!SPOILER ALERT!
.
.
.
.
.
1. หนังโอลาฟตอกย้ำภาพของชนชั้นในสังคม และภาพชาวบ้านที่มีเสื้อ ชีวิตอยู่ดีกินดี เหนือจริง แต่ก็น่าสนใจที่หนังเล่าถึงความต้องการของราชวงศ์ที่อย่างมี "การมีประเพณ๊ประจำครอบครัว" เหมือนกับชาวบ้าน ซึ่งราชวงศ์นี้เป็นยุคหลังการเสียชีวิตองราชวงศ์ยุคเก่าซึ่งเราเข้าใจว่ารุ่นพ่อแม่ของพวกนางก็คงมีประเพณีของราชวงศ์ตัวเอง แต่พอถึงยุคของนาง ราชวงศ์ยุคใหม่ที่ขาดเอกลักษณ์ การพยายามผนวกตัวเองเข้ากับชุมชน พวกเธอเลยอยากมีเหมือนที่ ชุมชนดั้งเดิมมี มันเป็นภาพที่ประหลาดดีเมื่อเธอขอร้องให้ชาวบ้านออกช่วยโอลาฟ พระสหายของเจ้าหญิง ชาวบ้านก็ยินดีช่วย ซึ่งก็คงเป็นเพราะบารมีของพวกนางที่ช่วยหมู่บ้านเอาไว้เจ้าชายฮานมายึดครองเมืองภาคที่แล้ว
เราชอบการที่เจ้าหญิงสองคนพยายามทำตัวเองให้เข้าใกล้สามัญชน ทั้งการจัดงานเลี้ยงในวัง ที่เหมือนจะอยากให้ชาวบ้านเข้ามาในงานหลังจากลั่นระฆัง แต่กลายเป็นว่าทุกคนก็มีกิจกรรมที่บ้านของตัวเอง หรืออย่างตอนตามหาโอลาฟที่ชาวบ้านมากมายพร้อมใจมาช่วยกันตามหา แล้วนางก็เอาของมาแจกให้เด็กและชาวบ้านกิน มันเป็นการวางตัวและปรับตัววของราชวงศ์ในยุคสมัยใหม่
ส่วนการค้นพบ ประเพณีของเจ้าหญิงสองคน ด้วยการรำลึกถึงโอลาฟซึ่งเป็นตัวแทนของความทรงจำในวัยเด็กอันชื่นมื่นของพวกเธอก่อนการแตกหัก การเฉลิมฉลองความทรงจำตรงนี้ซึ่งต่อไปก็จะทำทุกๆ ปี ก็แสดงถึงว่าพวกเธอหวงแหนความทรงจำที่ดีในวัยเด็กมาก และก็คงเสียใจกับเหตุการณ์บาดหมางในวัยเด็ก (ที่ต่อมาก็ถูกแก้ไขแล้ว) ไม่น้อย ก็ดูเป็นราชวงศ์ที่ไม่ได้เพรียบพร้อม ยังค้างคากับปมในวัยเด็ก และการพยายามหาตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในราชวงศ์ยุคใหม่
2. ส่วน Coco นำเสนอภาพคนนอกอเมริกัน ไม่ใช่คนผิวขาว ภาพสวยมากๆ วิจิตรบรรจง ชอบมุกเอาฟรีดา คาห์โลมามีชีวิต (ในโลกหลังความตาย) ว่าถ้าเธอได้ทำโชว์คอนเสริร์ตเธอจะทำยังไง ซึ่งตลกมากๆ ที่เอาเธอหลายๆคนมาแสดงเหมือนภาพวาด Self - Portrait ซึ่งธีมเรื่องมันก็พูดถึงผู้หญิงตลอดจนลูกหลานที่ออกมาจากช่องคลอดของเธอๆ ต้องทำอาชีพ "รองเท้า" มีชิวิตจากอดีตอันเจ็บปวด แต่ในขณะเดียวกันเพศหญิงในเรื่องนีก็ถูกนำเสนอว่าไม่ได้อยู่ในสภาพจำยอม หากแต่มีอารมณ์รุนแรงไม่แพ้ชาย เธอไม่สนใจการจากไปของชาย และดิ้นรนชีวิตต่อไป เช่นเดียวกับฟริดา ที่ถึงแม้สามีเธอจะมีชู้ เธอเองก็มีชู้เช่นกัน
การทำรองเท้าของครอบครัวนี้ก็เหมือนกับการวาดภาพของฟริดาที่จัดเป็น autodidact คือมีการหัดลองผิดลองถูกด้วยตนเอง จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากสังคม แต่มันก็น่าสนใจเหมือนกันว่าการที่ทั้งสองคน คือฟริดาและสามีของเธอ Rivera เป็นคนอารมณ์รุนแรง (เหมือนไฟลุก) กันทั้งคู่ ซึ่งถูกถ่ายทอดในหนังว่า ลูกหลานของตระกูล Rivera (ชื่อเดียวกับนามสกลุของสามีฟริดา) ได้รับผลกระทบจากอารมณ์ของทั้งคู่ Imelda Rivera ที่เป็นหญิงหัวรั้น เจ็บจากการจากไปของสามี เธอส่งความโกรธแค้นนั้นไปสู่ลูกหลาน ซึ่งันทำให้ตัวละครเอกของเราไม่ได้ทำสิ่งีท่เขารัก และผู้กำกับก็ทำออกมาได้ดีมากๆ ในฉากที่ย่า Abuelita ทุบกีต้าร์ทิ้ง และมิเกลบอกว่า เขายอมที่จะไม่อยู่บนแท่นบูชา และไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวนี้
ตั้งแต่สาวๆ เธอได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสม์ จนกระทั่งเธอได้ไปอาศัยที่อเมริกาและร่วมการเมืองซ้ายจัดกับ Leon Trotsky ที่หลบหนีจากรัสเซีย เพราะการพยายามลอบสังหารโดยพวกของสตาลิน ฟริดาสนใจในเรื่องสตรีนิยม สังคมนิยม การเมืองซ้ายจัด และกลุ่ม LGBT ไปจนถึงคนพิการ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านภาพวาดของเธอ ภาพที่พูดถึงความไม่เทียมและแรงกดดันที่เธอได้รับจากโลกใบนี้เพียงเพราะเธอเป็นเพศหญิง นอกจากนี้ยังพุดถึงการแผ่ขยายอำนาจของอเมริกา postcolonialism ของคน Mexican และชาวพื้นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการรุกล้ำของสเปน เช่นเดียวกับการ์ตูนที่พูดถึงการหวงแหนวัฒนธรรมพื้นถิ่น
การระลึก (Remember) ถึงบรรพบุรุษผ่านประเพณี Día de Muertos ในเรื่องจึงไม่ใช่แค่การจำได้ว่าเขาคือใคร หรือการเอาของเซ่นไหว้ไปในปู่ย่าตาทวด หวังให้เขาท้องอิ่มไม่หิวโหยในโลกหลังความตาย แต่นี่ยังเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีที่เขาได้ทำไว้ แรงขับเคลื่อนทางสังคมที่ยังต้องการในปัจจุบัน ภาพที่ฟริดาวาดไว้ใน Self Portrait Along the Boarder Line Between Mexico and the United States, 1932 จึงไม่ใช่เรื่องล้าสมัย ในวันที่นักการเมืองฝ่ายขวาครองประเทศ และกำลังจะแบ่งแยกบ้านพี่เมืองน้อง ออกจากกันทั้งกายภาพและ nonphysical
Ref.
1. The life and politics of Frida Kahlo, Kat Galea
2. www.fridakahlo.org
3. Frida Kahlo’s Politics, MARIA POPOVA
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: Coco (Lee Unkrich, Adrian Molina, 2017)
.
.
.
.
.
1. หนังโอลาฟตอกย้ำภาพของชนชั้นในสังคม และภาพชาวบ้านที่มีเสื้อ ชีวิตอยู่ดีกินดี เหนือจริง แต่ก็น่าสนใจที่หนังเล่าถึงความต้องการของราชวงศ์ที่อย่างมี "การมีประเพณ๊ประจำครอบครัว" เหมือนกับชาวบ้าน ซึ่งราชวงศ์นี้เป็นยุคหลังการเสียชีวิตองราชวงศ์ยุคเก่าซึ่งเราเข้าใจว่ารุ่นพ่อแม่ของพวกนางก็คงมีประเพณีของราชวงศ์ตัวเอง แต่พอถึงยุคของนาง ราชวงศ์ยุคใหม่ที่ขาดเอกลักษณ์ การพยายามผนวกตัวเองเข้ากับชุมชน พวกเธอเลยอยากมีเหมือนที่ ชุมชนดั้งเดิมมี มันเป็นภาพที่ประหลาดดีเมื่อเธอขอร้องให้ชาวบ้านออกช่วยโอลาฟ พระสหายของเจ้าหญิง ชาวบ้านก็ยินดีช่วย ซึ่งก็คงเป็นเพราะบารมีของพวกนางที่ช่วยหมู่บ้านเอาไว้เจ้าชายฮานมายึดครองเมืองภาคที่แล้ว
เราชอบการที่เจ้าหญิงสองคนพยายามทำตัวเองให้เข้าใกล้สามัญชน ทั้งการจัดงานเลี้ยงในวัง ที่เหมือนจะอยากให้ชาวบ้านเข้ามาในงานหลังจากลั่นระฆัง แต่กลายเป็นว่าทุกคนก็มีกิจกรรมที่บ้านของตัวเอง หรืออย่างตอนตามหาโอลาฟที่ชาวบ้านมากมายพร้อมใจมาช่วยกันตามหา แล้วนางก็เอาของมาแจกให้เด็กและชาวบ้านกิน มันเป็นการวางตัวและปรับตัววของราชวงศ์ในยุคสมัยใหม่
ส่วนการค้นพบ ประเพณีของเจ้าหญิงสองคน ด้วยการรำลึกถึงโอลาฟซึ่งเป็นตัวแทนของความทรงจำในวัยเด็กอันชื่นมื่นของพวกเธอก่อนการแตกหัก การเฉลิมฉลองความทรงจำตรงนี้ซึ่งต่อไปก็จะทำทุกๆ ปี ก็แสดงถึงว่าพวกเธอหวงแหนความทรงจำที่ดีในวัยเด็กมาก และก็คงเสียใจกับเหตุการณ์บาดหมางในวัยเด็ก (ที่ต่อมาก็ถูกแก้ไขแล้ว) ไม่น้อย ก็ดูเป็นราชวงศ์ที่ไม่ได้เพรียบพร้อม ยังค้างคากับปมในวัยเด็ก และการพยายามหาตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในราชวงศ์ยุคใหม่
2. ส่วน Coco นำเสนอภาพคนนอกอเมริกัน ไม่ใช่คนผิวขาว ภาพสวยมากๆ วิจิตรบรรจง ชอบมุกเอาฟรีดา คาห์โลมามีชีวิต (ในโลกหลังความตาย) ว่าถ้าเธอได้ทำโชว์คอนเสริร์ตเธอจะทำยังไง ซึ่งตลกมากๆ ที่เอาเธอหลายๆคนมาแสดงเหมือนภาพวาด Self - Portrait ซึ่งธีมเรื่องมันก็พูดถึงผู้หญิงตลอดจนลูกหลานที่ออกมาจากช่องคลอดของเธอๆ ต้องทำอาชีพ "รองเท้า" มีชิวิตจากอดีตอันเจ็บปวด แต่ในขณะเดียวกันเพศหญิงในเรื่องนีก็ถูกนำเสนอว่าไม่ได้อยู่ในสภาพจำยอม หากแต่มีอารมณ์รุนแรงไม่แพ้ชาย เธอไม่สนใจการจากไปของชาย และดิ้นรนชีวิตต่อไป เช่นเดียวกับฟริดา ที่ถึงแม้สามีเธอจะมีชู้ เธอเองก็มีชู้เช่นกัน
การทำรองเท้าของครอบครัวนี้ก็เหมือนกับการวาดภาพของฟริดาที่จัดเป็น autodidact คือมีการหัดลองผิดลองถูกด้วยตนเอง จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากสังคม แต่มันก็น่าสนใจเหมือนกันว่าการที่ทั้งสองคน คือฟริดาและสามีของเธอ Rivera เป็นคนอารมณ์รุนแรง (เหมือนไฟลุก) กันทั้งคู่ ซึ่งถูกถ่ายทอดในหนังว่า ลูกหลานของตระกูล Rivera (ชื่อเดียวกับนามสกลุของสามีฟริดา) ได้รับผลกระทบจากอารมณ์ของทั้งคู่ Imelda Rivera ที่เป็นหญิงหัวรั้น เจ็บจากการจากไปของสามี เธอส่งความโกรธแค้นนั้นไปสู่ลูกหลาน ซึ่งันทำให้ตัวละครเอกของเราไม่ได้ทำสิ่งีท่เขารัก และผู้กำกับก็ทำออกมาได้ดีมากๆ ในฉากที่ย่า Abuelita ทุบกีต้าร์ทิ้ง และมิเกลบอกว่า เขายอมที่จะไม่อยู่บนแท่นบูชา และไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวนี้
ตั้งแต่สาวๆ เธอได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสม์ จนกระทั่งเธอได้ไปอาศัยที่อเมริกาและร่วมการเมืองซ้ายจัดกับ Leon Trotsky ที่หลบหนีจากรัสเซีย เพราะการพยายามลอบสังหารโดยพวกของสตาลิน ฟริดาสนใจในเรื่องสตรีนิยม สังคมนิยม การเมืองซ้ายจัด และกลุ่ม LGBT ไปจนถึงคนพิการ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านภาพวาดของเธอ ภาพที่พูดถึงความไม่เทียมและแรงกดดันที่เธอได้รับจากโลกใบนี้เพียงเพราะเธอเป็นเพศหญิง นอกจากนี้ยังพุดถึงการแผ่ขยายอำนาจของอเมริกา postcolonialism ของคน Mexican และชาวพื้นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการรุกล้ำของสเปน เช่นเดียวกับการ์ตูนที่พูดถึงการหวงแหนวัฒนธรรมพื้นถิ่น
การระลึก (Remember) ถึงบรรพบุรุษผ่านประเพณี Día de Muertos ในเรื่องจึงไม่ใช่แค่การจำได้ว่าเขาคือใคร หรือการเอาของเซ่นไหว้ไปในปู่ย่าตาทวด หวังให้เขาท้องอิ่มไม่หิวโหยในโลกหลังความตาย แต่นี่ยังเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีที่เขาได้ทำไว้ แรงขับเคลื่อนทางสังคมที่ยังต้องการในปัจจุบัน ภาพที่ฟริดาวาดไว้ใน Self Portrait Along the Boarder Line Between Mexico and the United States, 1932 จึงไม่ใช่เรื่องล้าสมัย ในวันที่นักการเมืองฝ่ายขวาครองประเทศ และกำลังจะแบ่งแยกบ้านพี่เมืองน้อง ออกจากกันทั้งกายภาพและ nonphysical
Ref.
1. The life and politics of Frida Kahlo, Kat Galea
2. www.fridakahlo.org
3. Frida Kahlo’s Politics, MARIA POPOVA