EEC กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Air Rail Land Sea

โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในการที่จะแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยจะมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้นั้น จำเป็นต้องขับเคลื่อนภารกิจด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ จากร่างยุทธศาสตร์ระยะแรก จะเร่งแก้ไขปัญหาพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และเร่งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง

ประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาด้านถนนเป็นหลัก และมีการขยายอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ส่วนการพัฒนาการคมนาคมขนส่งในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะระบบรางได้หยุดพัฒนาไปอย่างสิ้นเชิง (ยกเว้นระบบรางภายในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS, MRT และ Airport Link)

ระบบขนส่งสินค้าของไทยในปัจจุบัน
• การขนส่งสินค้าภายในประเทศ เป็นการขนส่งทางถนนกว่า 80% รองลงมาเป็นทางแม่น้ำ 9% ทางชายฝั่งทะเล 8% ทางรถไฟ 2% และทางอากาศไม่ถึง 1%
• ขณะที่การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่ขนส่งทางทะเลเกือบ 89% รองลงมาเป็นทางถนน 10% และอื่น ๆ อีก 1%
จะเห็นได้ว่าการขนส่งของไทยยังพึ่งพาทางถนนเป็นหลัก ขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยในการขนส่งสินค้าทางถนนสูงกว่าทางรถไฟและทางน้ำ

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ลดความคับคั่งของการจราจร

การคมนาคม และการขนส่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีการค้าโลก และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่