กรณีหญิงเป็ดพาเจ้าหน้าที่ สตง. ไปดูงานที่ยุโรป 5-14 พ.ย. 2546
ด้วยการพาลูกสาวและน้องไปด้วย โดยการใช้ตั๋วฟรีของการบินไทยที่อนุเคราะ์ให้ สตง.
ตั๋วฟรีที่การบินไทยมีวัตถุประสงค์มอบให้เจ้าหน้าที่ สตง. แต่หญิงเป็ดกลับเอาให้ลูกสาวและน้องสาว
ตั๋วฟรีที่การบินไทยมอบให้ สตง. สิบใบ และลดราคาค่าตั๋วให้อีก
จำนวนเจ้าหน้าที่ สตง.ที่ไปดูงาน มี 40 คน เมื่อลดราคาตั๋ว เมื่อมีตั๋วฟรีสิบใบ ราคาจ้างบริษัททัวร์ต้องลดลง
แต่ก็มีการจ่ายเงินค่าจ้างบริษัททัวร์เต็มจำนวนสามล้านกว่าบาท ด้วยการจ่ายเป็นเชคสามฉบับ
ป.ป.ช. มีมติชี้มูลเรื่องนี้ว่า
หญิงเป็ดผิดเพียงการปฎิบัติหน้าที่บกพร่อง ประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ
ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดอาญา
นี่เรียกได้ว่า ไต่สวนข้อเท็จจริงแบบเจตนาไม่เอาผิด ด้วยการตัดเรื่อง "เจตนา" ออกไป เพื่อไม่ให้ผิดอาญา
การนำลูกสาวและน้องสาวไป การจ่ายเต็มจำนวน ทั้งทีมีทั้งส่วนลดและตั๋วฟรี
ไม่ "เจตนา" ฉ้อราษฎร์บังหลวง แล้วเรียกว่าอะไร
กรณีนี้ หากเดาไม่ผิด สตง. คงเรียกหญิงเป็ดมาชี้แจง
แล้วหญิงเป็ดคงชี้แจงว่า ค่าจ้างที่จ่าย จ่ายตามส่วนลดราคาตั๋ว และหักค่าตั๋วฟรีแล้ว
ลูกสาวกับน้องสาว ไม่นึกว่าจะผิด ไปด้วยในฐานะที่ปรึกษาและผู้ช่วย
ป.ป.ช. ก็โอเค
ทั้งที่เรื่องนี้ หากสอบ "บัญชี" ของบริษัททัวร์ จะได้หลักฐานชัด
ว่ากระแสเงินของบริษัทเป็นอย่างไร
เชคค่าจ้างทัวร์สามฉบับ รับมาแล้วลงบัญชีเต็มไหม หากลงบัญชีเต็ม มีรายจ่ายอะไรออกไปบ้าง
ตรวจสอบได้ ง่าย ๆ ไม่ต้องระดับ ป.ป.ช. เด็กเรียนบัญชีก็ตรวจสอบได้
และแน่นอน หากมีการจ่ายคืนแบบใต้โต๊ะให้กับ สตง. ย่อมต้องจ่ายคืนเป็นเงินสด เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ
แต่สามารถตรวจสอบได้จากบัญชีของบริษัททัวร์
หากมีการจ่ายคืน (อาจอ้างจ่ายเป็นค่าอะไรก็ได้) จ่ายแบบปกติ ย่อมต้องจ่ายเป็นเชค เพราะยอดเงินต้องหลักแสนแน่
หากจ่ายเป็นเงินสด ผิดปกติทันที
เรื่องอย่างนี้ ป.ป.ช. ไต่สวนไหม สอบไหม สืบไหม ตรวจสอบไหม
หรือเอาแค่คำชี้แจงของหญิงเป็ด คำชี้แจงสองสามคำจากบริษัททัวร์แล้วสรุปว่าผิดแค่วินัย เพื่อตัดเรื่องอาญา
ประเด็นต่อมา ในฐานะผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ในทางหลักปฏิบัติ และหลักกฎหมาย ไม่มีทางที่หญิงเป็ดจะไม่รู้ว่า ระเบียบ กฎหมาย วิธีปฏิบัติเป็นอย่างไร
พฤติกรรมส่อชัดเจนว่า เจตนาบังหลวง ใช้ตำแหน่งหน้าที่เบียดบังผลประโยชน์ของทางราชการ
นี่ก็ผิดมาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว
ป.ป.ช. จึงเลี่ยงเรื่องเจตนา เพื่อหนีความผิดทางอาญามาตรา 157
บอกว่าผิดแค่เรื่องวินัย ไม่มีกฎหมายเอาผิดวินัยผู้ว่า สตง. จึงจบเรื่อง
ส่วนเรื่องถอดถอน
นายวิชา มหาคุณ ชี้แจงว่า ผู้มีอำนาจถอดถอนหญิงเป็ดคือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
แต่เมื่อหญิงเป็ดพ้นจากตำแหน่งแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ถอดถอน
นี่ก็เลี่ยงบาลี แถซะแบบไม่อายหมา
ตำแหน่งผู้ว่า สตง. นั้น คตง. มีอำนาจถอดถอนเมื่อขณะผู้ว่าคนนั้น ๆ ดำรงตำแหน่งอยู่
หากพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถอดถอน
เป็นกลไกตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่า สตง. ตามปกติ เป็นไปตาม พ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน
แต่ การถอดถอนหญิงเป็ด ไม่ใช่อำนาจของ คตง. เท่านั้น แต่เป็นอำนาจของ ป.ป.ช. ด้วย
ตามมาตรา 58 กฎหมาย ป.ป.ช.
ทำไม ป.ป.ช. ทำลืม ทำไมนายวิชาไม่เอ่ยถึง
เล่นวิธีแถหน้าด้าน ๆ ว่า อำนาจถอดถอนหญิงเป็ดเป็นของ คตง. เมื่อหญิงเป็ดพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ไม่ต้องถอดถอนอีก
มันเป็นการแถ ฉ้อฉลตัวบทกฎหมายอย่างไร้ยางอาย และเจตนาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบชัดเจน
กฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 58 บัญญัติไว้ว่า
" เมื่อปรากฏว่า
ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
วุฒิสภามีอำนาจดำเนินการถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ตามบทบัญญัติในหมวดนี้
1. นายกรัฐมนตรี
....
....
13. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน .... "
หาก ป.ป.ช. เล่นบทเลี่ยงบาลีว่า หญิงเป็ดไม่ได้ส่อทุจริต แค่ผิดระเบียบ
แต่หญิงเป็ด
ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อย่างแน่นอน
แล้วทำไมไม่ถอดถอน
ทำไมไม่ใช้กฎหมาย ป.ป.ช. ทำไมทำลืม หันไปอ้างกฎหมาย สตง. แล้วจบเรื่อง
กฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 92 ก็ระบุชัดว่า ให้ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการ
ผู้อำนาจถอดถอนหญิงเป็ดตามกฎหมาย ป.ป.ช. คือวุฒิสภา (ขณะนี้คือ สนช.)
แต่ ป.ป.ช. ไปอ้างแค่ คตง. แล้วจบเรื่อง
คตง. มีหน้าที่ "คัดเลือก" ผู้สมัครเป็นผู้ว่า สตง. อำนาจการแต่งตั้งเป็นของ ส.ว.
ฉะนั้น การถอดถอนตามกฎหมาย ป.ป.ช. จึงเป็นหน้าที่ของ ส.ว. (สนช.)
ป.ป.ช. เป็นเทวดามาจากไหน ที่จะอยู่เหนือกฎหมาย อยากทำอะไรก็ทำ อยากเล่นงานใครก็เล่น อยากอุ้มใครก็อุ้ม
นี่ไม่นับเรื่องที่อัยการสั่งฟ้องหญิงเป็ดเรื่องสัมนาปลอม สั่งฟ้องตั้งแต่ปี 57
ถึงตอนนี้ ป.ป.ช. ก็หน้ามึน อ้างเหมือนเดิม คือพ้นตำแหน่งแล้ว ไม่มีเหตุให้ถอดถอน
เรื่องสัมนาปลอม ขนาดผิดอาญา ป.ป.ช. มันยังทำหน้ามึนไม่ถอดถอน
เรื่องถอดถอนตามกฎหมาย ป.ป.ช. นั้น ไม่ใช่เรื่องทางอาญา แต่เป็นเรื่องสิทธิทางดำรงตำแหน่ง
เป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีก ไม่ว่าตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งข้าราชการระดับสูง
ป.ป.ช. มันคงกลัวหญิงเป็ดจะไม่ได้ดำรงตำแหน่ง เพราะหากถอดถอนต้องโดนตัดสิทธิ์ห้าปี
หรือดีไม่ดี ร่าง รธน. กีดกันคนอื่นว่า ใครเคยโดนดำเนินการถอดถอนหมดสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ป.ป.ช. มันเลยอุ้มหญิงเป็ดไว้
กฎหมายชัดเจน แล้วจะแถทำไม
ท่านหัวหน้า คสช. ครับ จะปล่อยไปแบบทำไม่รู้ไม่ชี้แบบนี้ไม่ได้นะครับ
สร้างความเสียหายให้บ้านเมืองอย่างยิ่ง ทั้งทางหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม
ประชาชนมองนะครับ ว่าเป็นการเลือกข้าง เลือกปฏิบัติ
ชัดขนาดนี้ ยังทำเฉย ปล่อยให้เป็นไป
บ้านเมืองบรรลัยหนักลึกลงไปอีกแน่นอนครับ
เอือมมมม... เอือมนายวิชา มหาคุณ เบื่อหน่าย รังเกียจ การปฏิบัติหน้าที่อย่างฉ้อฉลของ ป.ป.ช.
ด้วยการพาลูกสาวและน้องไปด้วย โดยการใช้ตั๋วฟรีของการบินไทยที่อนุเคราะ์ให้ สตง.
ตั๋วฟรีที่การบินไทยมีวัตถุประสงค์มอบให้เจ้าหน้าที่ สตง. แต่หญิงเป็ดกลับเอาให้ลูกสาวและน้องสาว
ตั๋วฟรีที่การบินไทยมอบให้ สตง. สิบใบ และลดราคาค่าตั๋วให้อีก
จำนวนเจ้าหน้าที่ สตง.ที่ไปดูงาน มี 40 คน เมื่อลดราคาตั๋ว เมื่อมีตั๋วฟรีสิบใบ ราคาจ้างบริษัททัวร์ต้องลดลง
แต่ก็มีการจ่ายเงินค่าจ้างบริษัททัวร์เต็มจำนวนสามล้านกว่าบาท ด้วยการจ่ายเป็นเชคสามฉบับ
ป.ป.ช. มีมติชี้มูลเรื่องนี้ว่า
หญิงเป็ดผิดเพียงการปฎิบัติหน้าที่บกพร่อง ประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ
ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดอาญา
นี่เรียกได้ว่า ไต่สวนข้อเท็จจริงแบบเจตนาไม่เอาผิด ด้วยการตัดเรื่อง "เจตนา" ออกไป เพื่อไม่ให้ผิดอาญา
การนำลูกสาวและน้องสาวไป การจ่ายเต็มจำนวน ทั้งทีมีทั้งส่วนลดและตั๋วฟรี
ไม่ "เจตนา" ฉ้อราษฎร์บังหลวง แล้วเรียกว่าอะไร
กรณีนี้ หากเดาไม่ผิด สตง. คงเรียกหญิงเป็ดมาชี้แจง
แล้วหญิงเป็ดคงชี้แจงว่า ค่าจ้างที่จ่าย จ่ายตามส่วนลดราคาตั๋ว และหักค่าตั๋วฟรีแล้ว
ลูกสาวกับน้องสาว ไม่นึกว่าจะผิด ไปด้วยในฐานะที่ปรึกษาและผู้ช่วย
ป.ป.ช. ก็โอเค
ทั้งที่เรื่องนี้ หากสอบ "บัญชี" ของบริษัททัวร์ จะได้หลักฐานชัด
ว่ากระแสเงินของบริษัทเป็นอย่างไร
เชคค่าจ้างทัวร์สามฉบับ รับมาแล้วลงบัญชีเต็มไหม หากลงบัญชีเต็ม มีรายจ่ายอะไรออกไปบ้าง
ตรวจสอบได้ ง่าย ๆ ไม่ต้องระดับ ป.ป.ช. เด็กเรียนบัญชีก็ตรวจสอบได้
และแน่นอน หากมีการจ่ายคืนแบบใต้โต๊ะให้กับ สตง. ย่อมต้องจ่ายคืนเป็นเงินสด เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ
แต่สามารถตรวจสอบได้จากบัญชีของบริษัททัวร์
หากมีการจ่ายคืน (อาจอ้างจ่ายเป็นค่าอะไรก็ได้) จ่ายแบบปกติ ย่อมต้องจ่ายเป็นเชค เพราะยอดเงินต้องหลักแสนแน่
หากจ่ายเป็นเงินสด ผิดปกติทันที
เรื่องอย่างนี้ ป.ป.ช. ไต่สวนไหม สอบไหม สืบไหม ตรวจสอบไหม
หรือเอาแค่คำชี้แจงของหญิงเป็ด คำชี้แจงสองสามคำจากบริษัททัวร์แล้วสรุปว่าผิดแค่วินัย เพื่อตัดเรื่องอาญา
ประเด็นต่อมา ในฐานะผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ในทางหลักปฏิบัติ และหลักกฎหมาย ไม่มีทางที่หญิงเป็ดจะไม่รู้ว่า ระเบียบ กฎหมาย วิธีปฏิบัติเป็นอย่างไร
พฤติกรรมส่อชัดเจนว่า เจตนาบังหลวง ใช้ตำแหน่งหน้าที่เบียดบังผลประโยชน์ของทางราชการ
นี่ก็ผิดมาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว
ป.ป.ช. จึงเลี่ยงเรื่องเจตนา เพื่อหนีความผิดทางอาญามาตรา 157
บอกว่าผิดแค่เรื่องวินัย ไม่มีกฎหมายเอาผิดวินัยผู้ว่า สตง. จึงจบเรื่อง
ส่วนเรื่องถอดถอน
นายวิชา มหาคุณ ชี้แจงว่า ผู้มีอำนาจถอดถอนหญิงเป็ดคือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
แต่เมื่อหญิงเป็ดพ้นจากตำแหน่งแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ถอดถอน
นี่ก็เลี่ยงบาลี แถซะแบบไม่อายหมา
ตำแหน่งผู้ว่า สตง. นั้น คตง. มีอำนาจถอดถอนเมื่อขณะผู้ว่าคนนั้น ๆ ดำรงตำแหน่งอยู่
หากพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถอดถอน
เป็นกลไกตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่า สตง. ตามปกติ เป็นไปตาม พ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน
แต่ การถอดถอนหญิงเป็ด ไม่ใช่อำนาจของ คตง. เท่านั้น แต่เป็นอำนาจของ ป.ป.ช. ด้วย
ตามมาตรา 58 กฎหมาย ป.ป.ช.
ทำไม ป.ป.ช. ทำลืม ทำไมนายวิชาไม่เอ่ยถึง
เล่นวิธีแถหน้าด้าน ๆ ว่า อำนาจถอดถอนหญิงเป็ดเป็นของ คตง. เมื่อหญิงเป็ดพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ไม่ต้องถอดถอนอีก
มันเป็นการแถ ฉ้อฉลตัวบทกฎหมายอย่างไร้ยางอาย และเจตนาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบชัดเจน
กฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 58 บัญญัติไว้ว่า
" เมื่อปรากฏว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
วุฒิสภามีอำนาจดำเนินการถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ตามบทบัญญัติในหมวดนี้
1. นายกรัฐมนตรี
....
....
13. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน .... "
หาก ป.ป.ช. เล่นบทเลี่ยงบาลีว่า หญิงเป็ดไม่ได้ส่อทุจริต แค่ผิดระเบียบ
แต่หญิงเป็ด ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อย่างแน่นอน
แล้วทำไมไม่ถอดถอน
ทำไมไม่ใช้กฎหมาย ป.ป.ช. ทำไมทำลืม หันไปอ้างกฎหมาย สตง. แล้วจบเรื่อง
กฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 92 ก็ระบุชัดว่า ให้ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการ
ผู้อำนาจถอดถอนหญิงเป็ดตามกฎหมาย ป.ป.ช. คือวุฒิสภา (ขณะนี้คือ สนช.)
แต่ ป.ป.ช. ไปอ้างแค่ คตง. แล้วจบเรื่อง
คตง. มีหน้าที่ "คัดเลือก" ผู้สมัครเป็นผู้ว่า สตง. อำนาจการแต่งตั้งเป็นของ ส.ว.
ฉะนั้น การถอดถอนตามกฎหมาย ป.ป.ช. จึงเป็นหน้าที่ของ ส.ว. (สนช.)
ป.ป.ช. เป็นเทวดามาจากไหน ที่จะอยู่เหนือกฎหมาย อยากทำอะไรก็ทำ อยากเล่นงานใครก็เล่น อยากอุ้มใครก็อุ้ม
นี่ไม่นับเรื่องที่อัยการสั่งฟ้องหญิงเป็ดเรื่องสัมนาปลอม สั่งฟ้องตั้งแต่ปี 57
ถึงตอนนี้ ป.ป.ช. ก็หน้ามึน อ้างเหมือนเดิม คือพ้นตำแหน่งแล้ว ไม่มีเหตุให้ถอดถอน
เรื่องสัมนาปลอม ขนาดผิดอาญา ป.ป.ช. มันยังทำหน้ามึนไม่ถอดถอน
เรื่องถอดถอนตามกฎหมาย ป.ป.ช. นั้น ไม่ใช่เรื่องทางอาญา แต่เป็นเรื่องสิทธิทางดำรงตำแหน่ง
เป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีก ไม่ว่าตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งข้าราชการระดับสูง
ป.ป.ช. มันคงกลัวหญิงเป็ดจะไม่ได้ดำรงตำแหน่ง เพราะหากถอดถอนต้องโดนตัดสิทธิ์ห้าปี
หรือดีไม่ดี ร่าง รธน. กีดกันคนอื่นว่า ใครเคยโดนดำเนินการถอดถอนหมดสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ป.ป.ช. มันเลยอุ้มหญิงเป็ดไว้
กฎหมายชัดเจน แล้วจะแถทำไม
ท่านหัวหน้า คสช. ครับ จะปล่อยไปแบบทำไม่รู้ไม่ชี้แบบนี้ไม่ได้นะครับ
สร้างความเสียหายให้บ้านเมืองอย่างยิ่ง ทั้งทางหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม
ประชาชนมองนะครับ ว่าเป็นการเลือกข้าง เลือกปฏิบัติ
ชัดขนาดนี้ ยังทำเฉย ปล่อยให้เป็นไป
บ้านเมืองบรรลัยหนักลึกลงไปอีกแน่นอนครับ