แต่โบราณกาลมาในภาคใต้ของอินเดีย เทวทาสี หรือ นางต้องห้าม คือผู้หญิงที่อุทิศตนเพื่อบูชาและรับใช้เทพเจ้าในวัดตลอดชีวิตของเธอโดยไม่แต่งงาน โดยการเข้าพิธี Pottukattu ที่ค่อนข้างคล้ายกับพิธีแต่งงานทั่วไปแต่สำหรับเทวทาสีพวกเธอคือเจ้าสาวของเทพเจ้า…… งานของพวกเธอนอกเหนือจากการดูแลวัดและการทำพิธีกรรมแล้วผู้หญิงเหล่านี้ยังได้เรียนรู้และฝึกฝนประเพณีศิลปะชั้นสูงเช่น ภะรัตนาฏรยัม, คูชิบูดี และการรำ Odissi โอดิสสี สถานภาพทางสังคมของพวกเธอจัดอยู่ในระดับสูงเนื่องจากการรำนาฏศิลป์และเล่นดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาเทพเจ้า….. ทุกครั้งที่พวกเธอร่ายรำอย่างสวยงามเชื่อกันว่ามันเกิดมาจากการเข้าทรงติดต่อเทพเจ้า
เทวทาสีจะไม่สามารถแต่งงานกับมนุษย์ผู้ชายได้เพราะพวกเธอเป็นเจ้าสาวของทวยเทพในศาสนาฮินดูที่จะมีหน้าที่คล้ายนางโยคีนีที่ปฏิบัติศาสนากิจ
แต่พวกเธอสามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์กับชายใดก็ได้ที่พวกเธอถูกใจไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีภรรยาหรือว่าโสท…… เทวทาสีจะมีอภิสิทธิ์เหนือผู้ชายธรรมดาต่างจากหญิงอินเดียทั่วไปที่ต้องคอยปรนนิบัติสามีราวสาวใช้แต่เทวทาสีสามารถเลือกชายใดที่เธอถูกใจมามีความสัมพันธ์ได้ตามต้องการโดยที่ไม่ต้องผูดมัดหรือแต่งงาน แต่ในขณะเดียวกันเทวทาสีหรือนางต้องห้ามก็สามารถเลือกที่จะอยู่เป็นสาวพรหมจรรย์ตลอดชีวิตได้เช่นกัน…… ทำให้อาชีพนี้เป็นอีกทางเลือกที่สตรีอินเดียโบราณและขอมโบราณใฝ่ฝัน
นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกสาขาอินเดียโบราณเชื่อว่าประเพณีนางต้องห้ามหรือเทวทาสีนั้นน่าจะวิวัฒนาการมาจากตำแหน่ง นครวาดู Nagarvadhu ซึ่งมีมานานก่อนสมัยพุทธกาลจนถึงยุคพุทธกาล…… พระนางอมราปาลี หรือ อัมพาปาลี…… ภาษาสันสกฤตคือ Amra "อมรา"หรือ"อัมพา" แปลว่ามะม่วงและPallawa ปัลลาวา แปลว่า ใบและก้านอ่อน….. นางได้ชื่อนี้เพราะมาจุติกำเนิดที่ใต้ต้นมะม่วงหรือต้นอัมร่าในกรุงเวสาลี……
คำว่า Nagar Vadhu นคร วาดู นั้นแปลว่า เจ้าสาวของนคร มันคือตำแหน่งที่แทบจะเรียกได้ว่าคือตำแหน่งนางงามในยุคโลกโบราณ……. หญิงสาวทุกคนในสมัยโบราณต่างใฝ่ฝันและแข่งขันเพื่อจะได้เข้ามาดำรงค์ตำแหน่งนี้……. ซึ่ง นครเวดู ที่ถูกคัดเลือกเข้ามาจะต้องเป็นหญิงสาวหน้าตาสวยมีความสามารถด้านศิลปะเช่นดลตรีและการรำตลอดจนยังต้องเป็นลูกสาวของคหบดี เช่นเดียวกับเรื่องของท่านอมราปาลี
ที่กล่าวกันว่าเป็นผู้หญิงที่รูปงามมากจนบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างอยากจะแต่งงานกับนางและนางก็มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งพระเจ้ามนุเทพแห่งเวสาลีได้สังหารบุษบากุมารคู่หมั้นของนางและแต่งตั้งนางให้เป็น นคร วาดู ของเมืองในวันถัดมา….. ตำแหน่งนครวาดูนี้จะมีหน้าที่ถวายการรำต่อหน้าพระมหาษัตริย์และใครก็ตามที่จ้างนางให้รำซึ่งค่าตัวการรำของสตรีตำแหน่งนี้จะสูงมากต่อคืนซึ่งแน่นอนไม่มีผู้ใดสามารถจ้างนางได้นอกจากพระมหากษัตริย์, เจ้าชาย และ เจ้าเมือง เท่านั่น
นครวาดูหรือหญิงงามแห่งพระนครเป็นอาชีพที่ได้รับเกียรติมากในสมัยนั้น ไม่มีใครมองว่าเหมือนกับหญิงงามเมืองในยุคใหม่แต่ในโลกโบราณนครวาดูเปรียบเสมือนเทวีที่คนชั่นล่างต่างเคารพบูชาและพวกเธอจะถวายการบำรุงบำเรอให้แก่ผู้มีอำนาจในแผ่นดินเท่านั้น…… หลังพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลในศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดียและพระนางอมราปาลีออกบวชและบรรลุอรหันต์….. ศาสนาฮินดูในอินเดียเริ่มมีการให้ความสำคัญกับศีลธรรมจรรยา ความสำรวม และ การลดละกิเลสตัญหามากขึ้น…… อาชีพนครวาดูที่คัดเลือกหญิงงามเก่งในเรื่องศิลปะและการร่ายรำมาเป็นไอคอนของสตรีได้หายสาปสูญไป…… ปรากฏอาชีพใหม่คือเทวทาสีที่คล้ายนางภิกษุณีที่ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งสัตย์ปฏิญาณที่จะครองพรหมจรรย์มาทำหน้าที่ร่ายรำและทำพิธีบูชาเทพเจ้าในวิหารแทน
"เทวทาสี" นางต้องห้าม อาชีพทรงเกียรติของสตรีอินเดียที่กลับกลายมาเป็นโสเภณีชั้นต่ำ
แต่โบราณกาลมาในภาคใต้ของอินเดีย เทวทาสี หรือ นางต้องห้าม คือผู้หญิงที่อุทิศตนเพื่อบูชาและรับใช้เทพเจ้าในวัดตลอดชีวิตของเธอโดยไม่แต่งงาน โดยการเข้าพิธี Pottukattu ที่ค่อนข้างคล้ายกับพิธีแต่งงานทั่วไปแต่สำหรับเทวทาสีพวกเธอคือเจ้าสาวของเทพเจ้า…… งานของพวกเธอนอกเหนือจากการดูแลวัดและการทำพิธีกรรมแล้วผู้หญิงเหล่านี้ยังได้เรียนรู้และฝึกฝนประเพณีศิลปะชั้นสูงเช่น ภะรัตนาฏรยัม, คูชิบูดี และการรำ Odissi โอดิสสี สถานภาพทางสังคมของพวกเธอจัดอยู่ในระดับสูงเนื่องจากการรำนาฏศิลป์และเล่นดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาเทพเจ้า….. ทุกครั้งที่พวกเธอร่ายรำอย่างสวยงามเชื่อกันว่ามันเกิดมาจากการเข้าทรงติดต่อเทพเจ้า
เทวทาสีจะไม่สามารถแต่งงานกับมนุษย์ผู้ชายได้เพราะพวกเธอเป็นเจ้าสาวของทวยเทพในศาสนาฮินดูที่จะมีหน้าที่คล้ายนางโยคีนีที่ปฏิบัติศาสนากิจ
แต่พวกเธอสามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์กับชายใดก็ได้ที่พวกเธอถูกใจไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีภรรยาหรือว่าโสท…… เทวทาสีจะมีอภิสิทธิ์เหนือผู้ชายธรรมดาต่างจากหญิงอินเดียทั่วไปที่ต้องคอยปรนนิบัติสามีราวสาวใช้แต่เทวทาสีสามารถเลือกชายใดที่เธอถูกใจมามีความสัมพันธ์ได้ตามต้องการโดยที่ไม่ต้องผูดมัดหรือแต่งงาน แต่ในขณะเดียวกันเทวทาสีหรือนางต้องห้ามก็สามารถเลือกที่จะอยู่เป็นสาวพรหมจรรย์ตลอดชีวิตได้เช่นกัน…… ทำให้อาชีพนี้เป็นอีกทางเลือกที่สตรีอินเดียโบราณและขอมโบราณใฝ่ฝัน
นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกสาขาอินเดียโบราณเชื่อว่าประเพณีนางต้องห้ามหรือเทวทาสีนั้นน่าจะวิวัฒนาการมาจากตำแหน่ง นครวาดู Nagarvadhu ซึ่งมีมานานก่อนสมัยพุทธกาลจนถึงยุคพุทธกาล…… พระนางอมราปาลี หรือ อัมพาปาลี…… ภาษาสันสกฤตคือ Amra "อมรา"หรือ"อัมพา" แปลว่ามะม่วงและPallawa ปัลลาวา แปลว่า ใบและก้านอ่อน….. นางได้ชื่อนี้เพราะมาจุติกำเนิดที่ใต้ต้นมะม่วงหรือต้นอัมร่าในกรุงเวสาลี……
คำว่า Nagar Vadhu นคร วาดู นั้นแปลว่า เจ้าสาวของนคร มันคือตำแหน่งที่แทบจะเรียกได้ว่าคือตำแหน่งนางงามในยุคโลกโบราณ……. หญิงสาวทุกคนในสมัยโบราณต่างใฝ่ฝันและแข่งขันเพื่อจะได้เข้ามาดำรงค์ตำแหน่งนี้……. ซึ่ง นครเวดู ที่ถูกคัดเลือกเข้ามาจะต้องเป็นหญิงสาวหน้าตาสวยมีความสามารถด้านศิลปะเช่นดลตรีและการรำตลอดจนยังต้องเป็นลูกสาวของคหบดี เช่นเดียวกับเรื่องของท่านอมราปาลี
ที่กล่าวกันว่าเป็นผู้หญิงที่รูปงามมากจนบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างอยากจะแต่งงานกับนางและนางก็มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งพระเจ้ามนุเทพแห่งเวสาลีได้สังหารบุษบากุมารคู่หมั้นของนางและแต่งตั้งนางให้เป็น นคร วาดู ของเมืองในวันถัดมา….. ตำแหน่งนครวาดูนี้จะมีหน้าที่ถวายการรำต่อหน้าพระมหาษัตริย์และใครก็ตามที่จ้างนางให้รำซึ่งค่าตัวการรำของสตรีตำแหน่งนี้จะสูงมากต่อคืนซึ่งแน่นอนไม่มีผู้ใดสามารถจ้างนางได้นอกจากพระมหากษัตริย์, เจ้าชาย และ เจ้าเมือง เท่านั่น
นครวาดูหรือหญิงงามแห่งพระนครเป็นอาชีพที่ได้รับเกียรติมากในสมัยนั้น ไม่มีใครมองว่าเหมือนกับหญิงงามเมืองในยุคใหม่แต่ในโลกโบราณนครวาดูเปรียบเสมือนเทวีที่คนชั่นล่างต่างเคารพบูชาและพวกเธอจะถวายการบำรุงบำเรอให้แก่ผู้มีอำนาจในแผ่นดินเท่านั้น…… หลังพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลในศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดียและพระนางอมราปาลีออกบวชและบรรลุอรหันต์….. ศาสนาฮินดูในอินเดียเริ่มมีการให้ความสำคัญกับศีลธรรมจรรยา ความสำรวม และ การลดละกิเลสตัญหามากขึ้น…… อาชีพนครวาดูที่คัดเลือกหญิงงามเก่งในเรื่องศิลปะและการร่ายรำมาเป็นไอคอนของสตรีได้หายสาปสูญไป…… ปรากฏอาชีพใหม่คือเทวทาสีที่คล้ายนางภิกษุณีที่ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งสัตย์ปฏิญาณที่จะครองพรหมจรรย์มาทำหน้าที่ร่ายรำและทำพิธีบูชาเทพเจ้าในวิหารแทน