ใกล้จะหน้าร้อนแล้ว วันนี้จขกท.เลยเอาแพลนปีนฟูจิ และแชร์ประสบการณ์ของการปีนเองไปกันเองผญ.ตัวเล็กๆ 3 คน แต่ข้อมูลบางอย่างอาจจะมีหลงลืมหรือตกหล่นไปบ้าง เพราะปีนมาตั้งแต่ปี 2016 หรือก็คือ 3 ปีมาแล้วค่ะ
ข้อสำคัญคือ จขกท.และเพื่อนๆไม่ใช่นักปีนเขาค่ะ และร่างกายไม่ได้ฟิตขนาดนั้น ปกติออกกำลังกายอาทิตย์ละครั้งเอง และไปปีนกันเองผญ. 3 คน ไม่มีคนมีประสบการณ์หรือไกด์ไปด้วยค่ะ แต่ความรอบคอบในการเตรียมตัวและการไม่เร่งรีบหรือกดดันตัวเิงเกินไปก็ทำให้ปีนสำเร็จกลับมาปลอดภัยหายห่วงค่ะ
ก่อนอื่นคือสิ่งที่ควรรู้คร่าวๆ
1. การปีนภูเขาไฟฟูจิ เขาจะเปิดให้ปีนได้แค่ช่วงหน้าร้อนช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมเท่านั้น
2. ในช่วงเวลาที่เปิดให้ปีนได้จะมีช่วงที่มีมรสุมและมีพายุ แนะนำให้ลองเช็คพยากรณ์ล่วงหน้าไว้จะดีกว่าค่ะ แต่ตอนที่ไปปีนนี่ก็เช็คตลอดแต่ก็เปลี่ยนเรื่อยๆเลย สุดท้ายวันที่ไปโชคดีเป็นวันหลังพายุพอดี
3. จะมีการแบ่งระดับความสูงเป็น 10 ชั้น โดยชั้นแรกก็คือตีนเขา ไปจนถึงยอดคือชั้น 10 การปีนทั่วไปที่นิยมกันคือการนั่งรถบัสจากสถานี Kawaguchiko ไปที่ชั้น 5 ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวปกติอยู่แล้วด้วย แล้วเริ่มปีนจากชั้น 5 ขึ้นไปถึงยอดชั้น 10
4. วิธีการปีนที่นิยมมี 2 แบบ คือ
4.1 แบบ Bullet ตามชื่อเลยคือยิงยาวทีเดียวจบเริ่มปีนช่วงบ่ายๆ ยาวไปถึงยอดดูพระอาทิตย์ขึ้นไม่พักแล้วลงเลย
4.2 แบบมีการจองที่พัก ซึ่งชั้นบนสุดที่ยังมีที่พักให้จองได้คือชั้นที่ 8.5 แต่ตอนที่เราไปเราจองที่พักชั้น 8 เป็นที่พักเหมือนแคมป์นอนเบียดๆกัน แล้วเขาจะมาปลุกเราตอนประมาณเกือบตี 2 เพื่อปีนต่อไปให้ทันถึงยอดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
5. เส้นทางการปีนมีหลายทาง แต่สำหรับคนที่ไม่เคยปีน และเป็นทางที่ง่ายที่สุดที่คนไปมากคือ Yoshida Trail ค่ะ จะมีป้ายบอกอยู่เรื่อยๆตามทางแยก เป็นทางที่มีที่พักเยอะที่สุดด้วย เหนื่อยก็พัก พอจะมีของกินน้ำดื่มขาย แต่ค่อนข้างแพง แต่ขาลงเขาจะลงอีกเส้นนึง ซึ่งแทบไม่มีที่พักเลย
6. ของทุกอย่างที่พกขึ้นไป รบกวนเอากลับลงมาด้วยนะคะ ขยะทั้งหลายแหล่ ข้างบนไม่มีถังขยะ และจะเป็นการง่ายกว่าถ้าเราจะขนมันลงมาทิ้งข้างล่างไม่ทำลายธรรมชาตินะคะ
ของที่ต้องเตรียมก่อนไป เอาเป็นที่เราเอาไปและรู้สึกว่ามันจำเป็นนะ
1. ชุดปีนเขา อยากให้ลองคิดเผื่อว่า ถ้าเราจะต้องเจอฝน ถ้าเราจะต้องเหงื่อออกและไม่ได้อาบน้ำตลอดการปีน ใส่เสื้อที่ระบายได้ดีแต่กันน้ำได้พอสมควร และเผื่อความต่างของอุณหภูมิด้วยค่ะ ชั้นล่างๆจะร้อนมาก แต่ยอดเขา มีแตะถึง 0 องศา
2. รองเท้าปีนเขา อันนี้สำคัญมาก ขอให้ซื้อที่ใช้ำหรับปีนเขาจริงๆ และลองใส่เดินเช็คดีๆว่ามันจะไม่กัดและเข้ากับเท้าเรา ใครที่คิดว่าใส่รองเท้าผ้าใบทั่วไปได้ เปลี่ยนความคิดเลยค่ะ นอกจากว่าจะเตรียมใจเท้าพัง และต้องทิ้งรองเท้าคู่นั้นไปหลังจบการปีนไว้แล้วนะคะ
3. ที่กันเศษหินเข้ารองเท้า จะเป็นเหมือนที่ครอบรัดมาถึงแข้งเราแล้วเกี่ยวติดกับรองเท้าเราได้ อันนี้เราว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะขาลงที่เราพูดถึงว่าไม่มีที่พักเลย และยังเป็นทางที่มีแต่ดินหินภูเขาไฟ และเป็นทางชันมาก มันช่วยได้มากสุดๆ ไม่อย่างนั้นหินมันจะคอยเข้ารองเท้าเราและอาจทำให้เกิดการเสียดสีเป็นแผลขึ้นมาได้
4. ไม้ปีนเขา คือนอกจากไม้ปีนเขาของทางฟูจิที่เราซื้อเพื่อไปล่าตราปั๊มเก๋ๆแล้ว ไม้ที่ใช้ช่วยให้การปีนเขาจริงๆสำคัญมากค่ะ ในช่วงขาขึ้น เขาจะพยายามทำทางเป็นชั้นบันไดเยอะมากอาจจะเพื่อให้ง่ายต่อการปีน แต่เราว่าเหนื่อยมาก การยกตัวขึ้นไปในแต่ละขึ้น และหลายๆครั้งก็เป็นขึ้นสูงมีส่วนเนินชันด้วย ไม้ปีนเขาเป็นตัวช่วยรับแรงของเราได้ดีมาก
5. กระเป๋า Backpack ของเราใช้กระเป๋า Northface กันน้ำได้ดี ทนทาน กลับมาได้ไม่มีรอยขีดข่วน เสียหน่อยที่รุ่นที่เราใช้มันไม่ที่รัดที่เอว ไม่งั้นจะช่วยผ่อนน้ำหนักได้ดีกว่านี้
6. energy drink และ snack bar พกไปเยอะๆเลยค่ะ เอาเท่าที่เราจะถือไหว บางช่วงโดยเฉพาะขาลงมันแทบไม่มีที่พักเลย ตอนซื้อไปเราจะได้เราซื้อไปเป็นเยอะพอสมควร คิดคร่าวๆเผื่อว่าแบบมื้อนึง drink 1 bar 1 รวมตั้งแต่เริ่มเดินน่าจะสัก 4 มื้อ ถ้าไม่ผิดเราน่าจะซื้อไปอย่างละครึ่งโหลนะ แต่สุดท้ายก็เก็บๆไว้ขาลงมากหน่อย เพราะตอนนั้นก็มีคนบอกมาแต่แรกว่าขาลงมันแทบไม่มีที่พัก หาซื้อของกินไม่ได้ ขาขึ้นถ้าหิวหน่อยเหนือ่ยหน่อยก็เลยจะซื้อเอา แล้วเก็บที่ซื้อมาไว้ขาลง
7. ถุงใส่น้ำดื่มที่มีสายยางโยงออกมานอกกระเป๋าได้ ตอนแรกทุกคนแอบแซวว่าโหลงทุนเนอะ แต่สุดท้ายเรียกหาขอดูดน้ำกันตลอดทางเลย 555 ของเราที่ซื้อมาใส่ได้ 3 ลิตร ข้อดีคือพอเราดูดไปน้ำลดลงถุงมันก็จะแฟ่บลงไปตาม แล้วก็สายยางเราก็โยงออกมาเหน็บไว้ใกล้ปาก เหนื่อยปุ้บก็ดูดปั๊บเลย
8. ผ้ารัดเข่า สำหรับเรา เราว่ามันคือตัวสำคัญมาก เพราะหลังจากปีนเสร็จมีเราที่เป็นคนเดียวที่เอาที่รัดเข่าไป และเป็นคนเดียวที่ปีนเสร็จแล้วไม่ปวดเข่าไม่มีปัญหาเรื่องเข่าเลย เห็นเพื่อนคนนึงบอกว่าหลังจากปีนเขาก็มีปัญหาเรื่องเข่าอยู่เรื่อยๆตลอดเลยด้วยเพราะไม่ได้รัดเข่าตอนปีน
9. ไฟคาดหัวหรือไฟฉาย ตอนที่เดินช่วงกลางคืนสำคัญมากค่ะ เราว่าใช้แบบคาดหัวจะสะดวกกว่า แต่ตอนนั้นไปก็คือ 3 คนมีคนเอาไปคนเดียวก็โอเคนะคะไม่ได้จำเป็นต้องมีทุกคน
10. Oxygen กระป๋อง อันนี้เราว่าสำคัญมาก ไม่ใช่ประสบการณ์ตรงเพราะส่วนตัวตลอดทริปไม่มีปัญหาและไม่ได้ใช้ แต่ได้เอาให้เพื่อนยืมแทน คือพอไปใกล้ๆถึงยอดอากาศมันจะเบาบางลง ก็เห็นเพื่อนที่ใช้บอกว่ามันช่วยอย่างมากเพราะเขารู้สึกหายใจไม่ออกแล้วพอใช้ก็ดีขึ้นจริงๆ
11. ถุงมือ ด้วยความที่ต้องถือไว้ปีนเขา ใส่ถึงมือไปด้วยกันมือพอง แล้วก็มีบางช่วงที่มันต้องมีการปีนนิดหน่อยก็ช่วยได้เยอะทีเดียว
12. Wet Tissue ที่เอาไว้เช็ดหน้า หรือเช็ดตัว เพราะคืนที่เราขึ้นไปอยู่บนเขาเราจะไม่ได้อาบน้ำ ช่วยให้สบายตัวได้มากๆ
13. ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ ตอนเราเข้าที่พักคือจัดการทาจนแบบจากปวดเป็นร้อน ร้อนเป็นชา เอาให้หมดทั้งขา แล้วนอนหลับเป็นตาย นอกนั้นใครกลัวป่วยก็ติดยาแก้ปวดแก้ไข้ไปเผื่อด้วยก็ดีค่ะ
14. หมวก เอาไว้กันแดด กันฝน ตอนเราเอาไปพลาดที่เอาหมวกผ้าธรรมไป เจอฝนตอนขาลงเปียกโชกน้ำไหลสนุกสนานเลยค่ะ
15. แว่นดันแดด เผื่อช่วงที่แดดแรง
16. หน้ากาก กันฝุ่นตอนเดินช่วงขาลง
17. กล้อง ตอนนั้นเราเอากล้อง compact ไป เล็กพกง่าย แล้วก็เอากล้อง action cam ไปตัวนึง มันเอาห้อยไว้นอกกระเป๋าได้ทนแดดทนฝนเลยเอาไว้ยกถ่ายเร็วๆ แต่ก็ขอบคุณพี่ตั้วและแป้งที่มีไอโฟนก็ถ่ายได้ง่ายและรวดเร็วเช่นกัน ผลัดๆกันถ่ายไป และพี่ตั้วลงทุนเอา mirrorless ไปก็เลยได้ภาพสวยๆความละเอียดสูงๆมาเยอะเลย
แพลนของเราคือการปีนแบบที่ 2 คือมีการจองที่พักบนเขา แพลนโดยรวมคือ 3 วัน 2 คืน โดยวางแผนว่าเราจะไปตั้งหลักที่ Kawaguchiko ก่อนวันนึง แล้วเริ่มนั่งบัสไปตอนเช้าวันที่ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงความคนเยอะและรถติด เนื่องจากจะมีคนที่นั่งรถบัสรอบเช้าสุดมาแล้วขึ้นไปปีนต่อเลยตอนประมาณ 10 โมงเป็นต้นไป เราก็เลยคิดว่าถ้าเราไปนอนที่ Kawaguchiko ก่อน แล้วเช้าวันปีนเรานั่งบัสขึ้นไปตั้งแต่ 9 โมงก็จะไม่เจอคนเยอะ รายละเอียดและค่าใช้จ่ายเป็นดังนี้
ที่ต้องจองก่อน
- รถบัสจาก Shibuya ไปกลับ Kawaguchiko เที่ยวละ 1800 Yen = 3600 yen
- ที่พักที่ Kawaguchiko คืนก่อนปีน Kagelow Mt.Fuji Hostel = 3000 Yen
- ที่พักบน Fuji ชั้น 8 Fujisan Hotel = 8350 Yen
ที่ซื้อวันที่ไป
- ค่าบัสจาก Kawaguchiko ไปกลับ Fuji ชั้น 5 = 2100 Yen
- ค่าธรรมเนียมปีนเขา 1000 Yen
- ค่าไม้ปีนเขา 1000 Yen + ค่าตราปั๊มแล้วแต่ที่และแล้วแต่ปริมาณ แต่คร่าวๆรวมๆแล้วน่าจะโดนไปเกือบ 5000 Yen เพราะเราปั๊มมันแทบทุกสเตชั่นเลยค่ะ 555 มีแค่บางทีที่บางทีเขามีให้ปั๊มสองอันแล้วเราเอาแค่อันเดียว
- ค่าออนเซ็นหลังปีนเสร็จ Fujiyama Onsen 1500 Yen โทรจองตอนกลับลงมาถึงชั้น 5 นัดให้เขามารับที่ Kawaguchiko
รวมๆแล้วก็ตกคนละ 3 หมื่นเยนได้ค่ะ ไม่รวมค่าของกินและค่าอุปกรณ์
การเตรียมตัวก็มีเท่านี้ค่ะ ในคอมเมนตืเราจะเล่าประสบการณ์ที่ไปเจอมานะคะ
[CR] [Japan] ครั้งหนึ่งในชีวิตมาเรียนที่ญี่ปุ่นก็ต้องปีนภูเขาไฟฟูจิ (การเตรียมตัวและประสบการณ์์)
ข้อสำคัญคือ จขกท.และเพื่อนๆไม่ใช่นักปีนเขาค่ะ และร่างกายไม่ได้ฟิตขนาดนั้น ปกติออกกำลังกายอาทิตย์ละครั้งเอง และไปปีนกันเองผญ. 3 คน ไม่มีคนมีประสบการณ์หรือไกด์ไปด้วยค่ะ แต่ความรอบคอบในการเตรียมตัวและการไม่เร่งรีบหรือกดดันตัวเิงเกินไปก็ทำให้ปีนสำเร็จกลับมาปลอดภัยหายห่วงค่ะ
ก่อนอื่นคือสิ่งที่ควรรู้คร่าวๆ
1. การปีนภูเขาไฟฟูจิ เขาจะเปิดให้ปีนได้แค่ช่วงหน้าร้อนช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมเท่านั้น
2. ในช่วงเวลาที่เปิดให้ปีนได้จะมีช่วงที่มีมรสุมและมีพายุ แนะนำให้ลองเช็คพยากรณ์ล่วงหน้าไว้จะดีกว่าค่ะ แต่ตอนที่ไปปีนนี่ก็เช็คตลอดแต่ก็เปลี่ยนเรื่อยๆเลย สุดท้ายวันที่ไปโชคดีเป็นวันหลังพายุพอดี
3. จะมีการแบ่งระดับความสูงเป็น 10 ชั้น โดยชั้นแรกก็คือตีนเขา ไปจนถึงยอดคือชั้น 10 การปีนทั่วไปที่นิยมกันคือการนั่งรถบัสจากสถานี Kawaguchiko ไปที่ชั้น 5 ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวปกติอยู่แล้วด้วย แล้วเริ่มปีนจากชั้น 5 ขึ้นไปถึงยอดชั้น 10
4. วิธีการปีนที่นิยมมี 2 แบบ คือ
4.1 แบบ Bullet ตามชื่อเลยคือยิงยาวทีเดียวจบเริ่มปีนช่วงบ่ายๆ ยาวไปถึงยอดดูพระอาทิตย์ขึ้นไม่พักแล้วลงเลย
4.2 แบบมีการจองที่พัก ซึ่งชั้นบนสุดที่ยังมีที่พักให้จองได้คือชั้นที่ 8.5 แต่ตอนที่เราไปเราจองที่พักชั้น 8 เป็นที่พักเหมือนแคมป์นอนเบียดๆกัน แล้วเขาจะมาปลุกเราตอนประมาณเกือบตี 2 เพื่อปีนต่อไปให้ทันถึงยอดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
5. เส้นทางการปีนมีหลายทาง แต่สำหรับคนที่ไม่เคยปีน และเป็นทางที่ง่ายที่สุดที่คนไปมากคือ Yoshida Trail ค่ะ จะมีป้ายบอกอยู่เรื่อยๆตามทางแยก เป็นทางที่มีที่พักเยอะที่สุดด้วย เหนื่อยก็พัก พอจะมีของกินน้ำดื่มขาย แต่ค่อนข้างแพง แต่ขาลงเขาจะลงอีกเส้นนึง ซึ่งแทบไม่มีที่พักเลย
6. ของทุกอย่างที่พกขึ้นไป รบกวนเอากลับลงมาด้วยนะคะ ขยะทั้งหลายแหล่ ข้างบนไม่มีถังขยะ และจะเป็นการง่ายกว่าถ้าเราจะขนมันลงมาทิ้งข้างล่างไม่ทำลายธรรมชาตินะคะ
ของที่ต้องเตรียมก่อนไป เอาเป็นที่เราเอาไปและรู้สึกว่ามันจำเป็นนะ
1. ชุดปีนเขา อยากให้ลองคิดเผื่อว่า ถ้าเราจะต้องเจอฝน ถ้าเราจะต้องเหงื่อออกและไม่ได้อาบน้ำตลอดการปีน ใส่เสื้อที่ระบายได้ดีแต่กันน้ำได้พอสมควร และเผื่อความต่างของอุณหภูมิด้วยค่ะ ชั้นล่างๆจะร้อนมาก แต่ยอดเขา มีแตะถึง 0 องศา
2. รองเท้าปีนเขา อันนี้สำคัญมาก ขอให้ซื้อที่ใช้ำหรับปีนเขาจริงๆ และลองใส่เดินเช็คดีๆว่ามันจะไม่กัดและเข้ากับเท้าเรา ใครที่คิดว่าใส่รองเท้าผ้าใบทั่วไปได้ เปลี่ยนความคิดเลยค่ะ นอกจากว่าจะเตรียมใจเท้าพัง และต้องทิ้งรองเท้าคู่นั้นไปหลังจบการปีนไว้แล้วนะคะ
3. ที่กันเศษหินเข้ารองเท้า จะเป็นเหมือนที่ครอบรัดมาถึงแข้งเราแล้วเกี่ยวติดกับรองเท้าเราได้ อันนี้เราว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะขาลงที่เราพูดถึงว่าไม่มีที่พักเลย และยังเป็นทางที่มีแต่ดินหินภูเขาไฟ และเป็นทางชันมาก มันช่วยได้มากสุดๆ ไม่อย่างนั้นหินมันจะคอยเข้ารองเท้าเราและอาจทำให้เกิดการเสียดสีเป็นแผลขึ้นมาได้
4. ไม้ปีนเขา คือนอกจากไม้ปีนเขาของทางฟูจิที่เราซื้อเพื่อไปล่าตราปั๊มเก๋ๆแล้ว ไม้ที่ใช้ช่วยให้การปีนเขาจริงๆสำคัญมากค่ะ ในช่วงขาขึ้น เขาจะพยายามทำทางเป็นชั้นบันไดเยอะมากอาจจะเพื่อให้ง่ายต่อการปีน แต่เราว่าเหนื่อยมาก การยกตัวขึ้นไปในแต่ละขึ้น และหลายๆครั้งก็เป็นขึ้นสูงมีส่วนเนินชันด้วย ไม้ปีนเขาเป็นตัวช่วยรับแรงของเราได้ดีมาก
5. กระเป๋า Backpack ของเราใช้กระเป๋า Northface กันน้ำได้ดี ทนทาน กลับมาได้ไม่มีรอยขีดข่วน เสียหน่อยที่รุ่นที่เราใช้มันไม่ที่รัดที่เอว ไม่งั้นจะช่วยผ่อนน้ำหนักได้ดีกว่านี้
6. energy drink และ snack bar พกไปเยอะๆเลยค่ะ เอาเท่าที่เราจะถือไหว บางช่วงโดยเฉพาะขาลงมันแทบไม่มีที่พักเลย ตอนซื้อไปเราจะได้เราซื้อไปเป็นเยอะพอสมควร คิดคร่าวๆเผื่อว่าแบบมื้อนึง drink 1 bar 1 รวมตั้งแต่เริ่มเดินน่าจะสัก 4 มื้อ ถ้าไม่ผิดเราน่าจะซื้อไปอย่างละครึ่งโหลนะ แต่สุดท้ายก็เก็บๆไว้ขาลงมากหน่อย เพราะตอนนั้นก็มีคนบอกมาแต่แรกว่าขาลงมันแทบไม่มีที่พัก หาซื้อของกินไม่ได้ ขาขึ้นถ้าหิวหน่อยเหนือ่ยหน่อยก็เลยจะซื้อเอา แล้วเก็บที่ซื้อมาไว้ขาลง
7. ถุงใส่น้ำดื่มที่มีสายยางโยงออกมานอกกระเป๋าได้ ตอนแรกทุกคนแอบแซวว่าโหลงทุนเนอะ แต่สุดท้ายเรียกหาขอดูดน้ำกันตลอดทางเลย 555 ของเราที่ซื้อมาใส่ได้ 3 ลิตร ข้อดีคือพอเราดูดไปน้ำลดลงถุงมันก็จะแฟ่บลงไปตาม แล้วก็สายยางเราก็โยงออกมาเหน็บไว้ใกล้ปาก เหนื่อยปุ้บก็ดูดปั๊บเลย
8. ผ้ารัดเข่า สำหรับเรา เราว่ามันคือตัวสำคัญมาก เพราะหลังจากปีนเสร็จมีเราที่เป็นคนเดียวที่เอาที่รัดเข่าไป และเป็นคนเดียวที่ปีนเสร็จแล้วไม่ปวดเข่าไม่มีปัญหาเรื่องเข่าเลย เห็นเพื่อนคนนึงบอกว่าหลังจากปีนเขาก็มีปัญหาเรื่องเข่าอยู่เรื่อยๆตลอดเลยด้วยเพราะไม่ได้รัดเข่าตอนปีน
9. ไฟคาดหัวหรือไฟฉาย ตอนที่เดินช่วงกลางคืนสำคัญมากค่ะ เราว่าใช้แบบคาดหัวจะสะดวกกว่า แต่ตอนนั้นไปก็คือ 3 คนมีคนเอาไปคนเดียวก็โอเคนะคะไม่ได้จำเป็นต้องมีทุกคน
10. Oxygen กระป๋อง อันนี้เราว่าสำคัญมาก ไม่ใช่ประสบการณ์ตรงเพราะส่วนตัวตลอดทริปไม่มีปัญหาและไม่ได้ใช้ แต่ได้เอาให้เพื่อนยืมแทน คือพอไปใกล้ๆถึงยอดอากาศมันจะเบาบางลง ก็เห็นเพื่อนที่ใช้บอกว่ามันช่วยอย่างมากเพราะเขารู้สึกหายใจไม่ออกแล้วพอใช้ก็ดีขึ้นจริงๆ
11. ถุงมือ ด้วยความที่ต้องถือไว้ปีนเขา ใส่ถึงมือไปด้วยกันมือพอง แล้วก็มีบางช่วงที่มันต้องมีการปีนนิดหน่อยก็ช่วยได้เยอะทีเดียว
12. Wet Tissue ที่เอาไว้เช็ดหน้า หรือเช็ดตัว เพราะคืนที่เราขึ้นไปอยู่บนเขาเราจะไม่ได้อาบน้ำ ช่วยให้สบายตัวได้มากๆ
13. ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ ตอนเราเข้าที่พักคือจัดการทาจนแบบจากปวดเป็นร้อน ร้อนเป็นชา เอาให้หมดทั้งขา แล้วนอนหลับเป็นตาย นอกนั้นใครกลัวป่วยก็ติดยาแก้ปวดแก้ไข้ไปเผื่อด้วยก็ดีค่ะ
14. หมวก เอาไว้กันแดด กันฝน ตอนเราเอาไปพลาดที่เอาหมวกผ้าธรรมไป เจอฝนตอนขาลงเปียกโชกน้ำไหลสนุกสนานเลยค่ะ
15. แว่นดันแดด เผื่อช่วงที่แดดแรง
16. หน้ากาก กันฝุ่นตอนเดินช่วงขาลง
17. กล้อง ตอนนั้นเราเอากล้อง compact ไป เล็กพกง่าย แล้วก็เอากล้อง action cam ไปตัวนึง มันเอาห้อยไว้นอกกระเป๋าได้ทนแดดทนฝนเลยเอาไว้ยกถ่ายเร็วๆ แต่ก็ขอบคุณพี่ตั้วและแป้งที่มีไอโฟนก็ถ่ายได้ง่ายและรวดเร็วเช่นกัน ผลัดๆกันถ่ายไป และพี่ตั้วลงทุนเอา mirrorless ไปก็เลยได้ภาพสวยๆความละเอียดสูงๆมาเยอะเลย
แพลนของเราคือการปีนแบบที่ 2 คือมีการจองที่พักบนเขา แพลนโดยรวมคือ 3 วัน 2 คืน โดยวางแผนว่าเราจะไปตั้งหลักที่ Kawaguchiko ก่อนวันนึง แล้วเริ่มนั่งบัสไปตอนเช้าวันที่ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงความคนเยอะและรถติด เนื่องจากจะมีคนที่นั่งรถบัสรอบเช้าสุดมาแล้วขึ้นไปปีนต่อเลยตอนประมาณ 10 โมงเป็นต้นไป เราก็เลยคิดว่าถ้าเราไปนอนที่ Kawaguchiko ก่อน แล้วเช้าวันปีนเรานั่งบัสขึ้นไปตั้งแต่ 9 โมงก็จะไม่เจอคนเยอะ รายละเอียดและค่าใช้จ่ายเป็นดังนี้
ที่ต้องจองก่อน
- รถบัสจาก Shibuya ไปกลับ Kawaguchiko เที่ยวละ 1800 Yen = 3600 yen
- ที่พักที่ Kawaguchiko คืนก่อนปีน Kagelow Mt.Fuji Hostel = 3000 Yen
- ที่พักบน Fuji ชั้น 8 Fujisan Hotel = 8350 Yen
ที่ซื้อวันที่ไป
- ค่าบัสจาก Kawaguchiko ไปกลับ Fuji ชั้น 5 = 2100 Yen
- ค่าธรรมเนียมปีนเขา 1000 Yen
- ค่าไม้ปีนเขา 1000 Yen + ค่าตราปั๊มแล้วแต่ที่และแล้วแต่ปริมาณ แต่คร่าวๆรวมๆแล้วน่าจะโดนไปเกือบ 5000 Yen เพราะเราปั๊มมันแทบทุกสเตชั่นเลยค่ะ 555 มีแค่บางทีที่บางทีเขามีให้ปั๊มสองอันแล้วเราเอาแค่อันเดียว
- ค่าออนเซ็นหลังปีนเสร็จ Fujiyama Onsen 1500 Yen โทรจองตอนกลับลงมาถึงชั้น 5 นัดให้เขามารับที่ Kawaguchiko
รวมๆแล้วก็ตกคนละ 3 หมื่นเยนได้ค่ะ ไม่รวมค่าของกินและค่าอุปกรณ์
การเตรียมตัวก็มีเท่านี้ค่ะ ในคอมเมนตืเราจะเล่าประสบการณ์ที่ไปเจอมานะคะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น