ก่อนหน้านี้เรื่องราวเป็นยังไง?: ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกฟื้นขึ้นมาจากวิกฤต subprime ด้วยการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินแบบ QE (Quantitative Easing) ซึ่งพูดแบบง่ายๆ คือการพิมพ์เงินเพื่อเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และ mortgage-backed security จำนวนมหาศาล ซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลงอย่างมาก และสภาพคล่องทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ และภาคธุรกิจสามารถกู้ยืมด้วยดอกต่ำๆ หนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากนั้น การกดอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำๆ ยังทำให้การลงทุนใน “หุ้น” มีความน่าสนใจกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ ถือว่าเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่หนุนให้ตลาดหุ้นขาขึ้นวิ่งมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2009
เลิก QE ไปแล้วนี่ แล้วเรื่องนี่สำคัญยังไงอีก?: จริงอยู่ที่เฟดเลิกทำ QE ไปแล้วตั้งแต่ปี 2014 แต่การไล่ซื้อพันธบัตรจำนวนโคตะระเยอะช่วงก่อนหน้านี้ทำให้งบดุล (balance sheet) ของเฟดขยายจากประมาณ 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเฟดมีความเห็นว่าควรลดขนาดงบดุลนี้ลง ไอ้การลดขนาดงบดุลถือเป็นการดำเนินนโยบายการเงินแบบรัดกุมอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้น และชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ
นโยบายการเงินสหรัฐฯ เกี่ยวอะไรกับเรา?: เกี่ยวแน่นอนครับ ตลาดการเงินไทยได้รับอานิสงส์จากเงินทุนไหลเข้าจำนวนมากจากนโยบาย QE ของสหรัฐฯ ถ้ายังจำกันได้คือ SET วิ่งขึ้นมา peak ช่วงพฤษภา 2013 จนชนตอเมื่อเฟดประกาศจะเลิกทำ QE เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความปั่นป่วนในตลาดการเงินทั่วโลก และส่งผลให้เงินไหลออกจากตลาดหุ้นบ้านเราเป็นจำนวนมาก สร้างดอยให้ชาวเม่าลงหลักปักฐาน และสร้างแนวต้านสำคัญได้นานถึง 4 ปีกว่า จนเมื่อไม่กี่วันมานี้ตลาดหุ้นถึงจะกลับไปยืนเหนือ peak เดิม
ปี 2015 ก็เป็นตัวอย่างที่ดีอีกอัน เมื่อความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดการเงินโลกผันผวนอย่างมาก (อีกสองอย่างที่เป็นปัจจัยสำคัญคือความกังวลเศรษฐกิจจีน-ค่าเงินหยวน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทิ้งดิ่ง) และตลาดหุ้นบ้านเราที่พยายามกลับไปทดสอบจุด peak เดิมก็ร่วงกลับลงมาไม่เป็นท่า
ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยกลับขึ้นมายืนเหนือจุด peak ปี 2013 ได้อีกครั้ง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามากดดันครั้งนี้คือ “การลดขนาดงบดุล” ของเฟด ซึ่งอย่างที่บอกคือเป็นการใช้นโยบายการเงินแบบรัดกุมอย่างหนึ่ง และต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่ารายละเอียดจะเป็นอย่างไร จะมีแผนลดขนาดงบดุลอย่างรวดเร็วโดยใช้วิธีขายพันธบัตรที่ถืออยู่ทิ้ง (เคสสายโหด ที่ไม่น่าจะเกิด) หรือค่อยๆปล่อยให้พันธบัตรที่ถืออยู่หมดอายุไปเอง (เคสที่ซอฟกว่า และหลายคนคิดว่าน่าจะเกิด) ยังไงก็ดี เราน่าจะได้ทราบรายละเอียดกันช่วงคืนวันนี้ครับ แล้วพรุ่งนี้จะมาอัพเดทให้ฟังเพิ่มเติมนะครับ
อ่านรายละเอียดของการลดขนาดงบดุลเฟดที่:
https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-04-28/federal-reserve-ponders-how-to-do-the-big-unwind-quicktake-q-a
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจได้ที่เพจ:
https://www.facebook.com/thecoffeeshopinvestor/ ครับ
เฟดลดงบดุล เกี่ยวอะไรกับพอร์ตเรา [Part 1]
เลิก QE ไปแล้วนี่ แล้วเรื่องนี่สำคัญยังไงอีก?: จริงอยู่ที่เฟดเลิกทำ QE ไปแล้วตั้งแต่ปี 2014 แต่การไล่ซื้อพันธบัตรจำนวนโคตะระเยอะช่วงก่อนหน้านี้ทำให้งบดุล (balance sheet) ของเฟดขยายจากประมาณ 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเฟดมีความเห็นว่าควรลดขนาดงบดุลนี้ลง ไอ้การลดขนาดงบดุลถือเป็นการดำเนินนโยบายการเงินแบบรัดกุมอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้น และชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ
นโยบายการเงินสหรัฐฯ เกี่ยวอะไรกับเรา?: เกี่ยวแน่นอนครับ ตลาดการเงินไทยได้รับอานิสงส์จากเงินทุนไหลเข้าจำนวนมากจากนโยบาย QE ของสหรัฐฯ ถ้ายังจำกันได้คือ SET วิ่งขึ้นมา peak ช่วงพฤษภา 2013 จนชนตอเมื่อเฟดประกาศจะเลิกทำ QE เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความปั่นป่วนในตลาดการเงินทั่วโลก และส่งผลให้เงินไหลออกจากตลาดหุ้นบ้านเราเป็นจำนวนมาก สร้างดอยให้ชาวเม่าลงหลักปักฐาน และสร้างแนวต้านสำคัญได้นานถึง 4 ปีกว่า จนเมื่อไม่กี่วันมานี้ตลาดหุ้นถึงจะกลับไปยืนเหนือ peak เดิม
ปี 2015 ก็เป็นตัวอย่างที่ดีอีกอัน เมื่อความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดการเงินโลกผันผวนอย่างมาก (อีกสองอย่างที่เป็นปัจจัยสำคัญคือความกังวลเศรษฐกิจจีน-ค่าเงินหยวน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทิ้งดิ่ง) และตลาดหุ้นบ้านเราที่พยายามกลับไปทดสอบจุด peak เดิมก็ร่วงกลับลงมาไม่เป็นท่า
ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยกลับขึ้นมายืนเหนือจุด peak ปี 2013 ได้อีกครั้ง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามากดดันครั้งนี้คือ “การลดขนาดงบดุล” ของเฟด ซึ่งอย่างที่บอกคือเป็นการใช้นโยบายการเงินแบบรัดกุมอย่างหนึ่ง และต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่ารายละเอียดจะเป็นอย่างไร จะมีแผนลดขนาดงบดุลอย่างรวดเร็วโดยใช้วิธีขายพันธบัตรที่ถืออยู่ทิ้ง (เคสสายโหด ที่ไม่น่าจะเกิด) หรือค่อยๆปล่อยให้พันธบัตรที่ถืออยู่หมดอายุไปเอง (เคสที่ซอฟกว่า และหลายคนคิดว่าน่าจะเกิด) ยังไงก็ดี เราน่าจะได้ทราบรายละเอียดกันช่วงคืนวันนี้ครับ แล้วพรุ่งนี้จะมาอัพเดทให้ฟังเพิ่มเติมนะครับ
อ่านรายละเอียดของการลดขนาดงบดุลเฟดที่: https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-04-28/federal-reserve-ponders-how-to-do-the-big-unwind-quicktake-q-a
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจได้ที่เพจ: https://www.facebook.com/thecoffeeshopinvestor/ ครับ