จากกรณีที่มีกลุ่มเห็นต่างได้ยื่นแถลงการณ์คัดค้านเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รัฐสภา และสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) เพื่อเสนอความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรียกร้องให้รัฐบาลจริงจังกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคตะวันออก และต้องรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน ซึ่งไม่ควรเร่งรีบกระบวนการออกกฎหมาย และควรจะถอนร่างฉบับนี้ออกไป
โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1. ยกเลิกการใช้คำสั่ง ม.44 ที่เกี่ยวข้องกับ EEC ที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล
2. การไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ปี 60 ในการเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน
3. แนวนโยบาย และแนวทางในการพัฒนา EEC ไม่เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับในกรณีนี้ ขอยกเฉพาะของกรณี
"แนวนโยบาย และแนวทางในการพัฒนา EEC ไม่เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง" ขึ้นมาชี้แจงให้คนไทยหลายคนได้เข้าใจว่าเป็นไปตาม
"ศาสตร์ของพระราชา" หรือไม่
“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่ประชาชนคนไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๔๐ ปี ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง จึงสรุปได้ว่าคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”
พระราชดำรัสแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (๑๘ ก.ค. ๒๕๑๗)
“...โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...”
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔
จะเห็นได้ว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง พระองค์พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้ โดยมีหลักแนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ดังนี้
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
จะเห็นได้ว่าหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสามารถสร้างความสุขที่ยั่งยืนได้หากทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ อีกทั้งยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย
ดังนั้น การพัฒนา EEC จึงเป็นนโยบายสำคัญของประเทศไทยที่จะผลักดันการพัฒนา และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน โดยรัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนา EEC ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ซึ่งต่อไปจะพัฒนาไปเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
ทั้งนี้การพัฒนา EEC จะเป็นตัวอย่างการบูรณาการการพัฒนาที่คำนึงถึงการต่อเนื่อง และเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์กับประเทศสูงสุด โดยมีการจัดวางตำแหน่ง สถานประกอบการ และตำแหน่งการจัดวางระบบสาธารณูปการที่เหมาะสม และอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกอบกิจการ รวมทั้งการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ซึ่งแน่นอนประชาชนในพื้นที่จะมีระบบสาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการพัฒนาที่เป็นระบบ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการต่างๆ ใน EEC จะเป็นการต่อยอดจากการพัฒนาโครงการที่มีอยู่เดิม ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงการสร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยถือว่าการพัฒนา EEC เป็นกลไกขับเคลื่อน ‘ประเทศไทย 4.0’ แบบก้าวกระโดด และเป็นพื้นที่เป้าหมายแรกในการสร้าง การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างระบบการถ่ายโอนเทคโนโลยีขั้นสูงสู่คนไทย ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม
หวังว่ากลุ่มเห็นต่างงานของรัฐบาลที่มักจะยกคำสอนของพระองค์ท่าน
ความพอเพียง หรือศาสตร์พระราชา มาเป็นข้ออ้างคัดค้านได้เข้าใจคำว่า พอเพียง มากขึ้น
ที่มา :
เศรษฐกิจพอเพียง โดย มูลนิธิชัยพัฒนา
ที่มา :
มติชนออน์ไลน์
Edit : แก้ไขคำผิด
EEC กับ ความพอเพียง
โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1. ยกเลิกการใช้คำสั่ง ม.44 ที่เกี่ยวข้องกับ EEC ที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล
2. การไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ปี 60 ในการเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน
3. แนวนโยบาย และแนวทางในการพัฒนา EEC ไม่เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับในกรณีนี้ ขอยกเฉพาะของกรณี "แนวนโยบาย และแนวทางในการพัฒนา EEC ไม่เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง" ขึ้นมาชี้แจงให้คนไทยหลายคนได้เข้าใจว่าเป็นไปตาม "ศาสตร์ของพระราชา" หรือไม่
“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่ประชาชนคนไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๔๐ ปี ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง จึงสรุปได้ว่าคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”
พระราชดำรัสแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (๑๘ ก.ค. ๒๕๑๗)
“...โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...”
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔
จะเห็นได้ว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง พระองค์พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้ โดยมีหลักแนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ดังนี้
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
จะเห็นได้ว่าหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสามารถสร้างความสุขที่ยั่งยืนได้หากทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ อีกทั้งยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย
ดังนั้น การพัฒนา EEC จึงเป็นนโยบายสำคัญของประเทศไทยที่จะผลักดันการพัฒนา และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน โดยรัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนา EEC ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ซึ่งต่อไปจะพัฒนาไปเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
ทั้งนี้การพัฒนา EEC จะเป็นตัวอย่างการบูรณาการการพัฒนาที่คำนึงถึงการต่อเนื่อง และเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์กับประเทศสูงสุด โดยมีการจัดวางตำแหน่ง สถานประกอบการ และตำแหน่งการจัดวางระบบสาธารณูปการที่เหมาะสม และอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกอบกิจการ รวมทั้งการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ซึ่งแน่นอนประชาชนในพื้นที่จะมีระบบสาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการพัฒนาที่เป็นระบบ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการต่างๆ ใน EEC จะเป็นการต่อยอดจากการพัฒนาโครงการที่มีอยู่เดิม ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงการสร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยถือว่าการพัฒนา EEC เป็นกลไกขับเคลื่อน ‘ประเทศไทย 4.0’ แบบก้าวกระโดด และเป็นพื้นที่เป้าหมายแรกในการสร้าง การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างระบบการถ่ายโอนเทคโนโลยีขั้นสูงสู่คนไทย ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม
ความพอเพียง หรือศาสตร์พระราชา มาเป็นข้ออ้างคัดค้านได้เข้าใจคำว่า พอเพียง มากขึ้น
ที่มา : เศรษฐกิจพอเพียง โดย มูลนิธิชัยพัฒนา
ที่มา : มติชนออน์ไลน์
Edit : แก้ไขคำผิด