การบังคับให้นักเรียนตัดผมสั้นเกรียน มันทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นอัจฉริยะหรอครับ ?



มันช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กยังไงบ้าง ประโยชน์ของมันคือ? อะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดๆออกไปบ้างเหอะ ทุกวันนี้จะตามเพื่อนบ้านไม่ทันอยู่แล้ว โบราณ ล้าหลัง กลัวการอยู่นอกกะลา คิดนอกกรอบไม่เป็น เก่งแต่เรื่องโง่ๆ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
แล้วการไว้ผมยาวมันจะทำให้เด็กเป็นอัจฉริยะเหรอครับ?
ความคิดเห็นที่ 34
กล้าคิด กล้าตั้งคำถามแบบนี้ดีแล้วครับ

กฎบางอย่างผมก็ว่ามันไร้เหตุผลจนเกินไป พอโดนย้อนถามเหตุผลก็ใช้ท่าไม้ตาย "กฎแค่นี้ทำตามไม่ได้ก็ลาออกไปซะ"
มันแสดงให้เห็นถึงความสิ้นคิด และไร้ความคิดมากๆ เหมือนหาเหตุผลมาตอบไม่ได้ ก็ข่มมันเลย
ความคิดเห็นที่ 39
เป็นครูและอยู่ในวิทยาลัยที่บังคับตัดผม เข้มงวดกับเครื่องแต่งกายและมารยาทครับ

จากประสบการณ์เห็นนร. ตังแต่จบม.3มาสอบเข้า  จนกระทั่งจบปวส.เห็นพัฒนาการตลอด5ปีและที่จบไปทำงาน  

เด็กที่สอบเข้ามาได้ มีความเก่งพอสมควร  สมการกำลังสองแก้ได้ คิดแบบตรรกกะหาเหตุผลได้  

ปีหนึงจะโดนสอนให้เชื่อฟังครู  อ่อนน้อม  รักษาระเบียบวินัย  อดทนต่อความลำบากประเภทตากแดดตอนเช้า
เข้าค่ายโหดๆ  คำสั่งแปลกๆจากครู  เช่นให้กลับดึกผิดปกติแต่ไม่ได้จ่ายงาน   ลงโทษซ้ำซ้อน
มาสายตัดคะแนนเข้าแถวแล้วยังต้องโดนลุกนั่ง   เข้าแถวเสียงดังมีทุบหลังชนิดได้ยินกันทั้งวิทยาลัย  
การเรียนการสอนไม่เน้นมาก  ขอให้ดูว่าสภาพห้องเรียบร้อย ไม่คุย หลายๆครั้งแค่นั่งเล่นเกมส์เงียบๆจนจบวิชาก็ใช้ได้  


พอขึ้นปี2  เด็กจะกลายเป็นคนที่มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อม  ต่อหน้าผู้ใหญ่  แต่จริงๆถ้าไม่มีผลประโยชน์เช่นคะแนน จะไม่สนใจเลย
และเริ่มรู้ทางว่า  ขอให้มาเรียน ส่งงานครบ  ยังไงก็ได้เกรดดีแน่นอน  เด็กดีเรียบร้อยตั้งใจเรียนจะเริ่มเปลี่ยนไป
โดดเรียนครึ่งเทอม  แต่ไปกราบครูตามของส่งงานยังไงก็ได้1.5-2 เพราะครูกลัวโดนประเมินคะแนนไม่ดี ขั้นขึ้นน้อย    
เวลาสอบจะกามั่วตลอด  เพราะรู้ว่ายังไงก็ผ่าน  เผลอแจกกระดาษตำตอบก่อนโจทย์นี่เสร็จเลย  กาเสร็จก่อนโจทย์ะอีก
และความที่เวลาว่างเยอะ  จะเล่นโทรศัพท์จับคู่หาแฟนทั้งวัน  ถ้ามีเงินมักจะเที่ยวกลางคืน  กินเหล้าสูบบุหรี่    


ขึ้นปี3  ช่วงนี้ฝึกงานและทำโปรเจค  ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบปี2  แต่จะนอบน้อมเป็นพิเศษเพราะต้องใช้ครูที่ปรึกษาหลายคน  
เรื่องเรียนไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเข้าเรียนแค่วันเดียว  และด้วยความที่เรียนน้อยมา3ปี  หลายๆคนย้ายสมการไปหารยังงง
ประเภทสูตรคูณง่ายๆยังคิดไม่ค่อยออกก็เยอะ  


ขึ้นปี4.ระดับปวส.1  ใส่สูทเรียบร้อย วางตัวเป็นรุ่นพี่  หล่อเท่สวย  แล้วก็มาจีบรุ่นน้อง
โดยรวมเรียบร้อยเชื่อฟังง่าย  แต่จะไม่รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร ต้องมีครูคอยว่าแรงๆถึงจะทำได้


ปี5. ปวส.2  ฝึกงานเกือบทั้งปีไม่ค่อยเจอหน้า  แต่ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบคนทำงาน  
เที่ยวกินเหล้า  อยู่กับแฟน  ใครยังไม่มีจะรีบมีมากๆ  กลัวเรียนจบแล้วไม่ได้แต่ง  


เรียนจบสิ่งที่สะท้อนจากสถานประกอบการคือไม่รับเพราะทำงานไม่เป็น  สอนอะไรไม่ค่อยรู้เรื่อง
ถ้าได้งานค่าแรงได้มากกว่าขึ้นต่ำนิดเดียว  305-320บาท  ประมาณว่าให้ค่าวุฒินิดนึง  บางที่ให้แค่7500  


ผมลองนั่งวิเคราะห์ทำไมรร.ถึงทำแบบนี้

1.การตัดผมลงโทษต่างๆนั่น เป็นผลงานนึงของครู  ทุกกิจกรรมจะถูกถ่ายรูปไปรวมกับแฟ้มผลงาน
ทั้งปีมีรูปนร.ทำทุกกิจกรรมที่เรียบร้อยเป็นระเบียบสวยงาม  นั่นหมายถึงการมีโอกาสได้เลื่อนขั้นดีๆ

2.การบังคับ ลงโทษหนักๆเป็นจุดขาย    เพื่อให้พ่อแม่เกิดความเชื่อมั่นว่าครูดูแลลูกได้
เด็กที่พ่อแม่ตามใจ  ไม่เคยลงโทษมาโดนบังคับได้ที่รร.  ก็สร้างความคาดหวังว่าลูกจะเป็นคนดีมีวินัย  


ผลลัพท์สุดท้ายของการมีวินัยจอมปลอมที่เกิดจากการบังคับนคือ เด็กกลายควายที่เรียบร้อยคิดเองไม่ได้  
อยากให้ลูกหลานกลายเป็นแบบนี้หรือครับ
ความคิดเห็นที่ 15
พอเริ่มแก่  จะรู้ว่าการไว้ผมสั้นมันดีอย่างนี้เอง
ความคิดเห็นที่ 131
คนไทยจำนวนมากเข้าใจผิดเรื่อง "กฎระเบียบ" และ "ระเบียบวินัย"

กฎระเบียบ เป็นสิ่งที่ตั้งไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของคนในสังคม ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ถ้ามันไม่สามารถให้ประโยชน์แก่สังคมได้ กฎนั้นก็สมควรจะถูกยกเลิก
คำถาม - การบังคับให้ไว้ทรงผมนี้ ให้ประโยชน์ร่วมกันแก่สังคมอย่างไร ? จะอ้างว่าเพื่อระเบียบวินัยงั้นเหรอ ? งั้นอ่านหัวข้อต่อไปก่อน

ระเบียบวินัย ไม่ใช่เรื่องของกฎ แต่เป็นสิ่งที่ตัวบุคคลผู้นั้นจะต้องตระหนักและมีโดยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
สิ่งใดก็ตามที่ทำแล้วไม่สามารถให้ประโยชน์แก่ตนเองหรือสังคมได้ สิ่งนั้นไม่ถือว่าเป็นระเบียบวินัย
และระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง จากการรู้ว่าจะเกิดประโยชน์แก่ตัวผู้กระทำและสังคม ไม่ใช่ต้องมีใครมาบังคับ
ระเบียบวินัยแบบบังคับ เป็นระเบียบวินัยแบบทหารที่ต้องเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้คำสั่งของผู้บังคับบัญชา ที่แม้รู้ว่าตนเองจะถูกส่งไปตายก็ต้องทำ
คำถาม - การไว้ทรงผมนี้ ให้ประโยชน์แก่ตนเองหรือสังคมอย่างไร ? จะอ้างว่าเพื่อระเบียบวินัยงั้นเหรอ ? งั้นอ่านหัวข้อต่อไปต่อ

ที่หลายคนอ้างว่าทำไปเพื่อระเบียบวินัย นั้นทำไปเพื่อระเบียบวินัยจริงหรือไม่ ?
1. คนที่บังคับใช้กฎเพื่อระเบียบวินัย จะต้องปฏิบัติอยู่ในระเบียบวินัยด้วยเช่นกัน ถึงจะมีเจตนาทำไปเพื่อระเบียบวินัยจริง
คำถาม การบังคับให้ไว้ผมทรงนี้ มันขัดกับกฎระเบียบที่ออกมาจากทางกระทรวงศึกษาไม่ใช่หรือ ? แล้วแบบนี้จะเรียกว่าทำไปเพื่อระเบียบวินัยได้อย่างไร ในเมื่อคนบังคับยังไม่ทำตามกฏระเบียบเองเสียเลย ?
2. คนที่บังคับใช้กฎเพื่อระเบียบวินัย จะต้องสนใจเรื่องผลประโยชน์ที่ได้แก่คนที่ปฏิบัติตามหรือสังคมเป็นหลัก
ขอถาม - คนที่สนใจเรื่องนี้เนี่ย ให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นเช่น
- การรีไซเคิลขยะ
- การเข้าแถวซื้อของ
- การลอกข้อสอบ
- การก็อปบทความในเน็ตมาทำรายงาน
มากกว่าหรือไม่ ?
เพราะชาติที่เจริญแล้ว และขึ้นชื่อว่าให้ความสำคัญกับระเบียบวินัย เขาให้ความสำคัญกับสิ่งที่ยกตัวอย่างขึ้นมามากกว่าเรื่องทรงผม
เพราะเรื่องทรงผมไม่ใช่สาระสำคัญเสียจนใครจะเปลี่ยนแปลงกฏที่ตั้งไว้ก็ทำได้เสมอ แต่เรื่องที่ยกตัวอย่างมามันไม่ใช่
ยิ่งเป็นเรื่องลอกข้อสอบหรือก็อปรายงานจากเน็ตนี่ลงโทษรุนแรงถึงขั้นทัณฑ์บนหรือไล่ออกได้เลย

ข้ออ้างว่า "เรื่องเล็กน้อยอย่างทรงผมยังทำไม่ได้แล้วจะมีระเบียบวินัยได้อย่างไร" คือคำพูดของคนที่ไม่รู้จักระเบียบวินัย
เพราะเรื่องระเบียบวินัยไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยแล้วทำตามกฎได้หรือไม่ แต่เป็นเรื่องของการรู้จักเลือกที่จะทำสิ่งที่ตนเองและสังคมให้ได้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีใครมาบังคับต่างหาก
การต้องมีกฎมาบังคับแล้วถึงต้องทำตาม ไม่ใช่ระเบียบวินัย
การทำแต่สิ่งที่มีคนบังคับแต่ไม่ได้ประโยชน์แก่ตนเองหรือสังคม ไม่ใช่ระเบียบวินัย

------------------

แล้วเอามาอ้างไม่ได้นะ ว่าบริษัทเอกชนหรือราชการยังมีระเบียบพวกนี้เลย
เขามีเหตุผลในการบังคับเป็นกฎระเบียบอยู่ ไม่ได้ตั้งขึ้นมามั่ว ๆ แบบผมทรงนักเรียน
1. เพื่อให้ตัวบุคลากรมีความน่าเชื่อถือแก่ผู้มาติดต่อ
2. เพื่อให้ผู้มาติดต่อสามารถรู้ได้ว่าเป็นบุคลากรขององค์กร
3. เพื่อให้บุคลากรมีความปลอดภัยในการทำงาน
ถ้าไม่เข้าข่าย 3 ข้อนี้เขาไม่บังคับหรอก เพราะมันเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร อย่างมากสุดก็บังคับแต่งตามอีเวนท์เป็นกรณี ๆ ไปเท่านั้นแหละ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่