#คุณเป็นคนประเภทไหน ?
1. คิดแต่ไม่ทำ
2. ทำแต่ไม่ต่อเนื่อง
3. เจออุปสรรคยอมแพ้
4. คนสำเร็จ
.
วิธีแก้คนประเภท ''คิดแต่ไม่ทำ''
.
- ประเมินทรัพยากร : อย่าพยายามตั้งแต่เป้าหมายใหญ่จนเกินไป ให้ประเมินตัวเองและทรัพยาที่มีอยู่ด้วย เช่น ทุน เวลา ความสามารถ ไม่งั้นเป้าหมายที่ตั้งไว้จะดูเหมือนความฝันและแตะต้องไม่ได้มากกว่าที่จะทำได้ ก็เลยไม่ได้ลงมือทำ
.
- เริ่มต้นวางแผน : การที่ไม่ได้ลงมือทำส่วนหนึ่งมาจากคุณไม่ได้วางแผนและกำหนดเวลาไว้ ดังนั้นให้เริ่มต้นวางแผนและกำหนดเวลาที่จะลงมือทำในแต่ละวันให้ชัดเจน
.
- ผัดวันประกันพรุ่ง : หากคุณคิดว่าเป้าหมายนั้นสำคัญจริงๆ ให้วาง Deadline และ บทลงโทษไว้ อย่างเด็ดขาด เช่น หากถึงกำหนด Deadline แล้วคุณยังไม่ได้ลงมือทำจะปรับตัวเองด้วยการนำเงิน 500 บาท ไปซื้อกองทุนทุกครั้ง (เทคนิค คือ คุณต้องเคร่งครัดกับตัวเองและบทลงโทษต้องแรงพอ)
.
วิธีแก้คนประเภท ''ทำไม่ต่อเนื่อง''
.
- หั่นเป้าหมายให้เล็กลง : บางทีการที่เราทำไม่ต่อเนื่อง เป็นเพราะเป้าหมายดูเหมือนอยู่ไกลเกินไป เช่น จะอ่านหนังสือสอบ 1,000 หน้า พอเห็นว่ายังเหลืออีกตั้ง 900 หน้าก็เลยท้อไม่อ่านดีกว่า ให้หั่นเป้าหมายลงเป็นวันนี้เราจะอ่าน 30 หน้า ก็พอ
.
- กำหนดเวลาตายตัว : ให้กำหนดเวลาไว้ให้ชัดเจน เช่น 19.00 - 19.30 ของทุกวัน จะตัดขาดทุกอย่างเพื่อมาทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ มันจะก้าวหน้ามากน้อยเท่าไหร่ไม่สนใจ แต่ถ้าอยู่ในช่วงเวลานี้เราจะทำสิ่งนี้เท่านั้น และไม่ต้องไปคิดถึงเป้าหมายว่ายังเหลืออีกไกลไหม แค่ทำให้เสร็จเป็นวันๆ ไปทุกวัน
.
- จัดลำดับกิจกรรม : ให้จัดกิจกรรมที่สำคัญไว้เป็นอันดับแรกเสมอและทำให้เสร็จก่อน เช่น ถ้าอยากฝึกภาษาและมีเวลาว่างวันละ 2 ชั่วโมง อาจจะจัดเวลา 15 - 30 นาที มาฝึกภาษา ก่อนที่จะนำเวลาว่างไปใช้ทำอย่างอื่น
.
วิธีแก้คนประเภท ''เจออุปสรรคแล้วยอมแพ้''
.
- สงบสติอารมณ์และคิดบวก : เมื่อเผชิญกับอุปสรรค สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์และรักษาทัศนคติเชิงบวก อารมณ์เชิงลบอาจทำให้การคิดวิเคราะห์คุณแย่ลง และใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้
.
- มองไปที่จุดเริ่มต้นและจุดจบ : ให้มองกลับไปที่จุดเริ่มต้นว่าเรามาไกลขนาดไหน แล้วทำไมตอนนั้นเราถึงเริ่มตัดสินใจลงมือทำ และคิดถึงปลายทางที่จะไปถึงว่าถ้าทำสำเร็จแล้วมันคุ้มค่าแค่ไหน
.
- วิเคราะห์ตามความเป็นจริง : ให้วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคตามความเป็นจริงหรือลองปรึษาคนที่มองจากมุมมองภายนอก เพราะบางทีคุณอาจจะเลี้ยวผิดทางไปแยกเดียว แค่ย้อนกลับไปแก้ให้ตรงจุด ไม่จำเป็นต้องล้มเลิกการเดินทางหรือกลับไปเริ่มต้นใหม่
.
รบกวนผู้อ่านฝากกดติดตามเพจนี้ด้วยนะครับเป็นช่องเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตสร้างแรงบันดาลใจและอัพเดทความรู้ที่เป็นประโยชน์
Cr.หัวกรวย นสต
คน 4 ประเภท พร้อมวิธีแก้ให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
1. คิดแต่ไม่ทำ
2. ทำแต่ไม่ต่อเนื่อง
3. เจออุปสรรคยอมแพ้
4. คนสำเร็จ
.
วิธีแก้คนประเภท ''คิดแต่ไม่ทำ''
.
- ประเมินทรัพยากร : อย่าพยายามตั้งแต่เป้าหมายใหญ่จนเกินไป ให้ประเมินตัวเองและทรัพยาที่มีอยู่ด้วย เช่น ทุน เวลา ความสามารถ ไม่งั้นเป้าหมายที่ตั้งไว้จะดูเหมือนความฝันและแตะต้องไม่ได้มากกว่าที่จะทำได้ ก็เลยไม่ได้ลงมือทำ
.
- เริ่มต้นวางแผน : การที่ไม่ได้ลงมือทำส่วนหนึ่งมาจากคุณไม่ได้วางแผนและกำหนดเวลาไว้ ดังนั้นให้เริ่มต้นวางแผนและกำหนดเวลาที่จะลงมือทำในแต่ละวันให้ชัดเจน
.
- ผัดวันประกันพรุ่ง : หากคุณคิดว่าเป้าหมายนั้นสำคัญจริงๆ ให้วาง Deadline และ บทลงโทษไว้ อย่างเด็ดขาด เช่น หากถึงกำหนด Deadline แล้วคุณยังไม่ได้ลงมือทำจะปรับตัวเองด้วยการนำเงิน 500 บาท ไปซื้อกองทุนทุกครั้ง (เทคนิค คือ คุณต้องเคร่งครัดกับตัวเองและบทลงโทษต้องแรงพอ)
.
วิธีแก้คนประเภท ''ทำไม่ต่อเนื่อง''
.
- หั่นเป้าหมายให้เล็กลง : บางทีการที่เราทำไม่ต่อเนื่อง เป็นเพราะเป้าหมายดูเหมือนอยู่ไกลเกินไป เช่น จะอ่านหนังสือสอบ 1,000 หน้า พอเห็นว่ายังเหลืออีกตั้ง 900 หน้าก็เลยท้อไม่อ่านดีกว่า ให้หั่นเป้าหมายลงเป็นวันนี้เราจะอ่าน 30 หน้า ก็พอ
.
- กำหนดเวลาตายตัว : ให้กำหนดเวลาไว้ให้ชัดเจน เช่น 19.00 - 19.30 ของทุกวัน จะตัดขาดทุกอย่างเพื่อมาทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ มันจะก้าวหน้ามากน้อยเท่าไหร่ไม่สนใจ แต่ถ้าอยู่ในช่วงเวลานี้เราจะทำสิ่งนี้เท่านั้น และไม่ต้องไปคิดถึงเป้าหมายว่ายังเหลืออีกไกลไหม แค่ทำให้เสร็จเป็นวันๆ ไปทุกวัน
.
- จัดลำดับกิจกรรม : ให้จัดกิจกรรมที่สำคัญไว้เป็นอันดับแรกเสมอและทำให้เสร็จก่อน เช่น ถ้าอยากฝึกภาษาและมีเวลาว่างวันละ 2 ชั่วโมง อาจจะจัดเวลา 15 - 30 นาที มาฝึกภาษา ก่อนที่จะนำเวลาว่างไปใช้ทำอย่างอื่น
.
วิธีแก้คนประเภท ''เจออุปสรรคแล้วยอมแพ้''
.
- สงบสติอารมณ์และคิดบวก : เมื่อเผชิญกับอุปสรรค สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์และรักษาทัศนคติเชิงบวก อารมณ์เชิงลบอาจทำให้การคิดวิเคราะห์คุณแย่ลง และใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้
.
- มองไปที่จุดเริ่มต้นและจุดจบ : ให้มองกลับไปที่จุดเริ่มต้นว่าเรามาไกลขนาดไหน แล้วทำไมตอนนั้นเราถึงเริ่มตัดสินใจลงมือทำ และคิดถึงปลายทางที่จะไปถึงว่าถ้าทำสำเร็จแล้วมันคุ้มค่าแค่ไหน
.
- วิเคราะห์ตามความเป็นจริง : ให้วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคตามความเป็นจริงหรือลองปรึษาคนที่มองจากมุมมองภายนอก เพราะบางทีคุณอาจจะเลี้ยวผิดทางไปแยกเดียว แค่ย้อนกลับไปแก้ให้ตรงจุด ไม่จำเป็นต้องล้มเลิกการเดินทางหรือกลับไปเริ่มต้นใหม่
.
รบกวนผู้อ่านฝากกดติดตามเพจนี้ด้วยนะครับเป็นช่องเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตสร้างแรงบันดาลใจและอัพเดทความรู้ที่เป็นประโยชน์
Cr.หัวกรวย นสต