นนี้ (6 มิ.ย.) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ เปรียบเทียบค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ระบุว่า
เมื่อเร็วๆ นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นมีค่าก่อสร้างบานปลาย และให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
ผมได้เปรียบเทียบค่าก่อสร้าง (รวมค่าเวนคืน ค่าระบบรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบตั๋ว ระบบสื่อสาร ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง) สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระหว่างรัฐบาลประยุทธ์กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ได้บรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ….หรือร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ปรากฏว่าได้ผลดังนี้
รัฐบาลประยุทธ์
ค่าก่อสร้าง 530,000 ล้านบาท
ระยะทาง 672 กิโลเมตร
ค่าก่อสร้างต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร 789 ล้านบาท
รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ค่าก่อสร้าง 387,821 ล้านบาท
ระยะทาง 745 กิโลเมตร
ค่าก่อสร้างต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร 521 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลประยุทธ์แพงกว่าของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ถึง 268 ล้านบาทต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 51%
ผมได้โพสต์มาหลายครั้งแล้วว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน นั่นคือจะมีรายได้จากค่าโดยสารน้อยกว่ารายจ่ายในการบริหารจัดการเดินรถ รวมทั้งเงินลงทุนก่อสร้าง หรือที่พูดกันว่ามีผลตอบแทนทางด้านการเงินไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่มีความพยายามที่จะอธิบายว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น มีการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดเวลาการเดินทาง ลดการใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง ลดอุบัติเหตุจราจร และช่วยให้มีการพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี หรือที่พูดกันว่ามีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งท่านรมว.คมนาคมก็มีความเห็นเช่นนี้
แต่จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องมีการบริหารจัดการให้มีผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูงเป็นจำนวนมากโดยจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่สองข้างทางรถไฟ โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ สถานี ควบคู่ไปกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะต้องใช้เวลาการพัฒนายาวนาน ไม่ใช่คิดจะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็ลงมือก่อสร้างทันที ไม่คำนึงถึงสิ่งเกี่ยวข้องอื่น ซึ่งจะทำให้ได้รถไฟความเร็วสูงในลักษณะ “โดดเดี่ยว” หรือ “standalone” ไม่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองและระบบขนส่งอื่น
โดยสรุป รัฐบาลไม่ควรเสียเวลาที่จะผลักดันโครงการถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่อีกต่อไป แต่ถ้ารัฐบาลมีเงินมากพอที่จะก่อสร้างก็สุดแล้วแต่รัฐบาล หากจะหวังให้ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนนั้นเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะเขารู้ว่าจะเจ๊งแน่ เขาไม่เอาด้วยหรอกครับ
ที่สำคัญ หากคุณยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เห็นค่าก่อสร้างของรัฐบาลนี้ ท่านอาจจะพูดว่า “รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เจียงใหม่ของรัฐบาลตู่แปงขนาด แปงกว่าของปูจ้าดนัก”
แล้วรัฐบาลจะว่าอย่างไร?
สามารถ ชี้ รถไฟเร็วสูงเชียงใหม่ยุคบิ๊กตู่ แพงกว่ายุคปู 51% ฟันธงเจ๊งแน่ญี่ปุ่นหนี
เมื่อเร็วๆ นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นมีค่าก่อสร้างบานปลาย และให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
ผมได้เปรียบเทียบค่าก่อสร้าง (รวมค่าเวนคืน ค่าระบบรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบตั๋ว ระบบสื่อสาร ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง) สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระหว่างรัฐบาลประยุทธ์กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ได้บรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ….หรือร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ปรากฏว่าได้ผลดังนี้
รัฐบาลประยุทธ์
ค่าก่อสร้าง 530,000 ล้านบาท
ระยะทาง 672 กิโลเมตร
ค่าก่อสร้างต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร 789 ล้านบาท
รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ค่าก่อสร้าง 387,821 ล้านบาท
ระยะทาง 745 กิโลเมตร
ค่าก่อสร้างต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร 521 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลประยุทธ์แพงกว่าของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ถึง 268 ล้านบาทต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 51%
ผมได้โพสต์มาหลายครั้งแล้วว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน นั่นคือจะมีรายได้จากค่าโดยสารน้อยกว่ารายจ่ายในการบริหารจัดการเดินรถ รวมทั้งเงินลงทุนก่อสร้าง หรือที่พูดกันว่ามีผลตอบแทนทางด้านการเงินไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่มีความพยายามที่จะอธิบายว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น มีการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดเวลาการเดินทาง ลดการใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง ลดอุบัติเหตุจราจร และช่วยให้มีการพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี หรือที่พูดกันว่ามีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งท่านรมว.คมนาคมก็มีความเห็นเช่นนี้
แต่จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องมีการบริหารจัดการให้มีผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูงเป็นจำนวนมากโดยจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่สองข้างทางรถไฟ โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ สถานี ควบคู่ไปกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะต้องใช้เวลาการพัฒนายาวนาน ไม่ใช่คิดจะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็ลงมือก่อสร้างทันที ไม่คำนึงถึงสิ่งเกี่ยวข้องอื่น ซึ่งจะทำให้ได้รถไฟความเร็วสูงในลักษณะ “โดดเดี่ยว” หรือ “standalone” ไม่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองและระบบขนส่งอื่น
โดยสรุป รัฐบาลไม่ควรเสียเวลาที่จะผลักดันโครงการถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่อีกต่อไป แต่ถ้ารัฐบาลมีเงินมากพอที่จะก่อสร้างก็สุดแล้วแต่รัฐบาล หากจะหวังให้ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนนั้นเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะเขารู้ว่าจะเจ๊งแน่ เขาไม่เอาด้วยหรอกครับ
ที่สำคัญ หากคุณยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เห็นค่าก่อสร้างของรัฐบาลนี้ ท่านอาจจะพูดว่า “รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เจียงใหม่ของรัฐบาลตู่แปงขนาด แปงกว่าของปูจ้าดนัก”
แล้วรัฐบาลจะว่าอย่างไร?