FED หยุดลดงบดุลในเดือน ก.ย. หนุนสภาพคล่องโลกกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 4 ถือเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น แต่อีกแง่หนึ่งกลับสะท้อนข่าวร้ายที่โอกาสเศรษฐกิจโลกกลับสู่ขาลงมีมากขึ้น แนะอาศัยจังหวะตลาดหุ้นปรับขึ้นทยอยขายทำกำไร
• นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เปิดเผยว่า การส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นอย่างชัดเจนของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผ่านการปรับลดคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Dot Plot) จากเดิมที่ชี้ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยสองครั้งเป็นคงอัตราดอกเบี้ยไปตลอดทั้งปี 2562 พร้อมทั้งได้ประกาศแผนยุติการลดงบดุล (QT) โดยจะเริ่มชะลอการลดการถือครองพันธบัตรตั้งแต่เดือน พ.ค. และยุติการลดงบดุลลงในเดือนก.ย. ซึ่งตามแผนดังกล่าว ESU ประเมินว่าขนาดงบดุลของ Fed จะลดลงจากจุดสูงสุดที่ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2558 มาอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในสิ้นเดือน ก.ย. 2562 และทรงตัวที่ระดับดังกล่าวต่อไป
• อย่างไรก็ตาม ขนาดของงบดุลที่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนก.ย. 2562 นั้นถือว่ามีขนาดใหญ่มากหากเทียบกับแนวโน้มในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 ที่ขนาดงบดุลอยู่ที่ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหมายความว่าสภาพคล่องในสหรัฐฯ นั้นยังมีอยู่เหลือเฟือ ยิ่งไปกว่านั้นการยุติการลดขนาดงบดุลของ Fed จะหนุนให้สภาพคล่องของโลกที่ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีที่แล้ว กลับมาเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ซึ่งนับเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อตลาดหุ้นในปีนี้
“Fed คงนโยบายการเงินเดิม แต่มีท่าทีผ่อนคลาย (Dovish) มากกว่าที่คาด และยังคงย้ำว่าจะรอประเมินพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ตลาดเงิน รวมถึงเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าก่อน ซึ่งการปรับลดคาดการณ์ Dot Plot ดังกล่าว สะท้อนได้ว่า Fed อาจจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้วในปีนี้ และ Fed ยังจะยุติการปรับลดขนาดงบดุลในสิ้นเดือนก.ย.อีกด้วย ทำให้สภาพคล่องจะยังคงมีอยู่มากในตลาดและเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น” นายคมศรกล่าว
• ทั้งนี้ การส่งสัญญาณชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการประกาศยุติการลดงบดุลของ Fed ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า Fed เริ่มกังวลและเห็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น นักลงทุนยังควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกนั้นเริ่มเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรแล้ว ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะกลับมาเป็นขาลงนั้นมีสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยภาพเศรษฐกิจโลกปี 2562 มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างพร้อมเพรียงกัน (Global Synchronized Slowdown) หลังเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายทางการเงินและการคลังมีอย่างจำกัด ซึ่งต่างจากในช่วงปี 2559 ที่รัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และหนุนให้ตลาดหุ้นโลกกลับมาเป็นขาขึ้นได้อีกระลอกใหญ่
• ดังนั้น การตั้งเป้าหมายการลงทุนอาจต้องเปลี่ยนไปจากเดิมที่มุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นการเน้นการบริหารความเสี่ยงและรักษาเงินต้น ซึ่งนักลงทุนอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ REIT หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
• พร้อมทั้งแนะนำให้นักลงทุนอาศัยจังหวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้นทยอยขายทำกำไรออกมาก่อน และถือเงินสดบางส่วนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง TISCO ESU ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่ม Health Care มากกว่าตลาด (Overweight) เนื่องจาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงมีเสถียรภาพที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะที่ กลุ่ม Health Care แม้ในช่วงเศรษฐกิจหดตัวกำไรของหุ้นในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
https://web.facebook.com/TISCOeResearch/photos/a.586125484848126/1975952009198793/?type=3&theater
TISCO แนะทยอยขายหุ้น ...เอาแล้ว... เราสวนบทวิเคราะห์โบรกนี้ดีไหม....หุ้น TISCO ยังเป็นขาขึ้น หลายโบรกให้ซื้อกินปันผล
FED หยุดลดงบดุลในเดือน ก.ย. หนุนสภาพคล่องโลกกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 4 ถือเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น แต่อีกแง่หนึ่งกลับสะท้อนข่าวร้ายที่โอกาสเศรษฐกิจโลกกลับสู่ขาลงมีมากขึ้น แนะอาศัยจังหวะตลาดหุ้นปรับขึ้นทยอยขายทำกำไร
• นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เปิดเผยว่า การส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นอย่างชัดเจนของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผ่านการปรับลดคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Dot Plot) จากเดิมที่ชี้ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยสองครั้งเป็นคงอัตราดอกเบี้ยไปตลอดทั้งปี 2562 พร้อมทั้งได้ประกาศแผนยุติการลดงบดุล (QT) โดยจะเริ่มชะลอการลดการถือครองพันธบัตรตั้งแต่เดือน พ.ค. และยุติการลดงบดุลลงในเดือนก.ย. ซึ่งตามแผนดังกล่าว ESU ประเมินว่าขนาดงบดุลของ Fed จะลดลงจากจุดสูงสุดที่ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2558 มาอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในสิ้นเดือน ก.ย. 2562 และทรงตัวที่ระดับดังกล่าวต่อไป
• อย่างไรก็ตาม ขนาดของงบดุลที่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนก.ย. 2562 นั้นถือว่ามีขนาดใหญ่มากหากเทียบกับแนวโน้มในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 ที่ขนาดงบดุลอยู่ที่ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหมายความว่าสภาพคล่องในสหรัฐฯ นั้นยังมีอยู่เหลือเฟือ ยิ่งไปกว่านั้นการยุติการลดขนาดงบดุลของ Fed จะหนุนให้สภาพคล่องของโลกที่ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีที่แล้ว กลับมาเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ซึ่งนับเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อตลาดหุ้นในปีนี้
“Fed คงนโยบายการเงินเดิม แต่มีท่าทีผ่อนคลาย (Dovish) มากกว่าที่คาด และยังคงย้ำว่าจะรอประเมินพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ตลาดเงิน รวมถึงเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าก่อน ซึ่งการปรับลดคาดการณ์ Dot Plot ดังกล่าว สะท้อนได้ว่า Fed อาจจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้วในปีนี้ และ Fed ยังจะยุติการปรับลดขนาดงบดุลในสิ้นเดือนก.ย.อีกด้วย ทำให้สภาพคล่องจะยังคงมีอยู่มากในตลาดและเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น” นายคมศรกล่าว
• ทั้งนี้ การส่งสัญญาณชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการประกาศยุติการลดงบดุลของ Fed ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า Fed เริ่มกังวลและเห็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น นักลงทุนยังควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกนั้นเริ่มเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรแล้ว ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะกลับมาเป็นขาลงนั้นมีสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยภาพเศรษฐกิจโลกปี 2562 มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างพร้อมเพรียงกัน (Global Synchronized Slowdown) หลังเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายทางการเงินและการคลังมีอย่างจำกัด ซึ่งต่างจากในช่วงปี 2559 ที่รัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และหนุนให้ตลาดหุ้นโลกกลับมาเป็นขาขึ้นได้อีกระลอกใหญ่
• ดังนั้น การตั้งเป้าหมายการลงทุนอาจต้องเปลี่ยนไปจากเดิมที่มุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นการเน้นการบริหารความเสี่ยงและรักษาเงินต้น ซึ่งนักลงทุนอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ REIT หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
• พร้อมทั้งแนะนำให้นักลงทุนอาศัยจังหวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้นทยอยขายทำกำไรออกมาก่อน และถือเงินสดบางส่วนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง TISCO ESU ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่ม Health Care มากกว่าตลาด (Overweight) เนื่องจาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงมีเสถียรภาพที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะที่ กลุ่ม Health Care แม้ในช่วงเศรษฐกิจหดตัวกำไรของหุ้นในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
https://web.facebook.com/TISCOeResearch/photos/a.586125484848126/1975952009198793/?type=3&theater