เหตุที่ปฏิบัติล่าช้า...
มีธรรมดาเป็นอย่างนี้
- #เป็นธรรมดา -
------
..กลุ่มที่ 1. #ฉลาดทางโลก_ไม่ฉลาดทางธรรม
คนที่ตกเป็นทาสของความคิด ยึดติดอยู่กับการค้นหาความหมายชีวิตเชิงปรัชญา
คิดเอาเองว่า ความคิดจะทำให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างในโลกได้
คนพวกนี้จะถือความคิดเป็นใหญ่ ยึดติดอยู่กับการวิเคราะห์โดยไม่รู้ว่า...
มีภาวะบางอย่างที่เกินขีดความสามารถของสมองและระบบประสามสัมผัสของกายภาพมนุษย์ไปแล้ว...
(คิดไม่ได้ทำให้รู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิดเป็นเบื้องต้นเพื่อรู้ในท้ายที่สุด)
..กลุ่มที่ 2. #ชอบทำบุญ_ชอบสร้างแต่ไม่ชอบภาวนา...
..เพราะมีปัญญาทางโลกมาก ภาระมาก
เพียงแต่การทำบุญ ทำทานเป็นขั้นต้นของการทำลายความคับแคบของจิตที่ติดในวัตถุรูป จึงไม่ใช่ตัวที่จะทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งได้
จึงถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้ากระแสความดี
แต่ยังไปไม่ถึงตัวแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
..กลุ่มที่ 3. #รู้มากเถียงเยอะสอดส่องจับผิดคัดค้าน_ปฏิเสธโดยมีมานะมาก...
..เพราะเมื่อหาความรู้ได้แล้ว แทนที่จะลงมือปฏิบัติ กลับนำความรู้มาโต้เถียง วิเคราะห์ เที่ยวจับผิดสำนักนั้น สำนักนี้ โดยที่ไม่ได้ลงมือพัฒนาจิตใจของตน
ผลที่ตามมาก็คือ จิตใจจะยิ่งตกต่ำลงเรื่อยๆ เพราะอัตตาตัวตนพอกพูน คิดว่าตนเองดีกว่าผู้อื่นเพราะรู้หลักธรรมมาก จึงติดข้องในอุปกิเลส๑๖...
..กลุ่มที่ 4. #เมตตาต่อผู้อื่นแต่ไม่เมตตาต่อตนเอง....
เป็นผู้มุ่งมั่นในการทำสาธารณะประโยชน์มากจนเกินไป
ช่วยเหลือผู้อื่นจนไม่มีเวลาช่วยเหลือตนเอง
เมื่อช่วยเหลือผู้อื่นไปนานๆ มักจะมีความทุกข์ตามมาในภายหลัง
..เพราะเก็บเรื่องความทุกข์ของผู้อื่นมาคิด
จนวุ่นวายปวดหัวไปหมด
สุดท้ายก็เกิดความท้อแท้
เพราะไม่เข้าใจโลกภายนอกคือสิ่งที่เราไปควบคุมไม่ได้
..กลุ่มที่ 5. #จับผิดคนทั้งโลก_ไม่จับผิดตนเอง
(ไม่เพ่งโทษตน มัวแต่ไปตั้งโจทย์จับผิดผู้อื่น)
วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นมากเกินไป
คิดจะเปลี่ยนโลก เปลี่ยนสังคม
แต่ไม่เคยเปลี่ยนตนเอง เพ่งโทษความผิดพลาดของผู้อื่น
จนจิตใจตนเองขุ่นมัว ไม่มีความเบิกบานพอที่จะปฏิบัติธรรมได้เลย
คนเราถ้าจะเปลี่ยนแปลงโลกจึงต้องเปลี่ยนแปลงตนก่อน
ถ้าจะเปลี่ยนแปลงความคิดคนอื่น ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดตน...
..กลุ่มที่ 6. #ติดสมมุติ_ยึดติดกับรูปแบบ "อัตลักษณ์"
มีความเข้าใจผิด ชอบคิดว่าการปฏิบัติธรรมจะต้องทำในวัด
นุ่งขาวห่มขาว ต้องมีกฏระเบียบที่แตกต่างไปจากการใช้ชีวิตธรรมดา
บุคคลใดที่ยืนอยู่ที่ใดก็ยืนได้อย่างมั่นคง
จะอยู่ที่ไหนกาย วาจา สุจริตเป็นมงคล
กายย่อมเป็นสถานที่มงคลคือเป็นวัด
เมื่อใจสุจริตพร้อม ใจก็เป็นนักบวช ใจเป็นพระคือ ผู้ภาวนาอย่างแท้จริง
..กลุ่มที่ 7. #ทำแบบลุ่มๆดอนๆ
ทำไม่จริงก็ได้ของไม่จริง ทำถูกก็ได้ถูก ทำจริงก็พบจริง
โลกของจิตเป็นโลกของความรู้สึกในความรู้สึก
เมื่อห่างเหินไปไม่กี่เวลาก็ทำให้จดจำได้ยาก ยิ่งกว่าวัตถุรูป
การทำๆเลิกๆคือ พอมีใจฮึกเหิมก็ตั้งใจทำเอาจริงเอาจังจนเกิดความฟุ้งไป พอฟังธรรมเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า และลงมือปฏิบัติ เพียงแต่เป็นพวกขี้เบื่อ มีความเพียรน้อย ทำหนึ่งเดือน หยุดสองเดือน จนเลิกที่จะทำเพราะไม่เห็นผลในการปฏิบัติ
..การปฎิบัติ ถ้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับผลแห่งการปฏิบัติเองอย่างไม่ต้องสงสัย หลายคนปฏิบัติไปไม่ถึงจุดแห่งมรรคผล แต่กลับล้มเลิกกลางคัน ทำให้ขาดประสบการณ์ทางจิต เมื่อเลิกไป แล้วกลับมาทำใหม่ ก็เท่ากับเริ่มต้นกันใหม่ไม่จบสิ้น ที่สุดแล้วก็เกิดความท้อแท้ คิดว่าตนเองเป็นผู้ไร้วาสนาไม่อาจบรรลุธรรมได้ คนพวกนี้ก็มีไม่น้อย
..กลุ่มที่ 8. #เจอครูปลอม_ธรรมปลอม_เจอคนสอนปลอม
คือปฏิบัติผิดวิธีหมายความว่า... เป็นกลุ่มที่โชคร้ายที่สุด
เพราะคิดดี และต้องการทำดี แต่ไปเจออาจารย์ไม่ดี เจอสิบแปดมงกุฎ จึงทำให้การปฏิบัติผิดทิศผิดทางไปหมด คล้ายๆกับองคุลีมาลที่ถูกอาจารย์หลอก ในข้อนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการคบหากัลยาณมิตร หาความรู้ที่ถูกต้อง ต้องหัดใช้หลักกาลามสูตร รู้จักคิดพิจารณาว่าทำไม ทำต้องนานแต่ไม่ก้าวหน้า เช่นนี้ก็จะแก้ไขได้
..กลุ่มที่ 9. #ให้เวลากับทางโลกมากเกินไป
หมายความว่า ไม่รู้จักการแบ่งเวลา ไม่รู้จักสร้างสมดุลให้ชีวิต
คนพวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างวุ่นวายไปเรื่อยๆ ต้องสุข ต้องทุกข์ไปเรื่อยๆ อาจอยู่ห่างไกลการพัฒนาจิตใจไปเรื่อยๆ จนมีจุดเปลี่ยนของชีวิต เกิดความทุกข์ครั้งใหญ่จนทำให้เขาต้องกลับมาสร้างสมดุลชีวิตอีกครั้ง เป็นผลให้เสียเวลาปฏิบัติทางจิตไปมาก
..บางคนมาปฏิบัติในช่วงสุดท้ายของชีวิต ในช่วงเวทนาส่งผล
ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ดี เนื่องจากสังขารไม่อำนวย นั่งไปปวดไป ทำได้ไม่เท่าไหร่ ก็ลมจับ ล้มพับไปก็มี เป็นการเสียโอกาสเพราะโรคาพยาธิ ความชราภาพโดยแท้
..กลุ่มที่ 10. #จมทุกข์
คือ เอาอดีตมาเป็นปัจจุบัน เอาอนาคตมาเป็นความหวาดระแวง...
..คนที่ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง วันๆ เอาแต่ทุกข์ซ้ำไปซ้ำมา เหมือนพายเรือวนอยู่ในอ่าง จนเป็นคนเสพติดกับความเศร้า ความเหงาโดยไม่รู้ตัว นานวันเข้าก็เริ่มเป็นความเคยชินของชีวิต
คนเหล่านี้จะชอบฟังธรรมะที่ปลอบประโลม ชอบให้คนอื่นปลอบ แต่ไม่ชอบช่วยตนเอง นิยมการใช้ธรรมะชั้นต้นเพื่อบำบัดทุกข์ แต่ในขั้นตอนของการปฏิบัติภาวนาจะไม่ชอบ ไม่มีกำลังใจพอที่จะเปลี่ยนตนเองได้เลย...
....
Credit..@ชัชวาล เพ่งวรรธนะ
16 กรกฎาคม ·
เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติธรรมล่าช้า
มีธรรมดาเป็นอย่างนี้
- #เป็นธรรมดา -
------
..กลุ่มที่ 1. #ฉลาดทางโลก_ไม่ฉลาดทางธรรม
คนที่ตกเป็นทาสของความคิด ยึดติดอยู่กับการค้นหาความหมายชีวิตเชิงปรัชญา
คิดเอาเองว่า ความคิดจะทำให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างในโลกได้
คนพวกนี้จะถือความคิดเป็นใหญ่ ยึดติดอยู่กับการวิเคราะห์โดยไม่รู้ว่า...
มีภาวะบางอย่างที่เกินขีดความสามารถของสมองและระบบประสามสัมผัสของกายภาพมนุษย์ไปแล้ว...
(คิดไม่ได้ทำให้รู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิดเป็นเบื้องต้นเพื่อรู้ในท้ายที่สุด)
..กลุ่มที่ 2. #ชอบทำบุญ_ชอบสร้างแต่ไม่ชอบภาวนา...
..เพราะมีปัญญาทางโลกมาก ภาระมาก
เพียงแต่การทำบุญ ทำทานเป็นขั้นต้นของการทำลายความคับแคบของจิตที่ติดในวัตถุรูป จึงไม่ใช่ตัวที่จะทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งได้
จึงถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้ากระแสความดี
แต่ยังไปไม่ถึงตัวแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
..กลุ่มที่ 3. #รู้มากเถียงเยอะสอดส่องจับผิดคัดค้าน_ปฏิเสธโดยมีมานะมาก...
..เพราะเมื่อหาความรู้ได้แล้ว แทนที่จะลงมือปฏิบัติ กลับนำความรู้มาโต้เถียง วิเคราะห์ เที่ยวจับผิดสำนักนั้น สำนักนี้ โดยที่ไม่ได้ลงมือพัฒนาจิตใจของตน
ผลที่ตามมาก็คือ จิตใจจะยิ่งตกต่ำลงเรื่อยๆ เพราะอัตตาตัวตนพอกพูน คิดว่าตนเองดีกว่าผู้อื่นเพราะรู้หลักธรรมมาก จึงติดข้องในอุปกิเลส๑๖...
..กลุ่มที่ 4. #เมตตาต่อผู้อื่นแต่ไม่เมตตาต่อตนเอง....
เป็นผู้มุ่งมั่นในการทำสาธารณะประโยชน์มากจนเกินไป
ช่วยเหลือผู้อื่นจนไม่มีเวลาช่วยเหลือตนเอง
เมื่อช่วยเหลือผู้อื่นไปนานๆ มักจะมีความทุกข์ตามมาในภายหลัง
..เพราะเก็บเรื่องความทุกข์ของผู้อื่นมาคิด
จนวุ่นวายปวดหัวไปหมด
สุดท้ายก็เกิดความท้อแท้
เพราะไม่เข้าใจโลกภายนอกคือสิ่งที่เราไปควบคุมไม่ได้
..กลุ่มที่ 5. #จับผิดคนทั้งโลก_ไม่จับผิดตนเอง
(ไม่เพ่งโทษตน มัวแต่ไปตั้งโจทย์จับผิดผู้อื่น)
วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นมากเกินไป
คิดจะเปลี่ยนโลก เปลี่ยนสังคม
แต่ไม่เคยเปลี่ยนตนเอง เพ่งโทษความผิดพลาดของผู้อื่น
จนจิตใจตนเองขุ่นมัว ไม่มีความเบิกบานพอที่จะปฏิบัติธรรมได้เลย
คนเราถ้าจะเปลี่ยนแปลงโลกจึงต้องเปลี่ยนแปลงตนก่อน
ถ้าจะเปลี่ยนแปลงความคิดคนอื่น ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดตน...
..กลุ่มที่ 6. #ติดสมมุติ_ยึดติดกับรูปแบบ "อัตลักษณ์"
มีความเข้าใจผิด ชอบคิดว่าการปฏิบัติธรรมจะต้องทำในวัด
นุ่งขาวห่มขาว ต้องมีกฏระเบียบที่แตกต่างไปจากการใช้ชีวิตธรรมดา
บุคคลใดที่ยืนอยู่ที่ใดก็ยืนได้อย่างมั่นคง
จะอยู่ที่ไหนกาย วาจา สุจริตเป็นมงคล
กายย่อมเป็นสถานที่มงคลคือเป็นวัด
เมื่อใจสุจริตพร้อม ใจก็เป็นนักบวช ใจเป็นพระคือ ผู้ภาวนาอย่างแท้จริง
..กลุ่มที่ 7. #ทำแบบลุ่มๆดอนๆ
ทำไม่จริงก็ได้ของไม่จริง ทำถูกก็ได้ถูก ทำจริงก็พบจริง
โลกของจิตเป็นโลกของความรู้สึกในความรู้สึก
เมื่อห่างเหินไปไม่กี่เวลาก็ทำให้จดจำได้ยาก ยิ่งกว่าวัตถุรูป
การทำๆเลิกๆคือ พอมีใจฮึกเหิมก็ตั้งใจทำเอาจริงเอาจังจนเกิดความฟุ้งไป พอฟังธรรมเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า และลงมือปฏิบัติ เพียงแต่เป็นพวกขี้เบื่อ มีความเพียรน้อย ทำหนึ่งเดือน หยุดสองเดือน จนเลิกที่จะทำเพราะไม่เห็นผลในการปฏิบัติ
..การปฎิบัติ ถ้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับผลแห่งการปฏิบัติเองอย่างไม่ต้องสงสัย หลายคนปฏิบัติไปไม่ถึงจุดแห่งมรรคผล แต่กลับล้มเลิกกลางคัน ทำให้ขาดประสบการณ์ทางจิต เมื่อเลิกไป แล้วกลับมาทำใหม่ ก็เท่ากับเริ่มต้นกันใหม่ไม่จบสิ้น ที่สุดแล้วก็เกิดความท้อแท้ คิดว่าตนเองเป็นผู้ไร้วาสนาไม่อาจบรรลุธรรมได้ คนพวกนี้ก็มีไม่น้อย
..กลุ่มที่ 8. #เจอครูปลอม_ธรรมปลอม_เจอคนสอนปลอม
คือปฏิบัติผิดวิธีหมายความว่า... เป็นกลุ่มที่โชคร้ายที่สุด
เพราะคิดดี และต้องการทำดี แต่ไปเจออาจารย์ไม่ดี เจอสิบแปดมงกุฎ จึงทำให้การปฏิบัติผิดทิศผิดทางไปหมด คล้ายๆกับองคุลีมาลที่ถูกอาจารย์หลอก ในข้อนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการคบหากัลยาณมิตร หาความรู้ที่ถูกต้อง ต้องหัดใช้หลักกาลามสูตร รู้จักคิดพิจารณาว่าทำไม ทำต้องนานแต่ไม่ก้าวหน้า เช่นนี้ก็จะแก้ไขได้
..กลุ่มที่ 9. #ให้เวลากับทางโลกมากเกินไป
หมายความว่า ไม่รู้จักการแบ่งเวลา ไม่รู้จักสร้างสมดุลให้ชีวิต
คนพวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างวุ่นวายไปเรื่อยๆ ต้องสุข ต้องทุกข์ไปเรื่อยๆ อาจอยู่ห่างไกลการพัฒนาจิตใจไปเรื่อยๆ จนมีจุดเปลี่ยนของชีวิต เกิดความทุกข์ครั้งใหญ่จนทำให้เขาต้องกลับมาสร้างสมดุลชีวิตอีกครั้ง เป็นผลให้เสียเวลาปฏิบัติทางจิตไปมาก
..บางคนมาปฏิบัติในช่วงสุดท้ายของชีวิต ในช่วงเวทนาส่งผล
ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ดี เนื่องจากสังขารไม่อำนวย นั่งไปปวดไป ทำได้ไม่เท่าไหร่ ก็ลมจับ ล้มพับไปก็มี เป็นการเสียโอกาสเพราะโรคาพยาธิ ความชราภาพโดยแท้
..กลุ่มที่ 10. #จมทุกข์
คือ เอาอดีตมาเป็นปัจจุบัน เอาอนาคตมาเป็นความหวาดระแวง...
..คนที่ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง วันๆ เอาแต่ทุกข์ซ้ำไปซ้ำมา เหมือนพายเรือวนอยู่ในอ่าง จนเป็นคนเสพติดกับความเศร้า ความเหงาโดยไม่รู้ตัว นานวันเข้าก็เริ่มเป็นความเคยชินของชีวิต
คนเหล่านี้จะชอบฟังธรรมะที่ปลอบประโลม ชอบให้คนอื่นปลอบ แต่ไม่ชอบช่วยตนเอง นิยมการใช้ธรรมะชั้นต้นเพื่อบำบัดทุกข์ แต่ในขั้นตอนของการปฏิบัติภาวนาจะไม่ชอบ ไม่มีกำลังใจพอที่จะเปลี่ยนตนเองได้เลย...
....
Credit..@ชัชวาล เพ่งวรรธนะ
16 กรกฎาคม ·