ด้วยอำนาจที่ล้นปรี่ยิ่งใหญ่หาสิ่งใดเสมอเหมือน ของ มาตรา44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับที่กำลังสั่งหันซ้ายหันขวาประเทศชาติอยู่นั้น ทำให้บางคน(ย้ำ..ว่าแค่บางคน) เชื่อว่าสามารถนำพาประเทศชาติให้ไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนสถาพร จะด้วยการขุดรากถอดโคนฝ่ายตรงข้าม หรือป้องปรามด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดอันมีคุณความดีเป็นที่ตั้ง ก็สุดแล้วแต่ สติปัญญาในแก่นกะโหลกของแต่ละคนจะคิดกันไป
แต่เนื่องด้วยการแสดงความเห็นตรงๆต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันอาจสุ่มเสี่ยงเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และขัดต่อศีลธรรมอันดี ของประเทศนี้ ผมจึงไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ คสช. แต่ขอเล่าที่มาของบทบัญญัตินี้ พร้อมด้วยย้อนเหตุการณ์ในอดีตว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในบ้านเมืองเรา
นี้ไม่ใช่ครั้แรกที่มีการเอา
กฎอัยการศึก เวอร์ชั่น power up มาใช้ควบคุมสถานการณ์ในเมืองไทย มันเคยมีเกิดขึ้นมาแล้วในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้
เมื่อปี พ.ศ. 2501 ในสมัยรัฐบาลของ พลโท ถนอม กิตติขจร ซึ่งสืบช่วงอำนาจมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เกิดขึ้นหลังจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 ล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม การเมืองในรัฐสภาไม่สงบ เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎ(ผู้ร่วมก่อการและสนับสนุนการยึดอำนาจในครั้งนี้ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกในสภาผู้แทน) เรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่าหากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล
พลโท ถนอม กิตติขจรก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ ประกอบกับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ก็ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อรักษาโรคประจำตัว เมื่อเดินทางกลับมา ในเช้าวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พลเอก(เลื่อนยศตัวเองตอนดำรงตำแหน่งนายกฯ) ถนอม กิตติขจรจึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
แต่ไม่ทันข้ามคืน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง
รัฐประหารครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น รัฐประหารเงียบ หรือ การยึดอำนาจตัวเอง ก็ว่าได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ส่งผลให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีจัดการกับบุคคลที่ก่อความไม่สงบได้ทันที แล้วจึงค่อยแจ้งต่อสภา ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการควบคุมสถานการณ์ของประเทศ ตามที่ตนเองกล่าวอ้าง เช่น การปราบปรามฝิ่น มีการเผาฝิ่นที่ท้องสนามหลวงเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มีเหตุเพลิงไหม้ติดกันถึง 3 ครั้ง เป็นที่ฝั่งธนบุรี 2 ครั้ง และที่บางขุนพรหมอีก 1 ครั้ง ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้อำนวยการดับเพลิงเอง ต่อมาได้มีการจับกุมผู้วางเพลิงได้ทั้งหมด 3 ราย เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งทั้งหมดยอมรับว่ารับจ้างมาเพื่อวางเพลิง จึงมีคำสั่งตามมาตรา 17 ให้ประหารชีวิตบุคคลทั้ง 3 ในที่สาธารณะ
จากมาตรา 17 นี้ ได้ประหารบุคคลที่สงสัยว่าจะก่อความไม่สงบหลายรายหรือข้อหาคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ศิลา วงศ์สิน และศุภชัย ศรีสติ ในข้อหาผีบุญ, ครอง จันดาวงศ์ และทองพันธ์ สุทธิมาศในข้อหาเดียวกัน บุคคลเหล่านี้จะเป็นคอมิวนิตส์หรือเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ๆทั้งหมดก็เป็นแกนนำในกลุ่มฝ่ายตรงข้าม ที่ต่อต้านการครองอำนาจของ ถนอม พลสฤษดิ์
ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เป็นการกดดันชาวบ้าน ประชาชนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาล จึงทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องหลบเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "วันเสียงปืนแตก" เมื่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (พกค.) ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยปืนเป็นครั้งแรกที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508
จากการใช้มาตรา 17 ในอดีต พลักดันให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าป่า และเกิดการต่อสู้ยาวนาน
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป มันได้พิสูจญ์แล้วว่า ประวัติศาสตร์บันทึกว่าใครเป็นผู้กล้าควรได้รับการสรรเสริญ และใครเป็นพวกบ้าอำนาจควรได้รับการสาปแช่ง ถนอม สฤษดิ์ คงเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ซึ่งเอาเหตุการณ์ทั้งสองช่วงเวลามาเทียบกันก็คงไม่แตกต่างกันนัก
ช่วงนั้น ถนอม สฤษดิ์ ไล่ล่าฝ่ายตรงข้าม หาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ช่วงนี้ของท่านเล่า...? ไล่ล่าใครรึเปล่า ล้วนก็เห็นกันอยู่
ช่วงนั้นเกิดคดี เผากรุง ซึ่งนำไปสู่การซัดทอดถึงใคร ช่วงนี้ก็มีระเบิดราชประสงค์ที่พยายามโยงใยไปหาใคร ล้วนก็เห็นกันอยู่
ช่วงนั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นอย่างไร ช่วงนี้ก็ไม่ต่างกัน
ที่ผมหยิบเอาที่มาของมาตรา 44ว่า มาจากไหน ท่านซึ่งหยิบยกมาใช้น่าจะรู้ดีไม่น้อยกว่าผม ก็เพื่อมากล่าวย้ำเตือนว่า จุดจบของการใช้อำนาจในมาตรานี้ ผิดลู่ทางผิดวัตถุประสงค์หวังใช้มันทำลายฝ่ายต่อต้านเพียงอย่างเดียว เป็นอย่างไรคณะของท่านที่เต็มไปด้วยผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องประวัติศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าผม ก็น่าจะรู้ดีเช่นกัน
ดังนั้นผมขอให้ท่านหันไปมองอดีตที่ผ่านมาบ้าง เพราะมีคำกล่าวเอาไว้ ว่า” ผิดเป็นครู” มิใช่ดึงดันเอาแต่ใจตัวเอง จนกลายเป็นละครพล็อตเรื่องซ้ำซากที่ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายอีกเลย
นายพระรอง
ม.44 ที่มาของพล็อตเรื่องซ้ำซาก ละครการเมืองไทย
แต่เนื่องด้วยการแสดงความเห็นตรงๆต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันอาจสุ่มเสี่ยงเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และขัดต่อศีลธรรมอันดี ของประเทศนี้ ผมจึงไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ คสช. แต่ขอเล่าที่มาของบทบัญญัตินี้ พร้อมด้วยย้อนเหตุการณ์ในอดีตว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในบ้านเมืองเรา
นี้ไม่ใช่ครั้แรกที่มีการเอา กฎอัยการศึก เวอร์ชั่น power up มาใช้ควบคุมสถานการณ์ในเมืองไทย มันเคยมีเกิดขึ้นมาแล้วในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้
เมื่อปี พ.ศ. 2501 ในสมัยรัฐบาลของ พลโท ถนอม กิตติขจร ซึ่งสืบช่วงอำนาจมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เกิดขึ้นหลังจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 ล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม การเมืองในรัฐสภาไม่สงบ เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎ(ผู้ร่วมก่อการและสนับสนุนการยึดอำนาจในครั้งนี้ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกในสภาผู้แทน) เรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่าหากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล
พลโท ถนอม กิตติขจรก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ ประกอบกับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ก็ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อรักษาโรคประจำตัว เมื่อเดินทางกลับมา ในเช้าวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พลเอก(เลื่อนยศตัวเองตอนดำรงตำแหน่งนายกฯ) ถนอม กิตติขจรจึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
แต่ไม่ทันข้ามคืน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง
รัฐประหารครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น รัฐประหารเงียบ หรือ การยึดอำนาจตัวเอง ก็ว่าได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ส่งผลให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีจัดการกับบุคคลที่ก่อความไม่สงบได้ทันที แล้วจึงค่อยแจ้งต่อสภา ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการควบคุมสถานการณ์ของประเทศ ตามที่ตนเองกล่าวอ้าง เช่น การปราบปรามฝิ่น มีการเผาฝิ่นที่ท้องสนามหลวงเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มีเหตุเพลิงไหม้ติดกันถึง 3 ครั้ง เป็นที่ฝั่งธนบุรี 2 ครั้ง และที่บางขุนพรหมอีก 1 ครั้ง ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้อำนวยการดับเพลิงเอง ต่อมาได้มีการจับกุมผู้วางเพลิงได้ทั้งหมด 3 ราย เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งทั้งหมดยอมรับว่ารับจ้างมาเพื่อวางเพลิง จึงมีคำสั่งตามมาตรา 17 ให้ประหารชีวิตบุคคลทั้ง 3 ในที่สาธารณะ
จากมาตรา 17 นี้ ได้ประหารบุคคลที่สงสัยว่าจะก่อความไม่สงบหลายรายหรือข้อหาคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ศิลา วงศ์สิน และศุภชัย ศรีสติ ในข้อหาผีบุญ, ครอง จันดาวงศ์ และทองพันธ์ สุทธิมาศในข้อหาเดียวกัน บุคคลเหล่านี้จะเป็นคอมิวนิตส์หรือเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ๆทั้งหมดก็เป็นแกนนำในกลุ่มฝ่ายตรงข้าม ที่ต่อต้านการครองอำนาจของ ถนอม พลสฤษดิ์
ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เป็นการกดดันชาวบ้าน ประชาชนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาล จึงทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องหลบเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "วันเสียงปืนแตก" เมื่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (พกค.) ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยปืนเป็นครั้งแรกที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508
จากการใช้มาตรา 17 ในอดีต พลักดันให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าป่า และเกิดการต่อสู้ยาวนาน แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป มันได้พิสูจญ์แล้วว่า ประวัติศาสตร์บันทึกว่าใครเป็นผู้กล้าควรได้รับการสรรเสริญ และใครเป็นพวกบ้าอำนาจควรได้รับการสาปแช่ง ถนอม สฤษดิ์ คงเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ซึ่งเอาเหตุการณ์ทั้งสองช่วงเวลามาเทียบกันก็คงไม่แตกต่างกันนัก
ช่วงนั้น ถนอม สฤษดิ์ ไล่ล่าฝ่ายตรงข้าม หาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ช่วงนี้ของท่านเล่า...? ไล่ล่าใครรึเปล่า ล้วนก็เห็นกันอยู่
ช่วงนั้นเกิดคดี เผากรุง ซึ่งนำไปสู่การซัดทอดถึงใคร ช่วงนี้ก็มีระเบิดราชประสงค์ที่พยายามโยงใยไปหาใคร ล้วนก็เห็นกันอยู่
ช่วงนั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นอย่างไร ช่วงนี้ก็ไม่ต่างกัน
ที่ผมหยิบเอาที่มาของมาตรา 44ว่า มาจากไหน ท่านซึ่งหยิบยกมาใช้น่าจะรู้ดีไม่น้อยกว่าผม ก็เพื่อมากล่าวย้ำเตือนว่า จุดจบของการใช้อำนาจในมาตรานี้ ผิดลู่ทางผิดวัตถุประสงค์หวังใช้มันทำลายฝ่ายต่อต้านเพียงอย่างเดียว เป็นอย่างไรคณะของท่านที่เต็มไปด้วยผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องประวัติศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าผม ก็น่าจะรู้ดีเช่นกัน
ดังนั้นผมขอให้ท่านหันไปมองอดีตที่ผ่านมาบ้าง เพราะมีคำกล่าวเอาไว้ ว่า” ผิดเป็นครู” มิใช่ดึงดันเอาแต่ใจตัวเอง จนกลายเป็นละครพล็อตเรื่องซ้ำซากที่ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายอีกเลย
นายพระรอง