เทคโนโลยีสมองกลอย่างหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทรนด์เทคโนโลยีของโลกที่กำลังมาแรง ซึ่งมีระบบการคำนวณที่แม่นยำและฉลาดล้ำมาก จึงทำให้หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานทดแทนมนุษย์ได้
ที่ผ่านมาเราคุ้นตากับการนำหุ่นยนต์มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันหลายประเทศนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานบริการมากขึ้น ล่าสุด ที่เพิ่งเป็นข่าวหมาด ๆ เป็นหุ่นยนต์บาริสต้าชงกาแฟในคาเฟ่ของญี่ปุ่น
หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับ
หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยที่บริษัทไมโครซอฟท์
หุ่นยนต์ดินสอของไทย ที่ญี่ปุ่นนำไปดูแลผู้สูงอายุ
หุ่นยนต์เสริฟพิซซ่า
หุ่นยนต์ทำพิซซ่า
หุ่นยนต์ทอดเบอร์เกอร์
หุ่นยนต์บริกรในร้านอาหารที่อินเดีย
หุ่นยนต์บริกรในร้านอาหารที่เนปาล
หุ่นยนต์ส่งของ
โดรนส่งของของแม็คโดนัล
สำหรับประเทศไทยธุรกิจบริการต่าง ๆ ได้นำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้นเช่นกัน อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะได้ทดลองนำหุ่นยนต์มาให้บริการเดินเอกสารภายใน
หุ่นยนต์เสิรฟอาหารเอ็มเค ร้องเพลง Happy Birthday ได้ด้วย
หุ่นยนต์จ่ายยา โรงพยาบาลศิริราช
หุ่นยนต์ทอดไข่
จากการคาดการณ์ของ International Federal of Robotics หรือ IFR พบว่า ในปี 2561 จะมีการใช้หุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมมากถึง 2.32 ล้านตัวทั่วโลก และมี 4.16 หมื่นตัวอยู่ในประเทศไทย
โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากขึ้น เป็นการลดการนำเข้าและรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเป้าหมายให้มีการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นในประเทศอย่างน้อย 30 % ของมูลค่าการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 8 หมื่นล้านบาท และให้อุตสาหกรรมไทยอย่างน้อย 50 % ของจำนวนโรงงานทั้งหมดใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงาน
จะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นอนาคตที่สดใสสำหรับภาคอุตสาหกรรม แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่คือบุคลากรที่จะมาทำด้านนี้ ดังนั้น ภาคการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเตรียมการพัฒนาบุคลกรขึ้นมารองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในไทย โดยปัจจุบันสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้เปิดสาขาวิชาวิศวกรรมหรือวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เช่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นต้น
หุ่นยนต์บริกร แรงงานใหม่กำลังมา!
ที่ผ่านมาเราคุ้นตากับการนำหุ่นยนต์มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันหลายประเทศนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานบริการมากขึ้น ล่าสุด ที่เพิ่งเป็นข่าวหมาด ๆ เป็นหุ่นยนต์บาริสต้าชงกาแฟในคาเฟ่ของญี่ปุ่น
หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับ
หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยที่บริษัทไมโครซอฟท์
หุ่นยนต์ดินสอของไทย ที่ญี่ปุ่นนำไปดูแลผู้สูงอายุ
หุ่นยนต์เสริฟพิซซ่า
หุ่นยนต์ทำพิซซ่า
หุ่นยนต์ทอดเบอร์เกอร์
หุ่นยนต์บริกรในร้านอาหารที่อินเดีย
หุ่นยนต์บริกรในร้านอาหารที่เนปาล
หุ่นยนต์ส่งของ
โดรนส่งของของแม็คโดนัล
สำหรับประเทศไทยธุรกิจบริการต่าง ๆ ได้นำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้นเช่นกัน อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะได้ทดลองนำหุ่นยนต์มาให้บริการเดินเอกสารภายใน
หุ่นยนต์เสิรฟอาหารเอ็มเค ร้องเพลง Happy Birthday ได้ด้วย
หุ่นยนต์จ่ายยา โรงพยาบาลศิริราช
หุ่นยนต์ทอดไข่
จากการคาดการณ์ของ International Federal of Robotics หรือ IFR พบว่า ในปี 2561 จะมีการใช้หุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมมากถึง 2.32 ล้านตัวทั่วโลก และมี 4.16 หมื่นตัวอยู่ในประเทศไทย
โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากขึ้น เป็นการลดการนำเข้าและรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเป้าหมายให้มีการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นในประเทศอย่างน้อย 30 % ของมูลค่าการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 8 หมื่นล้านบาท และให้อุตสาหกรรมไทยอย่างน้อย 50 % ของจำนวนโรงงานทั้งหมดใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงาน
จะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นอนาคตที่สดใสสำหรับภาคอุตสาหกรรม แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่คือบุคลากรที่จะมาทำด้านนี้ ดังนั้น ภาคการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเตรียมการพัฒนาบุคลกรขึ้นมารองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในไทย โดยปัจจุบันสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้เปิดสาขาวิชาวิศวกรรมหรือวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เช่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นต้น