เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่โรงแรม
มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดพิธีมอบรางวัลเนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม ประจำปี 2560 ให้กับบุคคล และองค์กรที่มีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น
โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ
วิทิต มันตาภรณ์ อดีตผู้รายงานพิเศษและผู้เชี่ยวชาญอิสระของสหประชาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนและศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “
ร่วมสร้างสังคมไทยให้เคารพสิทธิมนุษยชน” ตอนหนึ่งว่า
ปัจจุบันไทยลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ 7 ฉบับ จากที่มีทั้งหมด 9 ฉบับ และในจำนวนนี้มี 2 อนุสัญญาที่ไทยได้ไปร่วมประชุมด้วยเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งกรรมการของสหประชาชาติได้ฝากกการบ้านไว้กับกรรมการไทยไว้หลายเรื่อง โดยมีความเป็นห่วงเรื่องการกระทำการรุนแรงต่อสตรี โดยต่อไปประเทศไทยจะต้องเก็บข้อมูลในเรื่อง
1.มีการยกประเด็นการขลิบอวัยวะเพศของสตรี
2.การบังคับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีแต่งงาน
3.การมีสามี-ภรรยาหลายคน ว่ามีเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ หรือมีสถานการณ์เป็นอย่างไร รวมทั้งห่วงสตรีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะสตรีที่สูญเสียผู้นำในความไม่สงบ และไม่เห็นด้วยกับการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากการบังคับเก็บ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ
วิทิต กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องสิทธิทางการเมือง
กรรมการสหประชาชาติได้ขอให้ไทยประเมินเรื่องการใช้กฎหมายความมั่นคง เฉพาะอย่างยิ่งการกักตัวผู้ถูกกล่าวหาได้โดยไม่ต้องขึ้นศาล พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กักได้ 30 ชั่วโมง กฎอัยการศึก 7 วัน แต่เขายินดีกับไทยที่ตั้งแต่เดือนกันยายน2559 คดีพลเรือนที่ขึ้นศาลทหารไปขึ้นศาลพลเรือน และเห็นว่าจะต้องมีการอุทธรณ์คดีต้องอุทธรณ์ต่อศาลพลเรือน ส่วนเรื่อง
การแสดงออกและการร่วมกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นเขาเห็นว่าต้องเป็นตามหลักสากล ถ้าจะจำกัดสิทธิต้องจำกัดเท่าที่จำเป็นและมีสัดส่วน ไม่ใช่มีการชุมนุมเล็กน้อยก็ห้าม และถ้าหากจะดำเนินการก็ต้องมีข้อพิสูจน์ว่ามีฐานกฎหมายรองรับอยู่ข้างหลัง รวมทั้งอยากให้การบังคับใช้มาตรา116 เป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีการเปิดพื้นที่ให้แสดงออกมากขึ้น เพิ่มความเชื่อมโยงในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
“เขาเชียร์ให้ประเทศไทยกลับไปสู่การนำพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามที่ได้ระบุว่าจะมีการเลือกตั้งในปีหน้า โดยท่าทีของนานาชาติต่อประเทศมีความยืดหยุ่น เพราะเขาเชื่อว่าเราจะกลับไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบในเร็วๆนี้”
JJNY : นักวิชาการสิทธิฯ เผยยูเอ็นห่วง การบังคับใช้กม.ความมั่นคง-การจำกัดสิทธิในไทย
โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ อดีตผู้รายงานพิเศษและผู้เชี่ยวชาญอิสระของสหประชาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนและศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ร่วมสร้างสังคมไทยให้เคารพสิทธิมนุษยชน” ตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันไทยลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ 7 ฉบับ จากที่มีทั้งหมด 9 ฉบับ และในจำนวนนี้มี 2 อนุสัญญาที่ไทยได้ไปร่วมประชุมด้วยเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งกรรมการของสหประชาชาติได้ฝากกการบ้านไว้กับกรรมการไทยไว้หลายเรื่อง โดยมีความเป็นห่วงเรื่องการกระทำการรุนแรงต่อสตรี โดยต่อไปประเทศไทยจะต้องเก็บข้อมูลในเรื่อง
1.มีการยกประเด็นการขลิบอวัยวะเพศของสตรี
2.การบังคับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีแต่งงาน
3.การมีสามี-ภรรยาหลายคน ว่ามีเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ หรือมีสถานการณ์เป็นอย่างไร รวมทั้งห่วงสตรีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะสตรีที่สูญเสียผู้นำในความไม่สงบ และไม่เห็นด้วยกับการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากการบังคับเก็บ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องสิทธิทางการเมือง กรรมการสหประชาชาติได้ขอให้ไทยประเมินเรื่องการใช้กฎหมายความมั่นคง เฉพาะอย่างยิ่งการกักตัวผู้ถูกกล่าวหาได้โดยไม่ต้องขึ้นศาล พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กักได้ 30 ชั่วโมง กฎอัยการศึก 7 วัน แต่เขายินดีกับไทยที่ตั้งแต่เดือนกันยายน2559 คดีพลเรือนที่ขึ้นศาลทหารไปขึ้นศาลพลเรือน และเห็นว่าจะต้องมีการอุทธรณ์คดีต้องอุทธรณ์ต่อศาลพลเรือน ส่วนเรื่องการแสดงออกและการร่วมกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นเขาเห็นว่าต้องเป็นตามหลักสากล ถ้าจะจำกัดสิทธิต้องจำกัดเท่าที่จำเป็นและมีสัดส่วน ไม่ใช่มีการชุมนุมเล็กน้อยก็ห้าม และถ้าหากจะดำเนินการก็ต้องมีข้อพิสูจน์ว่ามีฐานกฎหมายรองรับอยู่ข้างหลัง รวมทั้งอยากให้การบังคับใช้มาตรา116 เป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีการเปิดพื้นที่ให้แสดงออกมากขึ้น เพิ่มความเชื่อมโยงในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
“เขาเชียร์ให้ประเทศไทยกลับไปสู่การนำพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามที่ได้ระบุว่าจะมีการเลือกตั้งในปีหน้า โดยท่าทีของนานาชาติต่อประเทศมีความยืดหยุ่น เพราะเขาเชื่อว่าเราจะกลับไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบในเร็วๆนี้”