คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 45
ขณะเขียนบทความนี้ เขียนด้วยความรู้สึกว่าประสบการณ์นี้อาจช่วยให้ผู้อื่นเตรียมพร้อมหรือสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับการตีพิมพ์ เนื่องจากเป็นความเห็นส่วนตัวที่อาจยังมีข้อบกพร่องค่ะ จึงนำมาแชร์ในพันทิพเพื่อให้สามารถมีผู้ติติงแก้ไขให้ได้และผู้อ่านจะได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เรามีด้วย
หากใครเห็นว่าเป็นประโยชน์ เรายินดีให้นำไปเผยแพร่หรือบอกเล่าต่อได้ค่ะ
(ข้อเขียนของเดิมของเรานั้นยังมีข้อบกพร่องและยังมองไม่รอบด้านพอนะคะ มีผู้มาชี้ให้เห็นปัญหาและอธิบายเพิ่มเติมแล้ว และเราได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว โดยใช้ข้อมูลจากความคิดเห็นที่ 19,32,43,44และ48)
ขอบคุณทุกท่านที่เข้าช่วยติติงแก้ไขหรือให้ความรู้เพิ่มเติมนะคะ
และยินดีอย่างยิ่งหากมีผู้ใดชี้ข้อผิดพลาดหรือให้ความรู้เพิ่มเติมอีก
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านค่ะ
หากใครเห็นว่าเป็นประโยชน์ เรายินดีให้นำไปเผยแพร่หรือบอกเล่าต่อได้ค่ะ
(ข้อเขียนของเดิมของเรานั้นยังมีข้อบกพร่องและยังมองไม่รอบด้านพอนะคะ มีผู้มาชี้ให้เห็นปัญหาและอธิบายเพิ่มเติมแล้ว และเราได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว โดยใช้ข้อมูลจากความคิดเห็นที่ 19,32,43,44และ48)
ขอบคุณทุกท่านที่เข้าช่วยติติงแก้ไขหรือให้ความรู้เพิ่มเติมนะคะ
และยินดีอย่างยิ่งหากมีผู้ใดชี้ข้อผิดพลาดหรือให้ความรู้เพิ่มเติมอีก
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
**การสื่อสารและการให้ความร่วมมือกันระหว่างพยาบาลและผู้ดูแล**
พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่แม่เราไปพักรักษาตัวนั้นดูแลเอาใจใส่คนไข้และช่วยสอนวิธีการดูแลผู้ป่วยให้แก่ผู้ดูแลได้อย่างดีเยี่ยม จากที่เราดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่เป็นเลย เราล้างมืออย่างถูกต้อง ทำความสะอาดแม่ อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าให้แม่ สระผมให้แม่บนเตียงผู้ป่วย พลิกตัวให้แม่ เปลี่ยนผ้าปูปลอกหมอนให้แม่ สวนปัสสาวะให้แม่และทำอื่นๆอีกมากมายเป็นก็เพราะมีพี่ๆพยาบาลช่วยสอน จนเราทำได้คล่องเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
จากที่เราเฝ้าแม่ที่โรงพยาบาลมาครึ่งปี เห็นการทำงานของพยาบาลแล้วรู้สึกว่าเป็นงานที่สละสุขภาพตัวเองเพื่อมาดูแลสุขภาพคนอื่นมากเลยค่ะ
สิ่งที่เราอยากจะบอกผู้ดูแลหรือผู้ป่วย คือ พยาบาลไม่ใช่คนใช้ อะไรที่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลสามารถทำเองได้ก็ควรทำเองค่ะ หลายครั้งเราเห็นผู้ป่วยขับถ่ายแล้วญาติรังเกียจ รอเรียกให้พยาบาลหรือผู้ช่วยมาทำความสะอาดให้ ทั้งที่ทำเองก็ได้
พยาบาลต้องดูแลคนไข้หลายคน หากกดออดเรียกแล้ว พยาบาลยังติดดูแลคนไข้คนอื่นอยู่ ขอให้ช่วยอดทนรอสักนิด อย่าใจร้อนโวยวาย
ผู้ดูแลสามารถขอคำแนะนำหรือขอให้พยาบาลช่วยสอนวิธีการดูแลคนไข้ให้ได้ การพยายามฝึกดูแลผู้ป่วยให้เป็นนั้นเป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะเมื่อคนไข้ต้องกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ตอนแม่เรากลับบ้าน เราและพี่สามารถดูแลแม่ได้โดยไม่มีความกังวลใดเลย เพราะได้เรียนรู้และฝึกทำจนคล่องมาจากที่โรงพยาบาลแล้ว และหลายครั้งการทำอะไรเองเป็นก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนไข้ได้เลยโดยไม่ต้องรอพยาบาลว่าง ยกเว้นบางอย่างที่แรงคนๆเดียวไม่สามารถทำได้ ต้องขอแรงช่วยจากพยาบาลหรือผู้ช่วย
แรกๆที่แม่มาพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยนั้น พยาบาลทุกคนดูแลแม่เป็นอย่างดี แต่เมื่อผลวินิจฉัยออกมาว่าแม่เป็นมะเร็งปอดลุกลามมาที่กระดูก และกระดูกบางมากแล้ว พยาบาลบางคนไม่กล้าเข้ามาดูแลแม่ มีเพียงพี่พยาบาลที่ดูมากประสบการณ์แล้วที่เข้ามาช่วย เพราะแม่เสี่ยงต่อกระดูกหัก เราเข้าใจเป็นอย่างดีนะคะ พยาบาลต้องประเมินผู้ป่วยและตัวเอง หากการกระทำอะไรที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยต้องไม่ทำ และในอีกแง่หนึ่ง หากญาติไม่เข้าใจตัวโรค แล้วบังเอิญกระดูกมาหักตอนพยาบาลช่วยดูแลพอดี ญาติก็อาจจะโทษพยาบาลก็ได้ การที่ญาติเข้าใจคนไข้และเข้าใจพยาบาลจะช่วยให้ไม่เกิดความขัดแย้งกันได้ค่ะ
ก่อนแม่เราจะกลับมาพักฟื้นที่บ้าน พี่พยาบาลอธิบายข้อควรระวังและวิธีการจัดยาให้คนไข้อย่างละเอียด แม่เรามีมะเร็งลุกลามมาที่กระดูก พี่พยาบาลบอกว่าตัวโรคจะทำให้กระดูกบางและหักง่าย ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง และหากระมัดระวังดีแล้วแม่ยังกระดูกหัก อย่าโทษตัวเองว่าดูแลแม่ไม่ดี นั่นเป็นเพราะธรรมชาติของตัวโรคอยู่แล้ว และเหตุการณ์นั้นมันก็เกิดขึ้นจริงๆ พี่อุ้มแม่ขึ้นลงจากเตียงนั่งรถเข็นไปอาบน้ำทุกวัน และทำอย่างนี้อยู่เกือบเดือน อุ้มด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวังมาก แต่วันหนึ่งกระดูกต้นขาแม่ก็ยังหัก หักโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ อยู่ๆต้นขาก็บวมถึงได้รู้ว่ากระดูกหักแล้ว
หากพี่พยาบาลไม่อธิบายก่อน พี่ชายก็อาจจะรู้สึกผิดและโทษตัวเองว่าดูแลแม่ไม่ดีก็ได้ หรือพี่น้องคนอื่นๆหากไม่เข้าใจมาก่อนก็อาจจะโทษว่าพี่ชายทำแม่กระดูกหักก็เป็นได้
นอกจากนี้ พี่พยาบาลยังเข้าใจและเมตตาช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อให้เราและพี่สามารถสลับเวรกันมาเฝ้าแม่ได้อย่างราบรื่น และในช่วงวาระสุดท้ายของแม่ก็ช่วยจัดพื้นที่เพื่อให้ลูกๆทุกคนได้มาส่งแม่
และให้แม่ได้มีโอกาสถวายสังฆทานเป็นครั้งสุดท้าย ขอบพระคุณมากจริงๆค่ะ
ท่ามกลางเรื่องราวดีๆมากมายที่เกิดขึ้นในหอผู้ป่วยแห่งนี้ มีเรื่องหนึ่งที่เคยทำให้เรารู้สึกไม่ดี เราอยากเล่าให้ฟัง เผื่อจะมีใครได้เรียนรู้ความประมาทพลาดพลั้งนี้ และไม่เกิดเหตุการณ์นี้กับใครอีก
แม่เราต้องนอนพักรักษาตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน เข้าโรงพยาบาลทีก็นอนเป็นเดือนสองเดือน เนื่องจากแม่มีอาการแทรกซ้อนเยอะและสภาพร่างกายยังไม่ปลอดภัยพอที่จะกลับมาพักฟื้นที่บ้าน และเนื่องจากแม่เป็นอัมพาตครึ่งล่างและมะเร็งกระจายไปกระดูกหลายส่วนทั่วตัวและกระดูกบางมากแล้ว การดูแลแม่จึงความยุ่งยากซับซ้อนกว่าคนทั่วไป ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าการเจ็บป่วยของแม่เราสร้างความลำบากให้ใครเกินไปหรือเปล่า แต่เราและพี่ก็พยายามดูแลเองและรบกวนพยาบาลให้น้อยที่สุด
มีอยู่วันหนึ่ง เราเดินไปหยิบถุงมือซึ่งอยู่บริเวณใกล้โต๊ะทำงานของพยาบาล มีพยาบาลคนหนึ่งเดินมาและบ่นพึมพำว่า “ทำไมไม่ตายๆไปซะที” เรายืนอยู่หลังเขาพอดี
เขาเองคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เพราะเมื่อเขาหันกลับมาเจอเรา เขาเองก็ดูตกใจหน้าเจื่อนไปเหมือนกัน เราเองก็อึ้ง ไม่รู้จะทำยังไงดี จึงได้แต่ยิ้มให้เขาแล้วกลับไปทำความสะอาดให้แม่ต่อ
โชคดีที่ว่าเตียงแม่อยู่ห่างออกไป แม่จึงไม่ได้ยิน และเราคิดว่าเขาเองก็คงไม่ใช่คนใจร้ายขนาดนั้น
เราโกรธนะ แต่เราเสียใจมากกว่า ที่ในขณะที่เรากำลังภาวนาว่าแม่อย่าเพิ่งไป มีใครคนหนึ่งอยากให้แม่เราตาย
เรื่องนี้เราไม่ได้เล่าให้พี่หรือแม่ฟัง เพราะไม่มีประโยชน์อันใดที่พวกเขาจะต้องมารับรู้ประโยคอันบั่นทอนกำลังใจนี้
เราเข้าใจว่างานพยาบาลนั้นเหนื่อยหนัก หากคิดว่ายังไม่พร้อมก็พักให้หายเหนื่อยก่อนค่อยมาทำงานจะดีกว่า
ตอนนี้ก็ผ่านมาแล้วหลายปี เราคิดว่าเขาคงได้พบเห็นและเข้าใจสัจธรรมโลกมากขึ้น และคงมีวุฒิภาวะมากขึ้นแล้ว คงไม่ไปทำอย่างนี้กับใครอีก
เราให้อภัยและอโหสิค่ะ
พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่แม่เราไปพักรักษาตัวนั้นดูแลเอาใจใส่คนไข้และช่วยสอนวิธีการดูแลผู้ป่วยให้แก่ผู้ดูแลได้อย่างดีเยี่ยม จากที่เราดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่เป็นเลย เราล้างมืออย่างถูกต้อง ทำความสะอาดแม่ อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าให้แม่ สระผมให้แม่บนเตียงผู้ป่วย พลิกตัวให้แม่ เปลี่ยนผ้าปูปลอกหมอนให้แม่ สวนปัสสาวะให้แม่และทำอื่นๆอีกมากมายเป็นก็เพราะมีพี่ๆพยาบาลช่วยสอน จนเราทำได้คล่องเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
จากที่เราเฝ้าแม่ที่โรงพยาบาลมาครึ่งปี เห็นการทำงานของพยาบาลแล้วรู้สึกว่าเป็นงานที่สละสุขภาพตัวเองเพื่อมาดูแลสุขภาพคนอื่นมากเลยค่ะ
สิ่งที่เราอยากจะบอกผู้ดูแลหรือผู้ป่วย คือ พยาบาลไม่ใช่คนใช้ อะไรที่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลสามารถทำเองได้ก็ควรทำเองค่ะ หลายครั้งเราเห็นผู้ป่วยขับถ่ายแล้วญาติรังเกียจ รอเรียกให้พยาบาลหรือผู้ช่วยมาทำความสะอาดให้ ทั้งที่ทำเองก็ได้
พยาบาลต้องดูแลคนไข้หลายคน หากกดออดเรียกแล้ว พยาบาลยังติดดูแลคนไข้คนอื่นอยู่ ขอให้ช่วยอดทนรอสักนิด อย่าใจร้อนโวยวาย
ผู้ดูแลสามารถขอคำแนะนำหรือขอให้พยาบาลช่วยสอนวิธีการดูแลคนไข้ให้ได้ การพยายามฝึกดูแลผู้ป่วยให้เป็นนั้นเป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะเมื่อคนไข้ต้องกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ตอนแม่เรากลับบ้าน เราและพี่สามารถดูแลแม่ได้โดยไม่มีความกังวลใดเลย เพราะได้เรียนรู้และฝึกทำจนคล่องมาจากที่โรงพยาบาลแล้ว และหลายครั้งการทำอะไรเองเป็นก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนไข้ได้เลยโดยไม่ต้องรอพยาบาลว่าง ยกเว้นบางอย่างที่แรงคนๆเดียวไม่สามารถทำได้ ต้องขอแรงช่วยจากพยาบาลหรือผู้ช่วย
แรกๆที่แม่มาพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยนั้น พยาบาลทุกคนดูแลแม่เป็นอย่างดี แต่เมื่อผลวินิจฉัยออกมาว่าแม่เป็นมะเร็งปอดลุกลามมาที่กระดูก และกระดูกบางมากแล้ว พยาบาลบางคนไม่กล้าเข้ามาดูแลแม่ มีเพียงพี่พยาบาลที่ดูมากประสบการณ์แล้วที่เข้ามาช่วย เพราะแม่เสี่ยงต่อกระดูกหัก เราเข้าใจเป็นอย่างดีนะคะ พยาบาลต้องประเมินผู้ป่วยและตัวเอง หากการกระทำอะไรที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยต้องไม่ทำ และในอีกแง่หนึ่ง หากญาติไม่เข้าใจตัวโรค แล้วบังเอิญกระดูกมาหักตอนพยาบาลช่วยดูแลพอดี ญาติก็อาจจะโทษพยาบาลก็ได้ การที่ญาติเข้าใจคนไข้และเข้าใจพยาบาลจะช่วยให้ไม่เกิดความขัดแย้งกันได้ค่ะ
ก่อนแม่เราจะกลับมาพักฟื้นที่บ้าน พี่พยาบาลอธิบายข้อควรระวังและวิธีการจัดยาให้คนไข้อย่างละเอียด แม่เรามีมะเร็งลุกลามมาที่กระดูก พี่พยาบาลบอกว่าตัวโรคจะทำให้กระดูกบางและหักง่าย ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง และหากระมัดระวังดีแล้วแม่ยังกระดูกหัก อย่าโทษตัวเองว่าดูแลแม่ไม่ดี นั่นเป็นเพราะธรรมชาติของตัวโรคอยู่แล้ว และเหตุการณ์นั้นมันก็เกิดขึ้นจริงๆ พี่อุ้มแม่ขึ้นลงจากเตียงนั่งรถเข็นไปอาบน้ำทุกวัน และทำอย่างนี้อยู่เกือบเดือน อุ้มด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวังมาก แต่วันหนึ่งกระดูกต้นขาแม่ก็ยังหัก หักโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ อยู่ๆต้นขาก็บวมถึงได้รู้ว่ากระดูกหักแล้ว
หากพี่พยาบาลไม่อธิบายก่อน พี่ชายก็อาจจะรู้สึกผิดและโทษตัวเองว่าดูแลแม่ไม่ดีก็ได้ หรือพี่น้องคนอื่นๆหากไม่เข้าใจมาก่อนก็อาจจะโทษว่าพี่ชายทำแม่กระดูกหักก็เป็นได้
นอกจากนี้ พี่พยาบาลยังเข้าใจและเมตตาช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อให้เราและพี่สามารถสลับเวรกันมาเฝ้าแม่ได้อย่างราบรื่น และในช่วงวาระสุดท้ายของแม่ก็ช่วยจัดพื้นที่เพื่อให้ลูกๆทุกคนได้มาส่งแม่
และให้แม่ได้มีโอกาสถวายสังฆทานเป็นครั้งสุดท้าย ขอบพระคุณมากจริงๆค่ะ
ท่ามกลางเรื่องราวดีๆมากมายที่เกิดขึ้นในหอผู้ป่วยแห่งนี้ มีเรื่องหนึ่งที่เคยทำให้เรารู้สึกไม่ดี เราอยากเล่าให้ฟัง เผื่อจะมีใครได้เรียนรู้ความประมาทพลาดพลั้งนี้ และไม่เกิดเหตุการณ์นี้กับใครอีก
แม่เราต้องนอนพักรักษาตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน เข้าโรงพยาบาลทีก็นอนเป็นเดือนสองเดือน เนื่องจากแม่มีอาการแทรกซ้อนเยอะและสภาพร่างกายยังไม่ปลอดภัยพอที่จะกลับมาพักฟื้นที่บ้าน และเนื่องจากแม่เป็นอัมพาตครึ่งล่างและมะเร็งกระจายไปกระดูกหลายส่วนทั่วตัวและกระดูกบางมากแล้ว การดูแลแม่จึงความยุ่งยากซับซ้อนกว่าคนทั่วไป ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าการเจ็บป่วยของแม่เราสร้างความลำบากให้ใครเกินไปหรือเปล่า แต่เราและพี่ก็พยายามดูแลเองและรบกวนพยาบาลให้น้อยที่สุด
มีอยู่วันหนึ่ง เราเดินไปหยิบถุงมือซึ่งอยู่บริเวณใกล้โต๊ะทำงานของพยาบาล มีพยาบาลคนหนึ่งเดินมาและบ่นพึมพำว่า “ทำไมไม่ตายๆไปซะที” เรายืนอยู่หลังเขาพอดี
เขาเองคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เพราะเมื่อเขาหันกลับมาเจอเรา เขาเองก็ดูตกใจหน้าเจื่อนไปเหมือนกัน เราเองก็อึ้ง ไม่รู้จะทำยังไงดี จึงได้แต่ยิ้มให้เขาแล้วกลับไปทำความสะอาดให้แม่ต่อ
โชคดีที่ว่าเตียงแม่อยู่ห่างออกไป แม่จึงไม่ได้ยิน และเราคิดว่าเขาเองก็คงไม่ใช่คนใจร้ายขนาดนั้น
เราโกรธนะ แต่เราเสียใจมากกว่า ที่ในขณะที่เรากำลังภาวนาว่าแม่อย่าเพิ่งไป มีใครคนหนึ่งอยากให้แม่เราตาย
เรื่องนี้เราไม่ได้เล่าให้พี่หรือแม่ฟัง เพราะไม่มีประโยชน์อันใดที่พวกเขาจะต้องมารับรู้ประโยคอันบั่นทอนกำลังใจนี้
เราเข้าใจว่างานพยาบาลนั้นเหนื่อยหนัก หากคิดว่ายังไม่พร้อมก็พักให้หายเหนื่อยก่อนค่อยมาทำงานจะดีกว่า
ตอนนี้ก็ผ่านมาแล้วหลายปี เราคิดว่าเขาคงได้พบเห็นและเข้าใจสัจธรรมโลกมากขึ้น และคงมีวุฒิภาวะมากขึ้นแล้ว คงไม่ไปทำอย่างนี้กับใครอีก
เราให้อภัยและอโหสิค่ะ
ความคิดเห็นที่ 3
**การดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน **
ผู้ป่วยบางคนต้องกลับไปพักฟื้นหรือประสงค์จะใช้ชีวิตวาระสุดท้ายที่บ้าน ผู้ดูแลควรเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การดูแลผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็คงมีความต้องการไม่เหมือนกัน
ในส่วนของเรา เมื่อทราบว่าจะต้องกลับมาพักฟื้นที่บ้าน แม่กังวลว่าจะได้รับการดูแลได้ไม่ดีเท่าที่โรงพยาบาล เพราะที่โรงพยาบาลมีเตียงที่ปรับรีโมทได้ มีพยาบาลมาวัดไข้วัดความดันและออกซิเจนในเลือดตามตารางเวลาอย่างสม่ำเสมอ และแม่รู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้หมอ
เราจึงซื้อเตียงคนไข้แบบปรับรีโมทได้มาไว้ที่บ้าน ซื้อเครื่องวัดความดัน วัดอุณหภูมิและวัดออกซิเจนในเลือด ตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อจ่ายยาแก้ปวด และตรวจวัดและจดบันทึกค่าต่างๆตามตารางเวลาเดิมที่เคยทำที่โรงพยาบาล มีคนเฝ้าข้างเตียงตลอด24 ชม. เรียกได้ว่าพยายามดูแลทุกอย่างให้เหมือนตอนอยู่โรงพยาบาล(ขาดก็แต่ไม่มีหมอแวะมาทักทายตอนสี่ทุ่ม) ซึ่งก็ช่วยให้แม่สบายใจขึ้นระดับหนึ่ง
หากเป็นผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรจัดที่พักให้อยู่ชั้นล่างของบ้านจะดีกว่า เพราะจะสะดวกเวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
-------------------------------------
**สิทธิของผู้ป่วยในการรับรู้อาการป่วยของตนตามจริงและการแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วย**
ผู้ป่วยมีสิทธิรับรู้อาการเจ็บป่วยของตนเองตามความเป็นจริง ยกเว้นกรณีที่สภาพจิตใจของผู้ป่วยไม่พร้อม แพทย์อาจพิจารณาบอกกับญาติผู้ป่วยแทน กรณีของแม่เราเป็นการบอกกับญาติ และเนื่องจากเราเคยแสดงความอ่อนแอให้เห็น และแม่ดูมีความกังวล พี่จึงไม่ได้บอกว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เพียงแต่บอกตามอาการเท่านั้นว่า มีเนื้องอกที่ปอดและกระดูกบางตรงไหนบ้าง(โดยเลี่ยงการบอกว่าเป็นมะเร็ง) เพราะกลัวแม่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งแล้วสภาพจิตใจรับไม่ไหว อาจทำให้อาการทรุดตัวเร็ว
การไม่บอกความจริงทั้งหมดนี้ทำให้แม่มีกำลังใจว่ายังมีโอกาสหาย แต่ก็ทำให้แม่ไม่ได้วางแผนรับมือกับวาระสุดท้ายอย่างจริงจัง อย่างที่บอกในข้างต้นว่าแม่และพี่บางคนมีทัศนคติเกี่ยวกับการพูดถึงความตายที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ การจะบอกความจริงหรือพูดคุยเตรียมพร้อมรับมือกับความตายจึงเป็นเรื่องยาก
เราได้โอกาสถามแม่เกี่ยวกับความต้องการในการช่วยฟื้นคืนชีพเมื่อแม่กระดูกต้นขาหัก เนื่องจากมะเร็งลุกลามมายังกระดูกส่วนนั้นทำให้เปราะบางและหักง่าย แม่อยากผ่าตัดดามกระดูกขา แต่เนื่องจากแม่เพิ่งให้คีโมไปไม่นาน สภาพร่างกายยังไม่พร้อมรับการผ่าตัด และแม้จะผ่าตัดสำเร็จก็ไม่คุ้มค่า เพราะเวลาในชีวิตเหลือไม่มากแล้ว(แต่แม่ยังไม่รู้) เราจึงใช้โอกาสนี้คุยกับแม่ว่า จะลองบอกหมอให้ แต่การผ่าตัดในภาวะแบบนี้ความเสี่ยงสูง แม่อาจจะไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลยก็ได้นะ แม่เคยผ่าตัดปอดและดามกระดูกสันหลังมาแล้วจึงไม่กลัวการผ่าตัด เราจึงถามต่อ ถ้าเช่นนั้นให้แม่บอกมาก่อนว่า แม่ยังมีห่วงอะไรอีกมั้ย แม่จึงได้สั่งเสียไว้(แต่เราคิดว่าแม่ยังบอกไม่หมด เพราะแม่คงคิดว่าฉันไม่ตายหรอก ครั้งที่แล้วผ่าตัดใหญ่ขนาดนั้นยังไม่เป็นไรเลย) เราถามต่อว่าถ้าไม่ฟื้นจะให้ช่วยปั๊มหัวใจมั้ย ใส่ท่อมั้ย ใช้ยากระตุ้นมั้ย ซึ่งนี่เป็นการถามครั้งแรกเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมวาระสุดท้าย แต่เป็นการถามทำนองว่าเผื่อช่วยแล้วแม่ไม่รอดจะให้ทำอย่างไร ไม่ได้ถามทำนองว่าแม่จะต้องตายแน่ๆแล้วจะให้ทำอย่างไร จึงอาจทำให้ผู้ป่วยสบายใจในการตอบมากกว่า และคำตอบของแม่คือ ไม่ขอใส่สายระโยงระยางและไม่ต้องปั๊มหัวใจ ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติเลย
เราพยายามจะบอกความจริงกับแม่อีกครั้งว่าอาการของแม่พัฒนาไปถึงขั้นไหนแล้ว เพราะอยากถามย้ำว่าแม่ยังมีห่วงอะไรอีกมั้ย และอยากให้จัดการงานศพอย่างไร เมื่ออยู่ตามลำพังกับแม่ เราใช้วิธีถามแม่ว่ารู้รึยังว่าตอนนี้แม่เป็นยังไงบ้าง เราจะทวนให้ฟังนะว่ามีอาการผิดปกติตรงนี้ๆๆ(ชี้บอกตำแหน่งที่มะเร็งลุกลาม) แม่รับทราบ และเราถามว่าอยากให้เราจัดการยังไง แต่ครั้งนี้ถามไม่สำเร็จ แม่แสดงอาการไม่ชอบใจเพราะคิดว่าเราถามถึงการจัดงานศพ(ซึ่งแม่คิดถูก แต่แม่คิดว่านี่เป็นการแช่ง) เราจึงได้แต่เฉไฉว่า หมายถึงอยากให้ดูแลอะไรยังไง
การพิจารณาความตายอยู่เสมอและการมองเรื่องความตายเป็นเรื่องปกติธรรมดานั้นสำคัญต่อการวางแผนชีวิตจริงๆค่ะ
จากกรณีของเรา จะเห็นได้ว่า การปกปิดความจริงต่อผู้ป่วยนั้น แม้จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจหรือมีความหวัง แต่นั่นเป็นเพียงความหวังที่ไม่มีทางเป็นจริงได้ และทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสในการวางแผนชีวิตและลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆเพื่อใช้เวลาในชีวิตที่เหลืออย่างคุ้มค่า
นอกจากการไม่บอกความจริงแก่ผู้ป่วยแล้ว ยังมีอีกกรณีหนึ่งคือ ผู้ป่วยหรือญาติไม่กล้าบอกความจริงแก่บุคคลใกล้ชิดคนอื่นๆ เพราะกลัวบุคคลใกล้ชิดเหล่านั้นทำใจรับไม่ได้ ซึ่งก็ทำให้พวกเขาพลาดโอกาสในการใช้เวลาที่เหลืออันน้อยนิดนั้นกับบุคคลที่เขารักอย่างคุ้มค่าเช่นกัน
ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์อันใดเลยที่จะปกปิดความจริงต่อทุกฝ่าย แต่เราควรเรียนรู้วิธีการบอกความจริงที่ถูกต้องและวิธีการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับรู้ความจริงแล้วต่างหาก
ความผิดพลาดทั้งหมดนี้ อาจเกิดจากความหวังดีที่ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง ผู้ปกปิดความจริงอาจประเมินผิดหรือคิดไปเองก็ได้ว่าผู้ป่วยหรือบุคคลใกล้ชิดจะยอมรับความจริงไม่ได้ และเนื่องจากขาดความเข้าใจในธรรมชาติของผู้ที่ได้รับข่าวร้ายว่าจะมีกระบวนการทางจิตใจหรือการแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร จึงทำให้รับมือกับสถานการณ์ไม่ถูก ทำให้พลาดโอกาสในการบอกความจริงแก่ทุกฝ่ายไปอย่างน่าเสียดาย และหากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลไม่ทราบตามความเป็นจริงก็อาจเป็นอุปสรรค ทำให้ความร่วมมือในการรักษาระหว่างคนไข้และแพทย์เป็นไปอย่างยากลำบาก
กระบวนการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้ายและการเตรียมพร้อมเพื่อยอมรับความจริงนี้ บางครั้งก็จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหรือญาติได้มีเวลาในการทำความเข้าใจ ตรึกตรองและตัดสินใจ แต่ด้วยข้อจำกัดของแพทย์และบุคลากรฝ่ายสุขภาพอื่นๆที่ต้องดูแลรองรับผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหรือญาติรีบทำการตัดสินใจในเวลาที่จำกัด เพื่อให้แพทย์และบุคลากรฝ่ายสุขภาพสามารถไปดูแลผู้ป่วยท่านอื่นที่กำลังรอความช่วยเหลืออยู่ได้ การตัดสินใจในเวลาอันจำกัดนี้จึงทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ง่าย และทำให้ผู้ป่วยหรือญาติพลาดโอกาสในการบริหารจัดการเวลาที่เหลือได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า
การเตรียมพร้อมเผชิญความจริงนี้ นอกจากผู้ป่วยและญาติจะต้องมีทัศนคติเกี่ยวกับความตายที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของผู้ที่ได้รับข่าวร้ายว่าจะมีสภาพจิตใจและการแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร เพื่อให้สามารถรับมือได้ถูก และความรู้เหล่านี้หากเพิ่งมาศึกษาในขณะที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วก็อาจจะไม่ทันการ เนื่องจากฝ่ายแพทย์มีเวลาในการตัดสินใจให้จำกัด(เพราะจำเป็นต้องรีบไปดูแลผู้ป่วยคนอื่นๆอีก) และเวลาในชีวิตที่เหลือของผู้ป่วยก็อาจจะมีไม่มากพอที่จะรอให้เราได้มาศึกษาทำความเข้าใจเพื่อทันได้นำไปใช้
ฉะนั้น ความรู้เหล่านี้จึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยหรือญาติเท่านั้น หากแต่บุคคลทั่วไปที่ยังไม่ได้เจ็บป่วยหรือมีญาติเจ็บป่วยก็ควรศึกษาไว้ด้วยเช่นกัน
ผู้ป่วยบางคนต้องกลับไปพักฟื้นหรือประสงค์จะใช้ชีวิตวาระสุดท้ายที่บ้าน ผู้ดูแลควรเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การดูแลผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็คงมีความต้องการไม่เหมือนกัน
ในส่วนของเรา เมื่อทราบว่าจะต้องกลับมาพักฟื้นที่บ้าน แม่กังวลว่าจะได้รับการดูแลได้ไม่ดีเท่าที่โรงพยาบาล เพราะที่โรงพยาบาลมีเตียงที่ปรับรีโมทได้ มีพยาบาลมาวัดไข้วัดความดันและออกซิเจนในเลือดตามตารางเวลาอย่างสม่ำเสมอ และแม่รู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้หมอ
เราจึงซื้อเตียงคนไข้แบบปรับรีโมทได้มาไว้ที่บ้าน ซื้อเครื่องวัดความดัน วัดอุณหภูมิและวัดออกซิเจนในเลือด ตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อจ่ายยาแก้ปวด และตรวจวัดและจดบันทึกค่าต่างๆตามตารางเวลาเดิมที่เคยทำที่โรงพยาบาล มีคนเฝ้าข้างเตียงตลอด24 ชม. เรียกได้ว่าพยายามดูแลทุกอย่างให้เหมือนตอนอยู่โรงพยาบาล(ขาดก็แต่ไม่มีหมอแวะมาทักทายตอนสี่ทุ่ม) ซึ่งก็ช่วยให้แม่สบายใจขึ้นระดับหนึ่ง
หากเป็นผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรจัดที่พักให้อยู่ชั้นล่างของบ้านจะดีกว่า เพราะจะสะดวกเวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
-------------------------------------
**สิทธิของผู้ป่วยในการรับรู้อาการป่วยของตนตามจริงและการแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วย**
ผู้ป่วยมีสิทธิรับรู้อาการเจ็บป่วยของตนเองตามความเป็นจริง ยกเว้นกรณีที่สภาพจิตใจของผู้ป่วยไม่พร้อม แพทย์อาจพิจารณาบอกกับญาติผู้ป่วยแทน กรณีของแม่เราเป็นการบอกกับญาติ และเนื่องจากเราเคยแสดงความอ่อนแอให้เห็น และแม่ดูมีความกังวล พี่จึงไม่ได้บอกว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เพียงแต่บอกตามอาการเท่านั้นว่า มีเนื้องอกที่ปอดและกระดูกบางตรงไหนบ้าง(โดยเลี่ยงการบอกว่าเป็นมะเร็ง) เพราะกลัวแม่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งแล้วสภาพจิตใจรับไม่ไหว อาจทำให้อาการทรุดตัวเร็ว
การไม่บอกความจริงทั้งหมดนี้ทำให้แม่มีกำลังใจว่ายังมีโอกาสหาย แต่ก็ทำให้แม่ไม่ได้วางแผนรับมือกับวาระสุดท้ายอย่างจริงจัง อย่างที่บอกในข้างต้นว่าแม่และพี่บางคนมีทัศนคติเกี่ยวกับการพูดถึงความตายที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ การจะบอกความจริงหรือพูดคุยเตรียมพร้อมรับมือกับความตายจึงเป็นเรื่องยาก
เราได้โอกาสถามแม่เกี่ยวกับความต้องการในการช่วยฟื้นคืนชีพเมื่อแม่กระดูกต้นขาหัก เนื่องจากมะเร็งลุกลามมายังกระดูกส่วนนั้นทำให้เปราะบางและหักง่าย แม่อยากผ่าตัดดามกระดูกขา แต่เนื่องจากแม่เพิ่งให้คีโมไปไม่นาน สภาพร่างกายยังไม่พร้อมรับการผ่าตัด และแม้จะผ่าตัดสำเร็จก็ไม่คุ้มค่า เพราะเวลาในชีวิตเหลือไม่มากแล้ว(แต่แม่ยังไม่รู้) เราจึงใช้โอกาสนี้คุยกับแม่ว่า จะลองบอกหมอให้ แต่การผ่าตัดในภาวะแบบนี้ความเสี่ยงสูง แม่อาจจะไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลยก็ได้นะ แม่เคยผ่าตัดปอดและดามกระดูกสันหลังมาแล้วจึงไม่กลัวการผ่าตัด เราจึงถามต่อ ถ้าเช่นนั้นให้แม่บอกมาก่อนว่า แม่ยังมีห่วงอะไรอีกมั้ย แม่จึงได้สั่งเสียไว้(แต่เราคิดว่าแม่ยังบอกไม่หมด เพราะแม่คงคิดว่าฉันไม่ตายหรอก ครั้งที่แล้วผ่าตัดใหญ่ขนาดนั้นยังไม่เป็นไรเลย) เราถามต่อว่าถ้าไม่ฟื้นจะให้ช่วยปั๊มหัวใจมั้ย ใส่ท่อมั้ย ใช้ยากระตุ้นมั้ย ซึ่งนี่เป็นการถามครั้งแรกเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมวาระสุดท้าย แต่เป็นการถามทำนองว่าเผื่อช่วยแล้วแม่ไม่รอดจะให้ทำอย่างไร ไม่ได้ถามทำนองว่าแม่จะต้องตายแน่ๆแล้วจะให้ทำอย่างไร จึงอาจทำให้ผู้ป่วยสบายใจในการตอบมากกว่า และคำตอบของแม่คือ ไม่ขอใส่สายระโยงระยางและไม่ต้องปั๊มหัวใจ ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติเลย
เราพยายามจะบอกความจริงกับแม่อีกครั้งว่าอาการของแม่พัฒนาไปถึงขั้นไหนแล้ว เพราะอยากถามย้ำว่าแม่ยังมีห่วงอะไรอีกมั้ย และอยากให้จัดการงานศพอย่างไร เมื่ออยู่ตามลำพังกับแม่ เราใช้วิธีถามแม่ว่ารู้รึยังว่าตอนนี้แม่เป็นยังไงบ้าง เราจะทวนให้ฟังนะว่ามีอาการผิดปกติตรงนี้ๆๆ(ชี้บอกตำแหน่งที่มะเร็งลุกลาม) แม่รับทราบ และเราถามว่าอยากให้เราจัดการยังไง แต่ครั้งนี้ถามไม่สำเร็จ แม่แสดงอาการไม่ชอบใจเพราะคิดว่าเราถามถึงการจัดงานศพ(ซึ่งแม่คิดถูก แต่แม่คิดว่านี่เป็นการแช่ง) เราจึงได้แต่เฉไฉว่า หมายถึงอยากให้ดูแลอะไรยังไง
การพิจารณาความตายอยู่เสมอและการมองเรื่องความตายเป็นเรื่องปกติธรรมดานั้นสำคัญต่อการวางแผนชีวิตจริงๆค่ะ
จากกรณีของเรา จะเห็นได้ว่า การปกปิดความจริงต่อผู้ป่วยนั้น แม้จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจหรือมีความหวัง แต่นั่นเป็นเพียงความหวังที่ไม่มีทางเป็นจริงได้ และทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสในการวางแผนชีวิตและลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆเพื่อใช้เวลาในชีวิตที่เหลืออย่างคุ้มค่า
นอกจากการไม่บอกความจริงแก่ผู้ป่วยแล้ว ยังมีอีกกรณีหนึ่งคือ ผู้ป่วยหรือญาติไม่กล้าบอกความจริงแก่บุคคลใกล้ชิดคนอื่นๆ เพราะกลัวบุคคลใกล้ชิดเหล่านั้นทำใจรับไม่ได้ ซึ่งก็ทำให้พวกเขาพลาดโอกาสในการใช้เวลาที่เหลืออันน้อยนิดนั้นกับบุคคลที่เขารักอย่างคุ้มค่าเช่นกัน
ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์อันใดเลยที่จะปกปิดความจริงต่อทุกฝ่าย แต่เราควรเรียนรู้วิธีการบอกความจริงที่ถูกต้องและวิธีการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับรู้ความจริงแล้วต่างหาก
ความผิดพลาดทั้งหมดนี้ อาจเกิดจากความหวังดีที่ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง ผู้ปกปิดความจริงอาจประเมินผิดหรือคิดไปเองก็ได้ว่าผู้ป่วยหรือบุคคลใกล้ชิดจะยอมรับความจริงไม่ได้ และเนื่องจากขาดความเข้าใจในธรรมชาติของผู้ที่ได้รับข่าวร้ายว่าจะมีกระบวนการทางจิตใจหรือการแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร จึงทำให้รับมือกับสถานการณ์ไม่ถูก ทำให้พลาดโอกาสในการบอกความจริงแก่ทุกฝ่ายไปอย่างน่าเสียดาย และหากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลไม่ทราบตามความเป็นจริงก็อาจเป็นอุปสรรค ทำให้ความร่วมมือในการรักษาระหว่างคนไข้และแพทย์เป็นไปอย่างยากลำบาก
กระบวนการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้ายและการเตรียมพร้อมเพื่อยอมรับความจริงนี้ บางครั้งก็จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหรือญาติได้มีเวลาในการทำความเข้าใจ ตรึกตรองและตัดสินใจ แต่ด้วยข้อจำกัดของแพทย์และบุคลากรฝ่ายสุขภาพอื่นๆที่ต้องดูแลรองรับผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหรือญาติรีบทำการตัดสินใจในเวลาที่จำกัด เพื่อให้แพทย์และบุคลากรฝ่ายสุขภาพสามารถไปดูแลผู้ป่วยท่านอื่นที่กำลังรอความช่วยเหลืออยู่ได้ การตัดสินใจในเวลาอันจำกัดนี้จึงทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ง่าย และทำให้ผู้ป่วยหรือญาติพลาดโอกาสในการบริหารจัดการเวลาที่เหลือได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า
การเตรียมพร้อมเผชิญความจริงนี้ นอกจากผู้ป่วยและญาติจะต้องมีทัศนคติเกี่ยวกับความตายที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของผู้ที่ได้รับข่าวร้ายว่าจะมีสภาพจิตใจและการแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร เพื่อให้สามารถรับมือได้ถูก และความรู้เหล่านี้หากเพิ่งมาศึกษาในขณะที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วก็อาจจะไม่ทันการ เนื่องจากฝ่ายแพทย์มีเวลาในการตัดสินใจให้จำกัด(เพราะจำเป็นต้องรีบไปดูแลผู้ป่วยคนอื่นๆอีก) และเวลาในชีวิตที่เหลือของผู้ป่วยก็อาจจะมีไม่มากพอที่จะรอให้เราได้มาศึกษาทำความเข้าใจเพื่อทันได้นำไปใช้
ฉะนั้น ความรู้เหล่านี้จึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยหรือญาติเท่านั้น หากแต่บุคคลทั่วไปที่ยังไม่ได้เจ็บป่วยหรือมีญาติเจ็บป่วยก็ควรศึกษาไว้ด้วยเช่นกัน
ความคิดเห็นที่ 1
**การศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมดูแลผู้ป่วย**
ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการรักษาคนไข้ ทีมแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด ส่วนข้อควรปฏิบัติในการดูแลคนไข้นั้น ทั้งแพทย์และพยาบาลจะสามารถให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม การหาข้อมูลจากแหล่งอื่นเองนั้น บางครั้งก็ไม่อาจใช้แทนกันได้ เพราะเงื่อนไขทางสุขภาพของคนไข้แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
ตอนที่เรากำลังดูแลแม่ซึ่งกำลังป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายนั้น เราพยายามมองทุกอย่างตามความเป็นจริง เราเริ่มหาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและแนวทางในการรักษาของแพทย์ ซึ่งจะทำให้เราให้ความร่วมมือกับแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น เราพยายามหาข้อมูลว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายแม่บ้าง เราหาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายมนุษย์ หลักการของตัวยาที่ใช้ในการรักษา หลักโภชนาการ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง การแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วย สิทธิของผู้ป่วย การตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพ ธรรมชาติของตัวโรคและอาการแทรกซ้อนที่แม่กำลังเผชิญและข้อควรระวังต่างๆ อาการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย สัญญาณทางร่างกายที่บ่งบอกว่าใกล้ตาย การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย(ศพ)เมื่อเสียชีวิต เราเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเผชิญความตายอย่างสงบ เพื่อให้เข้าใจ เตรียมพร้อมและไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
ความจริงแล้วข้อมูลต่างๆสามารถสอบถามจากแพทย์และพยาบาลได้ แต่เนื่องจากกลางวันเราทำงานและมาเฝ้าแม่ช่วงกลางคืน พี่ชายจะดูแลแม่ช่วงกลางวันและหมอมักนัดพบเพื่ออธิบายช่วงกลางวัน ผู้ที่ได้เข้าไปพูดคุยกับแพทย์จึงเป็นพี่เรา และเราสอบถามผ่านทางพี่อีกที ช่วงกลางคืนหมอมักจะเวียนตรวจคนไข้ถึงเตียงแม่เราประมาณสี่ทุ่ม และมีเวลาให้ไม่มากนัก เพราะยังมีคนไข้คนอื่นๆรออยู่อีก ส่วนใหญ่คือตรวจอาการปัจจุบันเท่านั้น
นอกจากนี้ เราเคยแสดงความอ่อนแอให้พี่เห็นครั้งหนึ่ง เนื่องจากกำลังช็อคเมื่อตรวจเจอเนื้องอกครั้งแรก เราร้องไห้และบอกพี่ว่ากลัวแม่เป็นมะเร็ง พี่เราจึงไม่กล้าบอกความจริงกับเราว่าแม่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย กลัวเราจะรับไม่ไหว เราทราบเองในภายหลังจากประวัติการรักษาของแม่ที่พี่เราขอเอกสารมาเพื่อยื่นเคลมประกัน เราแอบจดบันทึกไว้และเอาไปเปิดหาความหมายของศัพท์แพทย์เหล่านั้น ข้อมูลที่เราได้รับผ่านพี่มานั้น เรารู้สึกว่าเรายังไม่หมดข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่าจะมีการปกปิดหรือสื่อสารคลาดเคลื่อนหรือไม่ จึงไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเอง
บวกกับนิสัยส่วนตัวที่ช่างสงสัย และหากจะทำอะไรต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ก่อนว่าทำไปเพื่ออะไร มีหลักการอย่างไร และเมื่อทำแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายผู้ป่วยอย่างไร เราจะได้มั่นใจว่าเราให้ความร่วมมือในการรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้ บางอย่างก็อาจจะมากเกินความจำเป็นสำหรับญาติคนไข้ที่จะต้องรับรู้ และแพทย์คงไม่มีเวลามานั่งอธิบายอย่างละเอียดเหมือนสอนเด็กนักเรียนในชั้นเรียนขนาดนั้น
ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้สามารถหาอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ต แต่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งว่า ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นมีทั้งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ ผู้อ่านจะต้องมีวิจารณญาณในการเลือกรับข้อมูล โดยเลือกข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น เช่น เอกสารข้อมูลจากโรงพยาบาลหรือโรงเรียนแพทย์ มีการอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน พึงระวังข้อมูลที่แชร์ต่อๆกันมาแบบผิดๆ
ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งคือ ถึงแม้ข้อมูลนั้นจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ระดับความสามารถในการทำความเข้าใจเอกสารทางการแพทย์(ซึ่งเป็นความรู้เฉพาะทาง)ของบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เรียนมาทางสายแพทย์โดยตรงย่อมมีขีดจำกัด หากมีข้อสงสัยที่ไม่อาจทำความเข้าใจเองได้ ควรสอบถามจากแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ไป การอ่านเอกสารเพียงน้อยนิดนั้นไม่สามารถทำให้ท่านมีความรู้และเชี่ยวชาญได้เท่าแพทย์ที่ได้เรียนและฝึกปฏิบัติสั่งสมประสบการณ์มาโดยตรง (อย่าหลงคิดว่าตัวเองเก่งกว่าหมอในเรื่องการรักษาคนไข้) หากท่านไม่เชื่อถือหรือไม่มั่นใจในความเชี่ยวชาญของแพทย์ ท่านมีสิทธิเปลี่ยนสถานพยาบาลหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาได้ การรักษาคนไข้ในสภาพบรรยากาศที่ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนไข้กับแพทย์ จะทำให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากและสร้างความอึดอัดใจให้แก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งไม่เป็นผลดีใดๆต่อตัวคนไข้เลย
เมื่อรับทราบว่าป่วยระยะสุดท้ายและการแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายได้ คนไข้และญาติมักเสาะแสวงหาทางเลือกในการรักษาเอง เช่น การใช้ยาสมุนไพร การรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ซึ่งไม่มีหลักฐานรับรองทางการแพทย์ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายหรืออาจทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องไปอย่างน่าเสียดาย หากคนไข้หรือญาติยังไม่พร้อมเผชิญความตายหรือการพลัดพราก อย่างน้อยที่สุดก็ควรกลัวความตายหรือกลัวการพลัดพรากอย่างมีสติ
ยาสมุนไพรบางตัวอาจมีผลทำให้ยาแผนปัจจุบันบางตัวทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากต้องการใช้ยาสมุนไพรร่วมกับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง และยาสมุนไพรบางตัวก็ยังไม่มีหลักฐานรับรองทางการแพทย์ที่ชัดเจน จึงไม่อาจทราบแน่ชัดว่ามีผลในทางการรักษาหรือมีผลข้างเคียงหรือไม่ คนไข้และญาติจึงต้องใช้วิจารณญาณอย่างยิ่งในการใช้สมุนไพรต่างๆ
นอกจากการรักษาเองแบบผิดวิธีแล้ว การเชื่อข้อมูลโภชนาการแบบผิดๆก็ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยด้วยกัน เช่น เชื่อว่าห้ามกินสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทำให้คนไข้ไม่กล้ากินอะไรเลยจนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารครบทั้งห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน สิ่งใดที่แพทย์ห้ามไม่ให้รับประทาน คนไข้ก็ควรงดด้วยเช่นกัน
ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการรักษาคนไข้ ทีมแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด ส่วนข้อควรปฏิบัติในการดูแลคนไข้นั้น ทั้งแพทย์และพยาบาลจะสามารถให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม การหาข้อมูลจากแหล่งอื่นเองนั้น บางครั้งก็ไม่อาจใช้แทนกันได้ เพราะเงื่อนไขทางสุขภาพของคนไข้แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
ตอนที่เรากำลังดูแลแม่ซึ่งกำลังป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายนั้น เราพยายามมองทุกอย่างตามความเป็นจริง เราเริ่มหาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและแนวทางในการรักษาของแพทย์ ซึ่งจะทำให้เราให้ความร่วมมือกับแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น เราพยายามหาข้อมูลว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายแม่บ้าง เราหาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายมนุษย์ หลักการของตัวยาที่ใช้ในการรักษา หลักโภชนาการ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง การแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วย สิทธิของผู้ป่วย การตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพ ธรรมชาติของตัวโรคและอาการแทรกซ้อนที่แม่กำลังเผชิญและข้อควรระวังต่างๆ อาการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย สัญญาณทางร่างกายที่บ่งบอกว่าใกล้ตาย การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย(ศพ)เมื่อเสียชีวิต เราเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเผชิญความตายอย่างสงบ เพื่อให้เข้าใจ เตรียมพร้อมและไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
ความจริงแล้วข้อมูลต่างๆสามารถสอบถามจากแพทย์และพยาบาลได้ แต่เนื่องจากกลางวันเราทำงานและมาเฝ้าแม่ช่วงกลางคืน พี่ชายจะดูแลแม่ช่วงกลางวันและหมอมักนัดพบเพื่ออธิบายช่วงกลางวัน ผู้ที่ได้เข้าไปพูดคุยกับแพทย์จึงเป็นพี่เรา และเราสอบถามผ่านทางพี่อีกที ช่วงกลางคืนหมอมักจะเวียนตรวจคนไข้ถึงเตียงแม่เราประมาณสี่ทุ่ม และมีเวลาให้ไม่มากนัก เพราะยังมีคนไข้คนอื่นๆรออยู่อีก ส่วนใหญ่คือตรวจอาการปัจจุบันเท่านั้น
นอกจากนี้ เราเคยแสดงความอ่อนแอให้พี่เห็นครั้งหนึ่ง เนื่องจากกำลังช็อคเมื่อตรวจเจอเนื้องอกครั้งแรก เราร้องไห้และบอกพี่ว่ากลัวแม่เป็นมะเร็ง พี่เราจึงไม่กล้าบอกความจริงกับเราว่าแม่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย กลัวเราจะรับไม่ไหว เราทราบเองในภายหลังจากประวัติการรักษาของแม่ที่พี่เราขอเอกสารมาเพื่อยื่นเคลมประกัน เราแอบจดบันทึกไว้และเอาไปเปิดหาความหมายของศัพท์แพทย์เหล่านั้น ข้อมูลที่เราได้รับผ่านพี่มานั้น เรารู้สึกว่าเรายังไม่หมดข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่าจะมีการปกปิดหรือสื่อสารคลาดเคลื่อนหรือไม่ จึงไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเอง
บวกกับนิสัยส่วนตัวที่ช่างสงสัย และหากจะทำอะไรต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ก่อนว่าทำไปเพื่ออะไร มีหลักการอย่างไร และเมื่อทำแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายผู้ป่วยอย่างไร เราจะได้มั่นใจว่าเราให้ความร่วมมือในการรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้ บางอย่างก็อาจจะมากเกินความจำเป็นสำหรับญาติคนไข้ที่จะต้องรับรู้ และแพทย์คงไม่มีเวลามานั่งอธิบายอย่างละเอียดเหมือนสอนเด็กนักเรียนในชั้นเรียนขนาดนั้น
ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้สามารถหาอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ต แต่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งว่า ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นมีทั้งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ ผู้อ่านจะต้องมีวิจารณญาณในการเลือกรับข้อมูล โดยเลือกข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น เช่น เอกสารข้อมูลจากโรงพยาบาลหรือโรงเรียนแพทย์ มีการอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน พึงระวังข้อมูลที่แชร์ต่อๆกันมาแบบผิดๆ
ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งคือ ถึงแม้ข้อมูลนั้นจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ระดับความสามารถในการทำความเข้าใจเอกสารทางการแพทย์(ซึ่งเป็นความรู้เฉพาะทาง)ของบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เรียนมาทางสายแพทย์โดยตรงย่อมมีขีดจำกัด หากมีข้อสงสัยที่ไม่อาจทำความเข้าใจเองได้ ควรสอบถามจากแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ไป การอ่านเอกสารเพียงน้อยนิดนั้นไม่สามารถทำให้ท่านมีความรู้และเชี่ยวชาญได้เท่าแพทย์ที่ได้เรียนและฝึกปฏิบัติสั่งสมประสบการณ์มาโดยตรง (อย่าหลงคิดว่าตัวเองเก่งกว่าหมอในเรื่องการรักษาคนไข้) หากท่านไม่เชื่อถือหรือไม่มั่นใจในความเชี่ยวชาญของแพทย์ ท่านมีสิทธิเปลี่ยนสถานพยาบาลหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาได้ การรักษาคนไข้ในสภาพบรรยากาศที่ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนไข้กับแพทย์ จะทำให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากและสร้างความอึดอัดใจให้แก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งไม่เป็นผลดีใดๆต่อตัวคนไข้เลย
เมื่อรับทราบว่าป่วยระยะสุดท้ายและการแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายได้ คนไข้และญาติมักเสาะแสวงหาทางเลือกในการรักษาเอง เช่น การใช้ยาสมุนไพร การรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ซึ่งไม่มีหลักฐานรับรองทางการแพทย์ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายหรืออาจทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องไปอย่างน่าเสียดาย หากคนไข้หรือญาติยังไม่พร้อมเผชิญความตายหรือการพลัดพราก อย่างน้อยที่สุดก็ควรกลัวความตายหรือกลัวการพลัดพรากอย่างมีสติ
ยาสมุนไพรบางตัวอาจมีผลทำให้ยาแผนปัจจุบันบางตัวทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากต้องการใช้ยาสมุนไพรร่วมกับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง และยาสมุนไพรบางตัวก็ยังไม่มีหลักฐานรับรองทางการแพทย์ที่ชัดเจน จึงไม่อาจทราบแน่ชัดว่ามีผลในทางการรักษาหรือมีผลข้างเคียงหรือไม่ คนไข้และญาติจึงต้องใช้วิจารณญาณอย่างยิ่งในการใช้สมุนไพรต่างๆ
นอกจากการรักษาเองแบบผิดวิธีแล้ว การเชื่อข้อมูลโภชนาการแบบผิดๆก็ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยด้วยกัน เช่น เชื่อว่าห้ามกินสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทำให้คนไข้ไม่กล้ากินอะไรเลยจนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารครบทั้งห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน สิ่งใดที่แพทย์ห้ามไม่ให้รับประทาน คนไข้ก็ควรงดด้วยเช่นกัน
ความคิดเห็นที่ 4
**การสื่อสารและการให้ความร่วมมือกันระหว่างแพทย์ คนไข้และผู้ดูแล**
งานของแพทย์เป็นงานที่ตั้งอยู่บนความคาดหวังของคนไข้ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้แพทย์มากพออยู่แล้ว คนไข้และญาติควรเข้าใจตามหลักความเป็นจริงว่าอาการป่วยนั้นมีโอกาสรักษามากน้อยแค่ไหน หมอไม่ใช่พระเจ้า และหมอก็ไม่ได้อยากให้มีใครตาย
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างคนไข้กับหมอจะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปด้วยความราบรื่น แพทย์จะชี้แจงแนวทางการรักษา หากญาติและคนไข้เข้าใจและยอมรับได้จึงเริ่มทำการรักษา
ตลอดระยะเวลาการรักษาของแม่ ทีมแพทย์ทำงานได้อย่างดีเยี่ยม มีการสื่อสารที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกันในเรื่องแนวทางการรักษาของแพทย์และความต้องการของคนไข้มาโดยตลอด และเนื่องจากเป็นโรงเรียนแพทย์ จึงมีความพร้อมในการดูแลคนไข้มาก มีหมอเฉพาะทางหลายท่านมาช่วยดูแลรักษาแม่ในแต่ละอาการ ขอบพระคุณมากๆค่ะ
แต่ในช่วงท้ายของชีวิต เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจในทันทีจึงมีการสื่อสารที่ไม่ครบถ้วน แม่มีอาการภาวะหายใจล้มเหลว ญาติจำเป็นต้องตัดสินใจในทันทีว่าจะให้ใส่ท่อช่วยหายใจหรือไม่ แม้แม่จะเคยบอกล่วงหน้าแล้วว่าให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ในขณะนั้นลูกแม่ส่วนหนึ่งกำลังอยู่ระหว่างเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อส่งแม่เป็นครั้งสุดท้าย และแม่เป็นอัมพาตทั้งตัวไม่อาจสื่อสารความต้องการของตนเองได้ว่าจะรอหรือไม่ พี่ชายจึงจำเป็นต้องตัดสินใจบอกหมอให้ใส่ท่อช่วยใจ เพื่อให้แม่มีโอกาสได้พบลูกครบทุกคนเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากใส่ท่อช่วยหายใจไม่นาน แม่ได้พบลูกครบทุกคน และในคืนนั้นแม่มีภาวะหยุดหายใจยี่สิบกว่าครั้ง
เช้าวันต่อมามีทีมแพทย์เข้ามาปรับระดับท่อช่วยหายใจ(เดิมสอดลึกเกินไป) เมื่อแพทย์มาถึงก็บอกให้ญาติคนไข้ออกไปรอข้างนอก โดยเราไม่ทราบว่าแพทย์จะมาปรับท่อหายใจและมันทำให้แม่เจ็บปวดทรมานมาก แม่เป็นอัมพาตทั้งตัวและเป็นมะเร็งที่กระดูกคอ ปกติเราจะต้องช่วยแม่ประคองคอและหัวเวลาขยับเพราะแม่เจ็บ แต่ในการนี้หมอปรับเตียงขึ้นให้คนไข้อยู่ในท่านั่งโดยไม่มีการประคองหัวช่วย ซึ่งแพทย์อาจจะไม่ทราบข้อจำกัดนี้ของคนไข้มาก่อน เพราะเราเพิ่งเคยเห็นหมอครั้งแรก การปรับท่อหายใจและการไม่ช่วยประคองคอสร้างความเจ็บปวดเพิ่มให้แม่เป็นอย่างมาก (โรงพยาบาลที่แม่รักษาตัวเป็นโรงเรียนแพทย์ จะมีแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆมาดูอาการให้ในแต่ละเรื่องค่ะ)
เราไม่คิดโทษหรือเอาผิดใครนะคะ เพราะเราคิดว่ามันเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนทั้งจากฝ่ายญาติและแพทย์
ทางเราไม่ได้แจ้งหมอให้ชัดเจนว่า จะใส่ท่อช่วยหายใจเพียงเพื่อให้แม่ได้พบลูกครบทุกคน แล้วไม่ต้องทำหัตถการใดๆที่สร้างความเจ็บปวดเพิ่มอีก ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ
เมื่อเราไม่ได้แจ้งให้ชัดเจน หมอจึงอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเราต้องการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อยื้อชีวิตให้นานที่สุด และเมื่อคืนคนไข้ก็มีการหยุดหายใจยี่สิบกว่าครั้ง แสดงว่าอาจจะมีปัญหา เช้ามาหมอจึงทำการแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้เครื่องช่วยหายใจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
แต่ก่อนเริ่มทำหัตถการ หมอไม่ได้แจ้งรายละเอียดว่าจะทำอะไร(อาจเพราะคิดว่าเป็นงานต่อเนื่องจากการใส่ท่อจึงไม่จำเป็นต้องแจ้งญาติ) บอกเพียงให้ญาติคนไข้ออกไปก่อน เพื่อให้หมอทำงานสะดวกขึ้น
เมื่อไม่ได้สื่อสารกันก่อน หมอจึงไม่ทันได้อธิบายว่าหมอจำเป็นต้องทำตามมาตรฐานวิชาชีพ และเราก็ไม่มีโอกาสบอกหมอว่าแม่มีมะเร็งที่กระดูกคอ จะต้องช่วยประคองศีรษะและคอเวลาขยับ
หลังจากเหตุการณ์นี้ ทางเราจึงแจ้งหมออีกครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการปล่อยไปอย่างธรรมชาติ
ถ้าทางเราและหมอสื่อสารกันให้ชัดเจนตั้งแต่แรก และก่อนการทำหัตถการใดๆแพทย์ช่วยอธิบายก่อนสักนิด แม่ก็คงไม่ต้องเจ็บตัวเพิ่มแบบนี้
นอกจากปัญหาในการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนระหว่างญาติคนไข้และแพทย์แล้ว การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนระหว่างญาติคนไข้ด้วยกันเองก็อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่แพทย์ได้เช่นกันค่ะ
เนื่องจากโรงพยาบาลที่แม่มารักษาเป็นโรงเรียนแพทย์ จึงมีนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและอาจารย์หมุนเวียนกันมาตรวจคนไข้ มีอยู่วันหนึ่ง เราและพี่ชายเพิ่งสลับเวรเฝ้าแม่(เพิ่งเปลี่ยนกะ) พี่ชายยังไม่ทันได้ส่งงานต่อว่าหมอแจ้งแผนการตรวจหรือรักษาเพิ่มเติมอะไรบ้าง และอาจารย์หมอพร้อมๆกับแพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาแพทย์มาตรวจแม่พอดี อาจารย์หมอถามเราเกี่ยวกับการรักษาของแม่ แล้วเราตอบไปว่าไม่ทราบยังไม่ได้รับแจ้ง การตอบว่าไม่ทราบของเราทำให้หมอคนหนึ่งถูกอาจารย์ตำหนิค่ะ เรามารู้ที่หลังว่าหมอแจ้งพี่เราแล้ว แต่พี่เรายังไม่ได้จ่ายงานมาให้เราเอง เราไม่รู้ว่าหลังจากนั้นหมอจะโดนตำหนิหรือโดนหักคะแนนอะไรอีกมั้ย และเราก็ไม่ทราบชื่อหมอค่ะ แต่อยากจะบอกว่า ขอโทษนะคะ
หากใครมารักษาตัวในโรงเรียนแพทย์ โปรดรับผิดชอบหน้าที่ผู้ดูแลคนไข้ของตัวเองให้ดี เพื่ออนาคตที่ดีของหมอค่ะ
**หมายเหตุ
การจัดการเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของผู้ป่วยนั้น ควรเป็นไปตามเจตจำนงเดิมของผู้ป่วย การใส่ท่อช่วยหายใจหรือการกู้ชีพด้วยวิธีอื่นใดเพียงเพื่อให้ผู้ป่วยได้รอพบญาตินั้น หากไม่ใช่ความประสงค์ของผู้ป่วย ผู้ดูแลไม่ควรทำ และเมื่อตัดสินใจทำแล้ว แพทย์จำเป็นต้องทำตามมาตรฐานวิชาชีพของแพทย์ แม้จะต้องทำหัตถการมากกว่าหนึ่งครั้งก็ตาม
งานของแพทย์เป็นงานที่ตั้งอยู่บนความคาดหวังของคนไข้ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้แพทย์มากพออยู่แล้ว คนไข้และญาติควรเข้าใจตามหลักความเป็นจริงว่าอาการป่วยนั้นมีโอกาสรักษามากน้อยแค่ไหน หมอไม่ใช่พระเจ้า และหมอก็ไม่ได้อยากให้มีใครตาย
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างคนไข้กับหมอจะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปด้วยความราบรื่น แพทย์จะชี้แจงแนวทางการรักษา หากญาติและคนไข้เข้าใจและยอมรับได้จึงเริ่มทำการรักษา
ตลอดระยะเวลาการรักษาของแม่ ทีมแพทย์ทำงานได้อย่างดีเยี่ยม มีการสื่อสารที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกันในเรื่องแนวทางการรักษาของแพทย์และความต้องการของคนไข้มาโดยตลอด และเนื่องจากเป็นโรงเรียนแพทย์ จึงมีความพร้อมในการดูแลคนไข้มาก มีหมอเฉพาะทางหลายท่านมาช่วยดูแลรักษาแม่ในแต่ละอาการ ขอบพระคุณมากๆค่ะ
แต่ในช่วงท้ายของชีวิต เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจในทันทีจึงมีการสื่อสารที่ไม่ครบถ้วน แม่มีอาการภาวะหายใจล้มเหลว ญาติจำเป็นต้องตัดสินใจในทันทีว่าจะให้ใส่ท่อช่วยหายใจหรือไม่ แม้แม่จะเคยบอกล่วงหน้าแล้วว่าให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ในขณะนั้นลูกแม่ส่วนหนึ่งกำลังอยู่ระหว่างเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อส่งแม่เป็นครั้งสุดท้าย และแม่เป็นอัมพาตทั้งตัวไม่อาจสื่อสารความต้องการของตนเองได้ว่าจะรอหรือไม่ พี่ชายจึงจำเป็นต้องตัดสินใจบอกหมอให้ใส่ท่อช่วยใจ เพื่อให้แม่มีโอกาสได้พบลูกครบทุกคนเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากใส่ท่อช่วยหายใจไม่นาน แม่ได้พบลูกครบทุกคน และในคืนนั้นแม่มีภาวะหยุดหายใจยี่สิบกว่าครั้ง
เช้าวันต่อมามีทีมแพทย์เข้ามาปรับระดับท่อช่วยหายใจ(เดิมสอดลึกเกินไป) เมื่อแพทย์มาถึงก็บอกให้ญาติคนไข้ออกไปรอข้างนอก โดยเราไม่ทราบว่าแพทย์จะมาปรับท่อหายใจและมันทำให้แม่เจ็บปวดทรมานมาก แม่เป็นอัมพาตทั้งตัวและเป็นมะเร็งที่กระดูกคอ ปกติเราจะต้องช่วยแม่ประคองคอและหัวเวลาขยับเพราะแม่เจ็บ แต่ในการนี้หมอปรับเตียงขึ้นให้คนไข้อยู่ในท่านั่งโดยไม่มีการประคองหัวช่วย ซึ่งแพทย์อาจจะไม่ทราบข้อจำกัดนี้ของคนไข้มาก่อน เพราะเราเพิ่งเคยเห็นหมอครั้งแรก การปรับท่อหายใจและการไม่ช่วยประคองคอสร้างความเจ็บปวดเพิ่มให้แม่เป็นอย่างมาก (โรงพยาบาลที่แม่รักษาตัวเป็นโรงเรียนแพทย์ จะมีแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆมาดูอาการให้ในแต่ละเรื่องค่ะ)
เราไม่คิดโทษหรือเอาผิดใครนะคะ เพราะเราคิดว่ามันเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนทั้งจากฝ่ายญาติและแพทย์
ทางเราไม่ได้แจ้งหมอให้ชัดเจนว่า จะใส่ท่อช่วยหายใจเพียงเพื่อให้แม่ได้พบลูกครบทุกคน แล้วไม่ต้องทำหัตถการใดๆที่สร้างความเจ็บปวดเพิ่มอีก ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ
เมื่อเราไม่ได้แจ้งให้ชัดเจน หมอจึงอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเราต้องการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อยื้อชีวิตให้นานที่สุด และเมื่อคืนคนไข้ก็มีการหยุดหายใจยี่สิบกว่าครั้ง แสดงว่าอาจจะมีปัญหา เช้ามาหมอจึงทำการแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้เครื่องช่วยหายใจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
แต่ก่อนเริ่มทำหัตถการ หมอไม่ได้แจ้งรายละเอียดว่าจะทำอะไร(อาจเพราะคิดว่าเป็นงานต่อเนื่องจากการใส่ท่อจึงไม่จำเป็นต้องแจ้งญาติ) บอกเพียงให้ญาติคนไข้ออกไปก่อน เพื่อให้หมอทำงานสะดวกขึ้น
เมื่อไม่ได้สื่อสารกันก่อน หมอจึงไม่ทันได้อธิบายว่าหมอจำเป็นต้องทำตามมาตรฐานวิชาชีพ และเราก็ไม่มีโอกาสบอกหมอว่าแม่มีมะเร็งที่กระดูกคอ จะต้องช่วยประคองศีรษะและคอเวลาขยับ
หลังจากเหตุการณ์นี้ ทางเราจึงแจ้งหมออีกครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการปล่อยไปอย่างธรรมชาติ
ถ้าทางเราและหมอสื่อสารกันให้ชัดเจนตั้งแต่แรก และก่อนการทำหัตถการใดๆแพทย์ช่วยอธิบายก่อนสักนิด แม่ก็คงไม่ต้องเจ็บตัวเพิ่มแบบนี้
นอกจากปัญหาในการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนระหว่างญาติคนไข้และแพทย์แล้ว การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนระหว่างญาติคนไข้ด้วยกันเองก็อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่แพทย์ได้เช่นกันค่ะ
เนื่องจากโรงพยาบาลที่แม่มารักษาเป็นโรงเรียนแพทย์ จึงมีนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและอาจารย์หมุนเวียนกันมาตรวจคนไข้ มีอยู่วันหนึ่ง เราและพี่ชายเพิ่งสลับเวรเฝ้าแม่(เพิ่งเปลี่ยนกะ) พี่ชายยังไม่ทันได้ส่งงานต่อว่าหมอแจ้งแผนการตรวจหรือรักษาเพิ่มเติมอะไรบ้าง และอาจารย์หมอพร้อมๆกับแพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาแพทย์มาตรวจแม่พอดี อาจารย์หมอถามเราเกี่ยวกับการรักษาของแม่ แล้วเราตอบไปว่าไม่ทราบยังไม่ได้รับแจ้ง การตอบว่าไม่ทราบของเราทำให้หมอคนหนึ่งถูกอาจารย์ตำหนิค่ะ เรามารู้ที่หลังว่าหมอแจ้งพี่เราแล้ว แต่พี่เรายังไม่ได้จ่ายงานมาให้เราเอง เราไม่รู้ว่าหลังจากนั้นหมอจะโดนตำหนิหรือโดนหักคะแนนอะไรอีกมั้ย และเราก็ไม่ทราบชื่อหมอค่ะ แต่อยากจะบอกว่า ขอโทษนะคะ
หากใครมารักษาตัวในโรงเรียนแพทย์ โปรดรับผิดชอบหน้าที่ผู้ดูแลคนไข้ของตัวเองให้ดี เพื่ออนาคตที่ดีของหมอค่ะ
**หมายเหตุ
การจัดการเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของผู้ป่วยนั้น ควรเป็นไปตามเจตจำนงเดิมของผู้ป่วย การใส่ท่อช่วยหายใจหรือการกู้ชีพด้วยวิธีอื่นใดเพียงเพื่อให้ผู้ป่วยได้รอพบญาตินั้น หากไม่ใช่ความประสงค์ของผู้ป่วย ผู้ดูแลไม่ควรทำ และเมื่อตัดสินใจทำแล้ว แพทย์จำเป็นต้องทำตามมาตรฐานวิชาชีพของแพทย์ แม้จะต้องทำหัตถการมากกว่าหนึ่งครั้งก็ตาม
ความคิดเห็นที่ 6
**การปฏิบัติตัวของผู้ที่มาเยี่ยมไข้**
ผู้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้ายบางทีก็ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะปฏิบัติตัวอย่างไรดีเวลาอยู่ต่อหน้าคนไข้ เราจึงบอกเล่าเท่าที่จะนึกได้นะคะ
1.ผู้เข้าเยี่ยมควรรักษาความสะอาด โรงพยาบาลบางแห่งก็มีแอลกอฮอเจลสำหรับทำความสะอาดมือไว้ให้ใช้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อโรคไปยังผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
2.ผู้เข้าเยี่ยมไม่ควรมาเยี่ยมครั้งละนานๆ(ยกเว้นว่าคนไข้ชวนคุยเพลิน) การเยี่ยมผู้ป่วยโดยใช้เวลานานๆหรือมาผิดเวลา อาจเป็นการรบกวนเวลาพักผ่อนของผู้ป่วย
3.ไม่ให้คำแนะนำผิดๆแก่ผู้ป่วย ครั้งหนึ่งมีญาติผู้ใหญ่ของเรามาเยี่ยมแม่และบอกแม่ว่า อดทนนะ อย่าบ่นลูกนะ เดี๋ยวลูกจะไม่ยอมดูแล ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมาก และทำให้เราดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยได้ยากขึ้น
คำแนะนำของญาตินั้นทำให้แม่ซึ่งเดิมก็เป็นคนแกร่งไม่ยอมเป็นภาระคนอื่นอยู่แล้ว ยิ่งไม่กล้าบอกความต้องการของตนเอง ไม่กล้าระบายความรู้สึกตนเองเข้าไปใหญ่ แต่จะโทษเขาฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ คงต้องโทษเราเองด้วยที่ไม่แกร่งพอที่จะให้แม่เชื่อใจว่าจะสามารถรับฟังความทุกข์จากท่านได้
นอกจากนี้การแนะนำวิธีการรักษาหรือหลักโภชนาการแบบผิดๆก็ไม่ควรทำเช่นกัน เช่น แนะนำยาหรือสมุนไพรที่ไม่มีผลรับรองทางการแพทย์ แนะนำวิธีทางไสยศาสตร์ แนะนำว่าต้องกินหรือห้ามกินอะไรโดยขาดความเข้าใจในหลักโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นต้น
4.ผู้เข้าเยี่ยมไม่ควรแสดงอาการสงสารเวทนาหรือโศกเศร้าเสียใจ หลายครั้งที่ผู้เข้าเยี่ยมแสดงสีหน้าอาการสงสารเวทนาผู้ป่วย ทั้งที่บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น การกระทำเช่นนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยคลางแคลงใจว่า ฉันแย่ขนาดนั้นเลยหรือ
และผู้เข้าเยี่ยมไม่ควรแสดงอาการโศกเศร้าเสียใจ หลายครั้งที่ผู้เข้าเยี่ยมมาร้องไห้ต่อหน้าผู้ป่วย กลายเป็นว่าผู้ป่วยต้องปลอบคนมาเยี่ยมว่า ไม่เป็นไรนะ เราไม่เป็นไร
5.ผู้เข้าเยี่ยมสามารถชวนคุยเรื่องราวที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้ การเบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่นที่ทำให้มีความสุข ช่วยให้ผู้ป่วยลืมเรื่องอาการเจ็บปวดไปชั่วคราวได้
6.ไม่ควรให้ความหวังหรือให้กำลังใจในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อการดำเนินโรคมาถึงระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายหรือดีขึ้นได้ ทุกคนควรยอมรับความจริง การบอกให้"สู้ๆ"ในสถานการณ์เช่นนี้ เป็นการสร้างแรงกดดันและความรู้สึกโดดเดี่ยวให้แก่ผู้ป่วย เพราะสู้กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และผู้ต่อสู้มีเพียงผู้ป่วยคนเดียวเท่านั้น ผู้ที่บอกให้สู้ เมื่อพูดจบตนเองก็กลับไปดำเนินชีวิตปกติของตนต่อ มิได้อยู่ร่วมต่อสู้กับผู้ป่วยหรือผู้ดูแล
เวลาที่เหลือในชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น มิควรหมดไปกับการต่อสู้กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ควรถูกใช้เพื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของชีวิต
7.ไม่ควรสร้างความกดดันให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีการเบื่ออาหาร ซึ่งเป็นภาวะปกติของผู้ป่วย ทั้งผู้ดูแลและผู้เยี่ยมควรเข้าใจ ไม่ควรคะยั้นคะยอหรือแสดงอาการผิดหวังเมื่อผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานหรือทานได้น้อย
8.ไม่ควรสร้างความเครียดหรือความกังวลเพิ่มให้แก่ผู้ป่วย เช่น มาถกเถียงหรือพูดคุยเกี่ยวกับอาการป่วยต่อหน้าผู้ป่วย หรือนำปัญหาอื่นๆมาเล่าให้ผู้ป่วยฟัง
ผู้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้ายบางทีก็ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะปฏิบัติตัวอย่างไรดีเวลาอยู่ต่อหน้าคนไข้ เราจึงบอกเล่าเท่าที่จะนึกได้นะคะ
1.ผู้เข้าเยี่ยมควรรักษาความสะอาด โรงพยาบาลบางแห่งก็มีแอลกอฮอเจลสำหรับทำความสะอาดมือไว้ให้ใช้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อโรคไปยังผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
2.ผู้เข้าเยี่ยมไม่ควรมาเยี่ยมครั้งละนานๆ(ยกเว้นว่าคนไข้ชวนคุยเพลิน) การเยี่ยมผู้ป่วยโดยใช้เวลานานๆหรือมาผิดเวลา อาจเป็นการรบกวนเวลาพักผ่อนของผู้ป่วย
3.ไม่ให้คำแนะนำผิดๆแก่ผู้ป่วย ครั้งหนึ่งมีญาติผู้ใหญ่ของเรามาเยี่ยมแม่และบอกแม่ว่า อดทนนะ อย่าบ่นลูกนะ เดี๋ยวลูกจะไม่ยอมดูแล ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมาก และทำให้เราดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยได้ยากขึ้น
คำแนะนำของญาตินั้นทำให้แม่ซึ่งเดิมก็เป็นคนแกร่งไม่ยอมเป็นภาระคนอื่นอยู่แล้ว ยิ่งไม่กล้าบอกความต้องการของตนเอง ไม่กล้าระบายความรู้สึกตนเองเข้าไปใหญ่ แต่จะโทษเขาฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ คงต้องโทษเราเองด้วยที่ไม่แกร่งพอที่จะให้แม่เชื่อใจว่าจะสามารถรับฟังความทุกข์จากท่านได้
นอกจากนี้การแนะนำวิธีการรักษาหรือหลักโภชนาการแบบผิดๆก็ไม่ควรทำเช่นกัน เช่น แนะนำยาหรือสมุนไพรที่ไม่มีผลรับรองทางการแพทย์ แนะนำวิธีทางไสยศาสตร์ แนะนำว่าต้องกินหรือห้ามกินอะไรโดยขาดความเข้าใจในหลักโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นต้น
4.ผู้เข้าเยี่ยมไม่ควรแสดงอาการสงสารเวทนาหรือโศกเศร้าเสียใจ หลายครั้งที่ผู้เข้าเยี่ยมแสดงสีหน้าอาการสงสารเวทนาผู้ป่วย ทั้งที่บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น การกระทำเช่นนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยคลางแคลงใจว่า ฉันแย่ขนาดนั้นเลยหรือ
และผู้เข้าเยี่ยมไม่ควรแสดงอาการโศกเศร้าเสียใจ หลายครั้งที่ผู้เข้าเยี่ยมมาร้องไห้ต่อหน้าผู้ป่วย กลายเป็นว่าผู้ป่วยต้องปลอบคนมาเยี่ยมว่า ไม่เป็นไรนะ เราไม่เป็นไร
5.ผู้เข้าเยี่ยมสามารถชวนคุยเรื่องราวที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้ การเบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่นที่ทำให้มีความสุข ช่วยให้ผู้ป่วยลืมเรื่องอาการเจ็บปวดไปชั่วคราวได้
6.ไม่ควรให้ความหวังหรือให้กำลังใจในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อการดำเนินโรคมาถึงระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายหรือดีขึ้นได้ ทุกคนควรยอมรับความจริง การบอกให้"สู้ๆ"ในสถานการณ์เช่นนี้ เป็นการสร้างแรงกดดันและความรู้สึกโดดเดี่ยวให้แก่ผู้ป่วย เพราะสู้กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และผู้ต่อสู้มีเพียงผู้ป่วยคนเดียวเท่านั้น ผู้ที่บอกให้สู้ เมื่อพูดจบตนเองก็กลับไปดำเนินชีวิตปกติของตนต่อ มิได้อยู่ร่วมต่อสู้กับผู้ป่วยหรือผู้ดูแล
เวลาที่เหลือในชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น มิควรหมดไปกับการต่อสู้กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ควรถูกใช้เพื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของชีวิต
7.ไม่ควรสร้างความกดดันให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีการเบื่ออาหาร ซึ่งเป็นภาวะปกติของผู้ป่วย ทั้งผู้ดูแลและผู้เยี่ยมควรเข้าใจ ไม่ควรคะยั้นคะยอหรือแสดงอาการผิดหวังเมื่อผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานหรือทานได้น้อย
8.ไม่ควรสร้างความเครียดหรือความกังวลเพิ่มให้แก่ผู้ป่วย เช่น มาถกเถียงหรือพูดคุยเกี่ยวกับอาการป่วยต่อหน้าผู้ป่วย หรือนำปัญหาอื่นๆมาเล่าให้ผู้ป่วยฟัง
แสดงความคิดเห็น
[แชร์ประสบการณ์] บทเรียนจากการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อยากให้คนทั่วไปได้ฟัง และอยากให้หมอและพยาบาลเข้าใจมุมมองของผู้ดูแล
(มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2560)
(ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วย อยู่ในความคิดเห็นที่2 ไม่ได้ขึ้นโชว์ในโซนสีม่วงนะคะ กระทู้ยาว เผื่อใครอ่านข้ามหรือหาไม่เจอ )
เราขอแชร์ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตในครั้งนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่กำลังทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ที่กำลังไปเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือผู้ที่อาจจะต้องรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ในอนาคตนะคะ
เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เราประสบเองและเรื่องที่เราได้พบเห็นจากตอนที่ไปเฝ้าไข้แม่ที่โรงพยาบาล เราจะไม่เล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ แต่จะขอแยกเป็นประเด็นตามที่เราเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ และแบ่งปันข้อคิดและข้อปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งนี้ บทความนี้อาจยังมีข้อบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ ผู้อ่านโปรดพิจารณาเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้นะคะ
ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของเรานั้นเกิดขึ้นโดยที่เรายังไม่ทันตั้งตัวและไม่คาดคิดมาก่อน ทั้งหมดจึงเป็นการดูแลในลักษณะที่หาความรู้ไปพลางดูแลไปพลาง ซึ่งบางอย่างเราก็รู้ช้าไปหรือมองข้ามไป จึงทำให้เสียโอกาสในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ทั้งที่หากเรามีความรู้หรือทัศนคติที่ถูกต้องมาก่อนจะทำให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดีกว่านี้เป็นแน่ และเรายินดีหากประสบการณ์ของเรานี้จะทำให้ท่านสามารถดูแลบุคคลที่ท่านรักได้ดียิ่งขึ้น
**ทัศนคติเกี่ยวกับความตายกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย**
มนุษย์ทุกคนล้วนไม่อาจหนีพ้นความตายไปได้ และเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่ามันจะมาถึงเมื่อไหร่ เราอาจจะเคยได้ยินบ่อยๆว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความเป็นจริงแล้วความตายไม่มีลำดับขั้นตอนที่แน่นอน จริงอยู่เมื่อมีการเกิดย่อมมีการตาย แต่เราอาจจะตายโดยที่ยังไม่ทันแก่ หรืออาจจะตายโดยไม่เจ็บป่วยก็เป็นได้(เช่น ประสบอุบัติเหตุ) เรามักประมาทว่ายังมีเวลาเหลือในชีวิตอีกมาก ทั้งที่ความตายอยู่ใกล้เราแค่ชั่วลมหายใจเข้าออก จึงนำไปสู่การใช้ชีวิตอย่างประมาท
การระลึกถึงความตายอยู่เสมอ จะทำให้เราไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เห็นคุณค่าของเวลา และจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆในชีวิตได้อย่างเหมาะสม เราเคยอ่านข้อความหนึ่งซึ่งเตือนใจเราได้ดีว่า ในขณะที่เราใช้เวลาเพลิดเพลินไปอย่างไร้ประโยชน์นั้น มีคนบางคนกำลังวาดหวังว่าตัวเองจะมีลมหายใจต่อไปได้สักเพียงหนึ่งหรือสองนาที
การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ การวางแผนทางการเงินเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษายามเจ็บป่วย รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นเรื่องที่จำเป็น โรคบางโรคจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อลุกลามจนทำการรักษาได้ยากแล้ว หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ โอกาสในการรักษาให้หายย่อมมีมากกว่า
แม่เรามีสุขภาพแข็งแรงมาโดยตลอด จึงไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี มีเพียงไปตรวจวัดความดันและเบาหวานธรรมดาเท่านั้น
แม่เริ่มมีอาการปวดเอวปวดแข้งขา เราต่างคิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยธรรมดาของคนอายุหกสิบกว่าที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย บีบนวดนอนพักก็หาย
เมื่อเป็นมากขึ้นหน่อยก็หาหมอตรวจรักษาตามอาการ เพราะไม่มีข้อบ่งชี้ว่าผิดปกติอะไรร้ายแรง
ต่อมาอาการป่วยเริ่มเป็นมากขึ้น ยาไม่สามารถบรรเทาอาการได้ แม่มีอาการปวดหลังและขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง เราคิดว่าเป็นเกี่ยวกับเส้นประสาทตรงแนวกระดูกสันหลัง จึงไปหาหมอเฉพาะทาง
เมื่อทำการตรวจหลายครั้งและตรวจโดยละเอียดจึงพบว่า แม่เป็นมะเร็งปอดลุกลามไปยังกระดูกส่วนต่างๆของร่างกาย มีก้อนเนื้องอกในปอดขนาดเท่าไข่เป็ด มะเร็งที่ลุกลามไปกระดูกสันหลังช่วงอกทำให้กระดูกบางและเริ่มทรุดตัวกดเบียดเส้นประสาทซึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แม่ขาอ่อนแรงทั้งสองข้างและเป็นอัมพาตครึ่งล่างในที่สุด
แม่ไม่มีอาการไอ มีเสมหะ หรือหอบเหนื่อยง่ายมาก่อนเลย จึงไม่มีใครคาดคิดว่าสาเหตุของการป่วยนั้นเริ่มมาจากที่ปอด หากมีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอก็อาจตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและรักษาง่ายขึ้น แม่ตรวจพบในระยะที่มะเร็งลุกลามไปมากแล้ว แม้หมอจะรีบผ่าตัดเอาเนื้องอกในปอดออกและดามกระดูกสันหลังเพื่อป้องกันการทรุดตัวไปกดเบียดเส้นประสาท แต่ก็ช้าเกินการณ์แล้ว นี่ถือเป็นความประมาทของเราที่ไม่ได้พาแม่ไปตรวจสุขภาพแบบครบเครื่อง
ความประมาทอีกอย่างหนึ่งของเราคือ เนื่องจากยายเรามีอายุยืนมาก เราจึงหลงคิดว่าแม่ก็น่าจะมีอายุยืนเหมือนยาย น่าจะยังมีเวลาในชีวิตเหลืออีกอย่างน้อยก็สัก10-20ปี พอให้เราได้เลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณท่านให้มีความสุขในบั้นปลายได้ เราจึงมุ่งขอทุนเรียนต่อต่างประเทศ แทนที่เรียนจบป.ตรีแล้วจะทำงานอยู่ใกล้แม่และดูแลแม่
การเรียนต่อเพื่อพัฒนาตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่เพราะเราไม่พาแม่ไปตรวจสุขภาพจึงประมาทคิดว่าท่านยังแข็งแรง หากทราบเงื่อนไขสุขภาพของท่านแต่เนิ่นๆ ก็อาจจะช่วยให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น การไปเรียนต่อเพื่อพัฒนาตนเองนั้นรอได้และสามารถปรับเปลี่ยนแผนการเรียนได้ แต่โอกาสในการแสดงความกตัญญูนั้นรอไม่ได้
ความเข้าใจผิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับทัศนคติในเรื่องความตายคือ การไม่กล้าพูดคุยเรื่องความตาย การมองว่าการพูดถึงความตายเป็นเรื่องอัปมงคลหรือการสาปแช่ง ทั้งที่มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอ การไม่พูดถึงความตายไม่ได้แปลว่าจะไม่ตาย ซ้ำร้ายกลับทำให้การวางแผนเตรียมความพร้อมเผชิญความตายอย่างสงบเป็นไปได้ยากขึ้น
แม่เราและพี่เรามองว่าการพูดถึงความตายเป็นเรื่องอัปมงคล จึงเป็นเรื่องยากมากที่เราจะสอบถามว่าเมื่อวันนั้นมาถึง ท่านอยากจะให้เราช่วยอย่างไร อยากให้ใส่ท่อหายใจ ใส่สายยางให้อาหาร ใช้ยากระตุ้นหรือช่วยฟื้นคืนชีพหรือไม่ หรืออยากให้จัดงานศพแบบไหน
นอกจากนี้ พี่น้องเราก็มีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการบอกความจริงแก่ผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเห็นว่าไม่ควรบอกความจริงทั้งหมดว่าป่วยระยะสุดท้าย เพราะกลัวหมดกำลังใจ แต่เราเห็นว่าควรบอกตามความเป็นจริง เพราะผู้ป่วยมีสิทธิรับทราบความจริงเกี่ยวกับร่างกายของตนเองและตัดสินใจแนวทางการรักษาเอง เมื่อตกลงกันไม่ได้ จึงไม่มีใครกล้าบอกความจริง เราก็ไม่กล้าขัดใจ เพราะเราเองก็รับประกันไม่ได้ว่าหากเราบอกความจริงไปแล้วแม่หมดกำลังใจจนทรุดจะทำอย่างไร เนื่องจากครอบครัวเราไม่เคยคุยวางแผนเรื่องความตายกันมาก่อน
เมื่อไม่มีใครบอกความจริงแก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยจึงมีความหวังว่าจะรักษาหายได้ และญาติบางส่วนเองก็ยังมีความหวังว่าจะรักษาให้หายได้ เพราะไม่เข้าใจแนวทางการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่าเป็นการประคับประคองไปตามอาการเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสภาพและจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่านั้น
เมื่อไม่มองตามความเป็นจริง ญาติผู้ป่วยจึงวางใจไม่ถูก มุ่งรักษาทางกายเป็นหลัก เพื่อหวังจะรักษาให้หาย และทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสหลายอย่าง หากผู้ป่วยทราบตามความเป็นจริง อาจช่วยให้เขาสามารถวางแผนลำดับความสำคัญเพื่อใช้เวลาที่เหลืออย่างคุ้มค่า รวมถึงได้จัดการธุระหรือสิ่งที่ยังคั่งค้างใจเพื่อเตรียมพร้อมจากไปอย่างสงบ
การเตรียมพร้อมความตายสำหรับตัวเองและบอกกล่าวคนรอบข้างให้เรียบร้อย จะช่วยให้การจัดการเป็นไปได้ง่ายขึ้นและเป็นไปตามความตั้งใจของเจ้าตัวโดยแท้จริง
แม่เราไม่ทันได้สั่งเสียและไม่สามารถสั่งเสียได้ มะเร็งได้ลุกลามไปที่กระดูกต้นคอและกดเบียดเส้นประสาท และทรุดตัวอย่างรวดเร็ว แม่เป็นอัมพาตทั้งตัว คางแข็ง พูดไม่ได้ กระพริบตาไม่ได้ ขยับแขนขาไม่ได้ เราแทบหาวิธีสื่อสารกับแม่ไม่ได้เลย พวกเราจึงได้แต่จัดการทุกอย่างไปตามความน่าจะเป็นโดยคิดแทนเจ้าตัวว่า แม่น่าจะต้องการเช่นนี้ และสิ่งนี้น่าจะเป็นผลดีต่อแม่มากที่สุด แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่านั่นใช่ความต้องการที่แท้จริงของแม่หรือไม่ หรือแม่ยังมีความต้องการอย่างอื่นๆเพิ่มเติมหรือไม่
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเพราะ เราไม่กล้าพูดคุยความจริงกันว่า เราจะต้องเผชิญความตายและความตายกำลังรออยู่เบื้องหน้าแล้ว
การไม่ยอมรับความจริง ไม่ยอมพูดถึง ไม่ได้แปลว่าปัญหานั้นไม่มีอยู่หรือจะมลายหายไป ต้องเข้าใจว่า บางครั้งความจริงอาจทำให้เจ็บปวด แต่ผลจากการไม่ยอมรับความจริงนั้นอาจทำให้เจ็บปวดยิ่งกว่า
การเตรียมพร้อมเผชิญความตายนั้น ต้องทำความเข้าใจร่วมกันทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติผู้ป่วย มีหลายเหตุการณ์ที่ตัวผู้ป่วยนั้นเข้าใจและพร้อมเผชิญความตายแล้ว แต่ญาติผู้ป่วยยังไม่พร้อมยอมรับการพลัดพราก ผู้ป่วยจึงยอมสู้ต่อแม้จะต้องทนทุกข์จากการเจ็บป่วย ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะความกลัวตายของตนเอง แต่เป็นไปเพื่อปลอบประโลมจิตใจของญาติที่ยังไม่พร้อมยอมรับความพลัดพรากเท่านั้น
ส่วนใหญ่ญาติที่ได้ดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิด มักจะเข้าใจความรู้สึกและความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บป่วยของคนไข้ และพร้อมปล่อยมือเมื่อเวลานั้นมาถึง แต่หลายครั้งญาติที่ไม่ได้ดูแลใกล้ชิด มักไม่เข้าใจและรู้สึกว่าตนเองยังไม่ได้ดูแลผู้ป่วยอย่างเพียงพอ จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะต่อลมหายใจผู้ป่วย โดยไม่สนใจว่าการกระทำเหล่านั้นจะสร้างความเจ็บปวดทรมานทางกายแก่ผู้ป่วยเพียงใด เพียงเพื่อให้ตัวเองได้มีเวลามีโอกาสในการแสดงความกตัญญูเพิ่มขึ้นเท่านั้น หรือที่เราเรียกกันว่า ภาวะกตัญญูเฉียบพลัน
การพยายามต่อลมหายใจด้วยวิธีฝืนธรรมชาตินั้นเป็นการยืดระยะเวลาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และการทำหัตถการบางอย่างที่ช่วยในการฟื้นคืนชีพหรือต่อลมหายใจก็เพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้แก่คนไข้เป็นอย่างมาก
เราคิดว่าสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ใช่การพยายามยืดลมหายใจออกไปให้นานที่สุด(เว้นเสียแต่เป็นความต้องการของคนไข้เอง) แต่คือการช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีคุณค่าสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เราควรเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วยและช่วยเตรียมความพร้อมให้เขาจากไปอย่างสงบได้ต่างหาก
ความตายสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องทนทุกข์ทรมานนั้นอาจไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับคนไข้เลย แต่เป็นของขวัญที่ธรรมชาติได้มอบให้เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม เมื่อแม่สิ้นลม เรากล่าวกับแม่ว่า “ยินดีด้วยนะแม่ แม่ไม่ต้องทนเจ็บปวดจากร่างกายนี้อีกต่อไปแล้ว” ไม่มีการร้องไห้ฟูมฟายใดๆ เพราะเราพร้อมแล้ว
หากจะรักใครให้เป็น เราควรจะรู้จังหวะในการกุมมือและปล่อยมือ
**หมายเหตุ โรคบางโรคที่มีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว การตรวจสุขภาพประจำปีก็อาจตรวจไม่พบหรือพบไม่ทันการก็เป็นได้ แต่ถึงกระนั้น การตรวจสุขภาพประจำปีก็ยังจำเป็น เพราะยังมีโรคอื่นๆอีกมากมายที่สามารถตรวจพบได้ง่ายตั้งแต่ระยะเริ่มแรก