เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล ... ข้าพระพุทธเจ้า **ห้องเพลงคนรากหญ้า** 20/10/2560 การเมือง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่

วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ ๒๔๘๙ ถึง วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๕๙ ทรงครองราชย์ ๗๐ ปี ๑๒๖ วัน

ช่วงพระองค์ขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ต้องไปศึกษาต่อต่างประเทศ และเมื่อศึกษาสำเร็จแล้ว

พระองค์ก็เข้าพิธี บรมราชาภิเษก ที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๙๓

คลิป พิธีบรมราชาภิเษก  (ปฐมบรมราชโองการอยู่ช่วงนาทีที่ ๒๘)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



ในรัชสมัยของพระองค์นี้ การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง จึงจะขอรวบรวมไว้ดังนี้

นายกรัฐมนตรี

นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน พ.ศ ๒๔๗๕ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น ๒๙ ท่าน

และอยู่ในรัชสมัยพระองค์ ๒๖ ท่าน มีเพียงนายกรัฐมนตรี ๓ ท่านที่ไม่อยู่ในสมัยพระองค์คือ

๑ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ๒ พระยาพหลพลพยุหเสนา ๓ นาย ทวี บุณยเกตุ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

และที่พระองค์ท่านทรงงานด้วยมี ๒๔ ท่าน

(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และ นายควง อภัยวงค์ เป็นนายกขณะพระองค์ท่านทรงอยู่ระหว่างศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์)

หลวงธำรง

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ควง อภัยวงค์

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



นายกรัฐมนตรีที่ครองตำแหน่งนานที่สุดคือ จอมพลถนอม กิตติขจร ๑๐ ปี ๒๓๙ วัน

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

นายกรัฐมนตรีที่ครองตำแหน่งน้อยที่สุดคือ พลเอกสุจินดา คราประยูร ๔๗ วัน

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

**จอมพล ป เป็นนายกที่ครองตำแหน่งนานที่สุด แต่ช่วงแรกไม่อยู่ในสมัยพระองค์ท่าน**

ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้


คณะรัฐมนตรี

ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙ มีคณะรัฐมนตรีทั้งสิ้น ๔๖ คณะ คือตั้งแต่

คณะรัฐมนตรีชุดที่ ๑๖ ของนายปรีดี พนมยงค์ ถึง คณะรัฐมนตรีชุดที่ ๖๑ ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แต่ที่พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศพระบรมราชโองการคือตั้งแต่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ ๒๔

ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (๖ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๕)

ปรีดี พนมยงค์

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จอมพล ป พิบูลสงคราม

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้

รัฐประหาร

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยมีรัฐประหารเกิดขึ้นทั้งหมด ๑๓ ครั้ง

เกิดในสมัยพระองค์ ๑๑ ครั้ง และเกิดในช่วงที่พระองค์ประทับอยู่ที่ประเทศไทย ๙ ครั้ง

ในจำนวนนี้เป็นการยึดอำนาจตนเอง ๔ ครั้งคือ

๑ รัฐประหาร ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ จอมพล ป ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

๒ รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑    จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร

๓ รัฐประหาร ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

๔ รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐  พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร

เพี้ยนลุยเพี้ยนลุยเพี้ยนลุยเพี้ยนลุยเพี้ยนลุย

กบฏ

กบฏในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองมีจำนวน ๑๓ ครั้ง แต่อยู่ในช่วงพระองค์ประทับในประเทศ ๕ ครั้งคือ

ครั้งที่ ๙ กบฏสันติภาพ

ครั้งที่ ๑๐ กบฏ พ.ศ ๒๕๐๗

ครั้งที่ ๑๑ กบฏพลเอกฉลาด หิรัญศิริ

ครั้งที่ ๑๒ กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย

ครั้งที่ ๑๓ กบฏสองพี่น้อง (มนูญ มนัส รูปจขร) หรือ กบฏทหารนอกราชการ

ในจำนวนนี้มีครั้งที่ระคายเคืองเบื้องยุคลบาทมากที่สุดคือ กบฏยังเติร์ก

เพราะพระองค์และพระบรมวงศานุวงค์ต้องเสด็จจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปประทับที่

กองทัพภาคที่ ๒ ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา


คลิป เหตุการณ์กบฏยังเติร์ก

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พลุพลุพลุพลุพลุ

รัฐธรรมนูญ

ช่วงเวลา ๗๐ ปีที่ทรงครองราชย์ ไทยมีรัฐธรรมนูญเกิดในสมัยพระองค์ทั้งสิ้น ๑๖ ฉบับจาก ๒๐ ฉบับ

แต่ที่ทรงลงพระปรมาภิไธยมีทั้งสิ้น ๑๔ ฉบับคือตั้งแต่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ จนถึง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗


ต้นฉบับรัฐธรรมนูญ๒๔๗๕


รัฐธรรมนูญฉบับที่ลงพระปรมาภิไธยฉบับแรก ๒๔๙๕


บายศรีบายศรีบายศรีบายศรีบายศรี

เหตุการณ์การเมืองที่สำคัญที่พระองค์ต้องทรงลงมาแก้ไขสถานการณ์ด้วยพระองค์เอง

และเพราะบารมีของพระองค์ทำให้เหตุการณ์คลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว

๑ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๑๖

เป็นเหตุการณ์ที่นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชน เรียกร้องรัฐธรรมนูญและต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล

ถนอม ประภาส ณรงค์ จนมีการนองเลือดเกิดขึ้น และพระองค์ได้ประกาศว่าเป็นวัน "มหาวิปโยค"

คลิปพระสุรเสียงรัชกาลที่ ๙ ในนาทีที่ ๒.๔๒

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
๒ เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ๑๗ - ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๓๕

ประชาชนได้ร่วมกันต่อต้านการสืบถอดอำนาจจากคณะรัฐประหาร รสช จนมีการปะทะกัน

มีผู้เสียชีวิต และทำท่าบานปลาย ในที่สุดเวลา ๒๑.๓๐ ของคืนวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ได้โปรดเกล้าให้ผู้นำทั้งสองฝ่ายคือ

พลเอกสุจินดา คราประยูร กับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้า
และพระราชทานโอวาทตักเตือนทั้งสองฝ่าย

เหตุการณ์จึงสงบลงท่ามกลางเสียงไชโยกึกก้องของประชาชนที่ไม่ต้องการให้มีเหตุการณ์นองเลือด

ไทยฆ่าไทยอีกต่อไป

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

จากเหตุการณ์การเมืองทุกเหตุการณ์ตามที่กล่าวข้างต้น สามารถกล่าวได้เต็มปากว่า

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นกำลังสำคัญที่สุดในการพัฒนาการเมืองไทย

พระองค์ทรงเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองไทยมากกว่าทุกคนในแผ่นดินนี้ หลายๆเหตุการณ์

ที่แนวโน้มจะนองเลือด หรือ ทวีความรุนแรง ก็สามารถยุติลงได้เพราะพระบารมีของพระองค์

ต่างจากหลายประเทศในโลกเมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือความรุนแรง

บางประเทศถึงขั้นเกิดสงครามกลางเมือง หรือ เกิดการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธ์

ในทางการเมืองของประเทศไทย พระองค์ทรงเป็นผู้อยู่เหนือความขัดแย้งที่แท้จริง

ป.ล ในเม้นท์ย่อย จะกล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์การเมืองที่สำคัญในอดีต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่