รสมิตธา หริมูรธี สาวสายเลือดจัณฑาล มีคุณพ่อเป็นชนชั้นจัณฑาล เธอชนะการประกวดมีสยูนิเวิร์สอินเดียปี 2016 และเดินทางไปประกวดมีสยูนิเวิร์สนานาชาติต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์ เธอได้รับตำแหน่ง
Miss Diva ในปีนั้น ที่สำคัญไปกว่านั้นเธอยังเป็นนักขับเคลื่อนสิทธิสตรีชั้นล่างในอินเดียที่แหวกกฏประเพณีด้วยการเป็นนางงามอินเดียคนแรกที่มา
จากชนชั้นจัณฑาล
ทุกวันนี้รสมิตธาเดินหน้ารณรงค์ช่วยเหลือเป็นปากเป็นเสียงให้จัณฑาลในอินเดียร่วมกับผู้หญิงที่มาจากชนชั้นจัณฑาลอีกหลายคนที่ขึ้นมาเป็นตัวตั้งตัวตีช่วยเหลือจัณฑาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งจัณฑาลที่เป็นผู้หญิงซึ่งมีสถานภาพและโชคชะตาที่เลวร้ายเสียยิ่งกว่าจัณฑาลเพศชาย หลายครั้งพวกเธอโดนข่มขืนโดยชายวรรณะสูง โดนทารุณกรรมทางเพศ
โดนอนาจารณ์ต่อหน้าธารกำนัลโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้แม้กระทั้งว่าแจ้งความกับตำรวจ ตำรวจก็ไม่เอาผิดผู้ชายที่มาจากวรรณะสูงเช่นชายวรรณะพราหมณ์
ภาพของรสมิตธาในวัยเด็ก
รสมิตธาเดินหน้าร่วมงานกับนักปฏิวัติสิทธิจัณฑาลหญิงชื่อดังอีกหลายคนเช่น นาง รัตติกา วิมูลลา อันนามสกุลของจัณฑาลในอินเดียแต่เดิมนั้นดูไม่ยากมักมีคำว่า มูล มูลลา จัณฑาลละ
อวรรณะ ทาสา ฯผสมอยู่ในนามสกุลเพราะมาจากชนชั้นที่ เก็บสิ่งปฏิกูล มูลผง ฯ ตามถนน ไม่ได้เกิดจากส่วนใดของพระพรหม.....
ในอินเดียจัณฑาลเกิดได้จากหลายสาเหตุ
1.) เป็นจัณฑาลจากการไม่มีเลือดอารยันผสม
จัณฑาลประเภทนี้ เป็นชาวอินเดียที่ไม่มีเชื้อสายอารยันผสมเรียกว่า อดิวาสี Adhivasi ใช้เรียกอินเดียพื้นเมืองที่ประกอบไปด้วยหลายเผ่าทั้งชนชาวออสโตรลอยด์และมองโกลอยด์เช่น ชาวนาค ในนาคาแลนด์, ชาวหมู่เกาะนิโคบาร์ หรือชนเผ่าใดๆก็ตามแต่ที่
ไม่เคยผสมกับชาวอารยันฮินดู จะจัดเป็นพวกไม่มีวรรณะ แต่หลักๆจะมีเผ่าหลักๆที่เข้ามาค่องเกี่ยวกะชาวอารยันฮินดูและทำงานเป็นแรงงานให้ชาวฮินดูวรรณะสูงเช่น
ชาวอดิวาสีในอัสสัม เชนไน ฯลฯ ซึ่งจะถูกจัดว่าเป็นจัณฑาลขึ้นทะเบียนที่ไม่สามารถปิดบังได้ ต่างจากชนเผ่าไร้วรรณะที่ไม่ได้จัดในกลุ่มจัณฑาลขึ้นทะเบียนเพราะไม่เคยมาเกี่ยวข้องในรัฐที่มีอารยันฮินดูเช่น ชาวนาค ในนาคาแลนด์, ชาว นิโคบาร์, เซนติเนล ฯลฯ ซึ่งอยู่เฉพาะในถิ่นตนซึ่งจะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าแม้อาจโดนเขม่นโดยอารยันฮินดูบ้าง
2.) เป็นจัณฑาลจากพ่อแม่ประพฤติผิดประเพณี พราหมณ์-ฮินดู
จัณฑาลประเภทนี้มีเยอะมาก เช่น แม่เป็นลูกคนรวยวรรณะพราหมณ์แต่หนีตามพ่อที่เป็นวรรณะศูทรซึ่งทำอาชีพเป็นคนรับใช้...... ลูกที่เกิดมาจะกลายเป็นจัณฑาลซึ่งทุกวรรณะจะไม่คบค้าสมาคมด้วยเพราะถือว่าเกิดมาจากความผิดประเวณี
โตขึ้นมาจะไม่สามารถเข้าสังคมหรือทำงานได้ จะทำได้อย่างเดียวคืองานชั่นต่ำเช่นเก็บขยะ ทำความสะอาดถนนฯ
วรรณะสูงที่ทำผิดกฏหมายจนคนรู้จักแต่ในแง่ลบหรือทำผิดกฏประเพณีจนเป็นนิจ เช่นเกิดในวรรณะพราหมณ์แต่ไ่ม่ทำงาน ไม่เคยปฏิบัติศาสนกิจจนโดนขับไล่ออกจากตระกูลก็จะเป็นจัณฑาลเช่นกัน.... หรือวรรณะกษัตริย์แต่ไม่ทำอาชีพนักรบหรืองานราชการแต่เรียนไม่จบแล้วไปทำอาชีพชั้นต่ำเช่น ล้างส้วม, กวาดถนน ฯครบ7ชั่วคนก็จะกลายเป็นจัณฑาลเช่นกัน
3.) เป็นจัณฑาลเพราะไม่มีอาชีพหรือทำอาชีพชั้นต่ำ
เช่น เกย์ กระเทย เพศที่สาม ทำงานเต้นกินรำกินได้เงิน..... หรือยิปซีทางภาคตะวันตกซึ่งแม้จะมีเชื้อสายอารยันผสมอยู่แต่ไม่เคยทำงาน ไม่เคยปฏิบัติศาสนกิจ ร่อนเร่พเนจรเป็นวนิพกไปเรื่อยๆพวกนี้ก็จะโดนจัดเป็นจัณฑาลเช่นกัน รวมถึงตระกูลที่ทำอาชีพชั้นต่ำไม่ใช้ทักษะในการทำงานเช่น Dhobi หมูบ้านหรือชุมชนที่มีอาชีพซักผ้า, Kandara ยาม, Bauri ลูกจ้างทำการเกษตรในที่ดินคนอื่น, Hadi คนเก็บขยะฯ
รัตติกา วิมูลลา
ซึ่งเป็นจัณฑาลหญิงสูงวัยที่กลายมาเป็นนักปฏิวัติจัณฑาลอย่างเต็มตัวหลังการตายของโรหิตลูกชายที่รักที่เรียนดีมากจนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังของอินเดียได้ แต่ก็ต้องมาจบชีวิตลงอย่างเป็นปริศนาเพราะโรหิตได้เข้าร่วมเป็นสมาชิคของสมาคมช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีปัญหาด้านชนชั้นวรรณะ
ตำรวจมาพบว่าเด็กหนุ่มได้แขวนคอตายในมหาวิทยาลัยในที่สุดซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าเขาฆ่าตัวตายจริงจากความกดดันที่ถูกเพื่อนbully หรือว่าโดนฆาตรกรรมจากการมาเป็น
สมาชิคองค์กรช่วยเหลือนักศึกษาจัณฑาล
Ambedkar Students' Association
รัตติกาผู้เป็นแม่ของเด็กหนุ่มผู้เสียชีวิตได้เดินทางเข้าไปทักท้วงและสืบหาสาเหตุการตายของลูกชายที่มหาวิทยาลัยจนเป็นข่าวดัง แต่แล้วก็พบว่าหลังการโวยวายในครั้งนั้นเจ้าหน้าที่รัฐที่ตั้งมหาลัยกลับออกหนังสือแจ้งความว่าทางครอบครัวแม่ลูกปลอมแปลงหลอกลวงวรรณะของลูกชายเพื่อที่จะได้เข้ามาเรียนหนังสือโดยไม่มีปัญหากับนักศึกษาคนอื่น..... ทำให้นางรัตติกามารดาของนักศึกษาจัณฑาลที่เสียชีวิตต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรม
เรื่องราวของจัณฑาลหญิงในอินเดียดูจะเลวร้ายไปยิ่งกว่านั้นเช่นเดียวกับเรื่องราวของ ลักษมี ออราง สาวชาวอินเดียจากเผ่า อดิวาสี Adivasi ที่อาศัยอยู่ในรัฐอัสสัม เธอมาจากชนชั้นจัณฑาล เรื่องราวของลักษมีสร้างความตระหนักในสิทธิสตรีโดยเฉพาะชนชั้นจัณฑาลในหน้าประวัติศาสตร์อินเดียถึงความน่ารังเกียจในสังคมชนชั่นวรรณะที่ทำให้ชาวโลกหันมามองระบบวรรณะอย่างสะอิดสะเอียน
ลักษมี ออราง นักศึกษาสาวผิวเข้มโดนทารุณกรรม
และอนาจารณ์ทางเพศในที่สาธารณะ
ลักษมี ออราง ในวัย 30 ชาวอดิวาสีเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากชาวOrang Asli ชนเผ่าพื้นเทืองทางตะวันออกเฉียงใต้ผิวสีซึ่งเป็นชนเผ่าเดียวกับ ชนเผ่าOrang Asli หรือชาวซามังผิวดำในอินโดนีเซีย เธอเป็นอดีตสมาชิคนักศึกษากลุ่มอาสาพัฒนา ได้ยื่นฟ้องหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของ
รัฐอุตตรประเทศรองผู้ว่าการ โยคี อาทิตยัต หลังจากรูปภาพของเธอ (อัพโหลดจากบัญชี Facebook ในชื่อ UP CM) ถูกอธิบายว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการสังหารหมู่ในเบงกอล
นอกจากนี้เธอ ได้ยื่นฟ้อง Tezpur MP RP Sarma หลังจากที่โพสต์แชร์ภาพการโดนอนาจารณ์์์์์์์์์์์์ขณะเกิดม็อบ
คดีดังกล่าวได้รับการไตร่สวนในศาล บิสวานาฐ Biswanath
โพสต์ในหนังสือพิมพ์อ้างว่า ภาพที่เธอถูกจับเปลื้องผ้านั้นถูกนำมาใช้เสมือนเป็นการโฆษณานโยบายของนายกรัฐมนตรี นารัณฑรา โมธี Narendra Modi ที่เรียกร้องความชอบธรรมให้จัณฑาล
ย้อนกลับไปในปี 2550 ลักษมีได้เดินทางจาก จาโปวารี ใน
โซนีปุระไป ยัง กุวาหาตี Guwahati ในฐานะสมาชิกของสมาคมนักเรียนชาวอดิวาสีในรัฐอัสสัม
เธอและผู้สนับสนุนของเธอเรียกร้องสถานะของวรรณะจัณฑาล ให้แก่จัณฑาลประเภทอดิวาสี (คนพื้นเมือง) และการเพิ่มค่าจ้างรายวันของคนงานในสวนชาโดย 70-200 รูปีต่อวันสำหรับแรงงานในสวนชาขนาดเล็กและใหญ่ในรัฐอัสสัม
อย่างไรก็ตามสถานการณ์เปลี่ยนไปอย่างน่าเกลียดหลังจากสมาชิกสหภาพนักศึกษา ชาวอดิวาสี ดำเนินการอาละวาดใน Guwahati จึงถูกชาวกุวาหาตีตอบโต้
ในระหว่างเกิดเหตุลักษมีถูกไล่ล่าโดยกลุ่มเด็กหนุ่มที่จับเธอเปลื้องผ้าก่อนจะทำร้ายเธออย่างไร้ความปราณี
เจ้าของร้านขายของชำซึ่งเป็นพวกเสียผลประโยชน์ได้เอาไม้รุมตีเธอ..... ลักษมีได้พยามดิ้นรนหนีจนผ้าส่าหรีหลุดจากบ่าแต่ชายทั้งสองกลับดึงส่าหรีของเธอออกและพยามจับเธอเปลื้องผ้าต่อหน้าสาธารณะชน..... หลังจากนั้นหนึ่งในนักธุระกิจชายอินเดียผิวขาววรรณะสูงก็ได้ใช้ขาเต๊ะไปที่ของสงวน มีผู้ชายบริเวณนั้นมากมายยืนดูและหัวเราะ..... ในขณะที่ลักษมีวิ่งหนีไปในเมืองขณะเปลือยกาย ผู้ชายจำนวนหลายคนกลับวิ่งตามในขณะที่เธอวิ่งไปตัวเปล่าล่อนจ่อน
ผู้ชายจำนวนหนึ่งหัวเราะและเอาโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายวีดีโอภาพที่เธอที่วิ่งหนีรอบเมืองในขณะที่ไม่มีเสื้อผ้าแม้แต่ชิ้นเดียว ผู้ชายบางคนยังล้อมเธอและเอาไม้ที่ตีเธอแกล้งแหย่ไปตามส่วนสงวนในร่างกายเช่นหน้าอกและก้น ท่ามกลางเสียงร้องของเธอที่พยามต่อสู้กับผู้ชายเหล่านั่น หนึ่งในนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนยิ้มและหัวเราะอย่างชอบใจ..... เป็นเวลานานร่วมครึ่งชั่วโมงที่มีชายพลเมืองดีเข้ามาช่วยไว้และเอาเสื้อผ้ามาห่มร่างของเธอ
จากวีดีโอคลิปเหตุการณ์ของลักษมี ออราง ถูกแชร์ในยูทูป และโซเชี่ยลมีเดียจนเป็นที่น่าอับอายขายหน้า องค์กรสิทธิสตรีอินเดีย องค์การช่วยเหลือชนชั้นวรรณะล่างๆและต่างชาติต่างทักท้วงในความยุติธรรมให้แก่ลักษมีจนเป็นเหตุให้มีการขึ้นศาลไตร่สวน
พวกผู้ชายที่กระทำกับลักษมีอย่างป่าเถื่อนถูกเข้าคุกรวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สนุกสนานไปกับเหตุการณ์อนาจารณ์สาวจัณฑาลก็ติดคุกไปด้วย..... รัฐบาลอินเดียสั่งห้ามการเผยแพร่คลิปการอนาจารณ์ของเธอบนอินเตอร์เน็ตจนคลิปที่โดนแชร์ถูกลบหายไปจนหมดสิ้นในอินเตอร์เน็ต....... หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษรุนแรง
ปัจจุบันชาวจัณฑาลหลายคนสามารถเปลี่ยนนามสกุลได้จึงเป็นการช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล่ำทางสังคม จัณฑาลหลายคนหันมาใช้นามสกุลแบบวรรณะสูงได้อย่างไม่มีปัญหากับ
เรื่องกฏหมาย
โรชมิธ่า หริมูรธี นางงามจัณฑาลคนแรกของอินเดียกับปฏิบัติการยกระดับจัณฑาลทั่วประเทศ
คดีดังกล่าวได้รับการไตร่สวนในศาล บิสวานาฐ Biswanath
โพสต์ในหนังสือพิมพ์อ้างว่า ภาพที่เธอถูกจับเปลื้องผ้านั้นถูกนำมาใช้เสมือนเป็นการโฆษณานโยบายของนายกรัฐมนตรี นารัณฑรา โมธี Narendra Modi ที่เรียกร้องความชอบธรรมให้จัณฑาล
ย้อนกลับไปในปี 2550 ลักษมีได้เดินทางจาก จาโปวารี ใน
โซนีปุระไป ยัง กุวาหาตี Guwahati ในฐานะสมาชิกของสมาคมนักเรียนชาวอดิวาสีในรัฐอัสสัม
เธอและผู้สนับสนุนของเธอเรียกร้องสถานะของวรรณะจัณฑาล ให้แก่จัณฑาลประเภทอดิวาสี (คนพื้นเมือง) และการเพิ่มค่าจ้างรายวันของคนงานในสวนชาโดย 70-200 รูปีต่อวันสำหรับแรงงานในสวนชาขนาดเล็กและใหญ่ในรัฐอัสสัม
อย่างไรก็ตามสถานการณ์เปลี่ยนไปอย่างน่าเกลียดหลังจากสมาชิกสหภาพนักศึกษา ชาวอดิวาสี ดำเนินการอาละวาดใน Guwahati จึงถูกชาวกุวาหาตีตอบโต้
ในระหว่างเกิดเหตุลักษมีถูกไล่ล่าโดยกลุ่มเด็กหนุ่มที่จับเธอเปลื้องผ้าก่อนจะทำร้ายเธออย่างไร้ความปราณี