“พูด ๆ เขียน ๆ ไปเถอะน่า ฝรั่งยังผิดแกรมมาร์เลย” คงเป็นคำพูดที่หลาย ๆ คนเคยได้ยินมา และเป็นข้ออ้างที่จะไม่สนใจการใช้ภาษาให้ถูกต้อง และมองว่า ไวยากรณ์ หรือ แกรมมาร์ เป็นสิ่งที่ละเลยได้
ความจริงแล้ว ข้อความข้างต้นก็อาจไม่ผิดเสียทีเดียว สำหรับคนที่ไม่ได้คิดจะนำภาษาไปใช้ในระดับวิชาชีพ หรือเพียงจะนำไปใช้ในบทสทนาหรือการสื่อสารที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
แต่หากคิดจะ “โกอินเตอร์” หรือใช้ภาษาในระดับวิชาชีพแล้ว ไวยากรณ์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
ไวยากรณ์ทำให้การสื่อสารมีความชัดเจน ช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความเข้าใจตรงกัน ที่สำคัญ ทำให้ผู้ส่งสารมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่เคารพในวิชาชีพด้วย โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์
การสื่อสารโดยผิดหลักไวยากรณ์ ก็เหมือนการขับรถที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและความเสียหายมากทีเดียว
ผมจำได้สมัยรับจ้างแปลเอกสารทางกฎหมายจำพวกสัญญา มีบางครั้ง ได้รับต้นฉบับที่เขียนไม่ถูกต้องตามหลักภาษาจนอ่านไม่เข้าใจ ผมเลยไม่กล้าแปล เพราะรู้ว่า แปลไปก็ต้องผิดแน่ ๆ
แน่นอน ในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน แม้แต่เจ้าของภาษาเอง ก็มีพูดผิดหลักไวยากรณ์บ้าง แต่อาจอนุโลมกันได้หากสื่อสารกันเข้าใจ ที่สำคัญ เมื่อผิดแล้ว ต้องรู้ตัวว่า ผิดอย่างไรและจะแก้ไขให้ถูกต้องอย่างไร การปล่อยปะละเลยไปเนิ่นนานจะยิ่งแก้ยากขึ้น
หลังจากศึกษาภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่งมาได้สักระยะ ผมชอบอ่านหนังสือไวยากรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบในรวดเดียวอย่างน้อย ๒ ครั้ง รอบแรกเป็นการอ่านทำความเข้าใจ ทำให้เห็นลักษณะและธรรมชาติของภาษานั้นโดยภาพรวม ส่วนรอบที่ ๒ และต่อจากนั้นคือการอ่านเก็บรายละเอียดและจำ แน่นอนที่มีลืมบ้าง ก็ต้องกลับไปทบทวนเรื่องที่ลืมเป็นครั้งคราว
อย่างไรก็ตาม การอ่านแต่หนังสือไวยากรณ์อย่างเดียวจะไม่เกิดประโยชน์มากนัก หากเราไม่หาโอกาสนำมาปรับใช้ตอนเราใช้ภาษานั้น ๆ การนำมาใช้จะช่วยให้เราเกิดความคุ้นเคย ตอนจะพูดจะเขียน ก็ไม่ต้องเสียเวลานึก
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ควรศึกษาควบคู่กับไวยากรณ์ คือ usage หรือการใช้คำ/วลีให้ถูกต้องตามสถานการณ์หรือบริบท
การใช้ภาษาอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยเรื่องการสื่อสารและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ส่งสารแล้ว ส่วนตัวผมคิดว่า ยังสะท้อนถึงความพิถีพิถัน ความละเมียดละไมของผู้ส่งสาร เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่สร้างความประทับใจแก่เจ้าของภาษาที่ได้ยินได้อ่านอย่างไม่รู้ลืม
-------------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวแนว hidden gems ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ
https://www.facebook.com/IRememberEurope/
ไวยากรณ์ (ไม่) สำคัญจริงหรือ?
ความจริงแล้ว ข้อความข้างต้นก็อาจไม่ผิดเสียทีเดียว สำหรับคนที่ไม่ได้คิดจะนำภาษาไปใช้ในระดับวิชาชีพ หรือเพียงจะนำไปใช้ในบทสทนาหรือการสื่อสารที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
แต่หากคิดจะ “โกอินเตอร์” หรือใช้ภาษาในระดับวิชาชีพแล้ว ไวยากรณ์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
ไวยากรณ์ทำให้การสื่อสารมีความชัดเจน ช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความเข้าใจตรงกัน ที่สำคัญ ทำให้ผู้ส่งสารมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่เคารพในวิชาชีพด้วย โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์
การสื่อสารโดยผิดหลักไวยากรณ์ ก็เหมือนการขับรถที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและความเสียหายมากทีเดียว
ผมจำได้สมัยรับจ้างแปลเอกสารทางกฎหมายจำพวกสัญญา มีบางครั้ง ได้รับต้นฉบับที่เขียนไม่ถูกต้องตามหลักภาษาจนอ่านไม่เข้าใจ ผมเลยไม่กล้าแปล เพราะรู้ว่า แปลไปก็ต้องผิดแน่ ๆ
แน่นอน ในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน แม้แต่เจ้าของภาษาเอง ก็มีพูดผิดหลักไวยากรณ์บ้าง แต่อาจอนุโลมกันได้หากสื่อสารกันเข้าใจ ที่สำคัญ เมื่อผิดแล้ว ต้องรู้ตัวว่า ผิดอย่างไรและจะแก้ไขให้ถูกต้องอย่างไร การปล่อยปะละเลยไปเนิ่นนานจะยิ่งแก้ยากขึ้น
หลังจากศึกษาภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่งมาได้สักระยะ ผมชอบอ่านหนังสือไวยากรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบในรวดเดียวอย่างน้อย ๒ ครั้ง รอบแรกเป็นการอ่านทำความเข้าใจ ทำให้เห็นลักษณะและธรรมชาติของภาษานั้นโดยภาพรวม ส่วนรอบที่ ๒ และต่อจากนั้นคือการอ่านเก็บรายละเอียดและจำ แน่นอนที่มีลืมบ้าง ก็ต้องกลับไปทบทวนเรื่องที่ลืมเป็นครั้งคราว
อย่างไรก็ตาม การอ่านแต่หนังสือไวยากรณ์อย่างเดียวจะไม่เกิดประโยชน์มากนัก หากเราไม่หาโอกาสนำมาปรับใช้ตอนเราใช้ภาษานั้น ๆ การนำมาใช้จะช่วยให้เราเกิดความคุ้นเคย ตอนจะพูดจะเขียน ก็ไม่ต้องเสียเวลานึก
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ควรศึกษาควบคู่กับไวยากรณ์ คือ usage หรือการใช้คำ/วลีให้ถูกต้องตามสถานการณ์หรือบริบท
การใช้ภาษาอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยเรื่องการสื่อสารและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ส่งสารแล้ว ส่วนตัวผมคิดว่า ยังสะท้อนถึงความพิถีพิถัน ความละเมียดละไมของผู้ส่งสาร เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่สร้างความประทับใจแก่เจ้าของภาษาที่ได้ยินได้อ่านอย่างไม่รู้ลืม
-------------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวแนว hidden gems ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ https://www.facebook.com/IRememberEurope/