1. “การเตรียมสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาในระยะยาว”นั้น มุ่งถึงการใช้เวลาเตรียมการตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป – โดย“ระยะปลอดภัย”นั้น ควรจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือน – 2 ปี ภายในระยะเวลาขนาดนี้ ถ้ารู้จักตัวเอง+รู้จักเตรียมตัวดีๆ สามารถสอบติดได้แน่นอน!
2. ระยะเวลาที่ว่านับอย่างไร : ก่อนอื่นเราจะต้องดูว่า ก่อนหน้าสนามที่เราจะสอบนั้น เพิ่งมีการสอบผู้ช่วยฯสนามใหญ่ไปกี่เดือนแล้ว โดยเฉลี่ยระยะห่างระหว่างการสอบผู้ช่วยฯสนามใหญ่กับสนามใหญ่ด้วยกันนั้น ช่วงหลังๆ มักจะห่างกันประมาณ 1 ปี กับอีกไม่เกิน 6 เดือน (อาจจะห่างกันประมาณ 10 เดือน – 1 ปี 8 เดือน อย่างมากสุดไม่น่าเกินจากนี้) เราก็คำนวณเอาโดยประมาณว่า Deadline เราคือประมาณใด เช่นรอบนี้ มีข่าวเปิดสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามใหญ่ ประจำปี 2560 สอบประมาณ 19,25 พ.ย. และ 2 ธ.ค. 60 เราลองบวกเข้าไปเล่นๆสัก 1 ปี 3 เดือน เราก็จะได้ DEADLINE ของเราคือ ช่วงมีนาคม 2562 นั่นหมายความว่า มีนา62 เราจะต้องพร้อมสอบได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาแล้ว !
ถ้าเห็นว่ากระทู้นี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดโหวตทิ้งไว้ให้คนอื่นได้มาเห็นด้วยนะครับ
3. สำหรับน้องๆที่อายุยังไม่ถึง 25 ปี หรือคุณสมบัติด้านอายุงาน 2 ปียังไม่ครบ ก็ให้ดูว่าคุณสมบัติสมัครสอบเราจะครบในวันใด – ให้เอาวันนั้น (อย่างมากก็ + อีก 2 เดือน) เป็นวัน DEADLINE ของเรา เพราะเราต้องถือว่าวันที่เรามีสิทธิสมัครสอบ คือวันที่เราต้องพร้อมที่จะเข้าไปฟาดฟันในห้องสอบแล้ว
4. และขอเตือนน้องๆที่จบป.ตรีใหม่ กำลังจะสอบเนติ สอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพว่าความ(หรือตั๋วทนาย) ซึ่งมีความประสงค์จะใช้วุฒิทนายความมาสอบอัยการ,สอบผู้ช่วยฯ ว่า ถ้าน้องมีข้อจำกัดว่าจะต้องเลือกเอาอันใดอันหนึ่งระหว่างเนติกับตั๋ว น้องต้องเลือกตั๋วก่อนนะครับ เพราะนอกจากอย่างน้อยจะเป็นการรองรับอาชีพของน้องแล้ว + จะเป็นจุด START เริ่มนับอายุงานเพื่อสอบอัยการสอบผู้พิพากษาด้วย - หากน้องเร่งเอาเนติ แต่ตั๋วไม่ได้เสียที ก็คงต้องอ่านสอบผู้ช่วยฯไปเรื่อยๆ ไม่ได้สอบพร้อมเพื่อนซะทีแหล่ะครับ
5. ขอย้ำว่าการเตรียมวางแผนเพื่อสอบผู้ช่วยฯสนามใหญ่ นั้น “ #ทุกคนจะต้องมีDEADLINEเป็นของตัวเอง” เพราะการอ่านหนังสือแบบไม่มีเด๊ดไลน์ มันเหมือนการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด เราไม่สามารถวางแผนเส้นทางการเดินทางคือแผนการอ่านของเราให้ชัดเจนรัดกุมได้เลย แล้วจะกลายเป็นละครที่ไม่มีตอนจบ – จากนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่า เราเวลาอยู่ประมาณเท่าใดในการเตรียมสอบ ก็จะสามารถรู้ได้ว่าตนเองควรอ่านมากหรือน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ยังทำให้เราปรับเปลี่ยนแผนระหว่างสัปดาห์หรือ วันต่อวัน ได้เลยอีกด้วย!
6. แผนการอ่านเราจะต้องวางให้ชัดเจนว่า ช่วงใดอ่านอะไร ช่วงต่อไปอ่านอะไร ถัดไปอ่านอะไรอีก และจะต้องหยุดอ่านเพิ่มในช่วงที่เราเก็บไว้เพื่อ “ทบทวนทั้งหมดที่อ่านมา” ขอแยกรายละเอียดให้เห็นภาพชัดเจนดังนี้
7. วันๆหนึ่งเราต้องทำอะไรบ้าง : แน่นอนว่าก็ต้องแยกเป็นสำหรับ 2 กลุ่มอีกคือ คนที่ทำงานประจำ กับ คนที่มีอาชีพอ่านหนังสือสอบ ขอเริ่มสำหรับ “คนที่มีอาชีพอ่านหนังสือสอบ”ก่อน คุณจะต้องมี ENERGY ตลอดเวลา ต้องนึกถึงพุทธวจนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลาว่า “วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่?”! มิฉะนั้นคุณจะกลายเป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตนี้ว่าง ว่างเสียจนเอาเวลาที่มีค่า ไปใช้เรื่องไร้สาระอย่างอื่นมาก (โดยเฉพาะคนที่ทำงานไปด้วยจะเห็นคุณค่าของเวลาเหล่านี้ดี แต่เขาไม่มี ซึ่งคุณมีแต่กลับทิ้งมัน) ต้องคิดเสมอว่า การอ่านหนังสือ ก็คืออาชีพของเรา และต้องเต็มใจที่จะทำ OT ทุกวันโดยไม่มีวันหยุด!!
8. ขอยกตัวอย่างของผมเองตอนเตรียมสอบผู้ช่วยฯ-อัยการ สิ่งที่ผมต้องทำในแต่ละวันนั้นมีอะไรบ้าง ลองดูเป็นตัวอย่างรูปแบบหนึ่ง :
ช่วงที่ผมสอบเนติเสร็จได้ไม่ถึง 1 อาทิตย์ ประมาณช่วงสงกรานต์ 2557 ตอนนั้นอายุ 24 ปี เกือบ 2 เดือน รู้ตัวแล้วว่าใกล้ 25 มากแล้ว จึงเริ่มอ่านสอบผู้ช่วยฯต่อทันที ทั้งที่มีบ้านอยู่ที่กาญจนบุรี แต่ต้องออกมาพักอาศัยชั่วคราวที่ปิ่นเกล้า เพื่อที่จะแยกตัวเองออกจากความสบายและเพลิดเพลินเกินไปเมื่ออยู่กับครอบครัว เพื่อมาอาศัยพลังของสถานที่ที่ทำให้มี ENERGY อยู่ตลอดเวลาคือ “ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์” ที่นี่คนอ่านสอบเนติ-อัยการ-ผู้ช่วยฯ เยอะมาก มองไปโต๊ะไหนในห้องสมุดไหนก็มีแต่ประมวลฯทุกชั้นของทุกห้องสมุด
***สิ่งที่ทำแต่ละวัน แม้จะไม่แน่นอนตามนี้เสมอไป แต่ก็มักจะออกมาใน Pattern นี้ก็คือ
: ตื่นประมาณ 6 โมง อาบน้ำ ออกจากที่พักนั่งรถเมล์สาย 30 หรือ 123 หรือ 124 (หรือ 507 ซึ่งเข้ามธ.เฉพาะวันธรรมดา) ไปถึงธรรมศาสตร์ประมาณ 6.40 – 7.00 น. (ระหว่างออกจากห้อง รอรถเมล์ นั่งรถเมล์มามธ.ก็ฟังเสียงตัวบทที่ตัวเองอัดมาด้วยตลอดเวลา) ถึงโรงอาหารก็กินข้าวเช้าเสร็จไม่ถึง 7.30 ก็เริ่มท่องตัวบท ท่องที่โรงอาหารนั่นแล่ะครับเพราะห้องสมุดเปิด 8.00 ฉะนั้น กว่าจะถึงเวลาเข้าห้องสมุด วันนี้ก็ท่องได้แล้วครึ่งชั่วโมง
เริ่มยกที่หนึ่ง : 8.00 – 12.00 ช่วงนี้เป็นช่วงที่สมองผม FRESH มากที่สุด! ช่วงนี้จะอ่านได้มากที่สุด มากกว่าช่วงอื่นของทั้งวันรวมกันเสียอีก!! โดยช่วงที่อ่านหนังสือนี้ ก็จะมีช่วงเว้นจากอ่าน มาท่องตัวบทด้วย เพราะตัวบทนี่ต้องท่องตลอดเวลาอยู่แล้ว มันลืมง่ายแต่จำยาก ในทุกชั่วโมงนั้น : อ่าน 45 นาที พักเข้าห้องน้ำ+ท่องตัวบท 15 นาที แบบนี้ตลอด ซึ่งจะทำให้เราจำง่าย (เรื่องการท่องตัวบท ผมจะพูดถึงต่อไป)
12.00 -12.30 พักกินข้าวกลางวัน (ถ้ายังโอเค ก็จะเอาตัวบทท่องไปด้วย กินข้าวไปด้วย - แต่ถ้าเหนื่อยมากๆก็จะไม่เอาตัวบทไปด้วย แต่ก็จะฟังเสียงตัวบทแทน)
ยกที่สอง 13.00-16.30 ผมเริ่มอ่านช่วงที่ 2 ช่วงนี้ ผมจะเปลี่ยนวิชาจากตอนเช้าแล้ว เนื่องจากพื้นเพเป็นคนขี้เบื่อ ถ้าให้อ่านวิชาเดียวกันทั้งวันจิตใจจะรู้สึกไม่ค่อยชอบ จึงสลับๆกันไป เช่น เช้าอ่านทรัพย์ บ่ายอ่านวิ.อาญา ถ้าทรัพย์จบก่อนวิ.อาญา วันต่อมาเช้าก็อ่านหนี้ บ่ายอ่านวิ.อาญาต่อให้จบก่อนที่จะเอาวิชาอื่นมาแทน อะไรทำนองนี้ ; และก็เหมือนเดิมคือ แต่ละชั่วโมงก็มีทั้งอ่าน+ท่องตัวบท สลับกันไปแบบเดิม
16.30-17.00 กินข้าวเย็น ผมถูกบังคับด้วยเวลาของโรงอาหารธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เนื่องจากจะไม่เปิดถึงตอนเย็นมาก และหากจะไปกินแถวท่าพระจันทร์ก็อาจต้องรอคิวทำให้เสียเวลาอ่าน จึงเลือกกินโรงอาหารทุกมื้อ – เหมือนเดิมคือ ระหว่างกินก็หยิบตัวบทท่องไปด้วย ถ้าไม่เหนื่อยมาก (ถ้าเหนื่อยก็ฟังแทน หรือถ้าเหนื่อยสุดๆก็กินอย่างเดียว พักสมองไปเลย)
ยกที่สาม เป็นช่วงสุดท้ายของวัน แต่เนื่องจากอ่านมาหลายชั่วโมง จึงเบื่ออ่านแล้ว ผมก็เลยแบ่งเป็น 2 ช่วงเล็กคือ
17.30-19.00 ผมเอาข้อสอบมาทำ ทำทุกวันคือเอามาหัดคิด หัดทด สร้างระบบคำย่อของเรา สัญลักษณ์ในการโน้ตบนข้อความที่เป็นโจทย์ เป็นการฝึกเชื่อมโยงความรู้ที่อ่านมา และฝึกความเร็วจนชำนาญ (ส่วนการหัดเขียนนั้น ช่วงสอบผู้ช่วยฯไม่ได้หัดเขียนมาก เพราะตอนเตรียมสอบเนตินั้น ก็เขียนจนไม่รู้จะเขียนยังไงแล้ว)
หลังจากนั้น 19.00 ก็จะหยิบหนังสือที่อ่านในช่วงเช้าหรือบ่ายมาอ่านต่ออีกหน่อย หรือไม่ก็เอาฎีกาเป็นเล่มๆมาอ่านเลย จนกระทั่ง 20.30 ก็จะต้องกลับ เพราะถ้าช้ามากจะไม่มีรถเมล์ให้กลับแล้ว (ส่วนมากระหว่างนั่งรถเมล์กลับจะไม่ค่อยได้ฟังตัวบทแล้ว จะแอบงีบนิดนึงเพื่อชาร์จพลังไว้อ่านต่อที่ที่พักด้วย)
เมื่อถึงที่พัก อาบน้ำเรียบร้อย 22.00 วันไหนที่ไม่เหนื่อยมากก็จะอ่านต่ออีกสักหน่อย+ท่องตัวบทอีกหน่อย+ดูศัพท์อังกฤษบ้าง และก็ REVIEW ตัวเองว่าวันนี้อ่านอะไรได้บ้าง อ่านทันตามแผนไหม ต้องอ่านอะไรเพิ่ม +วางแผนว่าวันพรุ่งนี้จะอ่านอะไร จนประมาณ 5 ทุ่ม-เที่ยงคืนก็เข้านอน
วันไหนที่มีพลังเต็มที่ก็จะทำแบบนี้ได้เสมอ.
9. เห็นได้ว่า แต่ละวันๆนั้นเราไม่ได้ทำอยู่อย่างเดียว ทุก SKILLS เราต้องฝึกไม่ให้ขาด สำหรับผมความสำคัญอันดับ 1 คือ “ตัวบท” ---> 2. “ข้อสอบเก่า” ---> 3.หนังสือที่รวมแนวฎีกาสำคัญ (เช่น คำถาม-คำตอบท่านอ.ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์+จูริส) + ฎีกาของสำนักงานศาล(และของเนติด้วย แต่เน้นของศาลมากกว่า) ---> 4.หนังสือ/ตำรา/คำบรรยาย ที่เป็นคำอธิบาย
ทุกวัน เราจะต้องได้ครบทั้ง 4 ส่วนนี้ – ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้ทำงานไปด้วยคือ จะไม่ค่อยมีไฟในการอ่าน เพราะว่างเกินไป วันๆคิดว่าตัวเองว่าง แต่ไม่สำนึกว่าได้ทยอยทิ้งเวลาอันมีค่าของตัวเองไปทีละเล็กละน้อยจนเอามารวมกันสามารถเอามาอ่านอีกเป็นรอบได้เลย นอกจากนี้ ยังรู้สึกไม่ ACTIVE เพราะวันๆอยู่แต่กับหนังสือ ไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนหรือพบคนใหม่ๆ ไม่มีเรื่องที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ - การแก้ปัญหาสำหรับผมเองก็ไม่มีอะไรมาก คือพาตัวเองไปที่ห้องสมุดทันทีที่เปิดคือ 8.00 -- หลังจากนั้นเมื่อเราเห็นคนอื่นนั่งอ่านหนังสือแล้ว เราจะไม่ค่อยอยากพัก เพราะจะรู้สึกตามเขาไม่ทัน กำลังถูกทิ้งห่าง ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีที่คอยกระตุ้นให้ผมอ่านอยู่ตลอดเวลา และอยู่จนกระทั่งเวลาที่ห้องสมุดใกล้ปิด + ยิ่งไปกว่านั้น ผมเองมักชอบเปิดคลิป“ศิลปินไส้แห้ง” ที่ไปสัมภาษณ์อ.เฉลิมชัย มาฟังอยู่บ่อยๆ เพื่อคอยกระตุ้นตัวเองว่าวันนี้เรายังทำไม่ได้ดีพอ ความรู้สึกเนือยๆมันจะหายไปหมดเลย
10. ไม่เว้นแม่แต่ “คนที่ทำงานประจำ” แม้นว่าจะหาข้ออ้างสารพัดว่า เหนื่อย เวลาน้อย อยากพักบ้าง --- แต่ถ้าอยากสอบได้ผู้ช่วยฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนามใหญ่ คุณจะต้องรู้จักจำยอมอุทิศเวลาเพื่ออนาคตของตัวเอง ถ้าคิดว่าอาชีพที่ทำอยู่มีความสุขแล้ว ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากอยากเปลี่ยนอาชีพมารับราชการในอาชีพระดับนี้ ที่คนสอบ 8,000 กว่า ได้ไม่ค่อยถึง 100 คน แต่ไม่ยอมเปลี่ยนวิถีชีวิต ก็คงยากที่จะออกมาได้
แม้คนทำงานจะมีข้อเสียคือ เวลาน้อย แต่ข้อดีของคนที่ทำงานคือ ในจำนวนเวลาที่เท่ากัน คุณใช้ได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำงานเสียอีก เพราะคุณรู้ถึงคุณค่าของมันมากว่า เวลาเหล่านี้แหล่ะจะเป็นตัวเปลี่ยนอนาคต เปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณได้ ประสิทธิภาพของการใช้เวลาจึงมีมากกว่า ซึ่งแต่ละคนจะต้องวางแผนเอาเองว่า ในจำนวนเวลาเท่านั้น จะแบ่งทำอะไรได้เท่าใดบ้าง ในที่นี่ขอยกตัวอย่างการบริหารเวลาของท่านอาจารย์เอื้อน ขุนแก้ว มาให้ทุกคนได้ดู ซึ่งเมื่อผมเห็นครั้งแรก ก็รู้เลยว่าท่านอาจารย์เป็นยอดมนุษย์แน่นอน
ท่านอาจารย์เอื้อนตื่นตี 4.30 – 6.00 อ่านตัวบท
06.00-07.00 อาบน้ำ แต่งตัว เดินไปทำงาน
07.00-07.30 รับประทานอาหารเช้า
07.30-08.30 อ่านหนังสือ (ห้องสมุดกรมบังคับคดี)
หลังจากนั้นก็ทำงาน จนถึงเวลา
17.00–22.00 อ่านหนังสือ
22.30-24.00 ดูคำถาม, ข้อสอบเก่า, ฝึกเขียนตอบ , อ่านภาษาอังกฤษ
ท่านอาจารย์นอนเพียงวันละ 4 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น (ซึ่งทุกท่านไม่จำต้องทำตามเพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน) แต่ที่อยากให้ดูคือ ความวิริยะอุตสาหะของท่าน ทำให้ท่านสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา สนามใหญ่ ได้ที่ 1 ด้วยอายุเพียง 25 ปี ขณะที่ทำงานเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (หัวหน้าสาย) กรมบังคับคดี! – เห็นได้ว่า “ไม่มีข้ออ้างสำหรับคนที่กำลังจะประสบความสำเร็จ มีแต่สิ่งที่เรียกว่า “การวางแผน” เท่านั้น!!”
แนะนำว่า : ในช่วงเวลาทำงาน ระหว่างวันคุณจะต้องมีช่วงเวลาเล็กๆที่ว่างบ้าง ขอให้หยิบตัวบทขึ้นมาอ่านทันทีและตลอดเวลา เพราะตัวบทนั้นทำความเข้าใจจบได้ในตัวในห้วงระยะเวลาสั้นๆ ท่องบ่อยๆตลอดเวลาก็จะจำได้เอง [ต่างกับเอาหนังสือหรือคำอธิบายไปอ่าน ซึ่งกว่าจะจบแต่ละย่อหน้าต้องใช้สมาธิมากกว่า และช่วงเล็กๆในวันทำงานอาจจะไม่เอื้อพอ]
ถ้าเห็นว่ากระทู้นี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดโหวตทิ้งไว้ให้คนอื่นได้มาเห็นด้วยนะครับ
มีต่อครับ
"การเตรียมตัวสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา สนามใหญ่ ในระยะยาว"
2. ระยะเวลาที่ว่านับอย่างไร : ก่อนอื่นเราจะต้องดูว่า ก่อนหน้าสนามที่เราจะสอบนั้น เพิ่งมีการสอบผู้ช่วยฯสนามใหญ่ไปกี่เดือนแล้ว โดยเฉลี่ยระยะห่างระหว่างการสอบผู้ช่วยฯสนามใหญ่กับสนามใหญ่ด้วยกันนั้น ช่วงหลังๆ มักจะห่างกันประมาณ 1 ปี กับอีกไม่เกิน 6 เดือน (อาจจะห่างกันประมาณ 10 เดือน – 1 ปี 8 เดือน อย่างมากสุดไม่น่าเกินจากนี้) เราก็คำนวณเอาโดยประมาณว่า Deadline เราคือประมาณใด เช่นรอบนี้ มีข่าวเปิดสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามใหญ่ ประจำปี 2560 สอบประมาณ 19,25 พ.ย. และ 2 ธ.ค. 60 เราลองบวกเข้าไปเล่นๆสัก 1 ปี 3 เดือน เราก็จะได้ DEADLINE ของเราคือ ช่วงมีนาคม 2562 นั่นหมายความว่า มีนา62 เราจะต้องพร้อมสอบได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาแล้ว !
ถ้าเห็นว่ากระทู้นี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดโหวตทิ้งไว้ให้คนอื่นได้มาเห็นด้วยนะครับ
3. สำหรับน้องๆที่อายุยังไม่ถึง 25 ปี หรือคุณสมบัติด้านอายุงาน 2 ปียังไม่ครบ ก็ให้ดูว่าคุณสมบัติสมัครสอบเราจะครบในวันใด – ให้เอาวันนั้น (อย่างมากก็ + อีก 2 เดือน) เป็นวัน DEADLINE ของเรา เพราะเราต้องถือว่าวันที่เรามีสิทธิสมัครสอบ คือวันที่เราต้องพร้อมที่จะเข้าไปฟาดฟันในห้องสอบแล้ว
4. และขอเตือนน้องๆที่จบป.ตรีใหม่ กำลังจะสอบเนติ สอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพว่าความ(หรือตั๋วทนาย) ซึ่งมีความประสงค์จะใช้วุฒิทนายความมาสอบอัยการ,สอบผู้ช่วยฯ ว่า ถ้าน้องมีข้อจำกัดว่าจะต้องเลือกเอาอันใดอันหนึ่งระหว่างเนติกับตั๋ว น้องต้องเลือกตั๋วก่อนนะครับ เพราะนอกจากอย่างน้อยจะเป็นการรองรับอาชีพของน้องแล้ว + จะเป็นจุด START เริ่มนับอายุงานเพื่อสอบอัยการสอบผู้พิพากษาด้วย - หากน้องเร่งเอาเนติ แต่ตั๋วไม่ได้เสียที ก็คงต้องอ่านสอบผู้ช่วยฯไปเรื่อยๆ ไม่ได้สอบพร้อมเพื่อนซะทีแหล่ะครับ
5. ขอย้ำว่าการเตรียมวางแผนเพื่อสอบผู้ช่วยฯสนามใหญ่ นั้น “ #ทุกคนจะต้องมีDEADLINEเป็นของตัวเอง” เพราะการอ่านหนังสือแบบไม่มีเด๊ดไลน์ มันเหมือนการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด เราไม่สามารถวางแผนเส้นทางการเดินทางคือแผนการอ่านของเราให้ชัดเจนรัดกุมได้เลย แล้วจะกลายเป็นละครที่ไม่มีตอนจบ – จากนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่า เราเวลาอยู่ประมาณเท่าใดในการเตรียมสอบ ก็จะสามารถรู้ได้ว่าตนเองควรอ่านมากหรือน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ยังทำให้เราปรับเปลี่ยนแผนระหว่างสัปดาห์หรือ วันต่อวัน ได้เลยอีกด้วย!
6. แผนการอ่านเราจะต้องวางให้ชัดเจนว่า ช่วงใดอ่านอะไร ช่วงต่อไปอ่านอะไร ถัดไปอ่านอะไรอีก และจะต้องหยุดอ่านเพิ่มในช่วงที่เราเก็บไว้เพื่อ “ทบทวนทั้งหมดที่อ่านมา” ขอแยกรายละเอียดให้เห็นภาพชัดเจนดังนี้
7. วันๆหนึ่งเราต้องทำอะไรบ้าง : แน่นอนว่าก็ต้องแยกเป็นสำหรับ 2 กลุ่มอีกคือ คนที่ทำงานประจำ กับ คนที่มีอาชีพอ่านหนังสือสอบ ขอเริ่มสำหรับ “คนที่มีอาชีพอ่านหนังสือสอบ”ก่อน คุณจะต้องมี ENERGY ตลอดเวลา ต้องนึกถึงพุทธวจนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลาว่า “วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่?”! มิฉะนั้นคุณจะกลายเป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตนี้ว่าง ว่างเสียจนเอาเวลาที่มีค่า ไปใช้เรื่องไร้สาระอย่างอื่นมาก (โดยเฉพาะคนที่ทำงานไปด้วยจะเห็นคุณค่าของเวลาเหล่านี้ดี แต่เขาไม่มี ซึ่งคุณมีแต่กลับทิ้งมัน) ต้องคิดเสมอว่า การอ่านหนังสือ ก็คืออาชีพของเรา และต้องเต็มใจที่จะทำ OT ทุกวันโดยไม่มีวันหยุด!!
8. ขอยกตัวอย่างของผมเองตอนเตรียมสอบผู้ช่วยฯ-อัยการ สิ่งที่ผมต้องทำในแต่ละวันนั้นมีอะไรบ้าง ลองดูเป็นตัวอย่างรูปแบบหนึ่ง :
ช่วงที่ผมสอบเนติเสร็จได้ไม่ถึง 1 อาทิตย์ ประมาณช่วงสงกรานต์ 2557 ตอนนั้นอายุ 24 ปี เกือบ 2 เดือน รู้ตัวแล้วว่าใกล้ 25 มากแล้ว จึงเริ่มอ่านสอบผู้ช่วยฯต่อทันที ทั้งที่มีบ้านอยู่ที่กาญจนบุรี แต่ต้องออกมาพักอาศัยชั่วคราวที่ปิ่นเกล้า เพื่อที่จะแยกตัวเองออกจากความสบายและเพลิดเพลินเกินไปเมื่ออยู่กับครอบครัว เพื่อมาอาศัยพลังของสถานที่ที่ทำให้มี ENERGY อยู่ตลอดเวลาคือ “ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์” ที่นี่คนอ่านสอบเนติ-อัยการ-ผู้ช่วยฯ เยอะมาก มองไปโต๊ะไหนในห้องสมุดไหนก็มีแต่ประมวลฯทุกชั้นของทุกห้องสมุด
***สิ่งที่ทำแต่ละวัน แม้จะไม่แน่นอนตามนี้เสมอไป แต่ก็มักจะออกมาใน Pattern นี้ก็คือ
: ตื่นประมาณ 6 โมง อาบน้ำ ออกจากที่พักนั่งรถเมล์สาย 30 หรือ 123 หรือ 124 (หรือ 507 ซึ่งเข้ามธ.เฉพาะวันธรรมดา) ไปถึงธรรมศาสตร์ประมาณ 6.40 – 7.00 น. (ระหว่างออกจากห้อง รอรถเมล์ นั่งรถเมล์มามธ.ก็ฟังเสียงตัวบทที่ตัวเองอัดมาด้วยตลอดเวลา) ถึงโรงอาหารก็กินข้าวเช้าเสร็จไม่ถึง 7.30 ก็เริ่มท่องตัวบท ท่องที่โรงอาหารนั่นแล่ะครับเพราะห้องสมุดเปิด 8.00 ฉะนั้น กว่าจะถึงเวลาเข้าห้องสมุด วันนี้ก็ท่องได้แล้วครึ่งชั่วโมง
เริ่มยกที่หนึ่ง : 8.00 – 12.00 ช่วงนี้เป็นช่วงที่สมองผม FRESH มากที่สุด! ช่วงนี้จะอ่านได้มากที่สุด มากกว่าช่วงอื่นของทั้งวันรวมกันเสียอีก!! โดยช่วงที่อ่านหนังสือนี้ ก็จะมีช่วงเว้นจากอ่าน มาท่องตัวบทด้วย เพราะตัวบทนี่ต้องท่องตลอดเวลาอยู่แล้ว มันลืมง่ายแต่จำยาก ในทุกชั่วโมงนั้น : อ่าน 45 นาที พักเข้าห้องน้ำ+ท่องตัวบท 15 นาที แบบนี้ตลอด ซึ่งจะทำให้เราจำง่าย (เรื่องการท่องตัวบท ผมจะพูดถึงต่อไป)
12.00 -12.30 พักกินข้าวกลางวัน (ถ้ายังโอเค ก็จะเอาตัวบทท่องไปด้วย กินข้าวไปด้วย - แต่ถ้าเหนื่อยมากๆก็จะไม่เอาตัวบทไปด้วย แต่ก็จะฟังเสียงตัวบทแทน)
ยกที่สอง 13.00-16.30 ผมเริ่มอ่านช่วงที่ 2 ช่วงนี้ ผมจะเปลี่ยนวิชาจากตอนเช้าแล้ว เนื่องจากพื้นเพเป็นคนขี้เบื่อ ถ้าให้อ่านวิชาเดียวกันทั้งวันจิตใจจะรู้สึกไม่ค่อยชอบ จึงสลับๆกันไป เช่น เช้าอ่านทรัพย์ บ่ายอ่านวิ.อาญา ถ้าทรัพย์จบก่อนวิ.อาญา วันต่อมาเช้าก็อ่านหนี้ บ่ายอ่านวิ.อาญาต่อให้จบก่อนที่จะเอาวิชาอื่นมาแทน อะไรทำนองนี้ ; และก็เหมือนเดิมคือ แต่ละชั่วโมงก็มีทั้งอ่าน+ท่องตัวบท สลับกันไปแบบเดิม
16.30-17.00 กินข้าวเย็น ผมถูกบังคับด้วยเวลาของโรงอาหารธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เนื่องจากจะไม่เปิดถึงตอนเย็นมาก และหากจะไปกินแถวท่าพระจันทร์ก็อาจต้องรอคิวทำให้เสียเวลาอ่าน จึงเลือกกินโรงอาหารทุกมื้อ – เหมือนเดิมคือ ระหว่างกินก็หยิบตัวบทท่องไปด้วย ถ้าไม่เหนื่อยมาก (ถ้าเหนื่อยก็ฟังแทน หรือถ้าเหนื่อยสุดๆก็กินอย่างเดียว พักสมองไปเลย)
ยกที่สาม เป็นช่วงสุดท้ายของวัน แต่เนื่องจากอ่านมาหลายชั่วโมง จึงเบื่ออ่านแล้ว ผมก็เลยแบ่งเป็น 2 ช่วงเล็กคือ
17.30-19.00 ผมเอาข้อสอบมาทำ ทำทุกวันคือเอามาหัดคิด หัดทด สร้างระบบคำย่อของเรา สัญลักษณ์ในการโน้ตบนข้อความที่เป็นโจทย์ เป็นการฝึกเชื่อมโยงความรู้ที่อ่านมา และฝึกความเร็วจนชำนาญ (ส่วนการหัดเขียนนั้น ช่วงสอบผู้ช่วยฯไม่ได้หัดเขียนมาก เพราะตอนเตรียมสอบเนตินั้น ก็เขียนจนไม่รู้จะเขียนยังไงแล้ว)
หลังจากนั้น 19.00 ก็จะหยิบหนังสือที่อ่านในช่วงเช้าหรือบ่ายมาอ่านต่ออีกหน่อย หรือไม่ก็เอาฎีกาเป็นเล่มๆมาอ่านเลย จนกระทั่ง 20.30 ก็จะต้องกลับ เพราะถ้าช้ามากจะไม่มีรถเมล์ให้กลับแล้ว (ส่วนมากระหว่างนั่งรถเมล์กลับจะไม่ค่อยได้ฟังตัวบทแล้ว จะแอบงีบนิดนึงเพื่อชาร์จพลังไว้อ่านต่อที่ที่พักด้วย)
เมื่อถึงที่พัก อาบน้ำเรียบร้อย 22.00 วันไหนที่ไม่เหนื่อยมากก็จะอ่านต่ออีกสักหน่อย+ท่องตัวบทอีกหน่อย+ดูศัพท์อังกฤษบ้าง และก็ REVIEW ตัวเองว่าวันนี้อ่านอะไรได้บ้าง อ่านทันตามแผนไหม ต้องอ่านอะไรเพิ่ม +วางแผนว่าวันพรุ่งนี้จะอ่านอะไร จนประมาณ 5 ทุ่ม-เที่ยงคืนก็เข้านอน
วันไหนที่มีพลังเต็มที่ก็จะทำแบบนี้ได้เสมอ.
9. เห็นได้ว่า แต่ละวันๆนั้นเราไม่ได้ทำอยู่อย่างเดียว ทุก SKILLS เราต้องฝึกไม่ให้ขาด สำหรับผมความสำคัญอันดับ 1 คือ “ตัวบท” ---> 2. “ข้อสอบเก่า” ---> 3.หนังสือที่รวมแนวฎีกาสำคัญ (เช่น คำถาม-คำตอบท่านอ.ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์+จูริส) + ฎีกาของสำนักงานศาล(และของเนติด้วย แต่เน้นของศาลมากกว่า) ---> 4.หนังสือ/ตำรา/คำบรรยาย ที่เป็นคำอธิบาย
ทุกวัน เราจะต้องได้ครบทั้ง 4 ส่วนนี้ – ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้ทำงานไปด้วยคือ จะไม่ค่อยมีไฟในการอ่าน เพราะว่างเกินไป วันๆคิดว่าตัวเองว่าง แต่ไม่สำนึกว่าได้ทยอยทิ้งเวลาอันมีค่าของตัวเองไปทีละเล็กละน้อยจนเอามารวมกันสามารถเอามาอ่านอีกเป็นรอบได้เลย นอกจากนี้ ยังรู้สึกไม่ ACTIVE เพราะวันๆอยู่แต่กับหนังสือ ไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนหรือพบคนใหม่ๆ ไม่มีเรื่องที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ - การแก้ปัญหาสำหรับผมเองก็ไม่มีอะไรมาก คือพาตัวเองไปที่ห้องสมุดทันทีที่เปิดคือ 8.00 -- หลังจากนั้นเมื่อเราเห็นคนอื่นนั่งอ่านหนังสือแล้ว เราจะไม่ค่อยอยากพัก เพราะจะรู้สึกตามเขาไม่ทัน กำลังถูกทิ้งห่าง ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีที่คอยกระตุ้นให้ผมอ่านอยู่ตลอดเวลา และอยู่จนกระทั่งเวลาที่ห้องสมุดใกล้ปิด + ยิ่งไปกว่านั้น ผมเองมักชอบเปิดคลิป“ศิลปินไส้แห้ง” ที่ไปสัมภาษณ์อ.เฉลิมชัย มาฟังอยู่บ่อยๆ เพื่อคอยกระตุ้นตัวเองว่าวันนี้เรายังทำไม่ได้ดีพอ ความรู้สึกเนือยๆมันจะหายไปหมดเลย
10. ไม่เว้นแม่แต่ “คนที่ทำงานประจำ” แม้นว่าจะหาข้ออ้างสารพัดว่า เหนื่อย เวลาน้อย อยากพักบ้าง --- แต่ถ้าอยากสอบได้ผู้ช่วยฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนามใหญ่ คุณจะต้องรู้จักจำยอมอุทิศเวลาเพื่ออนาคตของตัวเอง ถ้าคิดว่าอาชีพที่ทำอยู่มีความสุขแล้ว ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากอยากเปลี่ยนอาชีพมารับราชการในอาชีพระดับนี้ ที่คนสอบ 8,000 กว่า ได้ไม่ค่อยถึง 100 คน แต่ไม่ยอมเปลี่ยนวิถีชีวิต ก็คงยากที่จะออกมาได้
แม้คนทำงานจะมีข้อเสียคือ เวลาน้อย แต่ข้อดีของคนที่ทำงานคือ ในจำนวนเวลาที่เท่ากัน คุณใช้ได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำงานเสียอีก เพราะคุณรู้ถึงคุณค่าของมันมากว่า เวลาเหล่านี้แหล่ะจะเป็นตัวเปลี่ยนอนาคต เปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณได้ ประสิทธิภาพของการใช้เวลาจึงมีมากกว่า ซึ่งแต่ละคนจะต้องวางแผนเอาเองว่า ในจำนวนเวลาเท่านั้น จะแบ่งทำอะไรได้เท่าใดบ้าง ในที่นี่ขอยกตัวอย่างการบริหารเวลาของท่านอาจารย์เอื้อน ขุนแก้ว มาให้ทุกคนได้ดู ซึ่งเมื่อผมเห็นครั้งแรก ก็รู้เลยว่าท่านอาจารย์เป็นยอดมนุษย์แน่นอน
ท่านอาจารย์เอื้อนตื่นตี 4.30 – 6.00 อ่านตัวบท
06.00-07.00 อาบน้ำ แต่งตัว เดินไปทำงาน
07.00-07.30 รับประทานอาหารเช้า
07.30-08.30 อ่านหนังสือ (ห้องสมุดกรมบังคับคดี)
หลังจากนั้นก็ทำงาน จนถึงเวลา
17.00–22.00 อ่านหนังสือ
22.30-24.00 ดูคำถาม, ข้อสอบเก่า, ฝึกเขียนตอบ , อ่านภาษาอังกฤษ
ท่านอาจารย์นอนเพียงวันละ 4 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น (ซึ่งทุกท่านไม่จำต้องทำตามเพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน) แต่ที่อยากให้ดูคือ ความวิริยะอุตสาหะของท่าน ทำให้ท่านสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา สนามใหญ่ ได้ที่ 1 ด้วยอายุเพียง 25 ปี ขณะที่ทำงานเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (หัวหน้าสาย) กรมบังคับคดี! – เห็นได้ว่า “ไม่มีข้ออ้างสำหรับคนที่กำลังจะประสบความสำเร็จ มีแต่สิ่งที่เรียกว่า “การวางแผน” เท่านั้น!!”
แนะนำว่า : ในช่วงเวลาทำงาน ระหว่างวันคุณจะต้องมีช่วงเวลาเล็กๆที่ว่างบ้าง ขอให้หยิบตัวบทขึ้นมาอ่านทันทีและตลอดเวลา เพราะตัวบทนั้นทำความเข้าใจจบได้ในตัวในห้วงระยะเวลาสั้นๆ ท่องบ่อยๆตลอดเวลาก็จะจำได้เอง [ต่างกับเอาหนังสือหรือคำอธิบายไปอ่าน ซึ่งกว่าจะจบแต่ละย่อหน้าต้องใช้สมาธิมากกว่า และช่วงเล็กๆในวันทำงานอาจจะไม่เอื้อพอ]
ถ้าเห็นว่ากระทู้นี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดโหวตทิ้งไว้ให้คนอื่นได้มาเห็นด้วยนะครับ
มีต่อครับ