ขณะที่ "ผศ.ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล" นักวิชาการอาวุโสโครงการศูนย์ยุทธศาสตร์อาเซียนศึกษาเพื่อการพัฒนา(ประเทศไทย) บอกถึงสาเหตุของความคลาดเคลื่อนของโพลล์ครั้งนี้ เกิดจาก 1.คนที่ตอบคำถามโพลล์ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มตัวแทนที่แท้จริง 2.ผู้ทำโพลล์มีธงอยู่ในใจแล้ว 3.ผู้ตอบคำถามโพลล์อยู่ในลักษณะเอียนโพลล์หรืออยากตบหน้าคนทำโพลล์ทำให้ผลสำรวจของ "เอ็กซิทโพลล์" ได้คำตอบที่ไม่ต้องกับคะแนนจริง
จากความคลาดเคลื่อนของโพลล์ที่เกิดขึ้น "ดร.ณกมล" เห็นว่าควรต้องมีการจัดระเบียบโพลล์ ปฏิรูปการทำโพลล์ โดยเฉพาะโพลล์ของสถาบันการศึกษา ที่นำแบรนด์ของสถาบันมาชี้นำทางสังคม เพื่อให้ผู้ทำโพลล์ได้ระมัดระวังมากขึ้น
"การทำโพลล์ต้องมีจรรยาบรรณ ถ้าทำแล้วผิดสม่ำเสมอต้องเสียค่าปรับ หรือต้องมีมาตรการทางสังคม และมาตรการทางกฎหมายมาลงโทษและควบคุม โดยอาจให้มีโทษปรับเงินหรือโทษจำคุก เพื่อให้คนทำโพลล์อธิบายอย่างโปร่งใสได้" ดร.ณกมล กล่าว
"ดร.ณกมล" กล่าวถึงรูปแบบหรือกระบวนการลงโทษโพลล์ผิดซ้ำซากว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดย รมว.ศึกษาธิการ ต้องมีมาตรการหรือต้องกำหนดการเผยแพร่โพลล์จะกระทำไม่ได้ หากยังเผยแพร่ถือว่าสถาบันที่ทำโพลล์มีความผิด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องมีบทบัญญัติห้ามทำโพลล์เผยแพร่ในสื่อ เพราะ กกต.ยังสามารถห้ามเผยแพร่โพลล์ 7 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งได้ ก็ต้องห้ามในข้อนี้ได้เช่นกัน รวมทั้งสื่อมวลชนทุกแขนงที่นำโพลล์ไปอ่านแล้วผลผิดพลาด ควรจะมีบทลงโทษ โดยไม่นำโพลล์ของสถาบันนั้นมาออกสื่ออีก และทางสถาบันที่ทำโพลล์ และอาจารย์ที่รับผิดชอบทำโพลล์ต้องออกแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบว่า สาเหตุความผิดพลาดเกิดจากอะไร เพราะผลโพลล์ได้ชี้นำทางสังคมไปแล้ว ถือว่ามีความผิดทางกฎหมายไปแล้ว เนื่องจากมีคนเชื่อโพลล์ไปแล้ว
"ความคลาดเคลื่อนของโพลล์มี 5% แต่สิ่งที่เกิดขึ้นโพลล์ผิดพลาดเกิน 5% แต่ถ้าทำผิดมาตลอดไม่ใช่ผิดแค่ 5-10% แต่เป็น 100% คนที่ทำโพลล์ทั้งหลายต้องมีจรรยาบรรณ ถ้าผิดเสมอทางนายกสภามหาวิทยาลัย หรืออธิการบดีสถาบันที่ทำโพลล์ต้องออกแถลงการณ์และแสดงความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น การทำโพลล์หากมองในแง่สีสันก็เป็นได้ แต่สีสันที่เป็นเหมือนลูกอมที่ต้องมองถึงผลของลูกอมที่ทำให้เกิดโรคอ้วนต้องกำจัดสิ่งเหล่านี้ด้วย"
http://www.komchadluek.net/detail/20130304/153121/ผลเลือกตั้งสะท้อนคุณภาพโพลล์.html
// "ผศ.ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล" บอก ควรมีบทลงโทษโพลที่ผิดพลาด และ อธิการบดี สถาบันที่ทำโพล ควรรับผิดชอบ...//
จากความคลาดเคลื่อนของโพลล์ที่เกิดขึ้น "ดร.ณกมล" เห็นว่าควรต้องมีการจัดระเบียบโพลล์ ปฏิรูปการทำโพลล์ โดยเฉพาะโพลล์ของสถาบันการศึกษา ที่นำแบรนด์ของสถาบันมาชี้นำทางสังคม เพื่อให้ผู้ทำโพลล์ได้ระมัดระวังมากขึ้น
"การทำโพลล์ต้องมีจรรยาบรรณ ถ้าทำแล้วผิดสม่ำเสมอต้องเสียค่าปรับ หรือต้องมีมาตรการทางสังคม และมาตรการทางกฎหมายมาลงโทษและควบคุม โดยอาจให้มีโทษปรับเงินหรือโทษจำคุก เพื่อให้คนทำโพลล์อธิบายอย่างโปร่งใสได้" ดร.ณกมล กล่าว
"ดร.ณกมล" กล่าวถึงรูปแบบหรือกระบวนการลงโทษโพลล์ผิดซ้ำซากว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดย รมว.ศึกษาธิการ ต้องมีมาตรการหรือต้องกำหนดการเผยแพร่โพลล์จะกระทำไม่ได้ หากยังเผยแพร่ถือว่าสถาบันที่ทำโพลล์มีความผิด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องมีบทบัญญัติห้ามทำโพลล์เผยแพร่ในสื่อ เพราะ กกต.ยังสามารถห้ามเผยแพร่โพลล์ 7 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งได้ ก็ต้องห้ามในข้อนี้ได้เช่นกัน รวมทั้งสื่อมวลชนทุกแขนงที่นำโพลล์ไปอ่านแล้วผลผิดพลาด ควรจะมีบทลงโทษ โดยไม่นำโพลล์ของสถาบันนั้นมาออกสื่ออีก และทางสถาบันที่ทำโพลล์ และอาจารย์ที่รับผิดชอบทำโพลล์ต้องออกแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบว่า สาเหตุความผิดพลาดเกิดจากอะไร เพราะผลโพลล์ได้ชี้นำทางสังคมไปแล้ว ถือว่ามีความผิดทางกฎหมายไปแล้ว เนื่องจากมีคนเชื่อโพลล์ไปแล้ว
"ความคลาดเคลื่อนของโพลล์มี 5% แต่สิ่งที่เกิดขึ้นโพลล์ผิดพลาดเกิน 5% แต่ถ้าทำผิดมาตลอดไม่ใช่ผิดแค่ 5-10% แต่เป็น 100% คนที่ทำโพลล์ทั้งหลายต้องมีจรรยาบรรณ ถ้าผิดเสมอทางนายกสภามหาวิทยาลัย หรืออธิการบดีสถาบันที่ทำโพลล์ต้องออกแถลงการณ์และแสดงความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น การทำโพลล์หากมองในแง่สีสันก็เป็นได้ แต่สีสันที่เป็นเหมือนลูกอมที่ต้องมองถึงผลของลูกอมที่ทำให้เกิดโรคอ้วนต้องกำจัดสิ่งเหล่านี้ด้วย"
http://www.komchadluek.net/detail/20130304/153121/ผลเลือกตั้งสะท้อนคุณภาพโพลล์.html