เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) รวมทั้งปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับประเทศไทย
รัฐบาลพยายามผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ มุ่งเน้นที่ 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ได้แก่ หุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และการแพทย์ครบวงจร
นำโดยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติเป็นกลุ่มแรก เพราะเชื่อว่าเป็นอุตสาหกรรมที่จะยกระดับภาคการผลิตและบริการของประเทศทั้งระบบ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตหุ่นยนต์ในภูมิภาค
มาตรการระยะสั้นหรือช่วงเวลา 1 ปี จะต้องกระตุ้นตลาดหุ่นยนต์ในประเทศ ให้เกิดการลงทุนผลิตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ควบคู่กับการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 50%
ระยะกลาง 5 ปี จะยกระดับการผลิตและการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่มีความซับซ้อน หรือมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จะขยายตัว มีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท โดยสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบได้อย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ มีการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานมากกว่า 50% ทดแทนการนำเข้าหุ่นยนต์ 30% สร้าง System Integrator (SI) หรือผู้ทำหน้าที่ออกแบบติดตั้งระบบอัตโนมัติ จากปัจจุบันที่มีประมาณ 200 คนให้เป็น 1,400 คน
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลง อยู่ที่ “คน” โดยมี 2 ประเด็นหลักที่ต้องคำนึงถึง คือ
อัตราการว่างงานของคนจะสูงขึ้น โดยอีกไม่กี่ปีข้างหน้า งานที่ไม่มีความซับซ้อน (simply job) กว่า 90% จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี AI
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ให้ข้อมูลในงานสัมมนา Thailand SDGs Forum 2017 เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าตำแหน่งงานกว่า 98% โดยเฉพาะงานในออฟฟิศและแรงงานจะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ มีเพียง 3 อาชีพที่ได้รับผลกระทบจาก disruptive เทคโนโลยีน้อยที่สุดคือ ครู นักกฎหมาย และแพทย์
และ
จะต้องมีการพัฒนาคน โดยสร้างคนที่ต้องมีทักษะทันสมัย ตอบโจทย์ยุคสมัยของหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือทักษะดิจิทัล (digital literacy) ให้เพียงพอรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง
ที่ผ่านมามีการจัดตั้ง Center of Robotic Excellence (CoRE) เพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ที่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือของ 8 หน่วยงานนำร่อง ได้แก่ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้CoRE นี้จะทำหน้าที่รับรองนักลงทุนที่จะใช้สิทธิประโยชน์มาตรการภาษี ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ พัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
รวมถึงการเชิญชวนสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านหุ่นยนต์ในต่างประเทศเข้ามาร่วมตั้งสถาบันวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มีมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ในประเทศไทย
นโยบายและมาตรการที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐเพิ่งออกมาสนับสนุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ แต่ทางภาคเอกชนได้ตื่นตัวเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว โดยมีการลงทุนวิจัย พัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ
พัฒนาการทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดนี้ มนษย์อย่างเราจึงต้องเร่งพัฒนายกระดับศักยภาพให้ก้าวกระโดดตั้งรับทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้
“โอกาส” เป็น
“ความก้าวหน้า” อย่างเป็นคุณ ไม่ปล่อยให้
โอกาส กลายเป็น
“วิกฤติ”
ขอบคุณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณที่มาข้อมูล: กรุงเทพธุรกิจ
ขอบคุณที่มาภาพ: กูเกิ้ลและกระทู้อื่น ๆ ในพันทิป
มีปรับสีภาพ เพื่อให้เหมาะกับช่วงเวลานี้ ...เจ้าของภาพโปรดอภัย
หุ่นยนต์มาแรง เร่งพัฒนาทักษะมนุษย์รับการเปลี่ยนแปลง
รัฐบาลพยายามผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ มุ่งเน้นที่ 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ นำโดยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติเป็นกลุ่มแรก เพราะเชื่อว่าเป็นอุตสาหกรรมที่จะยกระดับภาคการผลิตและบริการของประเทศทั้งระบบ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตหุ่นยนต์ในภูมิภาค
มาตรการระยะสั้นหรือช่วงเวลา 1 ปี จะต้องกระตุ้นตลาดหุ่นยนต์ในประเทศ ให้เกิดการลงทุนผลิตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ควบคู่กับการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 50%
ระยะกลาง 5 ปี จะยกระดับการผลิตและการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่มีความซับซ้อน หรือมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จะขยายตัว มีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท โดยสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบได้อย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ มีการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานมากกว่า 50% ทดแทนการนำเข้าหุ่นยนต์ 30% สร้าง System Integrator (SI) หรือผู้ทำหน้าที่ออกแบบติดตั้งระบบอัตโนมัติ จากปัจจุบันที่มีประมาณ 200 คนให้เป็น 1,400 คน
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลง อยู่ที่ “คน” โดยมี 2 ประเด็นหลักที่ต้องคำนึงถึง คือ อัตราการว่างงานของคนจะสูงขึ้น โดยอีกไม่กี่ปีข้างหน้า งานที่ไม่มีความซับซ้อน (simply job) กว่า 90% จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี AI [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และจะต้องมีการพัฒนาคน โดยสร้างคนที่ต้องมีทักษะทันสมัย ตอบโจทย์ยุคสมัยของหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือทักษะดิจิทัล (digital literacy) ให้เพียงพอรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง
ที่ผ่านมามีการจัดตั้ง Center of Robotic Excellence (CoRE) เพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ที่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือของ 8 หน่วยงานนำร่อง ได้แก่ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมถึงการเชิญชวนสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านหุ่นยนต์ในต่างประเทศเข้ามาร่วมตั้งสถาบันวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มีมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ในประเทศไทย
นโยบายและมาตรการที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐเพิ่งออกมาสนับสนุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ แต่ทางภาคเอกชนได้ตื่นตัวเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว โดยมีการลงทุนวิจัย พัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ
พัฒนาการทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดนี้ มนษย์อย่างเราจึงต้องเร่งพัฒนายกระดับศักยภาพให้ก้าวกระโดดตั้งรับทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ “โอกาส” เป็น “ความก้าวหน้า” อย่างเป็นคุณ ไม่ปล่อยให้ โอกาส กลายเป็น “วิกฤติ”
ขอบคุณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้