ขอแชร์ประสบการณ์ปีนภูเขาไฟฟูจิครั้งแรกคะ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยปีนขึ้น 1 วัน นอน 1 คืนและปีนลงค่ะ : )
การปีนขึ้นเขาฟูจินั้นมีทางเลือก 4 ทางคือ Yoshida, Subashiri, Gotemba, และ Fujinomiya ทั้ง 4 ทางมีจุดเริ่มต้นคนละที่ จะไปบรรจบกันที่บนยอดรอบปากปล่องภูเขาไฟ ครั้งนี้เราเลือกปีนเส้นทาง Yoshida ซึ่งเป็นทางที่ง่ายสุดและคนนิยมปีนมากที่สุด ความยาวประมาณ 6 กม. ซึ่งจุดเริ่มต้นคือสถานีฟูจิชั้น 5 (Fuji 5th Station) นั่นเอง จุดเริ่มต้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,305 เมตรเข้าไปแล้ว ทุ่นแรงที่จะปีนถึงยอดที่ 3,776 เมตรไปได้เยอะ เนื่องจากเราอยู่สูงจากพื้นปกติมาก ทำให้เราควรปรับตัวอยู่ที่นี่ซัก 1 ชม. ก่อนเริ่มปีนเขา ไม่งั้นอาจจะแพ้ความสูงได้ (Altitude Sickness)
ที่นี่มีรถบัส รถทัวร์มาลงเยอะ มีทั้งเด็กประถม คนแก่ คนวัยทำงานมารวมกันเพื่อปีนฟูจิเต็มไปหมด มีร้านขายของที่ระลึกและอุปกรณ์ปีนเขาที่จำเป็นต่างๆ ด้วย เช่นไม้เท้า กระป๋องอ๊อกซิเจน ใครขาดอะไรก็ยังพอหาที่ชั้นนี้ได้นะ
เราเดินทางโดยรถบัสรอบเช้าสุด 6.45 am จาก Shinjuku มาถึง Fuji 5th Station ราวๆ 9.20 am ตั๋วรถบัสเปิดให้จองในเนตล่วงหน้า 1 เดือนก่อนวันเดินทาง แนะนำให้จองตั้งแต่วันแรกที่เปิดเลย เพราะไม่งั้นเวลาดีๆจะเต็มก่อน สามารถจองได้ที่นี่
https://www.highwaybus.com/gp/inbound/index
สำหรับกระเป๋าใบใหญ่ เราฝากไว้ที่โรงแรมในโตเกียว แบกเป้ใบเล็กมา และสัมภาระที่ไม่จำเป็นก็สามารถฝากไว้ที่ล็อคเกอร์ที่ชั้น 5 นี้ได้เพื่อกลับมาเอาตอนลงมาจากเขาแล้ว มาถึงชั้นนี้แนะนำให้ถ่ายรูปก่อนปีนอย่างเต็มที่เพราะเป็นช่วงที่ทุกคนมีพลังและหน้าดีสุดแล้ว 5555 🗻
富士山五合目 | Fuji 5th Station
เขาหัวโล้นนี้ก็คือภูเขาไฟฟูจินี่เองงง
เห็นแบบนี้เหมือนจะใกล้ แต่เดินจริงๆนี่ไกลมากนะ
การปีนเขาฟูจิหลักๆมีอยู่สองรูปแบบคือ
1. ปีนเช้าๆสายๆ ถึงที่พักเย็นๆ ค้างคืนบนเขา แล้วตื่นมาเพื่อปีนไปดูพระอาทิตย์บนยอดเขา (แบบนี้อาจจะต้องทนร้อนกับแดดเที่ยงตอนปีนขึ้น)
2. ปีนเย็นๆ รวดเดียวไปให้ถึงยอดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ดูพระอาทิตย์แล้วปีนลงเลย (แบบนี้ก็อากาศจะเย็นกว่า คนน้อยกว่า แต่พอมืดแล้วจะปีนลำบาก ต้องใช้ไฟติดหัว ไม่ได้เห็นวิวระหว่างทางด้วย)
เราเลือกอย่างแรกกันคือไปนอนค้างโรงเตี๊ยมบนเขา 1 คืน (อย่าเรียกว่าโรงแรมเลย) ซึ่งที่พักส่วนใหญ่อยู่แถวๆชั้น 7-8 ติดๆ กัน พวกเราเลือกที่พักที่ชั้น 8.5 ชื่อ Goraikoukan (
http://www.goraikoukan.jp/english/) ซึ่งเป็นที่พักที่ใกล้ยอดเขาที่สุด เพื่อที่จะตื่นตอนเช้าแล้วปีนอีกแค่ 1 กม. ไปถึงยอดเขา
ที่พักบนเขาฟูจิเปิดให้จองราวๆต้นเดือนเมษายนของทุกปี แนะนำให้จองตั้งแต่วันแรกๆ ที่เปิดเหมือนกัน เพราะที่พักที่ใกล้ยอดมักจะเต็มเร็วมากตั้งแต่วันแรกๆ อย่างของเราเปิดไม่กี่อาทิตย์ก็เต็มเกือบหมดแล้ว ที่พักจะมีให้เลือกด้วยว่าจะรับชุดอาหารเย็นและกล่องเบนโตะอาหารเช้ารึเปล่า ของกลุ่มเราเลือกรับหมดเลย อาหารอร่อยใช้ได้เลย ถ้าหากพายุเข้าแล้วภูเขาปิดไม่ให้ขึ้นฟูจิ ที่พักก็จะรีฟันเงินให้เต็มจำนวนด้วย
เริ่มออกเดินทาง 🗻
หลังจากที่ปรับตัวที่ชั้น 5 กันประมาณชั่วโมงครึ่ง กลุ่มเราก็เริ่มปีนประมาณ 11 โมง ปกติแล้วจะเป็นเวลาที่แดดเริ่มร้อนแล้ว แต่เราถือว่าโชคดีมากเพราะว่ามีเมฆครึ้มๆแต่ฝนไม่ตกตลอดทาง ทำให้ไม่เจอแดดร้อนๆเลย ไม่อย่างนั้นน่าจะเหนื่อยกว่านี้มาก
ตอนเริ่มต้นปีน ช่วงระหว่างชั้น 5 ไปชั้น 6 จะเป็นทางลาดชันแบบพื้นเรียบซะส่วนใหญ่ มีวิวเทือกเขาให้ถ่ายรูปเล่นด้วย หลังจากนั้นต้องเดินผ่านป่านิดหน่อยเพื่อทะลุไปถึงส่วนที่จะต้องปีนเขา
ทางเดินขึ้นเขาชั้นนี้จะเป็นทางที่สวนกับคนที่เพิ่งลงจากเขามา ระหว่างทางกลุ่มเรามีเดินสวนกับกลุ่มเด็กๆ มัธยมที่เพิ่งปีนเขาลงมาเสร็จ เด็กๆ เดินแถวเรียงหนึ่งกันเป็นมากลุ่มใหญ่ และพูดว่า "Good Job" กับทุกคนที่กำลังเดินขึ้นเขาเพื่อเป็นการให้กำลังใจด้วย
ช่วงชั้น 5 ไปชั้น 6 สบายมาก แค่ชั่วโมงเดียวก็ถึงแล้วล่ะ ✌🏻
สิ่งของและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับปีนเขา ⛏
การปีนฟูจิจำเป็นที่จะต้องเอาอุปกรณ์ต่างๆไปบนเขาด้วยเพื่อผ่อนแรงและเพื่อเซฟตัวเราเองด้วย ไม่อย่างนั้น 24 ชม. บนเขานี่คือนรกดีๆนี่เอง ถ้าเรียงตามลำดับความสำคัญ เราคิดว่าน่าจะตามนี้นะ
0. เงินนน : ต้องพกเงินและเหรียญขึ้นไปเพื่อซื้อน้ำ ซื้อของกินระหว่างทาง เพราะของที่เราแบกไปจากชั้นล่างมันไม่พอหรอก และใช้เหรียญเข้าห้องน้ำแต่ละชั้นด้วย
1. รองเท้าปีนเขา : เอาแบบดีๆไปเลยเพราะเราต้องเดินเยอะมากๆ เดินขึ้นอย่างน้อย 7-12 ชม. เดินลงอีกราวๆ 4-6 ชม. แนะนำแบบหุ้มข้อเพราะขาลงจะมีกรวดหินเยอะมาก ขนาดใส่หุ้มข้อหินยังกระเด็นเข้ารองเท้าเลย หรือถ้าใครมีแบบไม่หุ้มข้อก็ควรเอาไกเตอร์ (ที่หุ้มข้อเท้ากันหินเข้า) ไปเพิ่ม รองเท้าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ทำให้เดินแล้วไม่เจ็บและเซฟข้อเท้าเราด้วย (ได้ Northface ตอนลดมา ราวๆ 2,500 บาท)
2. ไม้เท้า : สำหรับเราถ้าไม่มีไม้เท้านี่ตายแน่ๆ ช่วยผ่อนแรงไปได้เยอะมากทั้งขาขึ้นและขาลง เอาไปอันเดียวก็พอ เพราะอีกมือต้องใช้ปีนป่าย ถ้าเอาไปสองอันจะลำบากตอนช่วงปีนนิด ถ้าใครไม่มีก็ซื้อได้ที่ชั้น 5 สามารถเอาไม้ไปปั๊มที่จุดพักแต่ละที่ระหว่างทางเป็นที่ระลึกได้ด้วย (ซื้อชั้น 5 ราวๆ 300 บาท)
3. เป้ : เนื่องจากเดินทางไกล ต้องแบกน้ำ เสบียง เสื้อผ้า สำหรับบนเขาด้วย เป้ที่กระจายน้ำหนัก เบา และหยิบของง่ายก็จำเป็นต่อการเดินทาง เป้ทั่วไปอาจจะรั้งแต่ไหล่ทำให้เจ็บถ้าแบกนานๆ ถ้าเป็นเป้ดีๆหน่อยจะมีสายรัดกระจายน้ำหนักมาที่หน้าอกกับเอวด้วย ทำให้รู้สึกเบาลงเยอะ (ได้ Columbia มาประมาณ 4,000 กว่าๆ)
4. ไฟฉายติดหัว : จุดสุดท้ายของทุกคนที่ปีนเขาคือไปถึงยอดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพราะฉะนั้นจะมีช่วงที่เราต้องปีนตอนกลางคืนด้วย ไฟฉายติดหัวสำคัญมากเพราะช่วงชั้น 9-10 ภูเขาจะชันมาก มีลมพัดฝุ่นทรายเข้าตาตลอดเวลา แถมต้องปีนในความมืด ถ้าไม่มีไฟฉายจะอันตรายมากๆ มีโอกาสจะก้าวพลาดได้ (เราซื้อร้านเดินป่าที่สะพานควาย 200 กว่าบาท)
5. ถุงมือ : จำเป็นมากเพราะช่วยกันหินบาดมือ ทั้งตอนปีน ตอนล้มลงพื้นขาลง ตอนจับไม้ปีนเขา ใช้ถุงมือคนงานก่อสร้างง่ายๆนี่ล่ะแต่ทนดี ใช้เสร็จแล้วทิ้งได้เลยเพราะมันจะเน่ามาก
6. อุปกรณ์กันแดดกันฝุ่น : ทั้งหมวกกัน UV แบบมีผ้ากันแดดที่คอ ครีมกันแดด แว่นตากันแดด ถ้าแดดออก ระหว่างทาง ชั้น 6-10 จะไม่มีอะไรให้เราหลบแดดเลยยกเว้นโรงเตี๊ยมระหว่างทาง แปลว่าถ้าเราไม่มีอุปกรณ์กันแดด เราก็จะเป็นหมูแดดเดียวดีๆนี่เองอยู่ราวๆ 6-7 ชม. แถมข้างบน UV จะแรงมากเพราะเราอยู่เหนือเมฆขึ้นมาอีกชั้น เอาไปเหอะได้ใช้ชัวร์ (ได้หมวกแคดดี้มา 200 กว่าบาท) อย่าลืมหน้ากากกันฝุ่นด้วย ใช้แบบหน้ากากกันไอเวลาไม่สบายนี่ล่ะ แถวๆชั้น 9-10 จำเป็นมาก และขาลงก็จำเป็นมากเพราะฝุ่นเยอะจริงๆ
7. เสื้อผ้ากันหนาวกันลม : พอถึงชั้น 8 อากาศจะเริ่มหนาว ลมจะเริ่มแรงขึ้น ควรจะเอาเสื้อกันหนาวหรือกันลมไปด้วย กางเกงก็ไม่ควรเป็นยีนส์เพราะผ้าฝนตกมันจะซับน้ำและหนัก ควรเป็นกางเกงผ้าร่มเพื่อสะดวกในการปีนป่าย กันน้ำได้นิดหน่อย (ได้ Blocktech uniqlo มา เสื้อแขนยาว เสื้อกันลม กางเกงผ้าร่ม รวมกันราวๆ 3,000 บาท)
8. เสื้อกันฝน : ถ้าโชคไม่ดีวันปีนเจอฝนก็ต้องเอาเสื้อกันฝนไปด้วย ไม่งั้นต้องทนเปียกไปตลอดทางจะไม่สบายง่ายๆ ยิ่งข้างบนอุณหภูมิลดลงเหลือเลขตัวเดียวและลมแรง มันจะทรมานมาก เราก็เตรียมไปแต่โชคดีฝนไม่ตก (ซื้อ Familymart ที่ญี่ปุ่นจะหนาและดีกว่าของไทย ราวๆ 500 เยน)
9. เสบียง: กว่าจะถึงจุดที่มีขายข้าวก็ต้องปีนไปถึงชั้น 7-8 ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ชม. ระหว่างทางไม่มีอะไรขายเลย จึงจำเป็นต้องเตรียมน้ำและขนมที่ให้พลังงานกินระหว่างทางด้วย ตอนแรกก็ไม่คิดว่ามันจะช่วย แต่พอกินแล้วมันมีแรงเดินต่อขึ้นจริงๆนะ
10. อื่นๆ : เช่น อ๊อกซิเจนกระป๋อง เนื่องจากอากาศข้างบนจะเบาบางเหนื่อยง่าย ทีมเราซื้อกันไปหลายกระป๋องแต่ไม่ได้ใช้ เพราะใช้แล้วรู้สึกว่าไม่ช่วยอะไร สรุปทิ้ง 5555
นอกจากนี้ก็พวกยารักษาโรค ยาแก้ปวดเมื่อย อุปกรณ์ห้องน้ำ ทิชชู่เปียกเพราะไม่มีที่ให้อาบน้ำ ทิชชู่แห้ง ถุงขยะ และอื่นๆ
สรุปค่าอุปกรณ์ปีนเขาแพงกว่าค่าตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นอีก 5555 😂
ถึงแล้ววววว 富士山六合目 | Fuji 6th Station
ฟูจิในแต่ละชั้นจะมีทางเดินรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน เหมือนกับเคลียร์เกมไปด่านนึงแล้วก็เจอด่านใหม่ หลังจากเราผ่านป่า ผ่านทางลาดชันแบบเดินตรงๆ ของชั้น 5 มา ทางเดินของชั้น 6 กลายเป็นทางลาดชันซิกแซกสลับไปมากับขั้นบันไดแบบไกลสุดลูกหูลูกตา มองไม่เห็นเป้าหมายเลย
ที่ชั้น 6 ระดับความสูงประมาณ 2,390 เมตร ซึ่งอยู่ประมาณระดับเดียวกันกับเมฆที่ลอยต่ำ ระหว่างทางเดินก็จะมีการเดินทะลุเมฆเป็นช่วงๆด้วย ทำให้ชั้นนี้ค่อนข้างร่มไม่ค่อยมีแดด จากชั้นนี้เหลือระยะทางอีก 5 โลถึงจะถึงยอด
จากชั้น 6 ไปชั้น 7 เราใช้เวลากันไปประมาณชั่วโมงครึ่ง หลังจากเดินทะลุเมฆกันมาก็จะถึงจุดพักที่มีขายอาหาร มีหลายอย่างเลยเช่น cup noodle, onigiri, กล้วย, โอเด้ง, ข้าว, อาหาร น้ำ เพิ่มพลังงานต่างๆ กลุ่มเราก็แวะกินข้าวที่ชั้นนี้กันก่อนที่จะเดินทางต่อไปชั้น 8 ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความทรมานที่แท้จริงงงง 😅
富士山七合目 | Fuji 7th Station
.
จากชั้น 7 ไปชั้น 8 เป็นชั้นที่ใช้เวลายาวนานที่สุดในการปีน เนื่องจากเส้นทางเปลี่ยนจากทางชันแบบซิกแซกเป็นก้อนหินชัน บางช่วงปีนลำบากเพราะไม่รู้ว่าจะเหยียบก้อนไหนดี บางช่วงก็ต้องใช้มือช่วยดันตัวขึ้นไปด้วย บวกกับสัมภาระที่เราแบกขึ้นมากันและอากาศที่เบาบางลงก็จะยิ่งทำให้เราเหนื่อยง่าย แต่ระหว่างทางจะมีโรงเตี๊ยมให้นั่งพักเต็มไปหมด และแต่ละโรงเตี๊ยมก็จะมีที่ให้ Stamp ไม้เท้าเป็นที่ระลึกว่ามาถึงแล้วด้วย ค่า Stamp ประมาณ 200-500 เยนแล้วแต่ที่
.
กลุ่มเราจองที่พักชั้น 8.5 เพราะอยากได้ที่พักที่ใกล้ยอดที่สุดเพื่อปีนต่อให้น้อยที่สุดตอนกลางคืน เพราะฉะนั้นเลยต้องปีนจากชั้น 7 ความสูง 2,700 เมตรไปถึงชั้น 8.5 ที่ความสูง 3,450 เมตร ใช้เวลาไปประมาณ 4-5 ชั่วโมงกับระยะทางประมาณ 3 โลในเส้นทางสุดโหด ยิ่งช่วงชั้น 8 มาชั้น 8.5 เส้นทางเปลี่ยนจากหินแข็งๆก้อนใหญ่ๆ เป็นหินก้อนเล็กผสมดินและกรวดทำให้การปีนยิ่งกินแรงมากขึ้น พระอาทิตย์ก็ค่อยๆตกลงไปทำให้มืดและยิ่งมองทางลำบาก ช่วงชั้น 8 อากาศจะเย็นลงจนต้องหยิบเสื้อกันหนาวมาใส่เพิ่มด้วย
.
กว่าจะขึ้นมาถึงที่พักชั้น 8.5 ก็เกือบ 1 ทุ่มแล้ว เริ่มปีนตอนราวๆ 11 โมง แปลว่าใช้เวลาไปทั้งหมด 8 ชั่วโมงสำหรับชั้น 5 ถึงชั้น 8.5 (ตอนแรกที่วางแผนกัน กะว่าจะปีนรวดเดียวถึงยอด แล้วจองที่พักบนยอดเลยเพื่อตื่นมาดูพระอาทิตย์ขึ้นเลยทีเดียว ดีนะที่จองชั้น 8.5 เพราะสมาชิกสะบักสะบอมกันถ้วนหน้าเลยทีเดียว ^^;)
(ต่อด้านล่างนะค่ะ)
---
::
www.facebook.com/PoiBlog
[CR] แชร์ประสบการณ์ปีนภูเขาไฟฟูจิคะ
การปีนขึ้นเขาฟูจินั้นมีทางเลือก 4 ทางคือ Yoshida, Subashiri, Gotemba, และ Fujinomiya ทั้ง 4 ทางมีจุดเริ่มต้นคนละที่ จะไปบรรจบกันที่บนยอดรอบปากปล่องภูเขาไฟ ครั้งนี้เราเลือกปีนเส้นทาง Yoshida ซึ่งเป็นทางที่ง่ายสุดและคนนิยมปีนมากที่สุด ความยาวประมาณ 6 กม. ซึ่งจุดเริ่มต้นคือสถานีฟูจิชั้น 5 (Fuji 5th Station) นั่นเอง จุดเริ่มต้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,305 เมตรเข้าไปแล้ว ทุ่นแรงที่จะปีนถึงยอดที่ 3,776 เมตรไปได้เยอะ เนื่องจากเราอยู่สูงจากพื้นปกติมาก ทำให้เราควรปรับตัวอยู่ที่นี่ซัก 1 ชม. ก่อนเริ่มปีนเขา ไม่งั้นอาจจะแพ้ความสูงได้ (Altitude Sickness)
ที่นี่มีรถบัส รถทัวร์มาลงเยอะ มีทั้งเด็กประถม คนแก่ คนวัยทำงานมารวมกันเพื่อปีนฟูจิเต็มไปหมด มีร้านขายของที่ระลึกและอุปกรณ์ปีนเขาที่จำเป็นต่างๆ ด้วย เช่นไม้เท้า กระป๋องอ๊อกซิเจน ใครขาดอะไรก็ยังพอหาที่ชั้นนี้ได้นะ
เราเดินทางโดยรถบัสรอบเช้าสุด 6.45 am จาก Shinjuku มาถึง Fuji 5th Station ราวๆ 9.20 am ตั๋วรถบัสเปิดให้จองในเนตล่วงหน้า 1 เดือนก่อนวันเดินทาง แนะนำให้จองตั้งแต่วันแรกที่เปิดเลย เพราะไม่งั้นเวลาดีๆจะเต็มก่อน สามารถจองได้ที่นี่
https://www.highwaybus.com/gp/inbound/index
สำหรับกระเป๋าใบใหญ่ เราฝากไว้ที่โรงแรมในโตเกียว แบกเป้ใบเล็กมา และสัมภาระที่ไม่จำเป็นก็สามารถฝากไว้ที่ล็อคเกอร์ที่ชั้น 5 นี้ได้เพื่อกลับมาเอาตอนลงมาจากเขาแล้ว มาถึงชั้นนี้แนะนำให้ถ่ายรูปก่อนปีนอย่างเต็มที่เพราะเป็นช่วงที่ทุกคนมีพลังและหน้าดีสุดแล้ว 5555 🗻
富士山五合目 | Fuji 5th Station
เขาหัวโล้นนี้ก็คือภูเขาไฟฟูจินี่เองงง
เห็นแบบนี้เหมือนจะใกล้ แต่เดินจริงๆนี่ไกลมากนะ
การปีนเขาฟูจิหลักๆมีอยู่สองรูปแบบคือ
1. ปีนเช้าๆสายๆ ถึงที่พักเย็นๆ ค้างคืนบนเขา แล้วตื่นมาเพื่อปีนไปดูพระอาทิตย์บนยอดเขา (แบบนี้อาจจะต้องทนร้อนกับแดดเที่ยงตอนปีนขึ้น)
2. ปีนเย็นๆ รวดเดียวไปให้ถึงยอดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ดูพระอาทิตย์แล้วปีนลงเลย (แบบนี้ก็อากาศจะเย็นกว่า คนน้อยกว่า แต่พอมืดแล้วจะปีนลำบาก ต้องใช้ไฟติดหัว ไม่ได้เห็นวิวระหว่างทางด้วย)
เราเลือกอย่างแรกกันคือไปนอนค้างโรงเตี๊ยมบนเขา 1 คืน (อย่าเรียกว่าโรงแรมเลย) ซึ่งที่พักส่วนใหญ่อยู่แถวๆชั้น 7-8 ติดๆ กัน พวกเราเลือกที่พักที่ชั้น 8.5 ชื่อ Goraikoukan (http://www.goraikoukan.jp/english/) ซึ่งเป็นที่พักที่ใกล้ยอดเขาที่สุด เพื่อที่จะตื่นตอนเช้าแล้วปีนอีกแค่ 1 กม. ไปถึงยอดเขา
ที่พักบนเขาฟูจิเปิดให้จองราวๆต้นเดือนเมษายนของทุกปี แนะนำให้จองตั้งแต่วันแรกๆ ที่เปิดเหมือนกัน เพราะที่พักที่ใกล้ยอดมักจะเต็มเร็วมากตั้งแต่วันแรกๆ อย่างของเราเปิดไม่กี่อาทิตย์ก็เต็มเกือบหมดแล้ว ที่พักจะมีให้เลือกด้วยว่าจะรับชุดอาหารเย็นและกล่องเบนโตะอาหารเช้ารึเปล่า ของกลุ่มเราเลือกรับหมดเลย อาหารอร่อยใช้ได้เลย ถ้าหากพายุเข้าแล้วภูเขาปิดไม่ให้ขึ้นฟูจิ ที่พักก็จะรีฟันเงินให้เต็มจำนวนด้วย
เริ่มออกเดินทาง 🗻
หลังจากที่ปรับตัวที่ชั้น 5 กันประมาณชั่วโมงครึ่ง กลุ่มเราก็เริ่มปีนประมาณ 11 โมง ปกติแล้วจะเป็นเวลาที่แดดเริ่มร้อนแล้ว แต่เราถือว่าโชคดีมากเพราะว่ามีเมฆครึ้มๆแต่ฝนไม่ตกตลอดทาง ทำให้ไม่เจอแดดร้อนๆเลย ไม่อย่างนั้นน่าจะเหนื่อยกว่านี้มาก
ตอนเริ่มต้นปีน ช่วงระหว่างชั้น 5 ไปชั้น 6 จะเป็นทางลาดชันแบบพื้นเรียบซะส่วนใหญ่ มีวิวเทือกเขาให้ถ่ายรูปเล่นด้วย หลังจากนั้นต้องเดินผ่านป่านิดหน่อยเพื่อทะลุไปถึงส่วนที่จะต้องปีนเขา
ทางเดินขึ้นเขาชั้นนี้จะเป็นทางที่สวนกับคนที่เพิ่งลงจากเขามา ระหว่างทางกลุ่มเรามีเดินสวนกับกลุ่มเด็กๆ มัธยมที่เพิ่งปีนเขาลงมาเสร็จ เด็กๆ เดินแถวเรียงหนึ่งกันเป็นมากลุ่มใหญ่ และพูดว่า "Good Job" กับทุกคนที่กำลังเดินขึ้นเขาเพื่อเป็นการให้กำลังใจด้วย
ช่วงชั้น 5 ไปชั้น 6 สบายมาก แค่ชั่วโมงเดียวก็ถึงแล้วล่ะ ✌🏻
สิ่งของและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับปีนเขา ⛏
การปีนฟูจิจำเป็นที่จะต้องเอาอุปกรณ์ต่างๆไปบนเขาด้วยเพื่อผ่อนแรงและเพื่อเซฟตัวเราเองด้วย ไม่อย่างนั้น 24 ชม. บนเขานี่คือนรกดีๆนี่เอง ถ้าเรียงตามลำดับความสำคัญ เราคิดว่าน่าจะตามนี้นะ
0. เงินนน : ต้องพกเงินและเหรียญขึ้นไปเพื่อซื้อน้ำ ซื้อของกินระหว่างทาง เพราะของที่เราแบกไปจากชั้นล่างมันไม่พอหรอก และใช้เหรียญเข้าห้องน้ำแต่ละชั้นด้วย
1. รองเท้าปีนเขา : เอาแบบดีๆไปเลยเพราะเราต้องเดินเยอะมากๆ เดินขึ้นอย่างน้อย 7-12 ชม. เดินลงอีกราวๆ 4-6 ชม. แนะนำแบบหุ้มข้อเพราะขาลงจะมีกรวดหินเยอะมาก ขนาดใส่หุ้มข้อหินยังกระเด็นเข้ารองเท้าเลย หรือถ้าใครมีแบบไม่หุ้มข้อก็ควรเอาไกเตอร์ (ที่หุ้มข้อเท้ากันหินเข้า) ไปเพิ่ม รองเท้าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ทำให้เดินแล้วไม่เจ็บและเซฟข้อเท้าเราด้วย (ได้ Northface ตอนลดมา ราวๆ 2,500 บาท)
2. ไม้เท้า : สำหรับเราถ้าไม่มีไม้เท้านี่ตายแน่ๆ ช่วยผ่อนแรงไปได้เยอะมากทั้งขาขึ้นและขาลง เอาไปอันเดียวก็พอ เพราะอีกมือต้องใช้ปีนป่าย ถ้าเอาไปสองอันจะลำบากตอนช่วงปีนนิด ถ้าใครไม่มีก็ซื้อได้ที่ชั้น 5 สามารถเอาไม้ไปปั๊มที่จุดพักแต่ละที่ระหว่างทางเป็นที่ระลึกได้ด้วย (ซื้อชั้น 5 ราวๆ 300 บาท)
3. เป้ : เนื่องจากเดินทางไกล ต้องแบกน้ำ เสบียง เสื้อผ้า สำหรับบนเขาด้วย เป้ที่กระจายน้ำหนัก เบา และหยิบของง่ายก็จำเป็นต่อการเดินทาง เป้ทั่วไปอาจจะรั้งแต่ไหล่ทำให้เจ็บถ้าแบกนานๆ ถ้าเป็นเป้ดีๆหน่อยจะมีสายรัดกระจายน้ำหนักมาที่หน้าอกกับเอวด้วย ทำให้รู้สึกเบาลงเยอะ (ได้ Columbia มาประมาณ 4,000 กว่าๆ)
4. ไฟฉายติดหัว : จุดสุดท้ายของทุกคนที่ปีนเขาคือไปถึงยอดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพราะฉะนั้นจะมีช่วงที่เราต้องปีนตอนกลางคืนด้วย ไฟฉายติดหัวสำคัญมากเพราะช่วงชั้น 9-10 ภูเขาจะชันมาก มีลมพัดฝุ่นทรายเข้าตาตลอดเวลา แถมต้องปีนในความมืด ถ้าไม่มีไฟฉายจะอันตรายมากๆ มีโอกาสจะก้าวพลาดได้ (เราซื้อร้านเดินป่าที่สะพานควาย 200 กว่าบาท)
5. ถุงมือ : จำเป็นมากเพราะช่วยกันหินบาดมือ ทั้งตอนปีน ตอนล้มลงพื้นขาลง ตอนจับไม้ปีนเขา ใช้ถุงมือคนงานก่อสร้างง่ายๆนี่ล่ะแต่ทนดี ใช้เสร็จแล้วทิ้งได้เลยเพราะมันจะเน่ามาก
6. อุปกรณ์กันแดดกันฝุ่น : ทั้งหมวกกัน UV แบบมีผ้ากันแดดที่คอ ครีมกันแดด แว่นตากันแดด ถ้าแดดออก ระหว่างทาง ชั้น 6-10 จะไม่มีอะไรให้เราหลบแดดเลยยกเว้นโรงเตี๊ยมระหว่างทาง แปลว่าถ้าเราไม่มีอุปกรณ์กันแดด เราก็จะเป็นหมูแดดเดียวดีๆนี่เองอยู่ราวๆ 6-7 ชม. แถมข้างบน UV จะแรงมากเพราะเราอยู่เหนือเมฆขึ้นมาอีกชั้น เอาไปเหอะได้ใช้ชัวร์ (ได้หมวกแคดดี้มา 200 กว่าบาท) อย่าลืมหน้ากากกันฝุ่นด้วย ใช้แบบหน้ากากกันไอเวลาไม่สบายนี่ล่ะ แถวๆชั้น 9-10 จำเป็นมาก และขาลงก็จำเป็นมากเพราะฝุ่นเยอะจริงๆ
7. เสื้อผ้ากันหนาวกันลม : พอถึงชั้น 8 อากาศจะเริ่มหนาว ลมจะเริ่มแรงขึ้น ควรจะเอาเสื้อกันหนาวหรือกันลมไปด้วย กางเกงก็ไม่ควรเป็นยีนส์เพราะผ้าฝนตกมันจะซับน้ำและหนัก ควรเป็นกางเกงผ้าร่มเพื่อสะดวกในการปีนป่าย กันน้ำได้นิดหน่อย (ได้ Blocktech uniqlo มา เสื้อแขนยาว เสื้อกันลม กางเกงผ้าร่ม รวมกันราวๆ 3,000 บาท)
8. เสื้อกันฝน : ถ้าโชคไม่ดีวันปีนเจอฝนก็ต้องเอาเสื้อกันฝนไปด้วย ไม่งั้นต้องทนเปียกไปตลอดทางจะไม่สบายง่ายๆ ยิ่งข้างบนอุณหภูมิลดลงเหลือเลขตัวเดียวและลมแรง มันจะทรมานมาก เราก็เตรียมไปแต่โชคดีฝนไม่ตก (ซื้อ Familymart ที่ญี่ปุ่นจะหนาและดีกว่าของไทย ราวๆ 500 เยน)
9. เสบียง: กว่าจะถึงจุดที่มีขายข้าวก็ต้องปีนไปถึงชั้น 7-8 ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ชม. ระหว่างทางไม่มีอะไรขายเลย จึงจำเป็นต้องเตรียมน้ำและขนมที่ให้พลังงานกินระหว่างทางด้วย ตอนแรกก็ไม่คิดว่ามันจะช่วย แต่พอกินแล้วมันมีแรงเดินต่อขึ้นจริงๆนะ
10. อื่นๆ : เช่น อ๊อกซิเจนกระป๋อง เนื่องจากอากาศข้างบนจะเบาบางเหนื่อยง่าย ทีมเราซื้อกันไปหลายกระป๋องแต่ไม่ได้ใช้ เพราะใช้แล้วรู้สึกว่าไม่ช่วยอะไร สรุปทิ้ง 5555
นอกจากนี้ก็พวกยารักษาโรค ยาแก้ปวดเมื่อย อุปกรณ์ห้องน้ำ ทิชชู่เปียกเพราะไม่มีที่ให้อาบน้ำ ทิชชู่แห้ง ถุงขยะ และอื่นๆ
สรุปค่าอุปกรณ์ปีนเขาแพงกว่าค่าตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นอีก 5555 😂
ถึงแล้ววววว 富士山六合目 | Fuji 6th Station
ฟูจิในแต่ละชั้นจะมีทางเดินรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน เหมือนกับเคลียร์เกมไปด่านนึงแล้วก็เจอด่านใหม่ หลังจากเราผ่านป่า ผ่านทางลาดชันแบบเดินตรงๆ ของชั้น 5 มา ทางเดินของชั้น 6 กลายเป็นทางลาดชันซิกแซกสลับไปมากับขั้นบันไดแบบไกลสุดลูกหูลูกตา มองไม่เห็นเป้าหมายเลย
ที่ชั้น 6 ระดับความสูงประมาณ 2,390 เมตร ซึ่งอยู่ประมาณระดับเดียวกันกับเมฆที่ลอยต่ำ ระหว่างทางเดินก็จะมีการเดินทะลุเมฆเป็นช่วงๆด้วย ทำให้ชั้นนี้ค่อนข้างร่มไม่ค่อยมีแดด จากชั้นนี้เหลือระยะทางอีก 5 โลถึงจะถึงยอด
จากชั้น 6 ไปชั้น 7 เราใช้เวลากันไปประมาณชั่วโมงครึ่ง หลังจากเดินทะลุเมฆกันมาก็จะถึงจุดพักที่มีขายอาหาร มีหลายอย่างเลยเช่น cup noodle, onigiri, กล้วย, โอเด้ง, ข้าว, อาหาร น้ำ เพิ่มพลังงานต่างๆ กลุ่มเราก็แวะกินข้าวที่ชั้นนี้กันก่อนที่จะเดินทางต่อไปชั้น 8 ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความทรมานที่แท้จริงงงง 😅
富士山七合目 | Fuji 7th Station
.
จากชั้น 7 ไปชั้น 8 เป็นชั้นที่ใช้เวลายาวนานที่สุดในการปีน เนื่องจากเส้นทางเปลี่ยนจากทางชันแบบซิกแซกเป็นก้อนหินชัน บางช่วงปีนลำบากเพราะไม่รู้ว่าจะเหยียบก้อนไหนดี บางช่วงก็ต้องใช้มือช่วยดันตัวขึ้นไปด้วย บวกกับสัมภาระที่เราแบกขึ้นมากันและอากาศที่เบาบางลงก็จะยิ่งทำให้เราเหนื่อยง่าย แต่ระหว่างทางจะมีโรงเตี๊ยมให้นั่งพักเต็มไปหมด และแต่ละโรงเตี๊ยมก็จะมีที่ให้ Stamp ไม้เท้าเป็นที่ระลึกว่ามาถึงแล้วด้วย ค่า Stamp ประมาณ 200-500 เยนแล้วแต่ที่
.
กลุ่มเราจองที่พักชั้น 8.5 เพราะอยากได้ที่พักที่ใกล้ยอดที่สุดเพื่อปีนต่อให้น้อยที่สุดตอนกลางคืน เพราะฉะนั้นเลยต้องปีนจากชั้น 7 ความสูง 2,700 เมตรไปถึงชั้น 8.5 ที่ความสูง 3,450 เมตร ใช้เวลาไปประมาณ 4-5 ชั่วโมงกับระยะทางประมาณ 3 โลในเส้นทางสุดโหด ยิ่งช่วงชั้น 8 มาชั้น 8.5 เส้นทางเปลี่ยนจากหินแข็งๆก้อนใหญ่ๆ เป็นหินก้อนเล็กผสมดินและกรวดทำให้การปีนยิ่งกินแรงมากขึ้น พระอาทิตย์ก็ค่อยๆตกลงไปทำให้มืดและยิ่งมองทางลำบาก ช่วงชั้น 8 อากาศจะเย็นลงจนต้องหยิบเสื้อกันหนาวมาใส่เพิ่มด้วย
.
กว่าจะขึ้นมาถึงที่พักชั้น 8.5 ก็เกือบ 1 ทุ่มแล้ว เริ่มปีนตอนราวๆ 11 โมง แปลว่าใช้เวลาไปทั้งหมด 8 ชั่วโมงสำหรับชั้น 5 ถึงชั้น 8.5 (ตอนแรกที่วางแผนกัน กะว่าจะปีนรวดเดียวถึงยอด แล้วจองที่พักบนยอดเลยเพื่อตื่นมาดูพระอาทิตย์ขึ้นเลยทีเดียว ดีนะที่จองชั้น 8.5 เพราะสมาชิกสะบักสะบอมกันถ้วนหน้าเลยทีเดียว ^^;)
(ต่อด้านล่างนะค่ะ)
---
:: www.facebook.com/PoiBlog