Mt.Fuji Climbing (Jul 2017)
เส้นทาง Yoshida Trail
การเตรียมตัว
1. ควร
เตรียมร่างกายให้พร้อม เหนือกว่าร่างกายคือ
เตรียมใจ เตรียมไปเผื่อเยอะๆเลย ทั้งเส้นทางปีน ทั้งอากาศแปรปรวน ความรู้สึกตอนปีนคือเหนื่อยใจมาก แต่ไปแล้วก็ต้องถึงยอดเขาให้ได้
2. อุปกรณ์ต้องพร้อม เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
-
trekking pole หาดีดีไปเลยคู่หนึ่ง หรือถ้าไม่เตรียมไป ไปซื้อที่ชั้น 5 ก็ได้ จะเป็นแบบไม้ยาวๆที่สามารถนำไปประทับตราที่แต่ละสเตชั่นได้ (ทราบข้อมูลเพิ่มเติมมาว่าไม้ค้ำสามารถโหลดกลับมาได้ ไม่ต้องจ่ายเพิ่มด้วย ยิ่งถ้ากลับ JAL ANA กราวน์รู้และเข้าใจห่อไม้ให้) แต่ที่นั่นก็มีไม้แบบสั้นๆขายสำหรับคนที่ต้องการประทับตราเก็บเป็นที่ระลึก แต่ก็ต้องเสียเงินค่าประทับตราทุกสเตชั่น รู้สึกจะประมาณ 300 เยน เห็นบางคนเค้าก็พกเป็นสมุดไปให้ประทับตรา อันนี้ก็แล้วแต่
-
ไฟฉายคาดหัว เอาแบบที่แบตจะอยู่พอให้เราปีนได้ถึงยอด
-
รองเท้าสำหรับปีนเขา พื้นลื่นมาก ทางก็หินมาก ถ้าให้ดีควรเป็นแบบกันน้ำ รองเท้าดีช่วยได้เยอะ มี gaiters ถุงสวมกันหินกระเด็นด้วยก็ดี จะเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะขาลง
3.
ของกินต้องพร้อม แต่ถ้าไม่พร้อมไปซื้อเอาข้างบนมีขายทุกสเตชั่นแต่ระยะห่างของแต่ละสเตชั่นไม่ธรรมดา เลยเตรียมไปกันหิว ของกินที่เราซื้อใส่เป้ไป มีน้ำ 550 ml 1 ขวด เจลเพิ่มพลังงานโปรตีน 1 ซอง เจลเพิ่มเกลือแร่ 2 ซอง ขนมปัง 2 ถุง แต่แบ่งกินได้ 4 ครั้ง (หาซื้อจากร้านมินิมาร์ทแถวๆที่พัก/เซเว่นแถวๆสถานีคาวา) ถ้ากระเป๋าว่างๆอาจจะใส่น้ำไปเพิ่ม เพราะขึ้นลงจริงๆกินน้ำประมาณ 3-4 ขวด แต่นี่ใช้วิธีซื้อเพิ่มเอา ราคาน้ำที่ชั้น 6 ราคาไม่ต่างจากข้างล่าง ประมาณ 130 เยน แต่ชั้น 7 ขึ้นไป ราคาจะอัพไปเป็นขวดละ 500 เยน แนะนำว่าถ้าแบกไม่ไหวก็ไปซื้อข้างบน ราคาคุ้มกับความเหนื่อยที่จะต้องแบกไปเองอยู่ ส่วนอาหารซื้อกินที่ข้างบนมีมาม่า 500 เยน ข้าวๆแบบข้าวหน้าไก่ ข้าวหน้าเนื้อ 1200 เยน
4. ห้องน้ำ มีตามแต่ละสเตชั่น ค่าเข้าครั้งละ 100-200 เยน ใช้
เหรียญร้อยเยนหยอด ควรเตรียมเหรียญไป แต่บางสเตชั่นมีตู้แลกแบงค์พันเป็นเหรียญ
5. สัญญาณมือถือมีตลอดทาง
6. น้ำประปานับว่าไม่มีละกัน เพราะในห้องน้ำอ่างล้างมือไหลแบบน้ำตาหยด ควรเตรียม
ทิชชู่เปียกไปเช็ดหน้าเช็ดตา แต่ตอนแปรงฟันก็พอได้ใช้มือรองน้ำหลายรอบหน่อย
7. ปลั๊กให้ชาร์จไม่มี เอา
แบตสำรองไปไว้ชาร์จมือถือ/pocket wifi ส่วนกล้องก็เตรียมแบตก้อนสำรองเผื่อไว้
8.
การแต่งกาย
ชั้น 5-7 เสื้อ
ฮีทเทคข้างในทับด้วยเสื้อยืดแขนสั้นได้ หรือแขนยาวแบบผ้าออกกำลังกายก็ดี หรือจะแขนสั้นแล้วใส่ปลอกแขนกันuvก็โอ แว่นตากันแดด หมวกที่โดนลมแล้วไม่ปลิว กางเกงใส่ฮีทเทคไว้ข้างในแล้วทับด้วยเกงกีฬาขาสั้นก็ยังได้อากาศยังชิวอยู่ หรือจะใส่ขายาวผ้าออกกำลังกายไปไรงี้
ชั้น 7-8 ต้องเริ่มใส่
เสื้อกันลมเพิ่ม ถ้าให้ดี เราใช้เป็นแบบกันลมกันฝนไปเลย waterproof ถ้าไม่กันน้ำต้องติดเสื้อกันฝนแบบทนๆไปด้วย ถ้าซื้อแบบพลาสติกธรรมดามาจะขาดง่ายมากๆ
ชั้น 8 ขึ้นไป อะไรที่
กันหนาวได้ใส่ไปให้หมด เราใส่ฟรีซเพิ่มแล้วทับด้วยกันหนาวทับด้วยกันลมกันฝน อุ่นสบายตัว
ถุงมือควรกันน้ำ ไม่งั้นพอฝนตกถุงมือเปียกเหมือนมือแช่แข็งตลอดเวลา ใส่
หมวกไหมพรมคาดด้วยไฟฉาย
9.
กระป๋องออกซิเจน มีขายที่ชั้น 5 ราคา 1150 เยน ชั้นบนๆจะแพงขึ้นเหมือนเดิม พกไปก็ดีถ้าไม่ชัวร์กับร่างกายว่าที่ระดับสูงเกิน 3000 m จะมีออกซิเจนให้พอหายใจ
10. กิน
diamox ไปก่อนถ้าไม่แพ้ยา ในกรุงเทพหาซื้อได้ที่โอสถศาลา สยาม คนละ 3 เม็ด สำหรับ กินคืนก่อนขึ้นสองวัน 1 เม็ด คืนก่อนขึ้นหนึ่งวัน 1 เม็ด แล้วก็คืนที่ขึ้นไปถึงอีก 1 เม็ด เพื่อนบางคนไม่ได้กินก็ไม่เป็นไรอันนี้แล้วแต่คน แต่เรากินไปก่อนเลยโอเคมากไม่มีปัญหาอะไร กระป๋องออกซิเจนที่ซื้อเตรียมไปเลยไม่ได้ใช้
11.
ยาจำเป็นที่ต้องติดไปแน่ๆ คือ พารา สเปรย์คลายกล้ามเนื้อ ยานวดแบบเคาน์เตอร์เพน แต่หลังจากลงมาถ้าต้องการหายเป็นปกติไวไวก็กินพวกยาคลายกล้ามเนื้อ/แก้กล้ามเนื้ออักเสบ
12.
ครีมกันแดด พ่นสเปรย์/ทามันทุกสเตชั่น
13.
ผ้าบัฟใส่กันฝุ่น คือนี่ไม่ได้เตรียมไปแต่ดันไปช่วงคนมาปีนเยอะฝุ่นฟุ้งกระจาย
14.
กระเป๋าแบ็คแพ็คเดินป่า ต้องใส่ข้างบนทุกอย่างได้ เป็นแบบกันน้ำก็จะดี แต่ถ้าไม่กันต้องพกผ้าคลุมกันฝนกันน้ำของกระเป๋ามาด้วย และที่สำคัญรวมๆแล้วต้องแบกให้ไหว เพราะเราจะต้องแบกมันไปตลอดทาง อันไหนคิดว่าไม่จำเป็นตัดออกได้ก็ตัดออก
ปล1. แต่เห็นบางคนไม่ใช้อุปกรณ์อะไรทั้งนั้นใส่ขาสั้นขึ้นไปถึงยอดเขาก็มี
ปล2. เราพักที่ Fujisan Hotel (Mountain Hut) ที่ระดับความสูง 3,400 m จองที่พักผ่านเว็บ
http://www.fujimountainguides.com
ปล3. รายละเอียดรถบัส
จองรถบัสจากชินจูกุไปคาวา (Shinjuku to Kawaguchiko Station)
https://highway-buses.jp/course/kawaguchiko.php หรือรอบรถไฟ
http://www.hyperdia.com/en/
ตารางรถบัสจากคาวาไปฟูจิสเตชั่น 5 (Kawaguchiko Station to Fuji Subaru 5th Station)
http://www.japan-guide.com/bus/fuji.html
ปล4. ใช้เวลาปีนขาขึ้น 7 ชม. (10:00-17:00 น.) ปีนถึงที่พักที่ระดับประมาณ 3,400 เมตร (รวมพักนั่งกินนู่นนี่นั่นให้หายเหนื่อยแล้ว เดินแบบช้ามากๆ) ใช้เวลาปีนต่ออีก 3 ชม. (2:00-5:00 น.) จากที่พักถึงยอดเขา (ต้องเตรียมใจไว้ว่าช้าแน่ๆ ในกรณีไปช่วงวันหยุดคนเยอะ เพราะทางเป็นหินชันๆ เดินได้เต็มที่สองคน จะเหมือนต่อคิวขึ้นเขา) หรือบางคนอาจเลือกเป็นปีนยาวรวดเดียวไม่ต้องจองที่พักก็มี จะเริ่มออกเดินช่วงบ่ายๆเย็นๆกันเพื่อไปถึงยอดให้ทันพระอาทิตย์ขึ้น (~ 4:30 น.) สำหรับขาลงนั้นใช้เวลาปีนประมาณ 4.5 ชม. (6:30-11:00 น.) ลื่นตลอดทาง ได้ไม้ค้ำช่วยชีวิตไว้
ปล.5 ตอนที่ปีนทรมานร่างกายมาก มีหลายช่วงที่คิดว่า ดูอยู่ข้างล่างก็สวยดีอยู่แล้ว ไปปีนเพื่อ!!! 55+ โมเม้นท์ที่ลงมาถึงชั้นห้าเพื่อขึ้นรถบัสกลับได้ ความรู้สึกคือรอดลงมาได้ก็สุดๆแล้ว แต่ก็เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ท้าทายมากมากและจะจำไปตลอดชีวิต
รีวิวการเตรียมตัวไปปีนฟูจิ (เส้นทาง Yoshida trail)
เส้นทาง Yoshida Trail
การเตรียมตัว
1. ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม เหนือกว่าร่างกายคือเตรียมใจ เตรียมไปเผื่อเยอะๆเลย ทั้งเส้นทางปีน ทั้งอากาศแปรปรวน ความรู้สึกตอนปีนคือเหนื่อยใจมาก แต่ไปแล้วก็ต้องถึงยอดเขาให้ได้
2. อุปกรณ์ต้องพร้อม เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
- trekking pole หาดีดีไปเลยคู่หนึ่ง หรือถ้าไม่เตรียมไป ไปซื้อที่ชั้น 5 ก็ได้ จะเป็นแบบไม้ยาวๆที่สามารถนำไปประทับตราที่แต่ละสเตชั่นได้ (ทราบข้อมูลเพิ่มเติมมาว่าไม้ค้ำสามารถโหลดกลับมาได้ ไม่ต้องจ่ายเพิ่มด้วย ยิ่งถ้ากลับ JAL ANA กราวน์รู้และเข้าใจห่อไม้ให้) แต่ที่นั่นก็มีไม้แบบสั้นๆขายสำหรับคนที่ต้องการประทับตราเก็บเป็นที่ระลึก แต่ก็ต้องเสียเงินค่าประทับตราทุกสเตชั่น รู้สึกจะประมาณ 300 เยน เห็นบางคนเค้าก็พกเป็นสมุดไปให้ประทับตรา อันนี้ก็แล้วแต่
- ไฟฉายคาดหัว เอาแบบที่แบตจะอยู่พอให้เราปีนได้ถึงยอด
- รองเท้าสำหรับปีนเขา พื้นลื่นมาก ทางก็หินมาก ถ้าให้ดีควรเป็นแบบกันน้ำ รองเท้าดีช่วยได้เยอะ มี gaiters ถุงสวมกันหินกระเด็นด้วยก็ดี จะเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะขาลง
3. ของกินต้องพร้อม แต่ถ้าไม่พร้อมไปซื้อเอาข้างบนมีขายทุกสเตชั่นแต่ระยะห่างของแต่ละสเตชั่นไม่ธรรมดา เลยเตรียมไปกันหิว ของกินที่เราซื้อใส่เป้ไป มีน้ำ 550 ml 1 ขวด เจลเพิ่มพลังงานโปรตีน 1 ซอง เจลเพิ่มเกลือแร่ 2 ซอง ขนมปัง 2 ถุง แต่แบ่งกินได้ 4 ครั้ง (หาซื้อจากร้านมินิมาร์ทแถวๆที่พัก/เซเว่นแถวๆสถานีคาวา) ถ้ากระเป๋าว่างๆอาจจะใส่น้ำไปเพิ่ม เพราะขึ้นลงจริงๆกินน้ำประมาณ 3-4 ขวด แต่นี่ใช้วิธีซื้อเพิ่มเอา ราคาน้ำที่ชั้น 6 ราคาไม่ต่างจากข้างล่าง ประมาณ 130 เยน แต่ชั้น 7 ขึ้นไป ราคาจะอัพไปเป็นขวดละ 500 เยน แนะนำว่าถ้าแบกไม่ไหวก็ไปซื้อข้างบน ราคาคุ้มกับความเหนื่อยที่จะต้องแบกไปเองอยู่ ส่วนอาหารซื้อกินที่ข้างบนมีมาม่า 500 เยน ข้าวๆแบบข้าวหน้าไก่ ข้าวหน้าเนื้อ 1200 เยน
4. ห้องน้ำ มีตามแต่ละสเตชั่น ค่าเข้าครั้งละ 100-200 เยน ใช้เหรียญร้อยเยนหยอด ควรเตรียมเหรียญไป แต่บางสเตชั่นมีตู้แลกแบงค์พันเป็นเหรียญ
5. สัญญาณมือถือมีตลอดทาง
6. น้ำประปานับว่าไม่มีละกัน เพราะในห้องน้ำอ่างล้างมือไหลแบบน้ำตาหยด ควรเตรียมทิชชู่เปียกไปเช็ดหน้าเช็ดตา แต่ตอนแปรงฟันก็พอได้ใช้มือรองน้ำหลายรอบหน่อย
7. ปลั๊กให้ชาร์จไม่มี เอาแบตสำรองไปไว้ชาร์จมือถือ/pocket wifi ส่วนกล้องก็เตรียมแบตก้อนสำรองเผื่อไว้
8. การแต่งกาย
ชั้น 5-7 เสื้อฮีทเทคข้างในทับด้วยเสื้อยืดแขนสั้นได้ หรือแขนยาวแบบผ้าออกกำลังกายก็ดี หรือจะแขนสั้นแล้วใส่ปลอกแขนกันuvก็โอ แว่นตากันแดด หมวกที่โดนลมแล้วไม่ปลิว กางเกงใส่ฮีทเทคไว้ข้างในแล้วทับด้วยเกงกีฬาขาสั้นก็ยังได้อากาศยังชิวอยู่ หรือจะใส่ขายาวผ้าออกกำลังกายไปไรงี้
ชั้น 7-8 ต้องเริ่มใส่เสื้อกันลมเพิ่ม ถ้าให้ดี เราใช้เป็นแบบกันลมกันฝนไปเลย waterproof ถ้าไม่กันน้ำต้องติดเสื้อกันฝนแบบทนๆไปด้วย ถ้าซื้อแบบพลาสติกธรรมดามาจะขาดง่ายมากๆ
ชั้น 8 ขึ้นไป อะไรที่กันหนาวได้ใส่ไปให้หมด เราใส่ฟรีซเพิ่มแล้วทับด้วยกันหนาวทับด้วยกันลมกันฝน อุ่นสบายตัว ถุงมือควรกันน้ำ ไม่งั้นพอฝนตกถุงมือเปียกเหมือนมือแช่แข็งตลอดเวลา ใส่หมวกไหมพรมคาดด้วยไฟฉาย
9. กระป๋องออกซิเจน มีขายที่ชั้น 5 ราคา 1150 เยน ชั้นบนๆจะแพงขึ้นเหมือนเดิม พกไปก็ดีถ้าไม่ชัวร์กับร่างกายว่าที่ระดับสูงเกิน 3000 m จะมีออกซิเจนให้พอหายใจ
10. กิน diamox ไปก่อนถ้าไม่แพ้ยา ในกรุงเทพหาซื้อได้ที่โอสถศาลา สยาม คนละ 3 เม็ด สำหรับ กินคืนก่อนขึ้นสองวัน 1 เม็ด คืนก่อนขึ้นหนึ่งวัน 1 เม็ด แล้วก็คืนที่ขึ้นไปถึงอีก 1 เม็ด เพื่อนบางคนไม่ได้กินก็ไม่เป็นไรอันนี้แล้วแต่คน แต่เรากินไปก่อนเลยโอเคมากไม่มีปัญหาอะไร กระป๋องออกซิเจนที่ซื้อเตรียมไปเลยไม่ได้ใช้
11. ยาจำเป็นที่ต้องติดไปแน่ๆ คือ พารา สเปรย์คลายกล้ามเนื้อ ยานวดแบบเคาน์เตอร์เพน แต่หลังจากลงมาถ้าต้องการหายเป็นปกติไวไวก็กินพวกยาคลายกล้ามเนื้อ/แก้กล้ามเนื้ออักเสบ
12. ครีมกันแดด พ่นสเปรย์/ทามันทุกสเตชั่น
13. ผ้าบัฟใส่กันฝุ่น คือนี่ไม่ได้เตรียมไปแต่ดันไปช่วงคนมาปีนเยอะฝุ่นฟุ้งกระจาย
14. กระเป๋าแบ็คแพ็คเดินป่า ต้องใส่ข้างบนทุกอย่างได้ เป็นแบบกันน้ำก็จะดี แต่ถ้าไม่กันต้องพกผ้าคลุมกันฝนกันน้ำของกระเป๋ามาด้วย และที่สำคัญรวมๆแล้วต้องแบกให้ไหว เพราะเราจะต้องแบกมันไปตลอดทาง อันไหนคิดว่าไม่จำเป็นตัดออกได้ก็ตัดออก
ปล1. แต่เห็นบางคนไม่ใช้อุปกรณ์อะไรทั้งนั้นใส่ขาสั้นขึ้นไปถึงยอดเขาก็มี
ปล2. เราพักที่ Fujisan Hotel (Mountain Hut) ที่ระดับความสูง 3,400 m จองที่พักผ่านเว็บ http://www.fujimountainguides.com
ปล3. รายละเอียดรถบัส
จองรถบัสจากชินจูกุไปคาวา (Shinjuku to Kawaguchiko Station) https://highway-buses.jp/course/kawaguchiko.php หรือรอบรถไฟ http://www.hyperdia.com/en/
ตารางรถบัสจากคาวาไปฟูจิสเตชั่น 5 (Kawaguchiko Station to Fuji Subaru 5th Station) http://www.japan-guide.com/bus/fuji.html
ปล4. ใช้เวลาปีนขาขึ้น 7 ชม. (10:00-17:00 น.) ปีนถึงที่พักที่ระดับประมาณ 3,400 เมตร (รวมพักนั่งกินนู่นนี่นั่นให้หายเหนื่อยแล้ว เดินแบบช้ามากๆ) ใช้เวลาปีนต่ออีก 3 ชม. (2:00-5:00 น.) จากที่พักถึงยอดเขา (ต้องเตรียมใจไว้ว่าช้าแน่ๆ ในกรณีไปช่วงวันหยุดคนเยอะ เพราะทางเป็นหินชันๆ เดินได้เต็มที่สองคน จะเหมือนต่อคิวขึ้นเขา) หรือบางคนอาจเลือกเป็นปีนยาวรวดเดียวไม่ต้องจองที่พักก็มี จะเริ่มออกเดินช่วงบ่ายๆเย็นๆกันเพื่อไปถึงยอดให้ทันพระอาทิตย์ขึ้น (~ 4:30 น.) สำหรับขาลงนั้นใช้เวลาปีนประมาณ 4.5 ชม. (6:30-11:00 น.) ลื่นตลอดทาง ได้ไม้ค้ำช่วยชีวิตไว้
ปล.5 ตอนที่ปีนทรมานร่างกายมาก มีหลายช่วงที่คิดว่า ดูอยู่ข้างล่างก็สวยดีอยู่แล้ว ไปปีนเพื่อ!!! 55+ โมเม้นท์ที่ลงมาถึงชั้นห้าเพื่อขึ้นรถบัสกลับได้ ความรู้สึกคือรอดลงมาได้ก็สุดๆแล้ว แต่ก็เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ท้าทายมากมากและจะจำไปตลอดชีวิต