นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยระบุว่า ละครเรื่อง "ล่า" ที่เผยแพร่ทางช่อง ONE ยังคงเป็นกระแสอยู่ ณ ขณะนี้ จุดที่น่าสังเกตในสังคมออนไลน์ต่างๆ คือมีการแชร์ประสบการณ์ทั้งเคยเป็นผู้ที่ถูกลวมลามทางเพศหรือเห็นผู้ที่กระทำ ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับผู้รับชมละครคือกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์การถูกลวนลามทางเพศ เกิดปัญหาเรียกว่า PTSD (Posttraumatic Stress Disorder) บาดแผลทางใจ ซึ่งเกิดจากการได้รับเรื่องสะเทือนใจที่รุนแรงจนฝังเป็นความทรงจำในจิตใต้สำนึก
หากรับชมละครเรื่องนี้ มีส่วนที่จะกระตุ้น ความทรงจำที่ยังฝังใจ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงคนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ชีวิตที่ปกติได้ 100% เหมือนกับคนทั่วไป เช่น ไม่กล้าเดินไปในบางสถานที่ ไม่กล้าขึ้นรถแท็กซี่ ฯลฯ หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ทันที
ปัญหาเรื่องการลวนลามทางเพศปัจจุบันเป็นปัญหาที่พบบ่อย ในทุกสังคมและโดยส่วนใหญ่มาจากคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเอง ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ไม่กล้าที่จะขอความช่วยเหลือโดยตรง และน้อยคนนักที่จะรู้ว่าประเทศไทยเรา มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
โดยเจตจำนงค์ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวช่วยให้ครอบครัวมีทางออกโดยที่สังคมต้องมีส่วนร่วมอันนี้สำคัญมาก ในหลายกรณีเด็กหรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจากการเข้าไปสอบถามมักพบว่าเพื่อนบ้านได้พบเหตุเป็นประจำ แต่สังคมกลับเพิกเฉยจนกลายเป็นระบบปิดของครอบครัว ทั้งที่จริงหากเราเข้าไปแทรกแซงตั้งแต่เริ่มแรก ตัวเด็กหรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจะไม่ได้รับความรุนแรงส่วนพ่อแม่หรือครอบครัวยังจะได้รับความช่วยเหลือให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น
ทั้งนี้ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งตำรวจหรือแม้แต่ในชนบทสามารถแจ้งได้ทั้งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน หากได้รับการแจ้งบุคคลเหล่านี้จะสามารถแทรกแซงและช่วยเหลือได้ทันที วงจรการทำร้ายเด็กหรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายก็จะสิ้นสุดลง สิ่งสำคัญคนในชุมชนอย่านิ่งเฉยและอย่ายอมให้มีการทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า
"ให้ลบล้างความเชื่อว่าความรุนแรงในครอบครัว" เป็นเรื่องภายในครอบครัว มายาคตินี้ถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ที่ทำให้ พ.ร.บ. ทำงานไม่ได้ผล แม้แต่ในเจ้าหน้าที่บางคนเองยังมีความเชื่อแบบนั้น ตัวอย่างเช่น เช่นภรรยาถูกทำร้ายร่างกายมา ตำรวจยังไม่ดำเนินการให้เข้าสู่กระบวนการภายใต้ พ.ร.บ. นั่นถือว่าเป็นการบกพร่องของเจ้าหน้าที่ ณ จุดนั้น โดยหลักสากลที่ทำการศึกษามาแล้วทั่วโลก ว่าความรุนแรงจะมีต่อไปเรื่อยๆ หากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีการแทรกแซง" ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตระบุ
cr
http://movie.sanook.com/74309/
แพทย์ห่วงละครเรื่อง “ล่า“ กระทบใจผู้เคยถูกละเมิดทางเพศ
หากรับชมละครเรื่องนี้ มีส่วนที่จะกระตุ้น ความทรงจำที่ยังฝังใจ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงคนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ชีวิตที่ปกติได้ 100% เหมือนกับคนทั่วไป เช่น ไม่กล้าเดินไปในบางสถานที่ ไม่กล้าขึ้นรถแท็กซี่ ฯลฯ หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ทันที
ปัญหาเรื่องการลวนลามทางเพศปัจจุบันเป็นปัญหาที่พบบ่อย ในทุกสังคมและโดยส่วนใหญ่มาจากคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเอง ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ไม่กล้าที่จะขอความช่วยเหลือโดยตรง และน้อยคนนักที่จะรู้ว่าประเทศไทยเรา มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
โดยเจตจำนงค์ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวช่วยให้ครอบครัวมีทางออกโดยที่สังคมต้องมีส่วนร่วมอันนี้สำคัญมาก ในหลายกรณีเด็กหรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจากการเข้าไปสอบถามมักพบว่าเพื่อนบ้านได้พบเหตุเป็นประจำ แต่สังคมกลับเพิกเฉยจนกลายเป็นระบบปิดของครอบครัว ทั้งที่จริงหากเราเข้าไปแทรกแซงตั้งแต่เริ่มแรก ตัวเด็กหรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจะไม่ได้รับความรุนแรงส่วนพ่อแม่หรือครอบครัวยังจะได้รับความช่วยเหลือให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น
ทั้งนี้ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งตำรวจหรือแม้แต่ในชนบทสามารถแจ้งได้ทั้งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน หากได้รับการแจ้งบุคคลเหล่านี้จะสามารถแทรกแซงและช่วยเหลือได้ทันที วงจรการทำร้ายเด็กหรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายก็จะสิ้นสุดลง สิ่งสำคัญคนในชุมชนอย่านิ่งเฉยและอย่ายอมให้มีการทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า
"ให้ลบล้างความเชื่อว่าความรุนแรงในครอบครัว" เป็นเรื่องภายในครอบครัว มายาคตินี้ถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ที่ทำให้ พ.ร.บ. ทำงานไม่ได้ผล แม้แต่ในเจ้าหน้าที่บางคนเองยังมีความเชื่อแบบนั้น ตัวอย่างเช่น เช่นภรรยาถูกทำร้ายร่างกายมา ตำรวจยังไม่ดำเนินการให้เข้าสู่กระบวนการภายใต้ พ.ร.บ. นั่นถือว่าเป็นการบกพร่องของเจ้าหน้าที่ ณ จุดนั้น โดยหลักสากลที่ทำการศึกษามาแล้วทั่วโลก ว่าความรุนแรงจะมีต่อไปเรื่อยๆ หากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีการแทรกแซง" ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตระบุ
cr http://movie.sanook.com/74309/