อารมณ์ เป็นสภาพธรรมที่ จิต หลงยึดถือเอาเข้ามาเป็นสมบัติของตนเอง ด้วยความสำคัญผิด เพราะความจริงนั้น อารมณ์ เป็นเพียงเงา และความรู้สึกที่มีต่อวัตถุหรือสิ่งที่อาศัยวัตถุเกิดขึ้นทั้งนั้น ล้วนแล้วแต่เกิดจากการประชุมปรุงแต่งของธาตุดินน้ำลมไฟ รวม ๔ ธาตุทั้งสิ้น ซึ่งไม่สามารถดำรงอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป ต้องเสื่อมสลายแตกดับไปเป็นธรรมดาทุกอารมณ์
อารมณ์ ดังกล่าวนี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส ความสัมผัสทางกาย รวม ๕ ทาง ซึ่งจะเข้าสู่ จิต ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียงคู่กันตามลำดับ
เมื่อ จิต รับรู้ อารมณ์ ทั้ง ๕ ดังกล่าวแล้ว ก็จดจำอารมณ์นั้นๆไว้ แล้วก็นึกน้อมขึ้นมารับรู้อีก โดยไม่ต้องอาศัยอารมณ์ทั้ง ๕ อีกก็ได้ เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความนึกคิดที่เก็บไว้ทางใจ (ธรรมารมณ์) อีกทางหนึ่ง รวมเป็น ๖ ทาง
อารมณ์ทั้ง ๖ ดังกล่าว คือ รูป เสียง กลิ่น รส ความสัมผัสทางกาย ความนึกคิดทางใจ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปสู่จิตทีละอารมณ์ ตลอดเวลาที่ตื่นนอน รวมทั้งในขณะนอนฝันด้วย สุดแล้วแต่ว่าจะเป็นอารมณ์ชนิดใด ครั้งละเพียงอารมณ์เดียวเท่านั้น
เมื่อ อารมณ์ ดังกล่าวนี้ปรากฏขึ้นเมื่อใด จิต ก็จะแล่นออกไปรับรู้ อารมณ์ ตามช่องทางที่เข้ามา กลายเป็น จิตผสมกับอารมณ์ เมื่อนั้น ทำให้เกิดความฟุ้งซ่านหวั่นไหว
ครั้นอารมณ์ดังกล่าวนี้ดับไป ความรู้สึกฟุ้งซ่านหวั่นไหว ก็ย่อมสงบลงชั่วขณะ จิต ก็จะดิ้นรนแสวงหา อารมณ์ อันอื่นเพื่อจะได้รับรู้ต่อไปอีก สุดแต่ว่าจะได้อารมณ์ที่พอใจมาทางใด เมื่อรับรู้อารมณ์ใหม่ก็เกิดความรู้สึกฟุ้งซ่านหวั่นไหวในลักษณะใหม่ด้วย อารมณ์ เหล่านี้ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปรุงแต่ง จิต ตลอดเวลาโดยไม่มีที่สิ้นสุด
ทั้งนี้เป็นเพราะ จิตไม่รู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง จึงหลงยึดเอาอารมณ์ซึ่งไม่เที่ยงไว้ โดยเข้าใจผิดว่าเที่ยงและมีแก่นสาร เนื่องจากไม่รู้จักตนเองที่แท้จริง.
อารมณ์เป็นสภาพธรรมที่จิตหลงยึดเป็นตนเอง
อารมณ์ ดังกล่าวนี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส ความสัมผัสทางกาย รวม ๕ ทาง ซึ่งจะเข้าสู่ จิต ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียงคู่กันตามลำดับ
เมื่อ จิต รับรู้ อารมณ์ ทั้ง ๕ ดังกล่าวแล้ว ก็จดจำอารมณ์นั้นๆไว้ แล้วก็นึกน้อมขึ้นมารับรู้อีก โดยไม่ต้องอาศัยอารมณ์ทั้ง ๕ อีกก็ได้ เป็นอารมณ์ที่เกิดจาก ความนึกคิดที่เก็บไว้ทางใจ (ธรรมารมณ์) อีกทางหนึ่ง รวมเป็น ๖ ทาง
อารมณ์ทั้ง ๖ ดังกล่าว คือ รูป เสียง กลิ่น รส ความสัมผัสทางกาย ความนึกคิดทางใจ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปสู่จิตทีละอารมณ์ ตลอดเวลาที่ตื่นนอน รวมทั้งในขณะนอนฝันด้วย สุดแล้วแต่ว่าจะเป็นอารมณ์ชนิดใด ครั้งละเพียงอารมณ์เดียวเท่านั้น
เมื่อ อารมณ์ ดังกล่าวนี้ปรากฏขึ้นเมื่อใด จิต ก็จะแล่นออกไปรับรู้ อารมณ์ ตามช่องทางที่เข้ามา กลายเป็น จิตผสมกับอารมณ์ เมื่อนั้น ทำให้เกิดความฟุ้งซ่านหวั่นไหว
ครั้นอารมณ์ดังกล่าวนี้ดับไป ความรู้สึกฟุ้งซ่านหวั่นไหว ก็ย่อมสงบลงชั่วขณะ จิต ก็จะดิ้นรนแสวงหา อารมณ์ อันอื่นเพื่อจะได้รับรู้ต่อไปอีก สุดแต่ว่าจะได้อารมณ์ที่พอใจมาทางใด เมื่อรับรู้อารมณ์ใหม่ก็เกิดความรู้สึกฟุ้งซ่านหวั่นไหวในลักษณะใหม่ด้วย อารมณ์ เหล่านี้ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปรุงแต่ง จิต ตลอดเวลาโดยไม่มีที่สิ้นสุด
ทั้งนี้เป็นเพราะ จิตไม่รู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง จึงหลงยึดเอาอารมณ์ซึ่งไม่เที่ยงไว้ โดยเข้าใจผิดว่าเที่ยงและมีแก่นสาร เนื่องจากไม่รู้จักตนเองที่แท้จริง.