เหตุใดนิกายธรรมยุตถึงแพร่หลายในภาคอีสาน

จขกท. ได้อ่านหนังสือเรื่อง "เปิดแผนยึดล้านนา" ของ ผศ.ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว ที่กล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลสยามในการทำให้พื้นที่อาณาจักรล้านนาเดิมซึ่งเป็นประเทศราชของสยามมาเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรสยามโดยสมบูรณ์ ซึ่งมีใช้เวลาค่อนข้างนานและมีหลายกระบวนการ โดยกระบวนการหนึ่งคือ "การวางรากฐานการศึกษาและการควบคุมสถาบันสงฆ์"

ในส่วนนี้ผู้เขียนได้อธิบายเนื้อหา และในตอนหนึ่งของส่วนนี้ได้ยกบทสัมภาษณ์พระภิกษุชาวเชียงใหม่รูปหนึ่งมาประกอบว่า "สาเหตุที่ทำให้ธรรมยุติกนิกายไม่แพร่หลายในล้านนาซึ่งต่างไปจากหัวเมืองอีสานเป็นเพราะพระพุทธศาสนาในล้านนามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีรากฐานมั่นคงจนยากที่ธรรมยุติกนิกายจะเผยแพร่ได้..." และผู้เขียนได้กล่าวต่ออีกว่า "เมื่อหมดสมัยของพระนพีสีพิศาลคุณสายสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์ล้านนาจึงมุ่งไปที่วัดเบญจมบพิตรซึ่งเป็นมหานิกายมากกว่าธรรมยุต..."

จขกท. เลยตั้งคำถามกลับและเป็นที่มาของคำถามของระทู้นี้ว่า "เหตุใดนิกายธรรมยุตถึงแพร่หลายในภาคอีสาน"

นอกจากนี้ ผู้เขียนได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาได้อ้างงานเขียนหนึ่งซึ่งพระรูปหนึ่งเป็นผู้เขียน (จขกท. ขออภัยที่จำชื่องานเขียนนั้นและชื่อของพระที่เขียนไม่ได้) เขาพูดประมาณว่า "การเผยแผ่ธรรมยุติกนิกายในดินแดนภาคอีสานนั้นมีส่วนช่วยในการผนวกดินแดนภาคอีสานเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงสมัยการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ห้า"

ในส่วนนี้ จขกท. อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่าเรื่องราวของธรรมยุติกนิกายในอีสานกับการผนวกดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง, พระพุทธศาสนาในภาคอีสานก่อนการเผยแพร่นิกายธรรมยุตนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

โดยส่วนตัว เท่าที่สังเกตก็เป็นเรื่องจริงที่ว่านิกายธรรมยุตแพร่หลายในภาคอีสาน เนื่องจากพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในด้านการปฏิบัติหลายรูปท่านก็ศึกษาหลักการปฏิบัติต่างๆมาจากพระธรรมยุตสายอีสาน เช่น หลวงปู่มั่น เป็นต้น

ประมาณนี้ หากเป็นไปได้รบกวนช่วยแนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติมด้วยครับ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่