รู้หรือไม่? กายบริหารช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ โดยอาการปวดที่เกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจาก
1. แรงที่กดผ่านผิวข้อเข่า ยิ่งถ้าน้ำหนักตัวมาก แรงกดก็มากจะทำให้ปวดเวลาลุก ยืน เดิน นั่งเฉยๆ จะไม่ปวด

2. การอักเสบของข้อเข่า เกิดจากการใช้งานหรือมีกิจกรรมที่งอเข่ามากๆ เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ นั่งยองๆ ขี่จักรยานอานเตี้ย
ขึ้นลงบันไดมากๆ ทำให้ผิวข้อเข่ากดดันมาก เกิดการอักเสบของข้อเข่า จะทำให้มีอาการปวดถึงแม้จะไม่ลุกยืน เดิน บางรายอาจมี
อาการเข่าบวมร้อน

3. ภาวะกล้ามเนื้อเอ็นรอบเข่าตึงตัว บางรายเมื่อข้อเข่าอักเสบจะงอเข่าไว้ หรือเดินมากทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ เข่าตึงตัว เกร็ง
ทำให้มีอาการปวดได้

รักษาอย่างไร?
1. ลดแรงกดที่ผ่านผิวข้อเข่าโดย  
    • ลดน้ำหนักตัวถือเป็นหัวใจของการรักษาก็ว่าได้ ผู้ป่วยบางรายข้อเข่าเสื่อมมาก แต่น้ำหนักน้อย อาจทำให้ไม่มีอาการปวดได้
    • ใส่อุปกรณ์เสริมพยุงข้อเข่า
    • ใช้เครื่องมือช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า

2. ลดอาการอักเสบ
    • ใช้ยาลดการอักเสบ
    • ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดในระยะอักเสบมาก บวมร้อน ควรประคบเย็น
    • พักเข่าให้มากขึ้นโดยให้เดินน้อยลง ในระยะที่มีอาการอักเสบ

3. ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อเข่า
    • ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด
    • ใช้ประคบอุ่นช่วยให้ลดอาการตึงกล้ามเนื้อ
    • นวดและยืดกล้ามเนื้อ

4. ปฏิบัติตนให้ถูกต้อง โดย
    • หลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ขึ้นลงบันไดมาก นั่งยองๆ ขัดสมาธิ พับเพียบ เพราะจะเพิ่มแรงเครียดในข้อเข่าทำให้เข่าอักเสบปวดได้
    • ให้บริหารกล้ามเนื้อ ที่จะช่วยประคองข้อเข่า โดยการบริหารดังนี้

1. นอนเหยียดเข่า เกร็งเข่ากดกับเตียงค้างไว้ 6 วินาที แล้วปล่อยเกร็งเท่าที่ไม่เจ็บ ทำจาก 10 ครั้ง ค่อยๆ เพิ่มปริมาณจำนวนครั้ง
   ไปเรื่อยๆ อาจใช้ผ้าหรือขวดรองใต้เข่า




2. นอนหงายใช้หมอนรองใต้เข่า เหยียดเข่าตรงจากท่างอ เกร็งเข่าค้างไว้ 6 วินาที แล้วงอเข่าลงเหมือนเดิม ทำเริ่มต้น 10 ครั้ง
    ค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งเท่าที่ทำได้




3. นอนชันเข่าด้านตรงข้ามกับที่เจ็บ ยกขาด้านที่เจ็บขึ้นตรงๆ ท่าเข่าเหยียดตรง ทำเริ่มต้น 10 ครั้ง ค่อยเพิ่มเท่าที่ทำได้ เมื่ออาการปวด
เข่าทุเลาแล้ว จึงเริ่มบริหารโดยใช้หมอนรองใต้เข่าในท่านอน ผูกน้ำหนักไว้ที่ข้อเท้าประมาณ 1/2 ก.ก. เริ่มจาก 5-10 ครั้งก่อน ถ้าไม่เจ็บ
จึงค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งไปเท่าที่ไม่เจ็บให้ยืนเกร็งเข่า งอเข่าเล็กน้อย คล้ายท่ายืนรำมวยจีน แล้วยืดตัวขึ้นให้เข่าตรง ทำสลับกัน เท่าที่ทำได้




4. ในคนไข้ที่ไม่มีอาการปวดหลัง ให้บริหารท่านั่งได้ โดยนั่งพิงเก้าอี้ เริ่มเหยียดเข่าตรง เกร็งค้างไว้ 6 วินาที ค่อยๆ ทำจาก 10 ครั้ง
เพิ่มจำนวนเท่าที่ทำได้ ถ้าทำได้ดีแล้วให้เอาน้ำหนักผูกข้อเท้าเริ่มจาก 1/2 กก. ค่อย ๆ เพิ่มทั้งจำนวนครั้งแล้วจึงค่อยเพิ่มน้ำหนักขึ้น
ถ้าทำแล้วเจ็บเข่ามากขึ้น แสดงว่าบริหารมากไป ให้ลดจำนวนครั้งและน้ำหนักลง




ข้อควรระวัง
ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าทั้งสองข้าง ในการบริหารท่านอน ที่ใช้หมอนรองใต้เข่าไม่ควรยกขาพร้อมกันทั้งสองข้าง ควรทำทีละข้าง
เพราะอาจทำให้มีอาการปวดหลังได้

หัวใจในการรักษาเรื่องข้อเข่าเสื่อมนี้ก็คือ ควรจะลดน้ำหนัก หมั่นบริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยืดกล้ามเนื้อไม่ให้ตึงตัว
ระวังกิจกรรมประจำวัน จะช่วยให้ท่านใช้เข่าไปได้อีกนาน ส่วนในรายที่เข่าเสื่อมมากหรือขาโก่งมาก อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่