#ปลื้ม #เศรษฐพุฒิ ไม่พบประวัติเชี่ยวชาญ การลงทุน การออม การวิชาการระบบเศรษฐกิจ | เรื่องดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้

ท่านครับ,
การพูดถึง หนี้ ต่อ gdp เพิ่มมากขึ้นของพิธีกร #ปลื้ม
โดยนำตัวแปรที่ #ธปท กล่าวถึง มาอ้าง
มัน ข้างเดียว ครับ มันยังไม่ครบ ไม่ใช่ เฉพาะจำนวนประชากร ราคาสินค้าเกษตรที่ดี การมีรถคันใหม่ …..

ทำไมท่านไม่พูดถึงดอกเบี้ยเงินฝากที่ติดดินเลย
#ปลื้ม ใช้รายงาน #ธปท อย่างเดียว
ไม่ดูปัจจัยที่มีต่อครัวเรือนในการตัดสินใจ ในการออมและการถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน
ซึ่งขึ้นกับผลของราคา คือ price effect (ดอกเบี้ย กู้ /ดอก เบี้ยฝาก ) ที่กำหนดกลไก การตัดสินใจ ของครัวเรือน ต่อ การกู้ร่วม กับ ผลของทางเลือก

กำหนดให้ระดับรายได้ เลือก เพื่อถือครองสินทรัพย์แท้จริง ในระยะยาว กลาง  สั้น (substitution effect)
ได้แก่
กู้เพื่อ ถือ ครอง สินค้าอุปโภคบริโภค ระยะสั้น
กู้เพื่อ การบันเทิง ท่องเที่ยว เครื่องดื่ม และ บริโภค บริการที่ใช้แล้วหมดไป 

คนทั่วไปคิดว่า
การที่ดอก #กู้แพง กว่าดอกฝากมาก ทำให้ครัวเรือนต้องการแทนเงินที่เป็นสินทรัพย์ปัจจุบัน กับ การถือครองสินค้าคงทนและไม่คงทน
โดยเฉพาะ ปัจจัย สี่ 
และเลยไป ปัจจัย ห้า คือ บันเทิง

ครัวเรือนได้ utility of money spending แลกกับการบริโภคของครัวเรือน ปัจจุบัน (t1) มากกว่า ที่ได้จาก เงินออม ที่เอาไป บริโภคในอนาคต (t2) ครับครัวเรือน จึงเลือกไม่ออม แต่เลือกใช้จ่าย และ เป็นหนี้ 

สำหรับ คนรวย
เลือกที่จะออมในรูปแบบต่างๆ 
ฝากธนาคาร ซื้อหน่วยลงทุน ตราสาร กองทุน อัญมนี และทอง (ไม่มี ดอกเบี้ย)
และ ฝากในตลาดไม่เป็นทางการตลาด หนี้ นอกระบบ 
ทั้งหมดนี้ คือ เรื่องปกติที่เกิดจาก ระบบสถาบันการเงิน ที่มีสภาพดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าฝาก มากเกินที่ครัวเรือนจะ ตัดสินใจทำการออม
เพราะต้องรับความเสี่ยงของการด้อยค่าของสินทรัพย์ในอนาคต จาก เงินเฟ้อ และดอกเบี้ยฝากต่ำ 

#ธปท มีหน้าที่ ทำให้ NIM ต่อ สินทรัพย์สถาบันการเงิน ลดลง ไม่สูงเกินไป จนทำลาย morale ของ ผู้ฝากเงิน
และ ลงโทษความโน้มเอียงในการออม ทำให้ครัวเรือนเลิกออม หันไปบริโภคมากขึ้น ดังกล่าวข้างต้น

เรื่องนี้ไม่เกี่ยว ว่า จบ จาก ม.เยล/หรือ ฮาวาร์ด เพราะ มันคือ 
Econ 101 ของ คณะ เศรฐศาสตร์ แม้ เป็น มหาวิทยาลัย ห้องแถว หรือ ออนไลน์ 

กิตติ ลิ่มสกุล
นักวิชาการ 
20 ก.ย. 2567

ดร.กิตติ ลิ่มสกุล
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น ด้วยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbusho Scholarship)



คณะเศรษฐศาสตร์ สร้างนักศึกษาไทยจำนวนมาก ให้สามารถทำงานบนหลักการการเงิน เศรษฐกิจมหภาค และแข่งขันระหว่างประเทศได้จริง
การเงิน
การลงทุน
ที่เติบโตมหาศาล เกิดจากคนไทย คนไทยร่วมลงทุนต่างชาติ 
ในการทำงานเหล่านี้ ... ไม่พบประวัติของ #ปลื้ม #เศรษฐพุฒิ เกี่ยวข้อง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่