มีโอกาสได้อ่านข่าวสาร บทความ และกระทู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคเนื้องอกในมดลูก ซึ่งเผยแพร่ในโลกโซเชียล พบว่ามีผู้ตั้งประเด็นคำถามและแสดงความคิดเห็นต่อท้ายมากมาย ความรู้สึกหนึ่งที่สะท้อนออกมาชัดเจนจากผู้หญิงที่เข้าข่ายมีอาการผิดปกติ หรือได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นโรคนี้ก็คือ “ความกลัว” ทั้ง “กลัวการตรวจภายใน” และ “กลัวการผ่าตัด”
หากคุณคลิกเข้ามาอ่านกระทู้นี้ด้วยความอยากรู้ว่า ทำอย่างไร เมื่อเป็นโรค “เนื้องอกในมดลูก” ขอตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “ทำใจ” ค่ะ ... อย่าเพิ่งท้าตบกันนะคะ ... เจ้าของกระทู้หมายความเช่นนั้นจริง ๆ เพราะเคยผ่านประสบการณ์มาแล้ว
ตอนที่คุณหมอแจ้งว่ามีเนื้องอกในมดลูกและควรตัดมดลูกทิ้ง จิตตก กังวลไปสารพัด ต้องทำใจอยู่นาน ถึงกับหลีกหนีไม่ยอมไปพบคุณหมออีกเลยนานนับปี
ด่านแรกซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องผ่านไปให้ได้จึงไม่พ้นการทำใจและตั้งรับความกลัวอย่างมีสติ
อย่างน้อยก็ขอให้ทราบเถิดว่าคุณมีเพื่อนร่วมทุกข์มากมาย เพราะโรคเนื้องอกในมดลูกนับเป็นโรคท้อปฮิตของผู้หญิง (หลายคนเป็นโรคนี้โดยที่ยังไม่รู้ตัวซะด้วยซ้ำ)
เพราะฉะนั้นหากคุณเป็นโรคเนื้องอกในมดลูก หรือมีอาการใด ๆ บ่งบอกว่าร่างกายผิดปกติ เช่น ปวดท้องรุนแรงขณะมีประจำเดือน ปริมาณเลือดประจำเดือนต่อรอบมากผิดปกติ หน้าท้องยื่นทั้งที่ไม่อ้วน คลำพบก้อน เจ็บหน่วงและมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีบุตรยาก ตั้งครรภ์แล้วแท้ง ฯลฯ ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา หรือตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง อย่านิ่งนอนใจ ปล่อยทิ้งไว้จนสายเกินแก้
ไม่มีใครอยากเป็นโรค ไม่มีใครอยากผ่าตัด
แต่เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแล้ว และจำเป็นต้องผ่าตัด เราจะจัดการปัญหาอย่างไร ถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่ต้องคิด ... การรักษาไม่น่ากลัว การละเลยปัญหาจนต้องประสบผลที่ตามมาต่างหากที่น่ากลัว
ตั้งสติ กำจัดความกลัว ค่อย ๆ ศึกษาหาข้อมูลให้รอบด้านและพิจารณาแก้ไขปัญหาไปทีละขั้น แล้วเราจะก้าวผ่านมันไปได้ในที่สุด
เป็นกำลังใจให้คุณผู้อ่านทุกคนนะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอแนะนำคุณสาว ๆ ที่เป็นโรคนี้และอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เหมือนกำลังพูดคุยกับ “เพื่อน” ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วสักคน ลองโหลด E-book “กลัวทำไม? ... ก็แค่เนื้องอกในมดลูก” มาอ่านกันนะคะ
E-book เรื่องนี้มี 12 ตอน (175 หน้า พร้อมภาพประกอบ)
นำเสนอเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริง โดยผู้เขียนที่เป็นโรคเนื้องอกมดลูกและผ่านการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว มาบอกเล่ารายละเอียดชนิดช็อตต่อช็อต ตั้งแต่เริ่มสงสัยเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติกับร่างกาย ไปขึ้นขาหยั่ง ขึ้นเตียงผ่าตัด จนกลับมาใช้ชีวิตได้ดีดังเดิม
เนื้อหาเด่น อาทิ
- เตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะไปตรวจภายใน เจ็บไหม น่าอายจริงหรือ
- ทำใจอย่างไรให้ยอมรับได้เมื่อเป็นโรคนี้
- เนื้องอกใหญ่ขนาดไหนจึงควรผ่าตัด
- ไม่ผ่าตัดได้ไหม มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่
- ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร พอมีตัวช่วยแบ่งเบาภาระไหม
- ผ่าตัดวิธีไหนดี แต่ละวิธีมีข้อเด่นข้อด้อยอย่างไร
- เตรียมตัว เตรียมใจอย่างไรก่อนผ่าตัด ต้องเจออะไรบ้างนับตั้งแต่เข้าโรงพยาบาล จนถึงวินาที ณ ห้องผ่าตัด
- หลังผ่าตัดเจ็บมากไหม ทรมานแค่ไหน อาการเป็นอย่างไร
- ขณะพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลควรปฏิบัติตัวอย่างไร
- ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อกลับบ้านหลังผ่าตัด ข้อควรระวัง ทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง
- ชีวิตที่ไร้มดลูกเป็นอย่างไร พร้อมหลากหลายข้อคิดเพื่อชีวิตลั้ลลา
คลิก >>> https://www.mebmarket.com/web/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTAyMTI4NCI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjU6IjQ1MzIxIjt9
ทำอย่างไร เมื่อเป็นโรค “เนื้องอกในมดลูก”
หากคุณคลิกเข้ามาอ่านกระทู้นี้ด้วยความอยากรู้ว่า ทำอย่างไร เมื่อเป็นโรค “เนื้องอกในมดลูก” ขอตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “ทำใจ” ค่ะ ... อย่าเพิ่งท้าตบกันนะคะ ... เจ้าของกระทู้หมายความเช่นนั้นจริง ๆ เพราะเคยผ่านประสบการณ์มาแล้ว
ตอนที่คุณหมอแจ้งว่ามีเนื้องอกในมดลูกและควรตัดมดลูกทิ้ง จิตตก กังวลไปสารพัด ต้องทำใจอยู่นาน ถึงกับหลีกหนีไม่ยอมไปพบคุณหมออีกเลยนานนับปี
ด่านแรกซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องผ่านไปให้ได้จึงไม่พ้นการทำใจและตั้งรับความกลัวอย่างมีสติ
อย่างน้อยก็ขอให้ทราบเถิดว่าคุณมีเพื่อนร่วมทุกข์มากมาย เพราะโรคเนื้องอกในมดลูกนับเป็นโรคท้อปฮิตของผู้หญิง (หลายคนเป็นโรคนี้โดยที่ยังไม่รู้ตัวซะด้วยซ้ำ)
เพราะฉะนั้นหากคุณเป็นโรคเนื้องอกในมดลูก หรือมีอาการใด ๆ บ่งบอกว่าร่างกายผิดปกติ เช่น ปวดท้องรุนแรงขณะมีประจำเดือน ปริมาณเลือดประจำเดือนต่อรอบมากผิดปกติ หน้าท้องยื่นทั้งที่ไม่อ้วน คลำพบก้อน เจ็บหน่วงและมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีบุตรยาก ตั้งครรภ์แล้วแท้ง ฯลฯ ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา หรือตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง อย่านิ่งนอนใจ ปล่อยทิ้งไว้จนสายเกินแก้
ไม่มีใครอยากเป็นโรค ไม่มีใครอยากผ่าตัด
แต่เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแล้ว และจำเป็นต้องผ่าตัด เราจะจัดการปัญหาอย่างไร ถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่ต้องคิด ... การรักษาไม่น่ากลัว การละเลยปัญหาจนต้องประสบผลที่ตามมาต่างหากที่น่ากลัว
ตั้งสติ กำจัดความกลัว ค่อย ๆ ศึกษาหาข้อมูลให้รอบด้านและพิจารณาแก้ไขปัญหาไปทีละขั้น แล้วเราจะก้าวผ่านมันไปได้ในที่สุด
เป็นกำลังใจให้คุณผู้อ่านทุกคนนะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้