รบกวนสอบถามเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานิกายธรรมยุตในดินแดนล้านนาและในภาคอีสานดังนี้ครับ
จขกท. ได้อ่านหนังสือเรื่อง "เปิดแผนยึดล้านนา" ของ ผศ.ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว ที่กล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลสยามในการทำให้พื้นที่อาณาจักรล้านนาเดิมซึ่งเป็นประเทศราชของสยามมาเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรสยามโดยสมบูรณ์ ซึ่งมีใช้เวลาค่อนข้างนานและมีหลายกระบวนการ โดยกระบวนการหนึ่งคือ "การวางรากฐานการศึกษาและการควบคุมสถาบันสงฆ์" โดยในส่วนของการควบคุมสถาบันสงฆ์นั้น ผู้เขียนได้กล่าวถึงพระรูปหนึ่งซึ่งมีสมณศักดิ์ที่พระนพีสีพิศาลคุณ ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่ ได้เดินทางมาศึกษาและบวชแปลงเป็นธรรมยุตที่กรุงเทพฯ จากนั้นได้เดินทางกลับเชียงใหม่ และเป็นผู้วางรากฐานของธรรมยุติกนิกายในเชียงใหม่ ต่อมาภายหลังจากที่เจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ถึงแก่พิราลัย และอินต๊ะข่อ อุบาสกคนสำคัญได้ถึงแก่กรรม ทำให้พระนพีสีพิศาลคุณขาดผู้อุปถัมภ์ และในภายหลังก็ได้มีหนังสือกราบทูลกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเพื่อขอลาสิกขา
ในส่วนนี้ผู้เขียนได้กล่าวต่อไป พร้อมกับยกบทสัมภาษณ์พระภิกษุชาวเชียงใหม่รูปหนึ่งมาประกอบว่า "สาเหตุที่ทำให้ธรรมยุติกนิกายไม่แพร่หลายในล้านนาซึ่งต่างไปจากหัวเมืองอีสานเป็นเพราะพระพุทธศาสนาในล้านนามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีรากฐานมั่นคงจนยากที่ธรรมยุติกนิกายจะเผยแพร่ได้..." และผู้เขียนได้กล่าวต่ออีกว่า "เมื่อหมดสมัยของพระนพีสีพิศาลคุณสายสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์ล้านนาจึงมุ่งไปที่วัดเบญจมบพิตรซึ่งเป็นมหานิกายมากกว่าธรรมยุต..."
จากที่กล่าวมานี้ จขกท. เลยมีข้อสงสัยว่า
1.พระพุทธศาสนาในล้านนาก่อนที่ธรรมยุติกนิกายจะเข้ามามีลักษณะเป็นเช่นไร (ในหนังสือกล่าวพอสังเขป) และมีหนังสือเล่มไหนให้อ่านเพิ่มเติมบ้าง
2.สาเหตุใดที่ทำให้ธรรมยุติกนิกายแพร่หลายในหัวเมืองอีสานมากกว่า
เกี่ยวกับประเด็นนี้ จขกท. รบกวนสอบถามอีกประเด็นหนึ่งครับ คือผู้เขียนได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาได้อ้างงานเขียนหนึ่งซึ่งพระรูปหนึ่งเป็นผู้เขียน (จขกท. ขออภัยที่จำชื่องานเขียนนั้นและชื่อของพระที่เขียนไม่ได้) เขาพูดประมาณว่า "การเผยแผ่ธรรมยุติกนิกายในดินแดนภาคอีสานนั้นมีส่วนช่วยในการผนวกดินแดนภาคอีสานเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงสมัยการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ห้า"
ในส่วนนี้ จขกท. อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเรื่องราวของธรรมยุติกนิกายในอีสานกับการผนวกดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง, พระพุทธศาสนาในภาคอีสานนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร, แนวทาง/นโยบายของรัฐบาลสยามต่อหัวเมืองอีสานนั้นต่างจากภูมิภาคอื่นๆอย่างไรบ้าง รวมทั้งมีหนังสือเล่มไหนบ้างที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมา
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ
หากใช้คำหรือมีสิ่งใดที่ไม่เหมาะสมก็ขออภัยและรบกวนแจ้งด้วยนะครับ จะได้ดำเนินการแก้ไข
รบกวนสอบถามเกี่ยวกับนิกายธรรมยุตในล้านนาและอีสาน // การผนวกภาคอีสาน
จขกท. ได้อ่านหนังสือเรื่อง "เปิดแผนยึดล้านนา" ของ ผศ.ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว ที่กล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลสยามในการทำให้พื้นที่อาณาจักรล้านนาเดิมซึ่งเป็นประเทศราชของสยามมาเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรสยามโดยสมบูรณ์ ซึ่งมีใช้เวลาค่อนข้างนานและมีหลายกระบวนการ โดยกระบวนการหนึ่งคือ "การวางรากฐานการศึกษาและการควบคุมสถาบันสงฆ์" โดยในส่วนของการควบคุมสถาบันสงฆ์นั้น ผู้เขียนได้กล่าวถึงพระรูปหนึ่งซึ่งมีสมณศักดิ์ที่พระนพีสีพิศาลคุณ ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่ ได้เดินทางมาศึกษาและบวชแปลงเป็นธรรมยุตที่กรุงเทพฯ จากนั้นได้เดินทางกลับเชียงใหม่ และเป็นผู้วางรากฐานของธรรมยุติกนิกายในเชียงใหม่ ต่อมาภายหลังจากที่เจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ถึงแก่พิราลัย และอินต๊ะข่อ อุบาสกคนสำคัญได้ถึงแก่กรรม ทำให้พระนพีสีพิศาลคุณขาดผู้อุปถัมภ์ และในภายหลังก็ได้มีหนังสือกราบทูลกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเพื่อขอลาสิกขา
ในส่วนนี้ผู้เขียนได้กล่าวต่อไป พร้อมกับยกบทสัมภาษณ์พระภิกษุชาวเชียงใหม่รูปหนึ่งมาประกอบว่า "สาเหตุที่ทำให้ธรรมยุติกนิกายไม่แพร่หลายในล้านนาซึ่งต่างไปจากหัวเมืองอีสานเป็นเพราะพระพุทธศาสนาในล้านนามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีรากฐานมั่นคงจนยากที่ธรรมยุติกนิกายจะเผยแพร่ได้..." และผู้เขียนได้กล่าวต่ออีกว่า "เมื่อหมดสมัยของพระนพีสีพิศาลคุณสายสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์ล้านนาจึงมุ่งไปที่วัดเบญจมบพิตรซึ่งเป็นมหานิกายมากกว่าธรรมยุต..."
จากที่กล่าวมานี้ จขกท. เลยมีข้อสงสัยว่า
1.พระพุทธศาสนาในล้านนาก่อนที่ธรรมยุติกนิกายจะเข้ามามีลักษณะเป็นเช่นไร (ในหนังสือกล่าวพอสังเขป) และมีหนังสือเล่มไหนให้อ่านเพิ่มเติมบ้าง
2.สาเหตุใดที่ทำให้ธรรมยุติกนิกายแพร่หลายในหัวเมืองอีสานมากกว่า
เกี่ยวกับประเด็นนี้ จขกท. รบกวนสอบถามอีกประเด็นหนึ่งครับ คือผู้เขียนได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาได้อ้างงานเขียนหนึ่งซึ่งพระรูปหนึ่งเป็นผู้เขียน (จขกท. ขออภัยที่จำชื่องานเขียนนั้นและชื่อของพระที่เขียนไม่ได้) เขาพูดประมาณว่า "การเผยแผ่ธรรมยุติกนิกายในดินแดนภาคอีสานนั้นมีส่วนช่วยในการผนวกดินแดนภาคอีสานเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงสมัยการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ห้า"
ในส่วนนี้ จขกท. อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเรื่องราวของธรรมยุติกนิกายในอีสานกับการผนวกดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง, พระพุทธศาสนาในภาคอีสานนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร, แนวทาง/นโยบายของรัฐบาลสยามต่อหัวเมืองอีสานนั้นต่างจากภูมิภาคอื่นๆอย่างไรบ้าง รวมทั้งมีหนังสือเล่มไหนบ้างที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมา
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ
หากใช้คำหรือมีสิ่งใดที่ไม่เหมาะสมก็ขออภัยและรบกวนแจ้งด้วยนะครับ จะได้ดำเนินการแก้ไข