สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
มันมีเหตุผลของมันอยู่ในตัว
คำถามที่ว่า : "ทำไมอาหารฝรั่งถึงต้องใช้เครื่องเทศน้อยเพราะว่า"
คำตอบคือ "ฝรั่งไม่ใช่เมืองผลิตเครื่องเทศ แหลงผลิตเครื่องเทศที่สำคัญของโลกอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา
ฝรั่งคุ้นเคยเครื่องเทศอย่างมากก็ยี่หร่า เบชาเมล อะไรที่มันปลูกแถวยุโรปได้
แต่ผลิตไทย กานพลู อบเชยปลูกที่ศรีลังกา อินโดนีเซีย โปยกั๊ก กระเทียมปลูกที่จีน
จันทร์เทศ ปลูกมากที่อินโดนีเซีย พริกปาปริก้ามาจากบราซิล
เครื่องเทศมีประโยชน์คือช่วยชูรสชาด ถนอมอาหาร ปรุงรส แต่เป็นของฟุ่มเฟือยราคาแพง
เพราะการที่ฝรั่งประเทศยุโรป จะมีปัญญากินข้าวปรุงด้วยเครื่องเทศต้องถือว่าเป็นเศรษฐีมีอันจะกิน
เพราะราคาเครื่องเทศที่ยุโรปสูงมากกกกก เหตุผลเพราะราคาบวกค่านำเข้า ค่าขนส่งไกลระยะทางนับพัน นับหมื่นกิโล
ดังนั้น เมื่อเครื่องเทศมีน้อย และราคาแพง การที่จะใช้เครื่องเทศให้น้อย และประหยัดที่สุด
คือการทำอาหาร แบบปราณีต (เช่นหั่นลูกเต๋า หั่นสี่เหลี่ยม หั่นเส้น หั่นแว่น) ให้มีขนาดชิ้นเท่าๆกัน (เพิ่อทำให้สุกพร้อมกัน)
ทำให้อาหารสัมผัส กับเครื่องเทศที่มีจำกัด และยังสามารถดึงรสชาดออกมาได้
ส่วนคนไทย(คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ + เอเชียใต้)
เนื่องจากแผ่นดินเราอยู่ในชัยภูมิที่ดี เป็นเส้นทางการค้าผ่านระหว่างเอเชียตะวันออกอย่างจีน เชิอมเอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์
คือจีน-อินโดนีเซีย-ศรีลังกา-อินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศที่สำคัญของโลก
และกรุงศรีอยุธยาก็เป็นเมืองท่าทางการค้า (ที่พ่อค้าเครื่องเทศต้องแวะพัก)
ทำให้เรามีเครื่องเทศใช้ราคาถูก อย่างเหลือเฟือ (เพราะระยะทางใกล้)
เมื่อเราคุ้นเคยกับการใช้เครื่องเทศที่มีมาก ก็ทำให้เราใช้มากกกกกกกกก (ไม่ได้สำนึกว่า มันมีคุณค่าที่ไหนที่พวกยุโรปต้องการมาก)
ประกอบกับอาหารไทยส่วนใหญ่จะมีกลิ่นที่แรง เช่นปลานํ้าจืดที่อยู่ในโคลนตม เช่นปลาบู่ ปลาช่อน ปูนา
เพราะภูมิประเทศไทยเป็นเขตที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึง ทำให้อาหารวัตถุดิบมีกลิ่นที่แรง จำเป็นต้องใช้เครื่องเทศเพื่อกลบกลิ่นสาปรสชาด
วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ เมืองไทยไม่ได้มีผัก พืชผลที่เป็นลักษณะหั่นได้ง่าย เหมือนของฝรั่ง
หากแต่เป็นวัตถุดิบที่หั่น สับ แกะเปลือก ได้ลำบาก อาทิเช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว มะขาม มะพร้าว ลูกตาล ใบจาก
การที่ทำอาหารไทย แล้วจะใช้เครื่องเทศปริมาณน้อย มันทำได้ยาก เพราะคุณต้อง แกะเปลือก หั่น สับ มาชิ้นเท่าๆกันเพื่อทำให้สุกเท่าๆกัน นั่นคือหลักการทฤษฎีที่ทุกคนในวงการอาหาร รู้ พ่อค้ารู้ เชฟรู้ แม่ครัวรู้
แต่ความเป็นจริง คุณไม่สามารถใช้มีดเชฟไนท์ มาปลอกเปลือกวัตถุดิบ ที่มีในท้องถิ่นบ้านเราได้แบบปราณีต
อาหารไทย วัตถุ มันต้องเถื่อน ได้แก่การใช้หินครกทุบ โม่ แป้ง ข้าว ตำ
หินครกทุบมะขาม มีดพร้ากระเท่ามะพร้าว และขูดเนื้อ
เมื่ออาหารไทย เราเป็นอาหารที่ต้องเถื่อน ถึงจะได้- (ใช้วิธีการที่เถื่อน)
มันทำให้เนื้อวัตถุดิบ เป็นชิ้นที่ไม่ได้ปราณีตเหมือนของอาหารฝรั่ง
มันจะไม่มีทางสวย สุกพร้อมกันสมบูรณ์ อีกทั้งพอวัตถุดิบ ชิ้นมันเละเทะ
ชิ้นเล็ก ใหญ่ ไม่เท่ากัน ปริมาณเครื่องเทศที่ต้องใช้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ไม่ใช่ว่าอาหารไทยดีไม่พอ อาหารฝรั่งดีกว่า แต่พอเพราะมีเหตุผลทางเรื่องวัตถุดิบเข้ามาเกี่ยว และภูมิศาสตร์ และปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์
วัตถุดิบ - สัตว์ พืชพันธุ์ท้องถิ่น เราแปรรูปได้ยาก
ภูมิศาสตร์ - เรากันแหล่งปลูกวัตถุดิบ
เศรษฐศาสตร์ - กินของท้องถิ่น มีเยอะ ก็กินเยอะ ใช้เยอะ ราคาถูก
วัฒนธรรม - ที่สืบทอดกันมา
คำถามที่ว่า : "ทำไมอาหารฝรั่งถึงต้องใช้เครื่องเทศน้อยเพราะว่า"
คำตอบคือ "ฝรั่งไม่ใช่เมืองผลิตเครื่องเทศ แหลงผลิตเครื่องเทศที่สำคัญของโลกอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา
ฝรั่งคุ้นเคยเครื่องเทศอย่างมากก็ยี่หร่า เบชาเมล อะไรที่มันปลูกแถวยุโรปได้
แต่ผลิตไทย กานพลู อบเชยปลูกที่ศรีลังกา อินโดนีเซีย โปยกั๊ก กระเทียมปลูกที่จีน
จันทร์เทศ ปลูกมากที่อินโดนีเซีย พริกปาปริก้ามาจากบราซิล
เครื่องเทศมีประโยชน์คือช่วยชูรสชาด ถนอมอาหาร ปรุงรส แต่เป็นของฟุ่มเฟือยราคาแพง
เพราะการที่ฝรั่งประเทศยุโรป จะมีปัญญากินข้าวปรุงด้วยเครื่องเทศต้องถือว่าเป็นเศรษฐีมีอันจะกิน
เพราะราคาเครื่องเทศที่ยุโรปสูงมากกกกก เหตุผลเพราะราคาบวกค่านำเข้า ค่าขนส่งไกลระยะทางนับพัน นับหมื่นกิโล
ดังนั้น เมื่อเครื่องเทศมีน้อย และราคาแพง การที่จะใช้เครื่องเทศให้น้อย และประหยัดที่สุด
คือการทำอาหาร แบบปราณีต (เช่นหั่นลูกเต๋า หั่นสี่เหลี่ยม หั่นเส้น หั่นแว่น) ให้มีขนาดชิ้นเท่าๆกัน (เพิ่อทำให้สุกพร้อมกัน)
ทำให้อาหารสัมผัส กับเครื่องเทศที่มีจำกัด และยังสามารถดึงรสชาดออกมาได้
ส่วนคนไทย(คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ + เอเชียใต้)
เนื่องจากแผ่นดินเราอยู่ในชัยภูมิที่ดี เป็นเส้นทางการค้าผ่านระหว่างเอเชียตะวันออกอย่างจีน เชิอมเอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์
คือจีน-อินโดนีเซีย-ศรีลังกา-อินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศที่สำคัญของโลก
และกรุงศรีอยุธยาก็เป็นเมืองท่าทางการค้า (ที่พ่อค้าเครื่องเทศต้องแวะพัก)
ทำให้เรามีเครื่องเทศใช้ราคาถูก อย่างเหลือเฟือ (เพราะระยะทางใกล้)
เมื่อเราคุ้นเคยกับการใช้เครื่องเทศที่มีมาก ก็ทำให้เราใช้มากกกกกกกกก (ไม่ได้สำนึกว่า มันมีคุณค่าที่ไหนที่พวกยุโรปต้องการมาก)
ประกอบกับอาหารไทยส่วนใหญ่จะมีกลิ่นที่แรง เช่นปลานํ้าจืดที่อยู่ในโคลนตม เช่นปลาบู่ ปลาช่อน ปูนา
เพราะภูมิประเทศไทยเป็นเขตที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึง ทำให้อาหารวัตถุดิบมีกลิ่นที่แรง จำเป็นต้องใช้เครื่องเทศเพื่อกลบกลิ่นสาปรสชาด
วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ เมืองไทยไม่ได้มีผัก พืชผลที่เป็นลักษณะหั่นได้ง่าย เหมือนของฝรั่ง
หากแต่เป็นวัตถุดิบที่หั่น สับ แกะเปลือก ได้ลำบาก อาทิเช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว มะขาม มะพร้าว ลูกตาล ใบจาก
การที่ทำอาหารไทย แล้วจะใช้เครื่องเทศปริมาณน้อย มันทำได้ยาก เพราะคุณต้อง แกะเปลือก หั่น สับ มาชิ้นเท่าๆกันเพื่อทำให้สุกเท่าๆกัน นั่นคือหลักการทฤษฎีที่ทุกคนในวงการอาหาร รู้ พ่อค้ารู้ เชฟรู้ แม่ครัวรู้
แต่ความเป็นจริง คุณไม่สามารถใช้มีดเชฟไนท์ มาปลอกเปลือกวัตถุดิบ ที่มีในท้องถิ่นบ้านเราได้แบบปราณีต
อาหารไทย วัตถุ มันต้องเถื่อน ได้แก่การใช้หินครกทุบ โม่ แป้ง ข้าว ตำ
หินครกทุบมะขาม มีดพร้ากระเท่ามะพร้าว และขูดเนื้อ
เมื่ออาหารไทย เราเป็นอาหารที่ต้องเถื่อน ถึงจะได้- (ใช้วิธีการที่เถื่อน)
มันทำให้เนื้อวัตถุดิบ เป็นชิ้นที่ไม่ได้ปราณีตเหมือนของอาหารฝรั่ง
มันจะไม่มีทางสวย สุกพร้อมกันสมบูรณ์ อีกทั้งพอวัตถุดิบ ชิ้นมันเละเทะ
ชิ้นเล็ก ใหญ่ ไม่เท่ากัน ปริมาณเครื่องเทศที่ต้องใช้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ไม่ใช่ว่าอาหารไทยดีไม่พอ อาหารฝรั่งดีกว่า แต่พอเพราะมีเหตุผลทางเรื่องวัตถุดิบเข้ามาเกี่ยว และภูมิศาสตร์ และปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์
วัตถุดิบ - สัตว์ พืชพันธุ์ท้องถิ่น เราแปรรูปได้ยาก
ภูมิศาสตร์ - เรากันแหล่งปลูกวัตถุดิบ
เศรษฐศาสตร์ - กินของท้องถิ่น มีเยอะ ก็กินเยอะ ใช้เยอะ ราคาถูก
วัฒนธรรม - ที่สืบทอดกันมา
แสดงความคิดเห็น
คนไทยติดการใช้เครื่องปรุงอาหารเพราะปกติเรากินอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพจริงหรือเปล่าครับ?
เวลาไปเที่ยวหรือไปกินอาหารชาติอื่น อย่างอาหารญี่ปุ่นหรืออาหารฝรั่ง เครื่องปรุงเขามีน้อยมากจนถึงไม่มีเครื่องปรุงเลย บางแห่งถือว่าการปรุงรสเพิ่มในอาหารถือเป็นการดูหมิ่นเชฟด้วยซ้ำ ที่เป็นอย่างนั้นเพราะเขาให้วัตถุดิบเป็นตัวชูรสชาติ จึงไม่จำเป็นต้องปรุงเพิ่มใดๆเพื่อบิดเบือนรสชาติที่ควรได้รับจากวัตถุดิบ
แต่พออาหารเหล่านั้นมาถึงเมืองไทย ก็ต้องปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมเสพย์ติดการปรุง ร้านอาหารฝรั่งมีการวางซอสมะเขือ ซอสพริก ร้านอาหารญี่ปุ่นมีการวางน้ำปลาพริกป่น จากเดิมที่จะไม่มี
ผมเลยคิดว่าคนไทยติดการปรุงรสเพิ่ม เพราะที่ผ่านกระบวนการผลิตอาหารในบ้านเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตวัตถุดิบที่ให้รสชาติดี ทำให้เราต้องมาปรุงรสเพิ่มเอง ถ้าไม่ปรุงจะรู้สึกไม่อร่อย เพราะวัตถุดิบไม่ได้มีรสชาติอร่อยด้วยตัวมันเอง เป็นเพราะอย่างนั้นหรือเปล่าครับ?
หรือคิดว่าพฤติกรรมเสพย์ติดการปรุงเพิ่มของเรามาจากสาเหตุอื่นครับ?