การลงทุนระบบรางที่กำลังจะเกิดขึ้นในไทย ไม่ได้มีเพียงความร่วมมือกับจีน เพราะญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศที่รัฐบาลอยู่ระหว่างหารือ
โครงการที่กำลังคุยๆ กันก็คือ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เป็นโครงการใหญ่ ใช้เงินสูง รัฐบาลไทยต้องการให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุน มีรายงานข่าวว่า ญี่ปุ่นกลับมองว่า ในเมื่อโครงสร้างทั้งหมดต้องตกเป็นของไทย ไทยก็ควรจะลงทุนเอง
ภายหลังการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคมระหว่างไทย โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กับญี่ปุ่น โดย นายเคอิฉิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2561 ณ ประเทศญี่ปุ่น
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านระบบรางในไทย ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่, แผนแม่บทรถไฟฟ้า ระยะที่ 2, โครงการรถไฟสายใหม่ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) รวมถึงการพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และโครงการความปลอดภัยบนท้องถนน (Road Safety)
แต่ยังคงไม่ได้ข้อสรุปเรื่องของการร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่
แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่า กระทรวงคมนาคมและฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเสนอหลากหลายรูปแบบ เพื่อชักชวนให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ วงเงินลงทุนราว 4 แสนล้านบาท เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้กับบุคลากรไทย
แต่ฝ่ายญี่ปุ่นได้ยืนยันชัดเจนว่า โครงการดังกล่าวนั้นเป็นสมบัติของประเทศชาติ ที่รัฐบาลไทยต้องลงทุนเองทั้งหมด โดยญี่ปุ่นยืนยันว่าจะไม่เข้าไปร่วมลงทุนในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและซ่อมบำรุง
ส่วนด้านงานบริหารและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาร่วมลงทุน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นภาระเม็ดเงินลงทุนที่สูงมากสำหรับประเทศไทย เพราะยังมีโครงการเมกะโปรเจกต์อีกกว่า 1 ล้านล้านบาท ที่ต้องเร่งประกวดราคาและลงทุนต่อเนื่อง ดังนั้น แนวทางการร่วมทุนจึงถือเป็นทางออกของการลดภาระงบประมาณ และลดภาระเพดานหนี้สาธารณะของประเทศไทย
JJNY : “ญี่ปุ่น” เมินลงทุน รถไฟไทย-ญี่ปุ่น
โครงการที่กำลังคุยๆ กันก็คือ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เป็นโครงการใหญ่ ใช้เงินสูง รัฐบาลไทยต้องการให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุน มีรายงานข่าวว่า ญี่ปุ่นกลับมองว่า ในเมื่อโครงสร้างทั้งหมดต้องตกเป็นของไทย ไทยก็ควรจะลงทุนเอง
ภายหลังการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคมระหว่างไทย โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กับญี่ปุ่น โดย นายเคอิฉิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2561 ณ ประเทศญี่ปุ่น
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านระบบรางในไทย ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่, แผนแม่บทรถไฟฟ้า ระยะที่ 2, โครงการรถไฟสายใหม่ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) รวมถึงการพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และโครงการความปลอดภัยบนท้องถนน (Road Safety)
แต่ยังคงไม่ได้ข้อสรุปเรื่องของการร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่
แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่า กระทรวงคมนาคมและฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเสนอหลากหลายรูปแบบ เพื่อชักชวนให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ วงเงินลงทุนราว 4 แสนล้านบาท เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้กับบุคลากรไทย
แต่ฝ่ายญี่ปุ่นได้ยืนยันชัดเจนว่า โครงการดังกล่าวนั้นเป็นสมบัติของประเทศชาติ ที่รัฐบาลไทยต้องลงทุนเองทั้งหมด โดยญี่ปุ่นยืนยันว่าจะไม่เข้าไปร่วมลงทุนในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและซ่อมบำรุง
ส่วนด้านงานบริหารและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาร่วมลงทุน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นภาระเม็ดเงินลงทุนที่สูงมากสำหรับประเทศไทย เพราะยังมีโครงการเมกะโปรเจกต์อีกกว่า 1 ล้านล้านบาท ที่ต้องเร่งประกวดราคาและลงทุนต่อเนื่อง ดังนั้น แนวทางการร่วมทุนจึงถือเป็นทางออกของการลดภาระงบประมาณ และลดภาระเพดานหนี้สาธารณะของประเทศไทย