จะกล่าวไปถึงอธิปัญญาสิกขาในความหมายถึง ผล ไม่ใช่เหตุ
นั่นก็เป็นเรื่องของพระอรหันต์ท่าน
แต่เอาแค่พระโสดาบัน ท่านว่ามีปัญญาไม่มาก เลยไม่ใช้คำว่า อธิ-
(หรือควรใช้....?)
ขออ้างอิงพระสูตรหนึ่งนะครับ
สิกขาสูตรที่ ๑
[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ
อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ
จากพระสูตรนี้ กล่าวถึง ปัญญาสิกขา คือรู้อริยสัจ ๔ ใช่มั้ยครับ
ต่อมาในพระสูตรชื่อ สิกขา ๒ มีความเรื่องปัญญาสิกขาว่าอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
ดูจากสองพระสูตรนี้ อธิปัญญาสิกขามีสองแบบ (หรืออาจจะมีมากกว่าในพระสูตรอื่น ซึ่งผมยังไม่ได้หา)
อ่านดูแล้วเหมือนจะเป็นผลมากกว่าเหตุ
เช่นในส่วนของสมาธิ ก็พูดถึงการได้ฌาน ๑-๔ เป็นผลของการปฏิบัติ
คำถามของผมก็คือ เพื่อได้ถึงซึ่งปัญญาสิกขานี้ (จะเรียกว่าอธิปัญญาสิกขาก็ได้)
เพื่อนๆมีแนวทางปฏิบัติกันแบบไหนบ้างครับ
ทวนอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผลปฏิบัติอันจบที่... หาออาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป หรือรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ อย่างนี้ๆ
เพื่อนๆมีแนวทางปฏิบัติกันแบบไหนบ้างครับ
ขอย้ำ ว่าปฏิบัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติ แล้วก็ปฏิบัติ
ไม่ได้เรื่องเรื่องสมาธิ ศีลสิกขา จิตสิกขาแต่อย่างใด (แต่อยากจะคุยก็ไม่ขัดนนะ)
ปล. อ่านตามวิสุทธิมรรคก็ยาวเสียเหลือเกิน จะมีใครบ้างหนอพอสรุปความให้ได้อ่านบ้าง
เช่น “ สมาหิโต ยถาภูตํ ชานาติ ปสฺสติ ” พระโยคาพจรจะเห็นแท้รู้แน่นั้น อาศัยที่มีจิตสันดานอันตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้วกาลใด
ก็จะได้วิปัสสนาปัญญาอันเห็นแท้รู้แน่ในกาลนั้น
(ในที่นี้ วิปัสสนา เป็นเรื่อง ปัญญาสิกขา)
ปล. ๒ ถ้าท่านใดกล่าวสั้นๆว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็อนุโมทนาแต่ช่วยขยายความด้วยนะครับ
ซึ่งอ่านดูแล้ว ยังไม่ชัดเจนจะเอาเป็นหลักไปเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ แต่จะทิ้งไปไม่เก็บไว้เลยก็ประมาทไป
ปัญญาสิกขา เราปฏิบัติกันแบบไหน
นั่นก็เป็นเรื่องของพระอรหันต์ท่าน
แต่เอาแค่พระโสดาบัน ท่านว่ามีปัญญาไม่มาก เลยไม่ใช้คำว่า อธิ-
(หรือควรใช้....?)
ขออ้างอิงพระสูตรหนึ่งนะครับ
สิกขาสูตรที่ ๑
[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ
อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ
จากพระสูตรนี้ กล่าวถึง ปัญญาสิกขา คือรู้อริยสัจ ๔ ใช่มั้ยครับ
ต่อมาในพระสูตรชื่อ สิกขา ๒ มีความเรื่องปัญญาสิกขาว่าอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
ดูจากสองพระสูตรนี้ อธิปัญญาสิกขามีสองแบบ (หรืออาจจะมีมากกว่าในพระสูตรอื่น ซึ่งผมยังไม่ได้หา)
อ่านดูแล้วเหมือนจะเป็นผลมากกว่าเหตุ
เช่นในส่วนของสมาธิ ก็พูดถึงการได้ฌาน ๑-๔ เป็นผลของการปฏิบัติ
คำถามของผมก็คือ เพื่อได้ถึงซึ่งปัญญาสิกขานี้ (จะเรียกว่าอธิปัญญาสิกขาก็ได้)
เพื่อนๆมีแนวทางปฏิบัติกันแบบไหนบ้างครับ
ทวนอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผลปฏิบัติอันจบที่... หาออาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป หรือรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ อย่างนี้ๆ
เพื่อนๆมีแนวทางปฏิบัติกันแบบไหนบ้างครับ
ขอย้ำ ว่าปฏิบัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติ แล้วก็ปฏิบัติ
ไม่ได้เรื่องเรื่องสมาธิ ศีลสิกขา จิตสิกขาแต่อย่างใด (แต่อยากจะคุยก็ไม่ขัดนนะ)
ปล. อ่านตามวิสุทธิมรรคก็ยาวเสียเหลือเกิน จะมีใครบ้างหนอพอสรุปความให้ได้อ่านบ้าง
เช่น “ สมาหิโต ยถาภูตํ ชานาติ ปสฺสติ ” พระโยคาพจรจะเห็นแท้รู้แน่นั้น อาศัยที่มีจิตสันดานอันตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้วกาลใด
ก็จะได้วิปัสสนาปัญญาอันเห็นแท้รู้แน่ในกาลนั้น
(ในที่นี้ วิปัสสนา เป็นเรื่อง ปัญญาสิกขา)
ปล. ๒ ถ้าท่านใดกล่าวสั้นๆว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็อนุโมทนาแต่ช่วยขยายความด้วยนะครับ
ซึ่งอ่านดูแล้ว ยังไม่ชัดเจนจะเอาเป็นหลักไปเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ แต่จะทิ้งไปไม่เก็บไว้เลยก็ประมาทไป