อุตฯ น้ำตาลไทย ร่วมประเทศสมาชิกกลุ่ม GSA
ค้านการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย
3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย บินร่วมประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปการค้าน้ำตาลโลก หรือ GSA แจงสมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของบราซิลกรณีสงสัยไทยอุดหนุนผู้เพาะปลูกอ้อยหวังเพิ่มผลผลิตและส่งออกน้ำตาล พร้อมร่วมมือบราซิล และออสเตรเลีย ค้านมาตรการอุดหนุนการส่งออกของอินเดียและประเทศอื่นๆ หวั่นยิ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพราคาน้ำตาลในตลาดโลก ขณะเดียวกันสมาชิก GSA เห็นด้วยกับการให้ความรู้การบริโภคน้ำตาลทรายที่พอดีต่อร่างกาย
นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หัวหน้าคณะผู้แทนภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมเดินทางไปประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปการค้าน้ำตาลโลก (Global Sugar Alliance: GSA) ประจำปี 2558 ที่ประเทศบราซิล โดยมีประเทศสมาชิก ได้แก่ บราซิล ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เข้าร่วมด้วย ซึ่งฝ่ายไทยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายบราซิลต่อประเด็นข้อสงสัยไทยให้การอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล จากการให้ความช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยผลิตเป็นน้ำตาลทั้งเพื่อบริโภคในประเทศและส่งออก
ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ทำความเข้าใจถึงการบริหารจัดการระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายใต้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบอุตสาหกรรมนี้ โดยมีการแบ่งปันรายได้ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลให้เกิดความเป็นธรรม และกำกับดูแลให้มีน้ำตาลเพียงพอต่อการบริโภค
สำหรับการกำหนดราคาส่งออกนั้น จะจัดสรรน้ำตาลทรายโควตา ข. ที่มีบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด หรือ อนท. เป็นผู้ทำราคาส่งออก ตามกลไกราคาตลาดโลก โดยภาครัฐก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนแต่อย่างใด ซึ่งโรงงานน้ำตาลจะใช้ราคาดังกล่าวเป็นราคากลางในการคำนวณราคาอ้อย หากโรงงานใดทำราคาส่งออกได้ต่ำกว่าจะต้องรับผิดชอบส่วนต่างหรือหากทำได้สูงกว่า โรงงานก็ได้รับประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไป ส่วนการกำหนดปริมาณและราคาน้ำตาลทรายโควตา ก. นั้น เพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอกับการบริโภคในประเทศ ในราคาที่เหมาะสม โดยราคาน้ำตาลในไทยถือว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ และใกล้เคียงกับราคาขายปลีกในบราซิล ถึงแม้ว่าขณะนี้ ค่าเงิน Real ของบราซิลอ่อนตัวอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
“เราไปยืนยันในที่ประชุม GSA ว่าภาครัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนอุดหนุนชาวไร่อ้อยหรือโรงงานแต่อย่างใด เนื่องจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยมีระบบกำกับดูแลร่วม 3 ฝ่าย คือ ชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลและภาครัฐ ร่วมกันบริหารจัดการอุตสาหกรรมให้เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยฝ่ายชาวไร่และโรงงานน้ำตาลร่วมมือส่งเสริมพัฒนาการเพาะปลูกอ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยโรงงานรับซื้อผลผลิตทุกตันอ้อย ในราคาที่เป็นธรรมตามที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกาศกำหนด ซึ่งสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ชาวไร่ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืชอื่นสนใจเข้ามาเพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ซึ่งหลังจากที่ชี้แจงในครั้งนี้ เชื่อว่าตัวแทนผู้ผลิตน้ำตาลของบราซิลจะมีความเข้าใจฝ่ายไทยมากขึ้น” นายวิบูลย์ กล่าว
รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า กลุ่ม GSA ไม่เห็นด้วยกับการประกาศอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำตาลโลก และขัดกับข้อผูกพันที่ทำไว้กับ WTO โดยบราซิล ออสเตรเลีย ไทย รวมทั้งสมาชิก GSA อื่นๆ จะดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อคัดค้านการอุดหนุนการส่งออกในทุกกรณี ที่บิดเบือนต่อกลไกราคาน้ำตาลในตลาดโลก
นอกจากนี้ ที่ประชุม GSA ครั้งนี้ เห็นด้วยกับการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำตาลและสุขภาพ โดยควรบริโภคน้ำตาล หรือสารอาหารที่ให้พลังงาน ให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย ซึ่ง 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย และ 4 องค์กรชาวไร่อ้อย พร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐให้ความรู้เรื่องการบริโภคน้ำตาลและโภชนาการ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคกินอย่างพอดี และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Credit: http://goo.gl/ytW5jP
อุตฯ น้ำตาลไทยค้านการอุดหนุนส่งออกน้ำตาลอินเดีย
ค้านการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย
3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย บินร่วมประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปการค้าน้ำตาลโลก หรือ GSA แจงสมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของบราซิลกรณีสงสัยไทยอุดหนุนผู้เพาะปลูกอ้อยหวังเพิ่มผลผลิตและส่งออกน้ำตาล พร้อมร่วมมือบราซิล และออสเตรเลีย ค้านมาตรการอุดหนุนการส่งออกของอินเดียและประเทศอื่นๆ หวั่นยิ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพราคาน้ำตาลในตลาดโลก ขณะเดียวกันสมาชิก GSA เห็นด้วยกับการให้ความรู้การบริโภคน้ำตาลทรายที่พอดีต่อร่างกาย
นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หัวหน้าคณะผู้แทนภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมเดินทางไปประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปการค้าน้ำตาลโลก (Global Sugar Alliance: GSA) ประจำปี 2558 ที่ประเทศบราซิล โดยมีประเทศสมาชิก ได้แก่ บราซิล ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เข้าร่วมด้วย ซึ่งฝ่ายไทยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายบราซิลต่อประเด็นข้อสงสัยไทยให้การอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล จากการให้ความช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยผลิตเป็นน้ำตาลทั้งเพื่อบริโภคในประเทศและส่งออก
ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ทำความเข้าใจถึงการบริหารจัดการระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายใต้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบอุตสาหกรรมนี้ โดยมีการแบ่งปันรายได้ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลให้เกิดความเป็นธรรม และกำกับดูแลให้มีน้ำตาลเพียงพอต่อการบริโภค
สำหรับการกำหนดราคาส่งออกนั้น จะจัดสรรน้ำตาลทรายโควตา ข. ที่มีบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด หรือ อนท. เป็นผู้ทำราคาส่งออก ตามกลไกราคาตลาดโลก โดยภาครัฐก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนแต่อย่างใด ซึ่งโรงงานน้ำตาลจะใช้ราคาดังกล่าวเป็นราคากลางในการคำนวณราคาอ้อย หากโรงงานใดทำราคาส่งออกได้ต่ำกว่าจะต้องรับผิดชอบส่วนต่างหรือหากทำได้สูงกว่า โรงงานก็ได้รับประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไป ส่วนการกำหนดปริมาณและราคาน้ำตาลทรายโควตา ก. นั้น เพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอกับการบริโภคในประเทศ ในราคาที่เหมาะสม โดยราคาน้ำตาลในไทยถือว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ และใกล้เคียงกับราคาขายปลีกในบราซิล ถึงแม้ว่าขณะนี้ ค่าเงิน Real ของบราซิลอ่อนตัวอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
“เราไปยืนยันในที่ประชุม GSA ว่าภาครัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนอุดหนุนชาวไร่อ้อยหรือโรงงานแต่อย่างใด เนื่องจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยมีระบบกำกับดูแลร่วม 3 ฝ่าย คือ ชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลและภาครัฐ ร่วมกันบริหารจัดการอุตสาหกรรมให้เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยฝ่ายชาวไร่และโรงงานน้ำตาลร่วมมือส่งเสริมพัฒนาการเพาะปลูกอ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยโรงงานรับซื้อผลผลิตทุกตันอ้อย ในราคาที่เป็นธรรมตามที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกาศกำหนด ซึ่งสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ชาวไร่ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืชอื่นสนใจเข้ามาเพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ซึ่งหลังจากที่ชี้แจงในครั้งนี้ เชื่อว่าตัวแทนผู้ผลิตน้ำตาลของบราซิลจะมีความเข้าใจฝ่ายไทยมากขึ้น” นายวิบูลย์ กล่าว
รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า กลุ่ม GSA ไม่เห็นด้วยกับการประกาศอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำตาลโลก และขัดกับข้อผูกพันที่ทำไว้กับ WTO โดยบราซิล ออสเตรเลีย ไทย รวมทั้งสมาชิก GSA อื่นๆ จะดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อคัดค้านการอุดหนุนการส่งออกในทุกกรณี ที่บิดเบือนต่อกลไกราคาน้ำตาลในตลาดโลก
นอกจากนี้ ที่ประชุม GSA ครั้งนี้ เห็นด้วยกับการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำตาลและสุขภาพ โดยควรบริโภคน้ำตาล หรือสารอาหารที่ให้พลังงาน ให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย ซึ่ง 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย และ 4 องค์กรชาวไร่อ้อย พร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐให้ความรู้เรื่องการบริโภคน้ำตาลและโภชนาการ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคกินอย่างพอดี และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้