วันนี้เมื่อ ๗๐ ปีที่แล้ว ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๔๙๐
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้บันทึกไว้ว่า เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้งและนับเป็น
ครั้งที่ ๓ ในจำนวน ๑๓ ครั้งของไทย และเป็นรัฐประหารที่เปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทย
จากประชาธิปไตย มาเป็น ทหารมีบทบาทต่อการเมืองไทย ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
ย้อนกลับไปช่วงในวันที่
7 ธันวาคม พ.ศ 2484 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ขณะนั้น
จอมพล ป เป็นนายกรัฐมนตรี
ญี่ปุ่นเปิด
สงครามมหาเอเชียบูรพา บุกเข้าประเทศไทย รัฐบาลขณะนั้นจำเป็นต้องเป็น
พันธมิตรกับญี่ปุ่น แต่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย จึงเป็นต้นกำเนิดขบวนการ
"เสรีไทย"
ที่มี
อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ (ขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน) เป็นหัวหน้า
คลิป ญี่ปุ่น บุก ไทย
ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ 2487 รัฐบาล จอมพล ป
แพ้ พรบ ในสภาต้องลาออก
นายปรีดี จึงตั้ง
นาย ควง อภัยวงศ์ เป็นนายก(สมัยแรก)
และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ 2488 นายควง ลาออก เพื่อเปิดให้ ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช มาเป็นนายกแทน
(ช่วงนี้มีนาย ทวี บุณยเกตุ มาเป็นนายกประมาณ 17 วัน)
ม.ร.ว เสนีย์ มาเป็นก็จัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีพรรคการเมือง
กลุ่มนายควง
ได้คะแนนเสียงสูงสุดได้เป็น นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 แต่อยู่ได้ไม่ถึง 2 เดือนก็ถูก
ฝ่ายค้านที่ส่วนใหญ่เป็น ส.ส อีสาน (กลุ่มนายปรีดี)โดยนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ยื่น พรบ เข้าสภา ในชื่อ
“ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ....”
แต่รัฐบาลใน ควง ไม่เห็นด้วย
สุดท้ายรัฐบาลแพ้โหวต ต้องลาออก
นายควง
แค้นจัดให้สัมภาษณ์ว่า
"ตนแพ้เพราะ พรบ ปักป้ายข้าวเหนียว"
เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า
ทำไม ปชป ทุกยุคทุกสมัยจึงดูถูกคนอีสาน !!!
เรื่องการดูถูกคนอีสาน นายปรีดีเคยให้ความเห็นว่า
การนำ “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน” มาเปรียบเป็น
“พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว” นั้นเป็นความตั้งใจดูหมิ่นเหยียดหยามของนายควง อภัยวงศ์
ที่มีความฝังใจว่า
ส.ส.อีสานเป็นกลุ่มที่โค่นล้มตน
จึงได้นำความแตกต่างทางวัฒนธรรมของความเป็นชาว “ลาว”
หรือวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักมาโจมตี
ต่อมาอีกประมาณเดือนเศษในวันที่
6 เมษายน พ.ศ 2489
นายควงและพวกก็ตั้งพรรคการเมืองขึ้นนั่นคือ
พรรคประชาธิปัตย์
ความแค้นของนายควง ยังคงฝังแน่นและพุ่งเป้าไปที่ รัฐบาลที่มีนายปรีดี เป็นนายกรัฐมนตรี
การใส่ร้ายป้ายสีทุกวิธีการทำให้
นายปรีดี ต้องลาออก
และพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๘ แทน
ภาพ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
สถานการณ์ล่วงเข้าปี พ.ศ 2490 เศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อรุนแรง
ฐานะรัฐบาลเริ่มสั่นคลอน กระแสข่าวปฏิวัติเริ่มหนาหู ถึงขนาดทูตอังกฤษได้เข้ามาสอบถาม
เรื่องนี้กับนายปรีดี แต่นายปรีดีกลับตอบว่า
"ตำรวจ ทหารบก อยู่ฝ่ายข้าพเจ้า แถมยังมีกองทัพเรือ อยู่ในกระเป๋าอีก"
ขณะที่หลวงธำรง นายก ก็ปากดีพูดว่า
"ลือปฏิวัติมานานแล้ว เมื่อไหร่จะทำเสียที นอนรออยู่"
ขณะที่ ปชป เดินเครื่องทางสภาเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 9 วันเต็มๆ
โดยขุด
ทั้งเรื่องจริงเรื่องไม่จริงมาประจาน จนมี ส.ส รัฐบาลทนไม่ไหว
จะตบหน้า นายควง
ในคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน 2490
พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดงานการกุศลชื่อ
"เมตตาบันเทิง" ที่สวนอัมพร งานนี้นายควง
เชิญนายกหลวงธำรง มางานด้วย
ในระหว่างงานทั้งคู่
นั่งสามล้อถีบร่วมกัน โดยมีนายโชติ คุ้มพันธุ์ ส.สพรรค เป็นสารถี
ประชาชนเห็นภาพนี้ ต่างก็ชื่นชมว่า
ความปรองดองได้เกิดขึ้นแล้ว แต่......
นายทหารคนสนิทของหลวงธำรง ได้มากระซิบข่าว หลวงธำรง ฟังแล้ว
หน้าถอดสี
จ้องมาที่ นายควง แล้วพูดว่า
ที่หลวงธำรงต้องกล่าววาจาเช่นนี้ออกมา เพราะเจตนาที่นาย ควง
เชิญหลวงธำรงมาก็
เพื่อให้ทหารจับตัวไว้ ไม่ได้มีเจตนาจะเป็นมิตรใดๆทั้งสิ้น
และแล้วในรุ่งขึ้นวันที่ 8 พฤศจิกายน ทหารที่นำโดยนายทหารนอกราชการ
พลโทผิน ชุณหะวัณ ก็ได้ทำการรัฐประหารได้สำเร็จ
คลิปการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ 2490
ป.ล ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ รัฐประหาร ๒๔๙๐ ของ สุชิน ตันติกุล
ป.ล 2 เม้นท์ย่อย จะแฉเรื่องราวของ นายควง อีกมากมาย
ป.ล 3 เหตุการณ์หลังรัฐประหารจะอยู่ในเม้นท์ย่อย
ป.ล 4 เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่การเมืองโดยตรง ได้เล่าไว้ในกระทู้ห้องเพลงวันนี้
ป.ล 5
เชื่อหรือไม่ว่า นายควง เกิดที่เขมร !!!!
ย้อนรอย70 ปี....รัฐประหาร 2490 ....ป.ช.ป เล่ห์กลที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง cnck
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้บันทึกไว้ว่า เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้งและนับเป็น
ครั้งที่ ๓ ในจำนวน ๑๓ ครั้งของไทย และเป็นรัฐประหารที่เปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทย
จากประชาธิปไตย มาเป็น ทหารมีบทบาทต่อการเมืองไทย ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
ย้อนกลับไปช่วงในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ 2484 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ขณะนั้น จอมพล ป เป็นนายกรัฐมนตรี
ญี่ปุ่นเปิดสงครามมหาเอเชียบูรพา บุกเข้าประเทศไทย รัฐบาลขณะนั้นจำเป็นต้องเป็น
พันธมิตรกับญี่ปุ่น แต่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย จึงเป็นต้นกำเนิดขบวนการ "เสรีไทย"
ที่มี อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ (ขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน) เป็นหัวหน้า
คลิป ญี่ปุ่น บุก ไทย
ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ 2487 รัฐบาล จอมพล ป แพ้ พรบ ในสภาต้องลาออก
นายปรีดี จึงตั้งนาย ควง อภัยวงศ์ เป็นนายก(สมัยแรก)
และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ 2488 นายควง ลาออก เพื่อเปิดให้ ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช มาเป็นนายกแทน
(ช่วงนี้มีนาย ทวี บุณยเกตุ มาเป็นนายกประมาณ 17 วัน)
ม.ร.ว เสนีย์ มาเป็นก็จัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีพรรคการเมือง กลุ่มนายควง
ได้คะแนนเสียงสูงสุดได้เป็น นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 แต่อยู่ได้ไม่ถึง 2 เดือนก็ถูก
ฝ่ายค้านที่ส่วนใหญ่เป็น ส.ส อีสาน (กลุ่มนายปรีดี)โดยนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ยื่น พรบ เข้าสภา ในชื่อ
“ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ....”
แต่รัฐบาลใน ควง ไม่เห็นด้วย สุดท้ายรัฐบาลแพ้โหวต ต้องลาออก
นายควง แค้นจัดให้สัมภาษณ์ว่า "ตนแพ้เพราะ พรบ ปักป้ายข้าวเหนียว"
เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม ปชป ทุกยุคทุกสมัยจึงดูถูกคนอีสาน !!!
เรื่องการดูถูกคนอีสาน นายปรีดีเคยให้ความเห็นว่า
การนำ “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน” มาเปรียบเป็น
“พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว” นั้นเป็นความตั้งใจดูหมิ่นเหยียดหยามของนายควง อภัยวงศ์
ที่มีความฝังใจว่า ส.ส.อีสานเป็นกลุ่มที่โค่นล้มตน
จึงได้นำความแตกต่างทางวัฒนธรรมของความเป็นชาว “ลาว”
หรือวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักมาโจมตี
ต่อมาอีกประมาณเดือนเศษในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ 2489
นายควงและพวกก็ตั้งพรรคการเมืองขึ้นนั่นคือ พรรคประชาธิปัตย์
ความแค้นของนายควง ยังคงฝังแน่นและพุ่งเป้าไปที่ รัฐบาลที่มีนายปรีดี เป็นนายกรัฐมนตรี
การใส่ร้ายป้ายสีทุกวิธีการทำให้นายปรีดี ต้องลาออก
และพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๘ แทน
ภาพ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
สถานการณ์ล่วงเข้าปี พ.ศ 2490 เศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อรุนแรง
ฐานะรัฐบาลเริ่มสั่นคลอน กระแสข่าวปฏิวัติเริ่มหนาหู ถึงขนาดทูตอังกฤษได้เข้ามาสอบถาม
เรื่องนี้กับนายปรีดี แต่นายปรีดีกลับตอบว่า
"ตำรวจ ทหารบก อยู่ฝ่ายข้าพเจ้า แถมยังมีกองทัพเรือ อยู่ในกระเป๋าอีก"
ขณะที่หลวงธำรง นายก ก็ปากดีพูดว่า
"ลือปฏิวัติมานานแล้ว เมื่อไหร่จะทำเสียที นอนรออยู่"
ขณะที่ ปชป เดินเครื่องทางสภาเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 9 วันเต็มๆ
โดยขุดทั้งเรื่องจริงเรื่องไม่จริงมาประจาน จนมี ส.ส รัฐบาลทนไม่ไหว
จะตบหน้า นายควง
ในคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน 2490 พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดงานการกุศลชื่อ
"เมตตาบันเทิง" ที่สวนอัมพร งานนี้นายควง เชิญนายกหลวงธำรง มางานด้วย
ในระหว่างงานทั้งคู่นั่งสามล้อถีบร่วมกัน โดยมีนายโชติ คุ้มพันธุ์ ส.สพรรค เป็นสารถี
ประชาชนเห็นภาพนี้ ต่างก็ชื่นชมว่าความปรองดองได้เกิดขึ้นแล้ว แต่......
นายทหารคนสนิทของหลวงธำรง ได้มากระซิบข่าว หลวงธำรง ฟังแล้วหน้าถอดสี
จ้องมาที่ นายควง แล้วพูดว่า
ที่หลวงธำรงต้องกล่าววาจาเช่นนี้ออกมา เพราะเจตนาที่นาย ควง
เชิญหลวงธำรงมาก็เพื่อให้ทหารจับตัวไว้ ไม่ได้มีเจตนาจะเป็นมิตรใดๆทั้งสิ้น
และแล้วในรุ่งขึ้นวันที่ 8 พฤศจิกายน ทหารที่นำโดยนายทหารนอกราชการ
พลโทผิน ชุณหะวัณ ก็ได้ทำการรัฐประหารได้สำเร็จ
คลิปการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ 2490
ป.ล ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ รัฐประหาร ๒๔๙๐ ของ สุชิน ตันติกุล
ป.ล 2 เม้นท์ย่อย จะแฉเรื่องราวของ นายควง อีกมากมาย
ป.ล 3 เหตุการณ์หลังรัฐประหารจะอยู่ในเม้นท์ย่อย
ป.ล 4 เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่การเมืองโดยตรง ได้เล่าไว้ในกระทู้ห้องเพลงวันนี้
ป.ล 5 เชื่อหรือไม่ว่า นายควง เกิดที่เขมร !!!!