขอสรุปสาระสำคัญ ตามที่ฝ่ายนิด้า ได้แจ้งไขออกมา ดังนี้

1.อธิการบดีนิด้า เปิดเผยข้อเท็จจริงเป็นครั้งแรก ว่าคำถามที่ถูกใช้ในการถามกลุ่มตัวอย่างมี 5 คำถาม

ได้แก่

คำถาม 1 ปกติเพื่อนของท่านเคยให้ยืมนาฬิกาแสนหรูราคาแพงมาใส่หรือไม่?

คำถาม 2 หากนักการเมืองอ้างว่าทรัพย์สินมูลค่าสูงมากที่ครอบครองมาจากการหยิบยืมเพื่อน ท่านเชื่อว่าเป็นการพูดความจริงหรือไม่?

คำถาม 3 ท่านคิดว่าการอ้างเรื่องการหยิบยืมทรัพย์สินราคาแพงมาครอบครอง จะทำให้การตรวจสอบการทุจริตต่อไปในอนาคต ทำได้หรือไม่?

คำถาม 4 ท่านคิดว่าคนที่พูดโกหก หรือพูดไม่จริง มีโอกาสประพฤติทุจริตหรือคดโกงหรือไม่?

คำถาม 5 ท่านยอมรับพฤติการณ์ปกป้องพรรคพวกรุ่นพี่รุ่นน้องที่น่าสงสัยว่าจะทุจริต/ประพฤติมิชอบ/กระทำผิดกฎหมายได้หรือไม่?


2.อธิการฯนิด้าระบุว่า คำถามในการทำโพลล์จะต้องไม่ชี้นำผู้ตอบให้ตอบไปในทิศทางที่ผู้ทำโพลล์ต้องการ

แต่ปรากฏว่าทุกคำถามในการทำโพลล์นี้ มีลักษณะเป็นคำถามชี้นำอย่างเห็นได้ชัดเจน (จากการสรุปของ ดร.นพดล กรรณิกา อดีต ผอ.เอแบคโพล และ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ จากสวนดุสิตโพล ในรายการเป็นเรื่องเป็นข่าว ช่อง PPTV ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2561)

ตัวอย่างเช่นคำถามที่ 1 เป็นคำถามที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 55% มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท และ 61% มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งกลุ่มนี้คงไม่มีเพื่อนสนิทที่จะมีนาฬิกาแสนหรูราคาแพงให้ยืมได้ ดังนั้น คนกลุ่มนี้ก็จะต้องตอบว่า “ไม่เคย” อีกทั้งคำถามนี้ยังได้บรรจุคำที่สร้างอารมณ์ (Loading words) เช่น “แสนหรูราคาแพง” ซึ่งไม่ควรใช้ในการตั้งคำถามของการทำโพลล์ที่ถูกต้อง

3.อธิการบดีนิด้า ยืนยันว่า เหตุผลหลัก 3 ประเด็นที่ทำให้การทำโพลล์ดังกล่าว ขาดคุณสมบัติของการเป็นโพลล์ที่ดี และถูกต้องตามหลักวิชาการ ได้แก่

(1) ประโยชน์ที่ได้ต่อสังคมในการทำโพลล์เรื่องนี้ โดยท่านมองว่า การทำโพลล์เรื่องนี้ในช่วงเวลานี้ ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ภายใต้การสอบสวนของป.ป.ช. ซึ่ง ป.ป.ช. ยังไม่ได้ข้อสรุป ผลของโพลล์อาจไปสร้างกระแสชี้นำสังคม นำไปสู่ความวุ่นวายได้

(2) คำถามในการทำโพลล์ จะต้องไม่ชี้นำผู้ตอบให้ตอบไปในทิศทางที่ผู้ทำโพลล์ต้องการ

(3) ผู้ทำโพลล์ต้องมีความเป็นกลางและปราศจากอคติต่อประเด็นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโพลล์ที่ทำ แต่ปรากฏว่า จากข้อความที่นายอานนท์ ได้โพสต์ลงบนหน้า Facebook ของตนเองเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2561 (ซึ่งเป็นวันก่อนการทำโพลล์) ว่า “ถ้าป้อมรอด ตู่กับ คสช. ก็จะไม่รอด อยู่ไม่ได้ ขาดความชอบทำ” แสดงให้เห็นว่านายอานนท์มีอคติและความไม่เป็นกลางต่อประเด็นนี้ ก่อนการทำโพลล์ครั้งนี้ และข้อความ “ลุงตู่ครับ ผมนะอยู่ข้างท่านมาตลอด ลุ้นใจหายใจคว่ำกับลุงมาตลอด ลุ้นจนถอดใจก็มี คนรอบข้างตัวลุงมีปัญหาจริงๆ ครับลุงตู่” ที่นายอานนท์ได้โพสต์ลงบน Facebook ของตนเองเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2561 (ซึ่งเป็นวันก่อนกำหนดการรายงานผลโพลล์) แสดงให้เห็ว่าผู้โพสต์มีความคิดเห็นชัดเจนตามที่ตนได้โพสต์ และคำถามที่ 5 ของการทำโพลล์ครั้งนี้ก็มีใจความในทำนองเดียวกับสิ่งที่นายอานนท์โพสต์

4.อาจารย์ประดิษฐ์ยืนยันว่า จากการพิจารณาเหตุผล 3 ประการข้างต้น เห็นว่าการทำโพลล์ดังกล่าว ขาดคุณสมบัติของการเป็นโพลล์ที่ดี ตนต้องรับผิดชอบต่อภารกิจของสถาบัน จึงต้องออกคำสั่งระงับยับยั้งโพลล์ดังกล่าวเพื่อการตรวจสอบ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความถูกต้องและชื่อเสียงของสถาบัน

การันตีว่า ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี 5 ปี ไม่เคยสั่งให้แก้ไขผลโพลล์แต่อย่างใด

ท่านฝากไปยังสื่อมวลชนและประชาชนว่า อย่าเคลือบแคลงหรือไม่มั่นใจในการดำเนินงานของนิด้าโพล ซึ่งยึดมั่นในความเป็นกลางและความถูกต้องตามหลักวิชาการในการสะท้อนเสียงของประชาชนให้สังคมได้รับรู้

5.เป็นเรื่องดีที่ทางนิด้า ไม่นิ่งนอนใจ

ไม่ปล่อยเรื่องให้เงียบหาย เป็นคลื่นกระทบฝั่ง โดยที่สังคมไม่ได้รู้ข้อเท็จจริง

สำหรับเรื่องนี้ เห็นด้วยกับท่านอธิการฯนิด้า ว่าคำถามไม่เป็นธรรม และไม่ได้มาตรฐานของการทำโพลล์จริงๆ

หากอนุญาตให้เปิดเผยตั้งแต่ต้น แล้วใช้วิธีติดตามมอนิเตอร์ ตรวจสอบมาตรฐาน ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา และให้ผู้จัดทำได้ชี้แจงผลงานของตนเองด้วย และหากไม่ได้มาตรฐาน ก็ควรจัดการลงโทษกับผู้บริหารที่ทำงานไม่ได้มาตรฐานของนิด้าโพล ย่อมจะเป็นธรรม และสวยงามกว่า เพราะเมื่อปิดกั้นไว้ สุดท้าย ผลสำรวจก็หลุดไปถึงสื่อสาธารณะอยู่ดี ซ้ำยังขาดข้อมูลว่าถามกลุ่มตัวอย่างว่าอย่างไร

สารส้ม

http://www.naewna.com/politic/columnist/33959

ดิฉันเห็นคำถามแล้วก็อึ้ง...ไม่น่าเชื่อว่าอ.อานนท์อดีตผอ.นิด้าโพล จะขาดความระมัดระวัง  หรือกล้า  ในการใช้คำถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นอย่างชี้นำได้ขนาดนี้

คำถามของโพลจะต้องไม่มีการขี้นำ ใส่ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ถามลงไปด้วย คำนึงถึงศักยภาพของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีเพื่อนมีนาฬิกาแสนหรูราคาแพง รวมทั้งความไม่เป็นกลางในการทำโพลของผู้จัดทำ

จากบทความที่ว่า.....


ผู้ทำโพลล์ต้องมีความเป็นกลางและปราศจากอคติต่อประเด็นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโพลล์ที่ทำ แต่ปรากฏว่า จากข้อความที่นายอานนท์ ได้โพสต์ลงบนหน้า Facebook ของตนเองเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2561 (ซึ่งเป็นวันก่อนการทำโพลล์) ว่า

“ถ้าป้อมรอด ตู่กับ คสช. ก็จะไม่รอด อยู่ไม่ได้ ขาดความชอบทำ” แสดงให้เห็นว่านายอานนท์มีอคติและความไม่เป็นกลางต่อประเด็นนี้ ก่อนการทำโพลล์ครั้งนี้

และข้อความ “ลุงตู่ครับ ผมนะอยู่ข้างท่านมาตลอด ลุ้นใจหายใจคว่ำกับลุงมาตลอด ลุ้นจนถอดใจก็มี คนรอบข้างตัวลุงมีปัญหาจริงๆ ครับลุงตู่” ที่นายอานนท์ได้โพสต์ลงบน Facebook ของตนเองเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2561 (ซึ่งเป็นวันก่อนกำหนดการรายงานผลโพลล์) แสดงให้เห็ว่าผู้โพสต์มีความคิดเห็นชัดเจนตามที่ตนได้โพสต์

และคำถามที่ 5 ของการทำโพลล์ครั้งนี้ก็มีใจความในทำนองเดียวกับสิ่งที่นายอานนท์โพสต์



นี่ดิฉันเห็นด้วย...เมื่อผู้ทำโพลมีอคติ  การใช้คำถามจึงหนีไม่พ้นการขี้นำเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ตนต้องการ
นับเป็นมุมมองที่อธิการบดีนิด้า มองออกและระงับโพลนี้  

การที่นักวิชาการไม่เป็นกลางในความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ทำให้บิดเบือนกระแสสังคมได้

จึงต้องตอกย้ำให้มีจรรยาบรรณของนักวิชาการ เพื่อความศรัทธาเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อนักวิชาการจะได้ยึดเป็นที่พึ่งในยามต้องการคำตอบที่สะท้อนความคิดเห็นของสังคมอย่างตรงไปตรงมา

นี่เป็นปรากฎการณ์ครั้งแรกในการทำโพลที่ผู้รับผิดชอบต้องพิจารณา ไม่เช่นนั้นจะเกิดความไม่เชื่อมั่นของประชาชนในการตอบโพล หรือรับทราบผลโพลของสถาบันต่างๆ

ขอบคุณอธิการบดีนิด้าที่รอบคอบในการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการต่อสาธารณชนค่ะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่