JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ถึงคิวชาวไร่อ้อยรับกรรม รายได้หดช่วงน้ำตาลโลกขาลง

กระทู้คำถาม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยปล่อยลอยตัวอ้อย-น้ำตาล ห่วงเกษตรกรรายได้หดช่วงราคาน้ำตลาดในตลาดโลกปรับตัวลดลง วอนรัฐหามาตรการช่วยเหลือแต่ไม่ขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศ

รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า  มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมาเห็นชอบกับการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล โดยลดการอุดหนุนและแทรกแซงลง นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จากเดิมที่ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในช่วงที่ชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ไปเป็นการให้กลไกตลาดทำหน้าที่ทดแทน รวมถึงการปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อตกลงที่ภาครัฐมีกับประเทศต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็เป็นการดูแลทางฝั่งของประชาชนและภาคอุตสาหกรรมผู้ใช้น้ำตาลให้ได้รับราคาน้ำตาลที่เป็นธรรมด้วยเช่นกัน

สำหรับการปล่อยลอยตัวราคาน้ำตาล เกิดขึ้นในช่วงที่ราคาน้ำตาลตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง  แม้ว่าจะส่งผลดีต่อผู้ใช้ที่สามารถบริโภคน้ำตาลในราคาที่ถูกลง แต่มีโอกาสที่ราคาอ้อยในปีการผลิต 60/61 จะปรับลดลงมาอยู่ที่ 860-880 บาทต่อตันอ้อย เทียบกับปีการผลิตก่อนที่ได้รับอยู่ 1,050 บาทต่อตันอ้อย อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบต่อชาวไร่อ้อย ซึ่งขึ้นกับเม็ดเงินที่เข้ามาในระบบ รวมถึงเงื่อนไขพันธกรณีที่ไทยมีข้อตกลงกับต่างประเทศ

ทั้งนี้ คาดว่า ในระยะข้างหน้า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล คงจะถูกขับเคลื่อนโดยกลไกตลาดมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพการแข่งขันในระยะยาว ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย จะขึ้นอยู่กับการปรับลดต้นทุนการผลิตให้สอดคล้องกับราคาน้ำตาลตลาดโลกที่อาจจะผันผวนในระยะข้างหน้า โดยไม่ขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศ อาทิ การเร่งหาหนทางปรับลดต้นทุนการผลิต หรือการเพิ่มผลตอบแทนจากการเพาะปลูก ซึ่งในระยะสั้นทำได้โดยการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ หรือการเพิ่มค่าความหวานอ้อย ที่จะทำให้รายได้ต่อไร่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ในระยะยาว การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเอาอ้อยและน้ำตาลไปผลิตสินค้าประเภทอื่นที่มีมูลค่าเพิ่ม น่าจะช่วยให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยมีความยั่งยืนในระยะข้างหน้าได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่