คิดดี พูดดี ทำดี ก็เป็นคนดี
ทำบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ก็เป็นคนดี
สติ....คำเดียว ก็เกินพอ ก็เป็นคนดี
ปฏิบัติตาม “ค่านิยม 12 ประการ”ของรัฐบาล ก็เป็นคนดี
ถือศีล กินเจ ปฏิบัติธรรม ก็เป็นคนดี
ใช่ครับ คนดีมีหลายแบบ บางคนทำความดีไว้มากมาย ผู้คนเคารพนับถือทั้งแผ่นดิน ปรารถนาเป็นนายกรัฐมนตรีตลอดชีวิต ก็ย่อมได้ ทว่าต้องระหกระเหเร่ร่อน กลับมาเหยียบแผ่นดินเกิดก็ไม่ได้ เพราะอะไรครับ
ภูมิ เว สัปปุริสสานัง กตัญญูกตเวทิตา แปลว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี
นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา แปลว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
ทำความดีสารพัดก็จริง แต่ขาดกตัญญู รู้คุณ ก็เป็นคนดีในแบบอื่น ไม่ใช่คนดีในแบบของพระพุทธเจ้า มนุษย์เรา ต่างจาก ช้าง ม้า วัว ควาย ไก่ กา นก หนู ปู ปลา พอลืมตามองโลกได้ไม่นาน ก็เดินได้ บินได้ ว่ายน้ำได้ แต่มนุษย์ใช้เวลาเป็นปี จึงเริ่มหัดเดิน กว่า 20 ปี จึงทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้ แต่ก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยไหว้วานใครต่อใครเป็นระยะ ๆ
มนุษย์จึงเป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่ “รับ” โดยตลอด ไม่ค่อยมีโอกาส “ให้”
ฝรั่งเรียกว่า Take but not give
Give And Take เป็นหลักสากล เป็นกฎธรรมชาติ ตามธรรมดาต้อง Give ก่อน แล้วจึงค่อย Take แต่มนุษย์กลับ Take ตลอด Give น้อยมาก ร่างกายที่รับอาหารเข้ามา ก็ต้องถ่ายเทออกไป แต่ถ้ารับเข้าโดยไม่ถ่ายออกไป ท้ายสุดก็ต้องเจ็บป่วย เพราะร่างกายขาด “สมดุล” (สะ-มะ-ดุน) ตรงกับสิ่งที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Equilibrium ผู้ที่ “รับ” แล้วไม่อยาก “ให้” ก็จะขาด “สมดุล” ชีวิตไม่รอด เติบโตยาก พระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญของ“สมดุล” ทรงชี้ว่า “กตัญญู รู้คุณ เป็นความดีขั้นพื้นฐานข้อแรก” เพื่อให้ชีวิตเกิด “สมดุล” ดำรงอยู่ได้และปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ได้อย่างราบรื่น
ต้นไม้ที่รากแก้วแข็งแรงสมบูรณ์ ย่อมแผ่กิ่งก้านมาก ออกดอกออกผลดก แต่ถ้ารากแก้วถูกหนูกัดแทะ ก็มีแต่นับวันจะเหี่ยวเฉา แคระแกรน ถึงไม่ตาย ก็เลี้ยงไม่โต
ผู้มีพระคุณสูงสุดต่อมนุษย์ ก็คือพระศาสนา(ทุกศาสนา) รองลงมาคือพ่อแม่ แผ่นดินเกิด(ชาติ) ครูอาจารย์ ธรรมชาติ ฟ้า-ดิน รวมทั้งผู้ที่อุปถัมภ์ค้ำชูทั้งหลาย
เพื่อความเจริญแก่ชีวิต ทุกค่ำ-เช้า สำนึกในบุญคุณท่านทั้งหลาย ขอขมา คารวะ กราบไหว้ และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณท่านเหล่านั้น
สำนึกบุญคุณเขา ประโยชน์เราเพิ่มพูน แต่ถ้าเนรคุณ ก็จะเป็นสมุนทรพี มีแต่จะพังพินาศ
นี่คือ กฎธรรมชาติ ย่อมเป็นธรรมกับทุกคน
คนดี มีกี่แบบ ?
ทำบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ก็เป็นคนดี
สติ....คำเดียว ก็เกินพอ ก็เป็นคนดี
ปฏิบัติตาม “ค่านิยม 12 ประการ”ของรัฐบาล ก็เป็นคนดี
ถือศีล กินเจ ปฏิบัติธรรม ก็เป็นคนดี
ใช่ครับ คนดีมีหลายแบบ บางคนทำความดีไว้มากมาย ผู้คนเคารพนับถือทั้งแผ่นดิน ปรารถนาเป็นนายกรัฐมนตรีตลอดชีวิต ก็ย่อมได้ ทว่าต้องระหกระเหเร่ร่อน กลับมาเหยียบแผ่นดินเกิดก็ไม่ได้ เพราะอะไรครับ
ภูมิ เว สัปปุริสสานัง กตัญญูกตเวทิตา แปลว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี
นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา แปลว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
ทำความดีสารพัดก็จริง แต่ขาดกตัญญู รู้คุณ ก็เป็นคนดีในแบบอื่น ไม่ใช่คนดีในแบบของพระพุทธเจ้า มนุษย์เรา ต่างจาก ช้าง ม้า วัว ควาย ไก่ กา นก หนู ปู ปลา พอลืมตามองโลกได้ไม่นาน ก็เดินได้ บินได้ ว่ายน้ำได้ แต่มนุษย์ใช้เวลาเป็นปี จึงเริ่มหัดเดิน กว่า 20 ปี จึงทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้ แต่ก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยไหว้วานใครต่อใครเป็นระยะ ๆ
มนุษย์จึงเป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่ “รับ” โดยตลอด ไม่ค่อยมีโอกาส “ให้”
ฝรั่งเรียกว่า Take but not give
Give And Take เป็นหลักสากล เป็นกฎธรรมชาติ ตามธรรมดาต้อง Give ก่อน แล้วจึงค่อย Take แต่มนุษย์กลับ Take ตลอด Give น้อยมาก ร่างกายที่รับอาหารเข้ามา ก็ต้องถ่ายเทออกไป แต่ถ้ารับเข้าโดยไม่ถ่ายออกไป ท้ายสุดก็ต้องเจ็บป่วย เพราะร่างกายขาด “สมดุล” (สะ-มะ-ดุน) ตรงกับสิ่งที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Equilibrium ผู้ที่ “รับ” แล้วไม่อยาก “ให้” ก็จะขาด “สมดุล” ชีวิตไม่รอด เติบโตยาก พระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญของ“สมดุล” ทรงชี้ว่า “กตัญญู รู้คุณ เป็นความดีขั้นพื้นฐานข้อแรก” เพื่อให้ชีวิตเกิด “สมดุล” ดำรงอยู่ได้และปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ได้อย่างราบรื่น
ต้นไม้ที่รากแก้วแข็งแรงสมบูรณ์ ย่อมแผ่กิ่งก้านมาก ออกดอกออกผลดก แต่ถ้ารากแก้วถูกหนูกัดแทะ ก็มีแต่นับวันจะเหี่ยวเฉา แคระแกรน ถึงไม่ตาย ก็เลี้ยงไม่โต
ผู้มีพระคุณสูงสุดต่อมนุษย์ ก็คือพระศาสนา(ทุกศาสนา) รองลงมาคือพ่อแม่ แผ่นดินเกิด(ชาติ) ครูอาจารย์ ธรรมชาติ ฟ้า-ดิน รวมทั้งผู้ที่อุปถัมภ์ค้ำชูทั้งหลาย
เพื่อความเจริญแก่ชีวิต ทุกค่ำ-เช้า สำนึกในบุญคุณท่านทั้งหลาย ขอขมา คารวะ กราบไหว้ และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณท่านเหล่านั้น
สำนึกบุญคุณเขา ประโยชน์เราเพิ่มพูน แต่ถ้าเนรคุณ ก็จะเป็นสมุนทรพี มีแต่จะพังพินาศ
นี่คือ กฎธรรมชาติ ย่อมเป็นธรรมกับทุกคน