[CR] รีวิวผลิตภัณฑ์ สไตล์เด็กอก. โยเกิร์ตชนิดคงตัวผสมน้ำผึ้ง ตราเมจิ(ซีพี)

สวัสดีครับ วันนี้จะรีวิวผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต ที่ใครหลายๆคงก็คงจะรู้จักกันดี เคยฮ๊อตตตตเปรี้ยงปร้างงงง หามาโดนแทบไม่ได้เพราะของหมดตลอด


นั่นก็คือ โยเกิร์ตเมจิบัลแกเรียยยยยยยย วันนี้ก็ซื้อรสน้ำผึงมา เนื่องจากอีกรสกินจนเบื่อแล้ว 55555
แพคเกจสวยงาม เคลมว่าโลวแฟตซะด้วยยยย


ก่อนอื่นขอให้ความรู้ที่หลายคนอาจไม่อยากรู้ 555555 โยเกิร์ตมีต้นกำเนิดมาจากประเทศบัลแกเรีย โดยเรียกว่ายาเอิร์ต (yaourt)

โยเกิร์ตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามลักษณะ คือ
1.Plain yoghurt – โยเกิร์ตที่ไม่เติมอะไรเลย
2.Swiss-style yoghurt / fruit flavor yoghurt – โยเกิร์ตที่เติมกลิ่น หรือผลไม้
3.Liquid yoghurt – โยเกิร์ตที่นำมาผสมน้ำผสมน้ำผลไม้ แล้วผ่านการโฮโมจีไนซ์

[การโฮโมจีไนซ์ คือการปั่นให้อนุภาคของไขมันแตกเล็กลง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวไม่แยกชั้น]


และแล้วก็ได้เวลาสาระ! ส่วนผสมจะมีอะไรน่าสนใจไปชมกันเลย


น้ำตาลแลคโตส – Lactose
                  เป็นน้ำตาลที่พบได้ทั่วไปในน้ำนมอยู่แล้ว ซึ่งแลคโตสมีความหวานเพียงแค่ ประมาณ20% ของน้ำตาลทรายปกติเท่านั้น และก็ยังเป็นสาเหตุว่าทำไมบางคนถึงกินนมแล้วท้องเสีย เพราะต้องใช้เอนไซม์แลคเตสในการย่อย ซึ่งเอนไซม์นี้จะมีอยู่ในเด็ก หรือคนที่กินนมต่อเนื่องมาอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ได้กินนมมาเนิ่นนาน พอมากินก็จะ  ท้องเสีย!นั่นเองงง  55555 แล้วจะทำยังไงถึงจะกินนมได้หล่ะ

                  ก็เพียงแค่คุณกินโยเกิร์ตก่อนสักระยะ คุณก็จะกินนมได้เพราะในโยเกิร์ตมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้นั่นเองงงง  หรือถ้าไม่ชอบกินโยเกิร์ตคุณก็กินนมที่ระบุว่า lactose free ก็คือไม่มีแลคโตสนั่นเองคุณก็ไม่ต้องกลัวท้องเสียเวลากินนมแล้ว 555555

                  หลายคนคงสงสัยว่า ใส่นมผง และโปรตีนนมเข้มข้นทำไม ……………… เหตุผลก็คือเพื่อเพิ่มปริมาณของแข็งทั้งหมด ซึ่งปริมาณของแข็งทั้งหมดก็จะมีผลต่อความคงตัว และเนื้อสัมผัสของโยเกิร์ตครับผม

[ปริมาณของแข็งทั้งหมด จะรวมถึงโปรตีน ไขมัน และน้ำตาลด้วย]

เชื้อจุลินทรีย์ – ยี่ห้อนี้ใช้แลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส และ สเตร็ปโตค็อกคัส เทอโมฟิลัส ซึ่งจริงๆแล้วปกติก็จะพบได้ในน้ำนมตามธรรมชาติอยู่แล้ว 55555 แต่เนื่องจากนมตามธรรมชาติมันก็ไม่ได้มีแค่ไอ่สองตัวนี้ มันยังมีเชื้ออื่นอีกซึ่งหมักไปก็อาจจะทำให้คนกินท้องเสีย หรือกลิ่นไม่ดีได้ ก็ต้องมีการฆ่าเชื้อโดยให้ความร้อนก่อน ดังนั้นจึงต้องเติมจุลินทรีย์ใหม่ และเนื่องจากจุลินทรีย์แต่ละชนิดเจริญได้ดีในสภาวะที่แตกต่างกัน จึงต้องกำหนดสัดส่วนปริมาณเชื้อแต่ละชนิดที่ใช้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพ กลิ่น กลิ่นรส และรสชาติให้ได้ตามที่ต้องการได้นั่นเองงงงง

*เพิ่มเติมเล็กน้อย ตามรูปด่านล่างนี้


              จะเห็นได้ว่ามีตราฮาลาลด้วย ซึ่งคนอิสลามกินได้ ไม่มีส่วนประกอบอะไรที่เป็นนะญิส (สิ่งสกปรกตามหลักศาสนาอิสลาม) และเห็นว่ามี ตรา HACCP ย่อมาจาก Harzard Analysis Critical Control Point ซึ่งเป็นระบบการวิเคราะห์อันตราย และขั้นตอนสุ่มเสี่ยงที่ควรจะควบคุมเป็นพิเศษนั่นเองครับ
จริงๆแล้วมันมีหลักการและความหมายที่มากกว่านี้นะครับ แต่ผมพยายามจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ส่วนใครที่อยากจะศึกษาเพิ่มเติม อยากอ่านเต็มๆ สามารถอ่านได้จากลิงค์ข้างล่างได้เลยนะครับ

http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0356/haccp-hazard-analysis-critical-control-point

เกร็ดความรู้  *จะเห็นมีตรา อย. อยู่ หลายๆคนเข้าใจว่า อย. ย่อมาจากองค์การอาหารและยา…. ผิดนะคร้าบบบบบ   มันย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ครับผมมมม


ทีนี้ก็มาดูในส่วนของข้อมูลโภชนาการบ้างนะครับ


              1 ถ้วย 1 หน่วยบริโภค หรือก็คือถ้ากินหมดถ้วยนี้ก็จะได้รับสารอาหารตามที่ฉลากแสดงไว้เล้ยยย พลังงาน 100 กิโลแคล เป็นพลังจากไขมัน 20 กิโลแคล และก็เหมือเดิม ThaiRDI แนะนำให้คนไทยเรากินประมาณ 2000 กิโลแคลต่อวัน

[THAIRDI = THAI RECOMMENDED DAILY INTAKES = ปริมาณที่แนะนำให้คนไทยควรได้รับต่อวัน]
               ส่วนใครที่อยากรู้ว่าในแต่ละวันเราควรได้รับสารอาหารตัวไหนในปริมาณเท่าไหร่ก็สามารถดูได้จากลิงค์ประกาศกระทรวงสาธารณสุขข้างล่างนี้ได้เลย

http://food.fda.moph.go.th/Rules/dataRules/4-4-2ThaiRDI.pdf

              ถ้ายังจำได้ เขาเคลมว่าไขมันต่ำ  2 กรัม ต่ำจริงมั้ย – ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข จะกล่าวอ้างว่าไขมันต่ำได้ต้องมีไขมันต่ำกว่า 3 กรัม ต่อหน่วยบริโภค  ดังนั้นก็ถือว่าต่ำจริงตามประกาศกระทรวงครับ ส่วนใครที่เป็นนักกีฬา คนที่ควบคุมน้ำหนักอยู่ หรือเวทเทรนเนอร์ ก็ต้องพิจารณาดูอีกทีครับ ว่าไขมันสูงหรือต่ำ เพราะผมพูดตามวิชาการของฟู้ดธรรมดาคร้าบ 55555  

สำหรับใครที่อยากรู้เพิ่มเติมว่าตัวไหนกล่าวอ้างยังไงก็เข้าไปดูได้ที่ลิงค์ด้านล่างครับ

elib.fda.moph.go.th/library/fulltext1/word/12578/ประกาศ8-4.doc



หมดเรื่องสาระ ไปเปิดกล่องเลยดีกว่าาาาาา

เนียนมากกกกกกก ไปดูอีกสักรูป
ตักขึ้นมาก็เนียนๆ ก็เป็นกลิ่นโยเกิร์ตและน้ำผึ้งอ่อนๆ พอเอาเข้าปาก เนื้อสัมผัสก้จะนุ่มเนียน หวานนิดๆ รสน้ำผึ้งอ่อนๆและโยเกิร์ตเข้ากันดีครับ สำหรับผมให้ 9/10

                สำหรับคนที่สงสัยว่า เอ๊??? ทำไมเนื้อมันไม่เห็นเป็นครีมๆเหมือนยี่ห้ออื่นเลย ก็จะบอกว่า วิธีการผลิตมันแตกต่างกันครับ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

                1.แบบทั่วๆไปที่เราคุ้นเคยกัน จะเป็น Stirred yoghurt แปลก็คือโยเกิร์ตแบบคน 55555 ซึ่งจะหมักในถังหมักก่อน จนเซตตัวเป็นโยเกิร์ต จากนั้นก็เติมสี กลิ่น หรือผลไม้ ก่อนคนแล้วบรรจุ

                2.แบบ Set yoghurt ก็คือโยเกิร์ตแบบคงตัว ซึ่งแบบนี้ หลังจากเติมเชื้อแล้วก็จะใส่ลงไปหมักในบรรจุภัณฑ์เลย มันก้จะเซตตัวเป็นโยเกิร์ตเนื้อเนียน ตักแล้วก็จะมีความพุดดิ้งนิดๆแบบนี้นั่นเองคร้าบบบบบ



จบแล้วครับ

ชอบหรือไม่ชอบยังไงก็ติชมกันได้นะครับ และก็ฝากเพจด้วยนะครับ อัปเดทบทความใหม่ หรือ เกร็ดความรู้อะไรจะได้ติดตามกันได้ และยังมีรีวิวที่เขียนอยู่อีก สามารถติดตามได้ที่เพจนี้เลยยย >>>> https://web.facebook.com/Nawagro

ขอบคุณครับ





แหล่งที่มา

– หนังสือปฏิบัติการเทคโนโลยีกระบวนการทางอุตสาหกรรมเกษตร 605322/2557
ชื่อสินค้า:   โยเกิร์ตชนิดคงตัวผสมน้ำผึ้ง ตราเมจิ(ซีพี)
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่