คนรถไฟ จี้ หัวหน้า คสช.ปลดล็อค ม.44 เปิดทางแก้ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ลุยสางงานคั่งค้าง พร้อมหนุนปรับคณะรัฐมนตรี
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายกฯในฐานะหัวหน้าคสช.มีคำสั่ง ม.44 เด้งอธิบดีกรมจัดหางานไปเป็นรองปลัดกระทรวงแรงงาน จนกลายเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ รมว.แรงงานและสวัสดิการสังคมยื่นใบลาออกและนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหญ่ว่า ในส่วนของการรถไฟและกระทรวงคมนาคมเองมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้หัวหน้าคสช.เร่งปลดล็อค ม.44 ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของการสรรหาหรือปรับเปลี่ยนผู้ว่าการรถไฟ ที่ยังติดล็อคคำสั่ง คสช.อยู่
โดยระบุว่า หลังหัวหน้า คสช. มีคำสั่ง ม.44 เด้งนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟไปประจำสำนักนายกฯ พร้อมแต่งตั้งนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการรถไฟแทนเพื่อเร่งรัดโครงการก่อสร้างและพัฒนาระบบรางที่ล่าช้านั้น แต่ผลพวงจากคำสั่ง ม.44 ดังกล่าวกลับสร้างปัญหาให้การรถไฟอย่างหนัก ตลอด 9 เดือนของรักษาการผู้ว่ารถไฟฯ ไม่สามารถทำงานเชิงรุกและขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้เดินหน้าไปตามเป้าหมายได้และเป็นผลทำให้โครงการจัดซื้อ จัดจ้างต่างๆ ของการรถไฟคั่งค้างอยู่เป็นจำนวนมาก และยังกระทบไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ที่เป็นบริษัทลูกการรถไฟด้วย
"ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมและบอร์ดการรถไฟฯ มีความพยายามจะเดินหน้าปรับเปลี่ยนตัวรักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ รวมไปถึงการสรรหาผู้ว่าการคนใหม่เพื่อจะได้ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างแท้จริงแต่ก็ติดปัญหาจากคำสั่ง ม.44 ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้"
ทั้งนี้ โครงการต่างๆ ของการรถไฟฯที่คั่งค้างอยู่ไล่มาตั้งแต่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั้งในเฟส 1 วงเงิน 1.3 แสนล้านและเฟส 2 วงเงินลงทุน 3.9 แสนล้านที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน โครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-โคราช และรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบินที่ซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังกระทบไปถึงโครงการจัดซื้อ จัดจ้างต่างๆ ภายในการรถไฟและบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ที่เป็นบริษัทลูกรถไฟด้วยอีก ไม่ว่าจะเป็นกรณีจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าใหม่ 7 ขบวน
ส่วนกระแสปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำลังจะมีขึ้นนั้น รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เผยว่าข้าราชการส่วนใหญ่ในกระทรวงคมนาคม อยากเห็นนายกฯ ล้างไพ่ เนื่องจากงานของกระทรวงคมนาคมเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐ แต่ในช่วงที่ผ่านมาโครงการลงทุนต่าง ๆ ของกระทรวงกลับเต็มไปด้วยความล่าช้า ไม่ว่าจะเป็นแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง (Action Plan) ปี 2559 วงเงินลงทุนกว่า 1.4 ล้านล้านบาท และแอคชั่นแพลน ปี 2560 จำนวน 36 โครงการวงเงินลงทุนกว่า 8.95 แสนล้านบาท แต่โครงการเหล่านี้ต่างล่าช้าไปจากแผนไม่น้อยกว่า 6-12 เดือนยิ่งในส่วนของแอคชั่นแพลน 36 โครงการนั้นผ่านมา 9 เดือนคืบหน้าไปได้เพียง 6 โครงการมูลค่า 4.3 หมื่นล้านเท่านั้น แม้แต่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่กระทรวงคมนาคมเจรจากับจีนมากว่า 3 ปี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าตอกเสาเข็มได้ ทั้งที่นายกฯงัดม.44 ผ่าทางตันแก้ปัญหาต่างๆให้แล้วก่อนหน้านี้
ที่มา :
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/780169
คนรถไฟจี้หัวหน้า คสช.ปลดล็อค ม.44
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายกฯในฐานะหัวหน้าคสช.มีคำสั่ง ม.44 เด้งอธิบดีกรมจัดหางานไปเป็นรองปลัดกระทรวงแรงงาน จนกลายเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ รมว.แรงงานและสวัสดิการสังคมยื่นใบลาออกและนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหญ่ว่า ในส่วนของการรถไฟและกระทรวงคมนาคมเองมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้หัวหน้าคสช.เร่งปลดล็อค ม.44 ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของการสรรหาหรือปรับเปลี่ยนผู้ว่าการรถไฟ ที่ยังติดล็อคคำสั่ง คสช.อยู่
โดยระบุว่า หลังหัวหน้า คสช. มีคำสั่ง ม.44 เด้งนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟไปประจำสำนักนายกฯ พร้อมแต่งตั้งนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการรถไฟแทนเพื่อเร่งรัดโครงการก่อสร้างและพัฒนาระบบรางที่ล่าช้านั้น แต่ผลพวงจากคำสั่ง ม.44 ดังกล่าวกลับสร้างปัญหาให้การรถไฟอย่างหนัก ตลอด 9 เดือนของรักษาการผู้ว่ารถไฟฯ ไม่สามารถทำงานเชิงรุกและขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้เดินหน้าไปตามเป้าหมายได้และเป็นผลทำให้โครงการจัดซื้อ จัดจ้างต่างๆ ของการรถไฟคั่งค้างอยู่เป็นจำนวนมาก และยังกระทบไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ที่เป็นบริษัทลูกการรถไฟด้วย
"ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมและบอร์ดการรถไฟฯ มีความพยายามจะเดินหน้าปรับเปลี่ยนตัวรักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ รวมไปถึงการสรรหาผู้ว่าการคนใหม่เพื่อจะได้ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างแท้จริงแต่ก็ติดปัญหาจากคำสั่ง ม.44 ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้"
ทั้งนี้ โครงการต่างๆ ของการรถไฟฯที่คั่งค้างอยู่ไล่มาตั้งแต่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั้งในเฟส 1 วงเงิน 1.3 แสนล้านและเฟส 2 วงเงินลงทุน 3.9 แสนล้านที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน โครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-โคราช และรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบินที่ซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังกระทบไปถึงโครงการจัดซื้อ จัดจ้างต่างๆ ภายในการรถไฟและบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ที่เป็นบริษัทลูกรถไฟด้วยอีก ไม่ว่าจะเป็นกรณีจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าใหม่ 7 ขบวน
ส่วนกระแสปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำลังจะมีขึ้นนั้น รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เผยว่าข้าราชการส่วนใหญ่ในกระทรวงคมนาคม อยากเห็นนายกฯ ล้างไพ่ เนื่องจากงานของกระทรวงคมนาคมเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐ แต่ในช่วงที่ผ่านมาโครงการลงทุนต่าง ๆ ของกระทรวงกลับเต็มไปด้วยความล่าช้า ไม่ว่าจะเป็นแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง (Action Plan) ปี 2559 วงเงินลงทุนกว่า 1.4 ล้านล้านบาท และแอคชั่นแพลน ปี 2560 จำนวน 36 โครงการวงเงินลงทุนกว่า 8.95 แสนล้านบาท แต่โครงการเหล่านี้ต่างล่าช้าไปจากแผนไม่น้อยกว่า 6-12 เดือนยิ่งในส่วนของแอคชั่นแพลน 36 โครงการนั้นผ่านมา 9 เดือนคืบหน้าไปได้เพียง 6 โครงการมูลค่า 4.3 หมื่นล้านเท่านั้น แม้แต่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่กระทรวงคมนาคมเจรจากับจีนมากว่า 3 ปี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าตอกเสาเข็มได้ ทั้งที่นายกฯงัดม.44 ผ่าทางตันแก้ปัญหาต่างๆให้แล้วก่อนหน้านี้
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/780169