เทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ อย่าง จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นำหุ่นยนต์มาปฏิบัติงานมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนตั้งเป้าจะผลักดันกรุงปักกิ่ง เป็นเป้าหมายของภาคอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในอีก 3 ข้างหน้า หรือในปี 2020
ประเทศไทยเองก็ตอบรับกับเทรนด์หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์อย่างเต็มที่ โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วย 3 มาตรการพิเศษ ตามที่เป็นข่าวไปแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3 มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ
1. กระตุ้นอุปสงค์ โดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการภายในประเทศ นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ ผ่านการให้สิทธิประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยกิจการที่นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการบริการจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ซึ่งจะขยายครอบคลุมไปถึงประเภทกิจการที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมากนัก ซึ่งเดิมไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการส่งเสริม
กระทรวงการคลังจะยกเว้นภาษีเงินได้ 300% เพื่อการวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
สำนักงบประมาณจะสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงอุตสาหกรรมให้การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ใช้หุ่นยนต์มาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ซึ่งคาดว่ามาตรการแรกนี้จะช่วยให้เกิดการลงทุนใช้หุ่นยนต์วงเงิน 12,000 ล้านบาทในปีแรก
2. สนับสนุนอุปทาน โดยเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ โดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่ออกแบบติดตั้งระบบอัตโนมัติ (System Integrator หรือ SI) ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนจากปัจจุบันอยู่ที่ 200 ราย เป็น 1,400 ราย ภายใน 5 ปี โดย
บีโอไอจะให้สิทธิประโยชน์สูงสุด
กระทรวงการคลังจะยกเว้นอากรนำเข้าชิ้นส่วน และอุปกรณ์ที่นำมาผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
3. พัฒนาบุคลากรและยกระดับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นำไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน โดยจัดตั้งศูนย์การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ของประเทศ (Center of Robotic Excellence: CoRE) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ
โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้งาน วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย ให้เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านหุ่นยนต์ในเชิงพาณิชย์ โดยภายใน 5 ปี จะพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบอย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นสูงให้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 200 ราย และฝึกอบรมบุคลากรไม่น้อยกว่า 25,000 คน
* การสร้างเครือข่ายความร่วมมือศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ Center of Robotic Excellence (CoRE) กับ 8 สถาบันการศึกษา ได้แก่ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.มหิดล ม.ขอนแก่น และ ม.เชียงใหม่
** การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ฯ ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย (CoRE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บ.เอสซีจี จำกัด (มหาชน) บ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บมจ.ปตท. บ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด บ.สุพรีม โพรดักส์ จำกัด บ.เควี อีเลคทรอนิคส์ จำกัด และ บ.ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด
ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือกระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อแรงงานมนุษย์ ซึ่งหุ่นยนต์ช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนต่าง ๆ ในสายการผลิต และยังช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงานด้วย
Foxconn โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลกในไต้หวัน นำหุ่นยนต์แขนกลมาใช้ในกระบวนการผลิต สำหรับงานที่ต้องทำซ้ำ หรืองานที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก เช่น ประกอบอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ส่วนแรงงานมนุษย์จะถูกโอนย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น งานพัฒนาและวิจัย หรือการควบคุมการผลิตและผลิตภาพของสินค้า
บริษัท Shenzhen Rapoo Technology ของประเทศจีน นำหุ่นยนต์แขนกลมาใช้ทดแทนแรงงานคน ในการประกอบชิ้นส่วนของเมาส์ คีย์บอร์ด และอุปกรณ์แยกย่อย
ส่วนประเทศไทยก็มีหลายองค์กรธุรกิจนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้เช่นกัน อาทิ
เอ็มเคสุกี้ นำหุ่นยนต์บริการ มายืนต้อนรับลูกค้า รับออเดอร์ ส่งอาหาร และร้องเพลงวันเกิด
โรงพยาบาลศิริราช ใช้หุ่นยนต์จ่ายยาและผ่าตัด
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตข้าวกล่อง ตลอดกระบวนการตั้งแต่หุงข้าวไปจนถึงทำแพ็กเกจเพื่อจำหน่าย
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย แรงงานจะลดน้อยลง ดังนั้น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือระบบอัตโนมัติ จะตอบโจทย์ปัญหาด้านแรงงาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ตรงนี้คงต้องเว้นพื้นที่ไว้ให้หุ่นยนต์ เพราะในจุดนี้หุ่นยนต์ไม่ได้มาแย่งงานมนุษย์อย่างที่หลาย ๆ คนเกรงกลัวกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก:
Money Channel
คมชัดลึก
MGR Online
Modern Manufacturing Thailand
หุ่นยนต์มาทำอะไรในไทยและอุตสาหกรรมโลก
ประเทศไทยเองก็ตอบรับกับเทรนด์หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์อย่างเต็มที่ โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วย 3 มาตรการพิเศษ ตามที่เป็นข่าวไปแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือกระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อแรงงานมนุษย์ ซึ่งหุ่นยนต์ช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนต่าง ๆ ในสายการผลิต และยังช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงานด้วย
Foxconn โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลกในไต้หวัน นำหุ่นยนต์แขนกลมาใช้ในกระบวนการผลิต สำหรับงานที่ต้องทำซ้ำ หรืองานที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก เช่น ประกอบอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ส่วนแรงงานมนุษย์จะถูกโอนย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น งานพัฒนาและวิจัย หรือการควบคุมการผลิตและผลิตภาพของสินค้า
บริษัท Shenzhen Rapoo Technology ของประเทศจีน นำหุ่นยนต์แขนกลมาใช้ทดแทนแรงงานคน ในการประกอบชิ้นส่วนของเมาส์ คีย์บอร์ด และอุปกรณ์แยกย่อย
ส่วนประเทศไทยก็มีหลายองค์กรธุรกิจนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้เช่นกัน อาทิ
เอ็มเคสุกี้ นำหุ่นยนต์บริการ มายืนต้อนรับลูกค้า รับออเดอร์ ส่งอาหาร และร้องเพลงวันเกิด
โรงพยาบาลศิริราช ใช้หุ่นยนต์จ่ายยาและผ่าตัด
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตข้าวกล่อง ตลอดกระบวนการตั้งแต่หุงข้าวไปจนถึงทำแพ็กเกจเพื่อจำหน่าย
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย แรงงานจะลดน้อยลง ดังนั้น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือระบบอัตโนมัติ จะตอบโจทย์ปัญหาด้านแรงงาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ตรงนี้คงต้องเว้นพื้นที่ไว้ให้หุ่นยนต์ เพราะในจุดนี้หุ่นยนต์ไม่ได้มาแย่งงานมนุษย์อย่างที่หลาย ๆ คนเกรงกลัวกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก:
Money Channel
คมชัดลึก
MGR Online
Modern Manufacturing Thailand