สรุปภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยปีที่แล้วขาย 8.7 แสนคัน ค่ายไหนขายดีมาดูกัน เจ้าใหญ่คาดการณ์ปี 2018 ยอดขายรถแตะ 9 แสนคัน


ในปีที่ผ่านมา 2017 ยอดขายรถยนต์ไทยนั้นได้เติบโตขึ้นจากปี 2016 โตขึ้นถึง 13.3% มีปริมาณการขายรถยนต์รวมปี 2017 อยู่ที่ 870,748 คัน สืบเนื่องมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ GDP ของประเทศไทยเติบโต 3.9% ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยเติบโตครั้งแรกในรอบ 4 ปี”

จากยอดขายทั้งสิ้น 870,748 คันสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มรถยนต์นั่ง 345,501 คัน โดยสัดส่วนของรถยนต์นั่งในปี 2017 ถือได้ว่าโตขึ้นกว่าปีก่อน 23.5%

และกลุ่มที่ 2 คือ รถเพื่อการพาณิชย์ อยู่ที่  525,247 คัน โตขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 7.4%
โดยรถเพื่อการพาณิชย์ยังแบ่งออกเป็น กลุ่ม รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถ PPV) 424,282 คัน มียอดขายเพิ่มขึ้นจากปี 2016 +7.7%
และรถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถ PPV) 364,706 คัน มียอดขายเพิ่มขึ้นจากปี 2016 +9.4%


สรุปสถิติการขายรถยนต์ ในปี 2017 เทียบกับปีก่อน 2016 มีดังนี้
ฃยอดขายปี 2017               เปลี่ยนแปลง      เทียบกับปี 2016
ปริมาณการขายรวม              870,748 คัน       +13.3%
รถยนต์นั่ง                              345,501  คัน       +23.5%
รถเพื่อการพาณิชย์              525,247  คัน       + 7.4%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถ PPV)      424,282  คัน       +7.7%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถ PPV)  364,706  คัน       +9.4%


อย่างไรก็ดีการคาดการณ์ตลาดรถยนต์ในปี 2018 จากค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Toyota ยังมองว่า
ปริมาณการขายรวมน่าจะแตะ 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.4% จากปี 2017 เนื่องจากปัจจัยบวกที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตของ GDP ที่ 3.9%*
สำหรับยอดคาดการณ์ 9 แสนคัน ได้แบ่งสัดส่วนของรถยนต์นั่งออกเป็น 352,000 คัน คาดเพิ่มขึ้น 1.9% จากปี 2560
รถเพื่อการพาณิชย์คาดอยู่ที่ 548,000 คัน เพิ่มขึ้น 4.3%
แตกออกเป็น รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถ PPV) ที่ 424,000 คัน ลดลง 0.1%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถ PPV) ที่ 364,000 คัน ลดลง 0.2 %


สรุปการประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2018 มีดังนี้
ปริมาณการขายรวม                900,000 คัน        เพิ่มขึ้น     3.4%
รถยนต์นั่ง                    352,000 คัน        เพิ่มขึ้น     1.9%
รถเพื่อการพาณิชย์            548,000 คัน        เพิ่มขึ้น     4.3%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถ PPV)        424,000 คัน        ลดลง      0.1%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถ PPV)   364,000 คัน        ลดลง      0.2 %


สำหรับสถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม ของปี 2017*
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 870,748 คัน เพิ่มขึ้น 13.3%                               
อันดับที่ 1 Toyota    240,137 คัน    ลดลง       2.0%    ส่วนแบ่งตลาด 27.6%
อันดับที่ 2 Isuzu         160,550 คัน    เพิ่มขึ้น     12.1%    ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
อันดับที่ 3 Honda    127,768 คัน    เพิ่มขึ้น     19.0%    ส่วนแบ่งตลาด 14.7%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 345,501 คัน เพิ่มขึ้น 23.5%                               
อันดับที่ 1 Toyota    96,606 คัน    เพิ่มขึ้น     10.7%    ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
อันดับที่ 2 Honda    95,078 คัน    เพิ่มขึ้น     21.7%    ส่วนแบ่งตลาด 27.5%
อันดับที่ 3 Mazda    36,769 คัน    เพิ่มขึ้น     34.3%    ส่วนแบ่งตลาด 10.6%


3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 424,282 คัน เพิ่มขึ้น 7.7%
อันดับที่ 1 Isuzu            146,165 คัน    เพิ่มขึ้น     13.4%    ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 2 Toyota    133,458 คัน    ลดลง      10.1%    ส่วนแบ่งตลาด 31.5%
อันดับที่ 3 Ford         52,664 คัน    เพิ่มขึ้น    39.2%    ส่วนแบ่งตลาด 12.4%
*ปริมาณการขายรถ PPV ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 59,576 คัน
Toyota 23,470 คัน – Mitsubishi 14,454 คัน – Isuzu 12,371 คัน – Ford 8,131 คัน – Chevrolet 1,150 คัน


4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 364,706 คัน เพิ่มขึ้น 9.4%
อันดับที่ 1 Isuzu          133,794 คัน    เพิ่มขึ้น    11.5%     ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 Toyota     109,988 คัน    ลดลง       8.7%     ส่วนแบ่งตลาด 30.2%
อันดับที่ 3 Ford          44,533 คัน    เพิ่มขึ้น     44.4%     ส่วนแบ่งตลาด 12.2%

5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 525,247 คัน เพิ่มขึ้น 7.4%                    
อันดับที่ 1 Isuzu            160,550 คัน    เพิ่มขึ้น   12.1%        ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 2 Toyota    143,531 คัน    ลดลง     9.1%        ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 3 Ford            55,585 คัน      เพิ่มขึ้น   39.0%        ส่วนแบ่งตลาด 10.6%

*หมายเหตุ: สถิติการจำหน่ายรถยนต์รวมปี 2560 เป็นตัวเลขประมาณการ ณ วันที่ 12 มกราคม 2561
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่