ทุกข์เพราะอะไร?
เราก็ต้องเอามานั่งคิดพิจารณาว่ามันเป็นทุกข์เพราะอะไร
เป็นทุกข์เพราะอุปาทาน
อุปาทาน นั้นหมายความว่า เข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา
ที่สำคัญก็คือนึกว่าเป็น "ตัวเรา" เป็น "ของเรา"
ที่ท่านพุทธทาสพูดภาษาง่ายๆ ว่าตัวกู-ของกู
ใครฟังแล้วก็นึกว่าเป็นคำที่ค่อนข้าง
จะเป็นชาวบ้านมากไปหน่อย
แต่ว่าเป็นคำที่ง่ายที่สุดว่า ตัวกู-ของกู
คนเรามี“ตัวกู”ก่อน แล้วก็มี“ของกู”ขึ้นมา
ในภาษาบาลีเรียกว่า อหังการ มมังการ
อหังการ คือ สำคัญว่าตัวมีตัวเป็น สำคัญว่าตัวเป็นก่อน
แล้วก็สำคัญว่าตัวมีสิ่งนั้นสิ่งนี้
คือ มีตัวสำหรับรองรับแล้วมีอะไรเกิดขึ้น
ตัวก็เข้าไปรับเอาสิ่งนั้น
รับเอาว่าเป็นของฉันขึ้นมา
อะไรก็เป็นของฉันไปหมด นี่เราคิดไปอย่างนั้น
ความคิดอย่างนั้นมันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เป็นอุปาทาน
คือ สร้างตัวยึดถือ ความยึดถือนั้นเป็นตัวอุปาทาน
ไม่ว่าเราจะไปยึดถืออะไร
ที่นั้นมันก็จะทำให้เราเกิดความทุกข์ขึ้นมา
เช่น ยึดถือในเรื่องปัจจัยเงินทองว่าเป็นของฉัน
มันก็เป็นทุกข์เพราะเงินนั้น รถของฉัน บ้านของฉัน อะไรของฉัน
มีมากมายหลายเรื่องหลายอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรานั้น
ถ้าเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวฉันเป็นของฉันขึ้นมา
ไอ้ตัวยึดถือนั่นแหละมันเป็นความทุกข์ขึ้นมา
เพราะเกิดความยึดถือว่าเป็นตัวฉันเป็นของฉันแล้ว
ก็เกิดความหวงแหนในสิ่งนั้นไม่อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างอื่น
อยากให้เป็นของเราเสียตลอดเวลา
ถ้ามันเป็นอื่นไปเราก็เป็นทุกข์
เพราะเรายึดว่าเป็นของฉันมันก็เกิดความทุกข์
เคล็ดของความทุกข์มันอยู่ตรงนี้
อยู่ตรงที่เราเข้าไปยึดมันถือมันในเรื่องนั้นๆ
ให้สังเกตดูให้ดี
สังเกตที่ใจของเรา ถ้าอะไรไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอะไร
หรือเราไม่ได้ยึดถือว่าเป็นของเรา
มันจะแตกจะหักจะเป็นอะไรไปเราก็เฉยๆ เพราะไม่ใช่ของเรา
แต่ถ้าหากว่าเป็น“ของเรา”ขึ้นมา
เข็มสักเล่มหนึ่งเราก็ยังเป็นทุกข์เพราะเข็มเล่มนั้น
เพราะว่าเข็มเล่มนั้นเป็น“ของฉัน”เป็น“ของเรา”ขึ้นมา
นี่แหละคือความยึดถือ ที่พระท่านสอนว่า...
รูปปาทานักขันโธ-รูปที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวทุกข์
ถ้ารูปเฉยๆ มันก็ไม่เป็นทุกข์แก่เรา
แต่เป็นทุกข์ตามสภาพของมัน
หมายความว่า มันทนอยู่ไม่ได้ในสภาพอย่างเดียว
มันต้องเปลี่ยนไปเพราะสิ่งทั้งหลายไม่เทียง มีความเปลี่ยนแปลง
มีความทุกข์โดยสภาพ ไม่มีอะไรที่เป็นเนื้อแท้ในตัวของมันเอง
นั่นมันคือรูปเรื่องธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น
แต่ว่าคนเรามักจะหลงผิดเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ
ไม่ได้คิดในแง่ว่ามันไม่เที่ยง ไม่ได้คิดในแง่ว่ามันเป็นทุกข์
ไม่ได้คิดในแง่ว่ามันเป็นอนัตตา แต่เราคิดว่ามันเที่ยง
มันเป็นสุข มันเป็นตัวตน เป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา
แล้วเข้าไปยึดถือในสิ่งที่เป็นนั้น
แล้วก็มีของอื่นเข้ามาประกอบทำให้ความยึดถือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเรามีเพียงอย่างเดียวก็ยึดถือน้อย
ถ้ามีมากความยึดถือมันก็มากขึ้นตลอดเวลา
ปัญญานันทภิกขุ
ทุกข์เพราะอะไร
เราก็ต้องเอามานั่งคิดพิจารณาว่ามันเป็นทุกข์เพราะอะไร
เป็นทุกข์เพราะอุปาทาน
อุปาทาน นั้นหมายความว่า เข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา
ที่สำคัญก็คือนึกว่าเป็น "ตัวเรา" เป็น "ของเรา"
ที่ท่านพุทธทาสพูดภาษาง่ายๆ ว่าตัวกู-ของกู
ใครฟังแล้วก็นึกว่าเป็นคำที่ค่อนข้าง
จะเป็นชาวบ้านมากไปหน่อย
แต่ว่าเป็นคำที่ง่ายที่สุดว่า ตัวกู-ของกู
คนเรามี“ตัวกู”ก่อน แล้วก็มี“ของกู”ขึ้นมา
ในภาษาบาลีเรียกว่า อหังการ มมังการ
อหังการ คือ สำคัญว่าตัวมีตัวเป็น สำคัญว่าตัวเป็นก่อน
แล้วก็สำคัญว่าตัวมีสิ่งนั้นสิ่งนี้
คือ มีตัวสำหรับรองรับแล้วมีอะไรเกิดขึ้น
ตัวก็เข้าไปรับเอาสิ่งนั้น
รับเอาว่าเป็นของฉันขึ้นมา
อะไรก็เป็นของฉันไปหมด นี่เราคิดไปอย่างนั้น
ความคิดอย่างนั้นมันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เป็นอุปาทาน
คือ สร้างตัวยึดถือ ความยึดถือนั้นเป็นตัวอุปาทาน
ไม่ว่าเราจะไปยึดถืออะไร
ที่นั้นมันก็จะทำให้เราเกิดความทุกข์ขึ้นมา
เช่น ยึดถือในเรื่องปัจจัยเงินทองว่าเป็นของฉัน
มันก็เป็นทุกข์เพราะเงินนั้น รถของฉัน บ้านของฉัน อะไรของฉัน
มีมากมายหลายเรื่องหลายอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรานั้น
ถ้าเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวฉันเป็นของฉันขึ้นมา
ไอ้ตัวยึดถือนั่นแหละมันเป็นความทุกข์ขึ้นมา
เพราะเกิดความยึดถือว่าเป็นตัวฉันเป็นของฉันแล้ว
ก็เกิดความหวงแหนในสิ่งนั้นไม่อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างอื่น
อยากให้เป็นของเราเสียตลอดเวลา
ถ้ามันเป็นอื่นไปเราก็เป็นทุกข์
เพราะเรายึดว่าเป็นของฉันมันก็เกิดความทุกข์
เคล็ดของความทุกข์มันอยู่ตรงนี้
อยู่ตรงที่เราเข้าไปยึดมันถือมันในเรื่องนั้นๆ
ให้สังเกตดูให้ดี
สังเกตที่ใจของเรา ถ้าอะไรไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอะไร
หรือเราไม่ได้ยึดถือว่าเป็นของเรา
มันจะแตกจะหักจะเป็นอะไรไปเราก็เฉยๆ เพราะไม่ใช่ของเรา
แต่ถ้าหากว่าเป็น“ของเรา”ขึ้นมา
เข็มสักเล่มหนึ่งเราก็ยังเป็นทุกข์เพราะเข็มเล่มนั้น
เพราะว่าเข็มเล่มนั้นเป็น“ของฉัน”เป็น“ของเรา”ขึ้นมา
นี่แหละคือความยึดถือ ที่พระท่านสอนว่า...
รูปปาทานักขันโธ-รูปที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวทุกข์
ถ้ารูปเฉยๆ มันก็ไม่เป็นทุกข์แก่เรา
แต่เป็นทุกข์ตามสภาพของมัน
หมายความว่า มันทนอยู่ไม่ได้ในสภาพอย่างเดียว
มันต้องเปลี่ยนไปเพราะสิ่งทั้งหลายไม่เทียง มีความเปลี่ยนแปลง
มีความทุกข์โดยสภาพ ไม่มีอะไรที่เป็นเนื้อแท้ในตัวของมันเอง
นั่นมันคือรูปเรื่องธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น
แต่ว่าคนเรามักจะหลงผิดเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ
ไม่ได้คิดในแง่ว่ามันไม่เที่ยง ไม่ได้คิดในแง่ว่ามันเป็นทุกข์
ไม่ได้คิดในแง่ว่ามันเป็นอนัตตา แต่เราคิดว่ามันเที่ยง
มันเป็นสุข มันเป็นตัวตน เป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา
แล้วเข้าไปยึดถือในสิ่งที่เป็นนั้น
แล้วก็มีของอื่นเข้ามาประกอบทำให้ความยึดถือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเรามีเพียงอย่างเดียวก็ยึดถือน้อย
ถ้ามีมากความยึดถือมันก็มากขึ้นตลอดเวลา
ปัญญานันทภิกขุ