ครอบครัวไม่ใช่ Safe Zone สำหรับทุกคน เพราะทุกวันนี้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหา พ่อ-แม่ ทำร้ายลูก ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดกับเด็ก อย่างตอนล่าสุดของซีรีส์เรื่อง
‘Mother เรียกฉันว่า..แม่’ ก็มีฉากครอบครัวของ
‘ของขวัญ’ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่อยู่ในครอบครัวที่แม่แต่งงานใหม่ และ ต้องคอยออกไปทำงานข้างนอกดึกดื่น ทำให้ของขวัญต้องอยู่กับแฟนใหม่ของแม่ ที่มีฐานะเป็น
‘พ่อเลี้ยง’
มีข่าวมากมายที่พ่อเลี้ยงล่วงละเมิดลูก ดังนั้นการปล่อยเด็กไว้กับพ่อเลี้ยงนับว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยง แต่ใน ‘Mother เรียกฉันว่า..แม่’ แม่ของ ‘ของขวัญ’ ปล่อยให้อยู่กันสองคน จน ‘ของขวัญ’ ถูกพ่อเลี้ยงทำร้าย และถูกล่วงละเมิด
การจับ ‘ของขวัญ’ ให้ใส่ชุดผู้ใหญ่ จับแต่งหน้า ฉีดน้ำหอม ให้เหมือนแม่ ก็แสดงให้เห็นถึงการล่วงละเมิดที่น่ารังเกียจ แต่เรื่องที่แย่กว่านั้นคือเมื่อแม่ของ ‘ของขวัญ’ กลับมาเห็นเหตุการณ์ก็ไม่ช่วยเหลือ แต่ดุด่า ‘ของขวัญ’ แทน ทำให้ ‘ของขวัญ’ รู้สึกเหมือนโดนทอดทิ้ง ไม่มีใครเข้าใจ
เช่นเดียวกับในชีวิตจริง… บางคนอาจเคยโดนเหตุการณ์ความรุนแรง หรือ โดนล่วงละเมิดภายในครอบครัว สิ่งที่น่าเศร้าคือการไม่ได้รับความช่วยเหลือ เหมือนชีวิตต้องสู้ด้วยตัวเอง แล้วถ้ายิ่งเป็นเด็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ล่ะ?
ดังนั้น เราเองก็ควรจะช่วยเป็นหูเป็นตา และ ให้ความช่วยเหลือกับเด็กที่โดนเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้...
สัญญาณที่เตือนว่าเด็กถูกทารุณกรรม หรือ โดนทอดทิ้ง
สัญญาณเตือนจากการถูกทำร้ายจิตใจ
- วิตกกังวลมากเกินไปเวลาทำอะไรผิด
- แสดงพฤติกรรมรุนแรง
- ดูไม่ค่อยมีการติดต่อหรือผูกพันกับผู้ปกครอง คนที่ดูแล
- แสดงท่าทางที่ดูโตเป็นผู้ใหญ่เกินวัย หรือ แสดงความเป็นเด็กเกินไป
สัญญาณเตือนจากการถูกทำร้ายร่างกาย
- มักมีรอยบาดแผล หรือ ฟกช้ำ ที่หาสาเหตุไม่ได้
- ตื่นตัว และ วิตกว่าจะเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นเสมอ
- มีร่องรอยบาดแผลที่ดูมีลวดลาย เช่น รอยมือ หรือ รอยเข็มขัด
- กลัวการสัมผัส ตกใจ สะดุ้งง่าย หรือ มีอาการไม่อยากกลับบ้าน
- สวมเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมเพื่อปกปิดรอยการถูกทำร้าย เช่น ใส่แขนยาวในวันที่อากาศร้อน
สัญญาณเตือนจากการถูกทอดทิ้ง
- เสื้อผ้าสกปรก หรือ สวมใส่ไม่เหมาะสม
- สุขอนามัยไม่ดี ไม่อาบน้ำ สระผม มีกลิ่นเหม็น
- ไม่ได้รับการรักษาเวลาป่วย หรือ ได้รับบาดเจ็บ
- มักถูกปล่อยให้อยู่คนเดียว หรือ ได้รับอนุญาตให้ไปเล่นในพื้นที่เสี่ยง
- มักจะไปโรงเรียนสาย หรือ ขาดเรียน
สัญญาณเตือนจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- มีปัญหาเวลาเดิน หรือ นั่ง
- แสดงความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย
- แสดงท่าทีแข็งกร้าวกับบุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุผล
- ไม่ต้องการเปลี่ยนเสื้อผ้าต่อหน้าคนอื่น หรือ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกาย
- มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ ตั้งครรภ์ในอายุที่ต่ำกว่า 14
- หลบหนีออกจากบ้าน
วิธีช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม หรือ โดนทอดทิ้ง
ความรุนแรงในเด็กเป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับ และ ยากที่จะเปิดอกพูดคุยกัน แต่ถ้าเด็กไว้ใจคุณแล้ว ทางที่ดีที่สุดเวลาที่คุยเรื่องนี้คือแสดงให้เห็นว่าคุณสงบ เปิดใจ และ แสดงให้เห็นว่าคุณพร้อมช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข
- ทำตัวให้สงบนิ่ง และ พร้อมเปิดใจรับฟัง ปกติเวลาที่ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการทารุณกรรมในเด็ก เรามักจะเผลอแสดงท่าทางที่ไม่ดีออกมา เช่น การทำท่ารังเกียจ ซึ่งพอทำท่าทางแบบนั้น เด็กก็อาจจะกลัวและไม่กล้าเล่าเรื่องของเขาต่อ จงจำไว้ว่าให้ทำตัวนิ่งๆ และเปิดใจรับฟังให้มากที่สุด
- อย่าซักถาม ปล่อยให้เด็กเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแบบของเขา อย่าซักถามมาก หรือ ถามคำถามที่ชี้นำ เพราะนั่นจะทำให้เด็กสับสน และ กระวนกระวาย จนทำให้ไม่สามารถเล่าเรื่องต่อได้
- สร้างความมั่นใจให้เด็กว่าเขาไม่ได้ทำอะไรผิด การทำให้เขามั่นใจว่าตัวเขาไม่ได้ทำอะไรผิด หรือ คอยพูดอย่างจริงจังว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่ความผิดของเขานะ ซึ่งการที่ทำให้เด็กมั่นใจในความเชื่อนี้ เด็กๆ ก็จะสามารถก้าวผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายไปได้
- ความปลอดภัยมาก่อนเสมอ หากคุณรู้สึกว่าความปลอดภัยของคุณ หรือ ความปลอดภัยของเด็ก กำลังถูกคุกคาม จงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญดีกว่า
การแจ้งรายงานเด็กที่ถูกทารุณกรรม
หากคุณกำลังสงสัยว่าเด็กกำลังถูกล่วงละเมิดหรือโดนทารุณกรรม ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในการรายงานอาจต้องมีข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติม เช่น แอบถ่ายสิ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัว เป็นต้น เพราะยิ่งคุณมีข้อมูลรายงานมากเท่าไหร่ การช่วยเหลือก็จะเป็นไปด้วยดีมากเท่านั้น
ฉันไม่อยากยุ่งเรื่องครอบครัวคนอื่น การทารุณกรรมในเด็ก
ไม่ใช่เรื่องปกติในครอบครัว ดังนั้นเราไม่ควรเพิกเฉย หากยิ่งทำตัวไม่รู้ไม่เห็น เด็กก็ยิ่งได้รับความเจ็บปวดมากขึ้น
ถ้าฉันทำให้บ้านเขาแตกแยกกันล่ะ? การรายงานเรื่องเด็กที่ถูกทารุณกรรมนั้นไม่ได้หมายความว่าเด็กจะต้องโดนแยกออกจากที่บ้านทันที ยกเว้นแต่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายจริงๆ ดังนั้นหากแจ้งแล้วก็อาจมีการช่วยเหลือด้านการให้คำปรึกษา การอบรมเลี้ยงดู และ ตรวจสอบภาวะอารมณ์ของผู้ปกครอง
พวกเขารู้แน่ว่าฉันเป็นคนแจ้ง การแจ้งรายงานไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน คุณสามารถไม่แจ้งชื่อเมื่อโทรรายงานหาหน่วยงานก็ได้
ถ้าสิ่งที่ทำลงไปไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงล่ะ แน่นอนว่ากันไว้ดีกว่าแก้ หากคุณรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ และ แม้ว่าจะไม่ได้รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ก็ดีกว่าเพิกเฉย และ ปล่อยให้มันผ่านไปโดยไม่ช่วยเหลือ
(ข้อมูลจาก:
https://www.helpguide.org)
เรื่อง '
mother เรียกฉันว่า..แม่' ถือว่าเป็นซีรีส์ที่สะท้อนเรื่องจริงในสังคมเช่นกัน ถึงแม้เรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ความไม่พร้อมในครอบครัว ความยากจน สุขภาพจิตต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมป้องกัน ดังนั้นอย่าปล่อยให้เรื่องนี้เป็นเพียงแค่ละครที่สะท้อนสังคม แต่เรามาช่วยกันเปลี่ยนแปลง สร้างค่านิยมช่วยเหลือกัน ป้องกัน แจ้งเหตุ เพื่อไม่ให้เด็กเหล่านั้นต้องเจอกับฝันร้าย เหมือนอย่างเช่น
‘ของขวัญ’
เมื่อพบเห็นเด็กถูกทำร้าย โทรแจ้งหรือขอคำปรึกษาได้ที่
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 0-2412-1196
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด
และสามารถติดตามเรื่อง
Mother เรียกฉันว่า..แม่ ได้บน LINE TV เท่านั้น ตอนใหม่ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 20:00 น. >>
https://lin.ee/gNfy9qi/qmnd/LTV/PT
ดูตั้งแต่ตอนแรกได้ที่นี่ คลิกเลย! >>
https://lin.ee/mhJn05z/qmnd/LTV/PT
“พ่อเลี้ยงทำร้าย แม่ก็ไม่ช่วย” ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ที่ไม่เคยหมดไป!
มีข่าวมากมายที่พ่อเลี้ยงล่วงละเมิดลูก ดังนั้นการปล่อยเด็กไว้กับพ่อเลี้ยงนับว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยง แต่ใน ‘Mother เรียกฉันว่า..แม่’ แม่ของ ‘ของขวัญ’ ปล่อยให้อยู่กันสองคน จน ‘ของขวัญ’ ถูกพ่อเลี้ยงทำร้าย และถูกล่วงละเมิด
การจับ ‘ของขวัญ’ ให้ใส่ชุดผู้ใหญ่ จับแต่งหน้า ฉีดน้ำหอม ให้เหมือนแม่ ก็แสดงให้เห็นถึงการล่วงละเมิดที่น่ารังเกียจ แต่เรื่องที่แย่กว่านั้นคือเมื่อแม่ของ ‘ของขวัญ’ กลับมาเห็นเหตุการณ์ก็ไม่ช่วยเหลือ แต่ดุด่า ‘ของขวัญ’ แทน ทำให้ ‘ของขวัญ’ รู้สึกเหมือนโดนทอดทิ้ง ไม่มีใครเข้าใจ
เช่นเดียวกับในชีวิตจริง… บางคนอาจเคยโดนเหตุการณ์ความรุนแรง หรือ โดนล่วงละเมิดภายในครอบครัว สิ่งที่น่าเศร้าคือการไม่ได้รับความช่วยเหลือ เหมือนชีวิตต้องสู้ด้วยตัวเอง แล้วถ้ายิ่งเป็นเด็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ล่ะ?
ดังนั้น เราเองก็ควรจะช่วยเป็นหูเป็นตา และ ให้ความช่วยเหลือกับเด็กที่โดนเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้...
สัญญาณที่เตือนว่าเด็กถูกทารุณกรรม หรือ โดนทอดทิ้ง
สัญญาณเตือนจากการถูกทำร้ายจิตใจ
- วิตกกังวลมากเกินไปเวลาทำอะไรผิด
- แสดงพฤติกรรมรุนแรง
- ดูไม่ค่อยมีการติดต่อหรือผูกพันกับผู้ปกครอง คนที่ดูแล
- แสดงท่าทางที่ดูโตเป็นผู้ใหญ่เกินวัย หรือ แสดงความเป็นเด็กเกินไป
สัญญาณเตือนจากการถูกทำร้ายร่างกาย
- มักมีรอยบาดแผล หรือ ฟกช้ำ ที่หาสาเหตุไม่ได้
- ตื่นตัว และ วิตกว่าจะเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นเสมอ
- มีร่องรอยบาดแผลที่ดูมีลวดลาย เช่น รอยมือ หรือ รอยเข็มขัด
- กลัวการสัมผัส ตกใจ สะดุ้งง่าย หรือ มีอาการไม่อยากกลับบ้าน
- สวมเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมเพื่อปกปิดรอยการถูกทำร้าย เช่น ใส่แขนยาวในวันที่อากาศร้อน
สัญญาณเตือนจากการถูกทอดทิ้ง
- เสื้อผ้าสกปรก หรือ สวมใส่ไม่เหมาะสม
- สุขอนามัยไม่ดี ไม่อาบน้ำ สระผม มีกลิ่นเหม็น
- ไม่ได้รับการรักษาเวลาป่วย หรือ ได้รับบาดเจ็บ
- มักถูกปล่อยให้อยู่คนเดียว หรือ ได้รับอนุญาตให้ไปเล่นในพื้นที่เสี่ยง
- มักจะไปโรงเรียนสาย หรือ ขาดเรียน
สัญญาณเตือนจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- มีปัญหาเวลาเดิน หรือ นั่ง
- แสดงความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย
- แสดงท่าทีแข็งกร้าวกับบุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุผล
- ไม่ต้องการเปลี่ยนเสื้อผ้าต่อหน้าคนอื่น หรือ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกาย
- มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ ตั้งครรภ์ในอายุที่ต่ำกว่า 14
- หลบหนีออกจากบ้าน
วิธีช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม หรือ โดนทอดทิ้ง
ความรุนแรงในเด็กเป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับ และ ยากที่จะเปิดอกพูดคุยกัน แต่ถ้าเด็กไว้ใจคุณแล้ว ทางที่ดีที่สุดเวลาที่คุยเรื่องนี้คือแสดงให้เห็นว่าคุณสงบ เปิดใจ และ แสดงให้เห็นว่าคุณพร้อมช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข
- ทำตัวให้สงบนิ่ง และ พร้อมเปิดใจรับฟัง ปกติเวลาที่ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการทารุณกรรมในเด็ก เรามักจะเผลอแสดงท่าทางที่ไม่ดีออกมา เช่น การทำท่ารังเกียจ ซึ่งพอทำท่าทางแบบนั้น เด็กก็อาจจะกลัวและไม่กล้าเล่าเรื่องของเขาต่อ จงจำไว้ว่าให้ทำตัวนิ่งๆ และเปิดใจรับฟังให้มากที่สุด
- อย่าซักถาม ปล่อยให้เด็กเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแบบของเขา อย่าซักถามมาก หรือ ถามคำถามที่ชี้นำ เพราะนั่นจะทำให้เด็กสับสน และ กระวนกระวาย จนทำให้ไม่สามารถเล่าเรื่องต่อได้
- สร้างความมั่นใจให้เด็กว่าเขาไม่ได้ทำอะไรผิด การทำให้เขามั่นใจว่าตัวเขาไม่ได้ทำอะไรผิด หรือ คอยพูดอย่างจริงจังว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่ความผิดของเขานะ ซึ่งการที่ทำให้เด็กมั่นใจในความเชื่อนี้ เด็กๆ ก็จะสามารถก้าวผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายไปได้
- ความปลอดภัยมาก่อนเสมอ หากคุณรู้สึกว่าความปลอดภัยของคุณ หรือ ความปลอดภัยของเด็ก กำลังถูกคุกคาม จงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญดีกว่า
การแจ้งรายงานเด็กที่ถูกทารุณกรรม
หากคุณกำลังสงสัยว่าเด็กกำลังถูกล่วงละเมิดหรือโดนทารุณกรรม ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในการรายงานอาจต้องมีข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติม เช่น แอบถ่ายสิ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัว เป็นต้น เพราะยิ่งคุณมีข้อมูลรายงานมากเท่าไหร่ การช่วยเหลือก็จะเป็นไปด้วยดีมากเท่านั้น
ฉันไม่อยากยุ่งเรื่องครอบครัวคนอื่น การทารุณกรรมในเด็กไม่ใช่เรื่องปกติในครอบครัว ดังนั้นเราไม่ควรเพิกเฉย หากยิ่งทำตัวไม่รู้ไม่เห็น เด็กก็ยิ่งได้รับความเจ็บปวดมากขึ้น
ถ้าฉันทำให้บ้านเขาแตกแยกกันล่ะ? การรายงานเรื่องเด็กที่ถูกทารุณกรรมนั้นไม่ได้หมายความว่าเด็กจะต้องโดนแยกออกจากที่บ้านทันที ยกเว้นแต่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายจริงๆ ดังนั้นหากแจ้งแล้วก็อาจมีการช่วยเหลือด้านการให้คำปรึกษา การอบรมเลี้ยงดู และ ตรวจสอบภาวะอารมณ์ของผู้ปกครอง
พวกเขารู้แน่ว่าฉันเป็นคนแจ้ง การแจ้งรายงานไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน คุณสามารถไม่แจ้งชื่อเมื่อโทรรายงานหาหน่วยงานก็ได้
ถ้าสิ่งที่ทำลงไปไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงล่ะ แน่นอนว่ากันไว้ดีกว่าแก้ หากคุณรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ และ แม้ว่าจะไม่ได้รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ก็ดีกว่าเพิกเฉย และ ปล่อยให้มันผ่านไปโดยไม่ช่วยเหลือ
(ข้อมูลจาก: https://www.helpguide.org)
เรื่อง 'mother เรียกฉันว่า..แม่' ถือว่าเป็นซีรีส์ที่สะท้อนเรื่องจริงในสังคมเช่นกัน ถึงแม้เรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ความไม่พร้อมในครอบครัว ความยากจน สุขภาพจิตต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมป้องกัน ดังนั้นอย่าปล่อยให้เรื่องนี้เป็นเพียงแค่ละครที่สะท้อนสังคม แต่เรามาช่วยกันเปลี่ยนแปลง สร้างค่านิยมช่วยเหลือกัน ป้องกัน แจ้งเหตุ เพื่อไม่ให้เด็กเหล่านั้นต้องเจอกับฝันร้าย เหมือนอย่างเช่น ‘ของขวัญ’
เมื่อพบเห็นเด็กถูกทำร้าย โทรแจ้งหรือขอคำปรึกษาได้ที่
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 0-2412-1196
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด
และสามารถติดตามเรื่อง Mother เรียกฉันว่า..แม่ ได้บน LINE TV เท่านั้น ตอนใหม่ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 20:00 น. >> https://lin.ee/gNfy9qi/qmnd/LTV/PT
ดูตั้งแต่ตอนแรกได้ที่นี่ คลิกเลย! >> https://lin.ee/mhJn05z/qmnd/LTV/PT