อ่านข่าวนี้แล้วไม่ค่อยเข้าใจ ใครพอทราบบ้าง ... ลึก ๆ คืออะไร
"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง) ทำหน้าที่ ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วย ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน ตรวจสอบผลการดำเนินงาน ตรวจสอบรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีและงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดิน ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี ตรวจสอบการจัดเก็บและการประเมินภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้
ถ้าเป็นภาคเอกชน ก็คือ ผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Internal Auditor นั่นเอง ทำงานอย่างเดียวกัน ต่างกันตรงที่ สตง. ตรวจสอบหน่วยงานรัฐ แต่ไม่ว่า จะเป็นผู้ตรวจสอบบริษัท หรือ ผู้ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดิน ล้วนต้องปฏิบัติหน้าที่ และดำรงตน โดยยึดหลักจรรยาบรรณ ของผู้ประกอบอาชีพตรวจสอบภายในเหมือนกันคือ มีความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม การปกปิดความลับ และความสามารถในหน้าที่
ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ความซื่อสัตย์ของผู้ตรวจสอบภายในจะสร้างให้ เกิดความไว้วางใจและทำให้ดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบภายในมีความน่าเชื่อถือและยอมรับจากบุคคลทั่วไป
ความเที่ยงธรรม ( Objectivity ) ผู้ตรวจสอบภายในจะแสดงความเที่ยงธรรม เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการรวบรวมข้อมูล ประเมินผล และรายงานด้วยความไม่ลำเอียง ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องทำหน้าที่อย่างเป็นธรรมในทุก ๆ สถานการณ์ และไม่ปล่อยให้ความรู้สึกส่วนตัวหรือความรู้สึกนึกคิด ของบุคคลอื่นเข้ามามีอิทธิพลเหนือการปฏิบัติงาน
การปกปิดความลับ ( Confidentiality ) ผู้ตรวจสอบภายในจะเคารพใน คุณค่าและสิทธิของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่ได้รับทราบจากการปฏิบัติงาน และไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเสียก่อน ยกเว้นในกรณีที่มีพันธะในแง่ของงานอาชีพและเกี่ยวข้องกับกฎหมายเท่านั้น
ความสามารถในหน้าที่ ( Competency ) ผู้ตรวจสอบภายในจะนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
ทั้งนี้เพราะ ผู้ตรวจสอบ มีอำนาจกว้างขวาง สามารถเข้าถึงภายในขององค์กรได้ทุกระดับ และดุลพินิจของผู้ตรวจสอบเป็นสิง่ที่ให้คุณ ให้โทษ ถึงขั้นติดคุก ติดตะรางได้ จึงต้องทำหน้าที่ โดยยึดหลักจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ตามหลัก ยิ่งมีอำนาจมาก ก็ยิ่งต้องตีกรอบการใช้อำนาจอย่างเข้มงวด
ที่ผ่านมา สตง. ทำงานแบบปิดทองหลังพระ ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินอย่างเงียบๆ รุ้กับภายในระsว่างผู้ตรวจสอบ กับผุ้ถูกตรวจสอบ เมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติ ก็รายงานให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ทราบ และสั่งการเพื่อแก้ไข เป็นการทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในอย่างมืออาชีพ ทำให้ สตง. เป็นองค์กรตรวจสอบ ที่ได้รับการเคารพ และยำเกรง จากหน่วยราชการ
จะมีก็ยุค ผู้ว่า สตงง คนปัจจุบัน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส นี่แหละ ที่ดูเหมือน จรรยาบรรณของผุ้ตรวจสอบภายใน ถูกท้าทาย ทดสอบอน่างหนักหน่วง โดยเฉพาะเรื่อง ความเที่ยงธรรม และ การปกปิดความลับ
กรณีขอโทษ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการ กทม. แลกกับการถอนฟ้อง คดีหมิ่นประมาท จากการที่ ผู้ว่า ส.ต.ง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า โครงการค่าใช้จ่ายการประดับไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของ กทม. ช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ถึง 31 มกราคม 2559 มีการฮั้วราคา มีความไม่สุจริต และมีข้อพิรุธ โดยอ้างว่า เป็นความเห็นเบื้องต้นของ สตง. เท่านั้น ยังต้องส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เป็นเรื่องที่หมื่นเหม่ต่อการ ละเมิดจรรยาบรรณ ผู้ตรวจสอบภายใน อย่างยิ่ง
เมื่อ ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบเบื้องต้น ออกมายอมรับต่อสังคมว่า ผู้ถูกตรวจสอบ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความซื่อสัตย์ เป็นที่ยอมรับของประชาชน เสียแล้ว น่าสังสัยว่า จะมีผลต่อ ป.ป.ช. ในการวินิจฉัย โครงการประดับไฟฟ้า ของ กทม. หรือไม่
เรื่องนี้ ทำให้ต้องตั้งคำถามว่า แล้วที่ผ่านๆมา ที่ ผู้ว่า สตง. คนนี้ ขยันออกสื่อว่า หน่วยงาน องค์กรของรัฐ มีการจัดซื้อ จัดจ้าง ทำสัญญาไม่โปร่งใส ฮั้วราคา เอื้อประโยชน์ให้คู่สัญญา เป็นความเห็นเบื้องต้น ด้วยหรือเปล่า
กรณี ผู้ว่า สตง. ต้องขอโทษ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ แลกกับการถอนฟ้องคดี หมิ่นประมาท ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวของ นายพิศิษฐ์ ทำให้เกิดผลสะเทือนต่อภาพลักษณ์องค์กร ผู้ตรวจสอบมืออาชีพของ สตง. ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ ก็เป็นบทเรียน และเป็นโอกาสให้ ผู้ว่า สตง. ได้ตรวจสอบ การทำหน้าที่ผู้นำ องค์กรตรวจสอบภายในของรัฐ เพื่อรักษาเกียรติภูภูมิ ศักดืศรี ของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้คงอยู่ต่อไป
https://mgronline.com/daily/detail/9600000094530
เกิดอะไรขึ้น ข่าวนี้ใครรู้บ้าง?
"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง) ทำหน้าที่ ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วย ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน ตรวจสอบผลการดำเนินงาน ตรวจสอบรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีและงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดิน ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี ตรวจสอบการจัดเก็บและการประเมินภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้
ถ้าเป็นภาคเอกชน ก็คือ ผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Internal Auditor นั่นเอง ทำงานอย่างเดียวกัน ต่างกันตรงที่ สตง. ตรวจสอบหน่วยงานรัฐ แต่ไม่ว่า จะเป็นผู้ตรวจสอบบริษัท หรือ ผู้ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดิน ล้วนต้องปฏิบัติหน้าที่ และดำรงตน โดยยึดหลักจรรยาบรรณ ของผู้ประกอบอาชีพตรวจสอบภายในเหมือนกันคือ มีความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม การปกปิดความลับ และความสามารถในหน้าที่
ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ความซื่อสัตย์ของผู้ตรวจสอบภายในจะสร้างให้ เกิดความไว้วางใจและทำให้ดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบภายในมีความน่าเชื่อถือและยอมรับจากบุคคลทั่วไป
ความเที่ยงธรรม ( Objectivity ) ผู้ตรวจสอบภายในจะแสดงความเที่ยงธรรม เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการรวบรวมข้อมูล ประเมินผล และรายงานด้วยความไม่ลำเอียง ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องทำหน้าที่อย่างเป็นธรรมในทุก ๆ สถานการณ์ และไม่ปล่อยให้ความรู้สึกส่วนตัวหรือความรู้สึกนึกคิด ของบุคคลอื่นเข้ามามีอิทธิพลเหนือการปฏิบัติงาน
การปกปิดความลับ ( Confidentiality ) ผู้ตรวจสอบภายในจะเคารพใน คุณค่าและสิทธิของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่ได้รับทราบจากการปฏิบัติงาน และไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเสียก่อน ยกเว้นในกรณีที่มีพันธะในแง่ของงานอาชีพและเกี่ยวข้องกับกฎหมายเท่านั้น
ความสามารถในหน้าที่ ( Competency ) ผู้ตรวจสอบภายในจะนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
ทั้งนี้เพราะ ผู้ตรวจสอบ มีอำนาจกว้างขวาง สามารถเข้าถึงภายในขององค์กรได้ทุกระดับ และดุลพินิจของผู้ตรวจสอบเป็นสิง่ที่ให้คุณ ให้โทษ ถึงขั้นติดคุก ติดตะรางได้ จึงต้องทำหน้าที่ โดยยึดหลักจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ตามหลัก ยิ่งมีอำนาจมาก ก็ยิ่งต้องตีกรอบการใช้อำนาจอย่างเข้มงวด
ที่ผ่านมา สตง. ทำงานแบบปิดทองหลังพระ ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินอย่างเงียบๆ รุ้กับภายในระsว่างผู้ตรวจสอบ กับผุ้ถูกตรวจสอบ เมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติ ก็รายงานให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ทราบ และสั่งการเพื่อแก้ไข เป็นการทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในอย่างมืออาชีพ ทำให้ สตง. เป็นองค์กรตรวจสอบ ที่ได้รับการเคารพ และยำเกรง จากหน่วยราชการ
จะมีก็ยุค ผู้ว่า สตงง คนปัจจุบัน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส นี่แหละ ที่ดูเหมือน จรรยาบรรณของผุ้ตรวจสอบภายใน ถูกท้าทาย ทดสอบอน่างหนักหน่วง โดยเฉพาะเรื่อง ความเที่ยงธรรม และ การปกปิดความลับ
กรณีขอโทษ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการ กทม. แลกกับการถอนฟ้อง คดีหมิ่นประมาท จากการที่ ผู้ว่า ส.ต.ง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า โครงการค่าใช้จ่ายการประดับไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของ กทม. ช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ถึง 31 มกราคม 2559 มีการฮั้วราคา มีความไม่สุจริต และมีข้อพิรุธ โดยอ้างว่า เป็นความเห็นเบื้องต้นของ สตง. เท่านั้น ยังต้องส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เป็นเรื่องที่หมื่นเหม่ต่อการ ละเมิดจรรยาบรรณ ผู้ตรวจสอบภายใน อย่างยิ่ง
เมื่อ ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบเบื้องต้น ออกมายอมรับต่อสังคมว่า ผู้ถูกตรวจสอบ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความซื่อสัตย์ เป็นที่ยอมรับของประชาชน เสียแล้ว น่าสังสัยว่า จะมีผลต่อ ป.ป.ช. ในการวินิจฉัย โครงการประดับไฟฟ้า ของ กทม. หรือไม่
เรื่องนี้ ทำให้ต้องตั้งคำถามว่า แล้วที่ผ่านๆมา ที่ ผู้ว่า สตง. คนนี้ ขยันออกสื่อว่า หน่วยงาน องค์กรของรัฐ มีการจัดซื้อ จัดจ้าง ทำสัญญาไม่โปร่งใส ฮั้วราคา เอื้อประโยชน์ให้คู่สัญญา เป็นความเห็นเบื้องต้น ด้วยหรือเปล่า
กรณี ผู้ว่า สตง. ต้องขอโทษ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ แลกกับการถอนฟ้องคดี หมิ่นประมาท ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวของ นายพิศิษฐ์ ทำให้เกิดผลสะเทือนต่อภาพลักษณ์องค์กร ผู้ตรวจสอบมืออาชีพของ สตง. ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ ก็เป็นบทเรียน และเป็นโอกาสให้ ผู้ว่า สตง. ได้ตรวจสอบ การทำหน้าที่ผู้นำ องค์กรตรวจสอบภายในของรัฐ เพื่อรักษาเกียรติภูภูมิ ศักดืศรี ของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้คงอยู่ต่อไป
https://mgronline.com/daily/detail/9600000094530