แมงกะพรุนขนาดยักษ์


แมงกะพรุนสิงโต


แมงกะพรุนพิษที่มักจะทำให้คนวิตกกังวล
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของพวกมันแต่อย่างใด
เพราะมีแมงกะพรุนที่มีพิษมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งมีขนาดเล็กที่สุด
คือ Irukandji อิรุคันจิ


Irukandji



แต่ยังมีแมงกะพรุนอีก2 ชนิดที่มีพิษมาก
และมีความโดดเด่นเพราะมีขนาดใหญ่มาก
ทั้งยังมีหนวดที่ยาวมากด้วยเช่นกัน

แมงกะพรุนสิงโต  Cyanea capillata

แมงกะพรุนสายพันธุ์นี้พบได้ในที่หนาวเย็น
เข่น มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิค
บริเวณทะเลเหนือและทะเลไอร์แลนด์  
และชายฝั่งทะเลทวีปออสเตรเลียตอนใต้
โดยทั่วไปที่ระดับความลึกต่ำกว่า 20 เมตร


แมงกะพรุนสิงโต



บางครั้ง อาจจะพบแมงกะพรุนสิงโตรวมกันเป็นฝูงใหญ่
ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากพายุและกระแสน้ำที่มาปะทะกัน
ขนาดของแมงกะพรุนชนิดนี้มักจะโตกว่า 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว)
มีเส้นผ่าศูนย์กลางรูประฆังและมีหนวดยาว 30 เมตร (100 ฟุต) (น้ำหนักไม่แน่ชัด)
แมงกะพรุนสิงโตมักจะมีขนาดใหญ่ที่สุดตอนสิ้นฤดูร้อนในแต่ละปี  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด

หนวดแมงกะพรุนจะมีการจัดเรียงไว้ในรูป 8 ช่อ
แต่ละข่อมีหนวดยาวมากกว่า 100 เส้น
และหนวดแต่ละเส้นเต็มไปด้วยตุ่มพิษนับล้านเซลล์
ซึ่งมีไว้เพื่อจับแพลงก์ตอน ปลาขนาดเล็ก และแมงกะพรุนจาน

พวกมันจะฟาดใส่เหยื่ออย่างรุนแรงมาก
ถ้าถูกร่างกายมนุษย์แล้ว  ตุ่มพิษจะสามารถสร้างความเจ็บปวด
บาดแผลระคายเคืองและทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
และอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจและหัวใจได้
หนวดแมงกะพรุนที่ฟาดถูกจะคล้ายกับรอยเชือก/รอยแส้ฟาดใส่
ทิ้งร่องรอยการฟาดใส่ศัตรูอย่างเห็นได้ชัดเจน
แต่สายพันธุ์นี้ส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในน่านน้ำที่หนาวเย็นมาก
จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพบพวกมันได้บ่อยครั้ง




แมงกะพรุนโนมูระ Nemopilema nomurai


แมงกะพรุนโนมูระ


แมงกะพรุนโนบูระมักจะอาศัยอยู่ระหว่างทะเลจีนกับทะเลญี่ปุ่น
ส่วนมากมักจะเป็นทะเลเหลืองและทะเลจีนตะวันออก
และสามารถเติบโตได้เกือบเท่ากับขนาดแมงกะพรุนสิงโต
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว)
และมีน้ำหนักมากกว่า 220 กก. (450 ปอนด์)

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาแมงกะพรุนโนมูระได้บุกเข้าฝั่งญี่ปุ่นเป็นครั้งคราว
ในพื้นที่บางแห่งมีการรายงานความหนาแน่นของแมงกะพรุนนี้มากกว่าปกติถึง 100 เท่า
การแพร่กระจายจำนวนมากอย่างฉับพลันเคยเกิดขึ้นในปี 1958  และ 1995

นับเป็นเรื่องยากมากที่จะกำจัดแมงกะพรุนยักษ์เหล่านี้ได้
เพราะเมื่อใดก็ตามที่พวกมันรู้สึกว่าถูกโจมตีหรือถูกคุกคาม
แมงกะพรุนโนมูระจะปล่อยอสุจิหรือออกไข่จำนวนนับพันล้านฟอง
ซึ่งจะผสมพันธุ์และลอยไปติดกับปะการังหรือก้อนหินในทะเลได้
และเมื่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติอำนวย
พวกมันก็จะเติบโตเป็นแมงกะพรุนจำนวนมากมายมหาศาล
มีบางแห่งระบุว่าไข่ของแมงกะพรุนรอการฟักตัวได้นานนับ 10 ปี
แต่แมงกะพรุนขนาดเล็กก็ยังเป็นห่วงโซ่อาหารประเภทหนึ่งเช่นกัน

เขื่อนสามโตรก  Three Gorges Dam บนแม่น้ำแยงซี
มีส่วนเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน่านน้ำนอกประเทศจีน
และทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่เหมาะสำหรับแมงกะพรุนโนมูระ
น่านน้ำแห่งนี้มีการเสริมสร้างคุณค่าสารอาหารให้กับแมงกะพรุ่นโนมูระมากขึ้น
เพราะผลสืบเนื่องมาจากการทำการเกษตรในประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นจึงต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น
การพัฒนาท่าเรือของจีนยิ่งทำให้มีโครงสร้างขนาดใหญ่ใต้น้ำ
ซึ่งทำให้ตัวอ่อนโนมูระเข้าไปอาศัยและยึดเกาะตัวเองได้
ภาวะโลกร้อนมีส่วนทำให้น้ำร้อนขึ้นและกลายเป็นกรดมากขึ้น
และเหมาะสำหรับแมงกะพรุนเหล่านี้  และแมงกะพรุนชนิดอื่น ๆ
การทำการประมงของจีนที่มากเกินไป ก็มีส่วนทำลายผู้ล่าตัวอ่อนโนมูระด้วย

การโบยของแมงกะพรุนโนมูระนั้นเจ็บปวดมาก
แต่โดยทั่วไปไม่ร้ายแรงมากนัก มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเพียง 8 รายเท่านั้น
แมงกะพรุนโนมูระได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ในญี่ปุ่น
จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อหาทางต่อสู้กับพวกมัน
ทำให้พวกมันถูกจับเป็นด้วยตาข่ายพิเศษและถูกทำลายเป็นจำนวนมาก
และนักวิจัยพยายามที่จะส่งเสริมให้พวกมันกลายเป็นแหล่งอาหารมนุษย์
ด้วยการขายแบบแห้งและแบบเค็ม เป็นส่วนผสมของขนมคุกกี้ เต้าหู้
และคอลลาเจนซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อผิวหนัง
ด้วยการสกัดสารคอลลาเจนจากลำตัวของแมงกะพรุน


แมงกะพรุนโนมูระ



อนึ่ง  กลุ่มสถาบันวิทยาศาสตร์ 15 แห่งจาก 8 ประเทศในยุโรป
ที่ประสานงานโดย GEOMAR Helmholtz Center for Ocean Research Kiel
มีแนวคิดเชิงนวัตกรรมในโครงการ GoJelly ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป
ด้วยจำนวนเงินมากกว่า 6 ล้านยูโรในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาด้วยการใช้เงินทุนนี้อย่างสมเหตุสมผล

" ในทวีปยุโรปเพียงที่เดียว มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์แมงกะพรุนจากอเมริกามากกว่าหนึ่งพันล้านตัน
ในขณะที่เรามีแนวโน้มที่จะละเลยพวกแมงกะพรุนไป  ด้วยการใช้แนวทางแก้ไขปัญหาด้านอื่น ๆ แทน "
Dr.Jamileh Javidpour จาก GEOMAR ผู้ริเริ่มและผู้ประสานงานของ GoJelly

ลำดับแรก ยังมีงานขั้นพื้นฐานที่ต้องทำร่วมกันสำหรับพันธมิตรทั้งหมด
กล่าวคือ วงจรชีวิตของแมงกะพรุนหลายชนิดแทบยังไม่ได้สำรวจ
ดังนั้นจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะคาดเดาว่า
เมื่อใดและทำไมฝูงแมงกะพรุนขนาดใหญ่จะเกิดขึ้น

" นี่คือ สิ่งที่เราต้องการเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้ฝูงแมงกะพรุนขนาดใหญ่
สามารถจับได้ก่อนพวกมันมาถึงชายฝั่ง" Dr.Jamileh Javidpour

ลำดับที่สอง  ที่กำลังดำเนินการในโครงการร่วมกัน
ตือการพยายามตอบคำถามเบื้องต้นของลำดับแรก
จะะทำอย่างไรกับการจับแมงกะพรุนเหล่านี้
แนวคิดอย่างหนึ่งคือ ใช้พวกมันกับภัยคุกคามที่มนุษย์สร้างขึ้น

" ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า เมือกของแมงกะพรุนสามารถโยงยึด/จับ Microplastic
ดังนั้น เราจึงต้องการที่จะทดสอบว่า Biofilters
สามารถผลิตได้จากแมงกะพรุนได้  และ Biofilters เหล่านี้จะสามารถนำมาใช้
ในโรงงานบำบัดน้ำเสียหรือในโรงงานที่ผลิต Microplastic ได้ " ทีมนักวิจัย Gojelly

แมงกะพรุนยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อการเกษตรหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
" ปลาที่เลี้ยงในฟาร์มโดยปกติมักจะจับมาจากปลาธรรมชาติ
ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ลดปริมาณการจับสัตว์น้ำลงได้
การใช้แมงกะพรุนเลี้ยงปลาในฟาร์มจะทำให้ธุรกิจประมงยั่งยืน
และยังช่วยรักษาปริมาณและจำนวนปลาในธรรมชาติได้ " ทีมนักวิจัย Gojelly

นักวิจัยยังคิดถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับมนุษย์บริโภคด้วย
" ในบางวัฒนธรรม แมงกะพรุนอยู่ในเมนูอาหาร
ตราบเท่าที่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำไม่เป็นพิษกับผู้บริโภค
และจะทำให้ได้รับการยอมรับกันอย่างทั่วไปมากขึ้น
เรื่องที่สำคัญมากคือ แมงกะพรุนยังมีสารคอลลาเจน
ซึ่งเป็นสารที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง " Dr.Jamileh Javidpour

" ทั้งนี้นอกจาก GoJelly Project Office จะเป็นผู้ริเริ่มในเรื่องนี้
European Science Foundation (ESF) ยังได้มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุน
ในด้านการประสานงานและอำนวยความสะดวกสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่าง
สถาบันการศึกษา โรงงานอุตสาหกรรม ผู้กำหนดนโยบาย และภาคประชาสังคม
โดยการให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ในการเข้าร่วมกับ GoJelly เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
นี่คือ วัตถุประสงค์ของการตลาดและการใช้ประโยชน์จากแมงกะพรุน
ESF จะเป็นแกนนำในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Blue Growth
(ธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรจากท้องทะเลให้ได้ประโยชน์สูงประหยัดสุดเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว)
Go Jelly จะใช้ศักยภาพของมหาสมุทร ทะเลและชายฝั่งทะเลของยุโรป
ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพสีฟ้า Blue Biotechnologies
ด้วยแนวทางใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมมากที่มากขึ้น " Dr.Cabezas

" แมงกะพรุนสามารถใช้ได้หลายอย่างมาก
เรามองเห็นโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จาก
สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ลอยตัวอยู่ตรงหน้าบ้านเรา " Dr.Jamileh Javidpour


เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/rLYpMU
https://goo.gl/cgXzMD
https://goo.gl/hHyWvn
https://goo.gl/atFkPM






การวางไข่ Cotylorhiza tuberculata


การวางไข่ Cotylorhiza tuberculata


Phacellophora camtschatica


Phacellophora camtschatica


การวางไข่ Cotylorhiza tuberculata




เรื่องเล่าไร้สาระ

แถวภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน
ในบางช่วงจะมีแมงกะพรุนลอยตัวในทะเลจำนวนมาก
จะกลายเป็นมหกรรมชาวประมงต่างลอยเรือไปตักแมงกะพรุน
ถ้าขายเป็นตัวราคาระหว่าง 3-5 บาทแล้วแต่ขนาด/Demand
แต่ถ้ายังไม่ขายจะนำมาแปรรูปด้วยการผ่าตัวแมงกะพรุน
ทำการหมักด้วยเกลือ สารส้ม และโซเดียมไบคาร์บอเนต
เมื่อหมักได้ที่แล้วก็จะนำออกขายด้วยการชั่งเป็นกิโลกรัม
เคยไปดูชาวบ้านแห่งหนึ่งหมักแมงกะพรุนกันแบบง่าย ๆ และมีกลิ่นอบอวลไปหมด
ด้วยการใช้ผ้าใบกันน้ำปูขึ้นเป็นบ่อสี่เหลี่ยมในช่วงจับแมงกะพรุน
พร้อมกับทำหลังคาชั่วคราวคลุมกันฝนและน้ำค้าง
เพราะแมงกะพรุนมีเป็นช่วง ๆ บางปีแทบจะไม่มีเลย



Credit Boychon

1 แมงกะพรุนที่ดองเปลือกไม้ เช่น เปลือกต้นเข็ง(ต้นลูกหยี)  เปลือกต้นมะยม
และอีกหลายอย่างที่มีรสฝาด สีแดง จุดประสงค์ เพื่อขับให้น้ำในตัวกะพรุนออกไป
ยางในตัวเปลือกไม้จะรักษาเนื้อของกะพรุนไว้ไม่ให้เน่า แช่ใว้คืน2คืนก็กินได้แล้ว

2 แมงกะพรุนสีขาว ๆ ที่ใส่เย็นตาโฟ จะดองด้วยเกลือ สารส้ม และผงฟู  
กรรมวิธีการทำก็มีขั้นตอนยุ่งยากและเหนื่อยพอสมควร

3 แมงกะพรุนทั้งขาวและแดง คือชนิดเดียวกัน
คือแมงกะพรุนหนัง และแมงกะพรุนจาน

ส่วนแมงกะพรุนไฟที่ผิวมีจุดแดง ๆ น้ำตาล ๆ เป็นจุด ๆ นั้นก็เอามาดองได้
แต่ไม่นิยมกันเพราะขั้นตอนสุดท้ายต้องมาเฉือนผิวที่เป็นจุดออกไป








ที่มา https://goo.gl/w2UGAh
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่